efinancethai

ประเด็นร้อน

19 โบรกฯพาเหรดขาดทุน รายย่อยหาย-ค่าคอมฯทรุด!

19 โบรกฯพาเหรดขาดทุน รายย่อยหาย-ค่าคอมฯทรุด!

อุตสาหกรรมบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยังทรุดลงต่อเนื่อง ครึ่งแรกปี 62 รายงานกำไรรวม 3,510 ล้านบาท ลดลง 37% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผงะพบ 10 บล. พลิกขาดทุน แถม 9 บล.ติดลบต่อเนื่อง รับผลกระทบรายย่อยหายจากตลาดหุ้นไทย ขณะที่ค่าคอมมิชชั่นรูดลงไม่หยุด สมาคมดิ้นปรับเกณฑ์หวังลดต้นทุน

*** โบรกเกอร์ครึ่งอุตสาหกรรมขาดทุน

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานผลประกอบการธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์ครึ่งแรกปี 2562 มีกำไรสุทธิรวม 3,510 ล้านบาท ลดลง 37% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย 19 จาก 38 บล.มีผลขาดทุน ประกอบด้วย
 

19 โบรกเกอร์ขาดทุน

ริษัทหลักทรัพย์

กำไร H1/62 (ลบ.)

กำไร H1/61 (ลบ.)

เออีซี

-201.93

-79.21

ดีบีเอส วิคเคอร์ส

-135

88.77

ฟินันเซีย ไซรัส

-88.34

32.48

เคที ซีมิโก้

-76.54

30.04

คิงส์ฟอร์ด

-63.64

-40.79

อาร์เอชบี

-57.11

-27.56

เอเชีย เวลท์

-51.99

-14.74

เอสบีไอ ไทยฯ

-38.29

-70.05

ฟิลลิป

-34.16

92.18

ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี

-26.99

128.84

ทิสโก้

-25.37

88.99

ยูโอบี เคย์เฮียน

-25.02

140.37

เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์

-17.76

-11.2

เอเอสแอล

-16.26

-12.49

จีเอ็มโอ-แซด คอม

-13.13

-82.12

แมคควอรี

-9.91

35.2

ไอร่า

-9.13

9.29

โกลเบล็ก

-7.39

9

ซีมิโก้

-6.65

-91.91

 

บล.เออีซี ขาดทุนสูงสุด 201.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุนเพียง 79.21 ล้านบาท โดยเป็น 1 ใน 8 บล.ที่ขาดทุนอย่างน้อย 3 ปีติดต่อกัน (2560-2562)

ขณะที่พบว่า 10 จาก 19 บริษัทพลิกขาดทุนจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) พลิกขาดทุนสูงสุด 135 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 88.77 ล้านบาท 

ทั้งนี้ ข้อมูลข้างต้นเป็นรายงบการเงินของธุรกิจโบรเกอร์ซึ่งจะรายงานต่อ ก.ล.ต.ปีละ 2 ครั้ง (งบครึ่งปี-งบปี) ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์ จึงไม่มีการรายงานงบการเงินรายไตรมาส

*** 8 บล.มีแววขาดทุน 3 ปีติด

ขณะเดียวกันพบว่ามี 8 บล.ขาดทุนต่อเนื่องตั้งแต่งบการเงินปี 2560 ถึงครึ่งแรกปี 62 ซึ่งมีโอกาสขาดทุน 3 ติดติดต่อกันหากครึ่งหลังปี 62 ยังไม่สามารถพลิกกำไรได้ ประกอบด้วย
 

8 โบรกเกอร์ขาดทุนต่อเนื่อง

บริษัทหลักทรัพย์

กำไร H1/62 (ลบ.)

กำไรปี 61 (ลบ.)

กำไรปี 60 (ลบ.)

เออีซี

-201.93

-139

-68.03

คิงส์ฟอร์ด

-63.64

-86.92

-16.98

อาร์เอชบี

-57.11

-118.24

-79.72

เอเชีย เวลท์

-51.99

-30.98

-87.41

เอสบีไอ ไทยฯ

-38.29

-8.19

-42.74

เมอร์ชั่นพาร์ทเนอร์

-17.76

-23.28

-23.48

เอเอสแอล

-16.26

-26.54

-14.48

จีเอ็มโอ-แซด คอม

-13.13

-156.83

-111.22

 

*** มีแค่ 5 บล.ที่กำไรยังโต

ขณะที่พบว่ามีเพียง 5 จาก 38 บล.ที่กำไรสุทธิยังเติบโต ได้แก่

 

5 โบรกเกอร์กำไรโต

บริษัทหลักทรัพย์

กำไร H1/62 (ลบ.)

กำไร H1/61 (ลบ.)

เคจีไอ

505.09

485.58

เจพีมอร์แกน

150.55

125.24

คันทรี่ กรุ๊ป

74.05

-27

เคทีบี

35.44

32.33

ไอ วี โกลบอล

4.57

-11.45

 

บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) มีกำไรสูงสุดของอุตสาหกรรม 505.09 ล้านบาท เติบโต 4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ บล.คันทรี่ กรุ๊ป พลิกกำไรสูงสุด 74.05 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนขาดทุน 27 ล้านบาท

*** รายย่อยหาย-วอลุ่มหด-ค่าคอมต่ำ ฉุดอุตสาหกรรม

"ภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ" อดีตนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย เผยว่า สาเหตุที่กำไรของ บล.ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เพราะวอลุ่มการซื้อขายเฉลี่ยครึ่งปีแรกอยู่ในระดับต่ำเพียง 4.8 หมื่นล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ระดับ 5.3 หมื่นล้านบาท ส่งผลต่อรายได้ค่านายหน้า ซึ่งเป็นรายได้หลักของ บล. ประกอบกับอัตราค่าคอมมิชชั่นเฉลี่ยปรับตัวลดลงเหลือเพียง 0.09% จากปีก่อนที่ 0.10% และปี 60 ที่ 0.11% สวนทางกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยอัตราส่วนค่าใช้จ่ายดําเนินงานต่อรายได้รวม (Cost to Income Ratio) ของอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 0.79 เท่า จากปีก่อน 0.76 เท่า และปี 60 ที่ 0.75 เท่า

"ไพบูลย์ นลินทรางกูร" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ทิสโก้ เสริมว่า "ค่าคอมฯ ที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทำให้หลายบริษัทกำไรเริ่มลดลง บางบริษัทถึงกับพลิกขาดทุน เหมือนกับว่าแข่งขันค่าคอมฯเพื่อให้มีลูกค้ามาเทรดมากขึ้น แต่สุดท้ายบริษัทได้แค่ตัวเลขมาร์เก็ตแชร์เพิ่มขึ้น แต่กำไรลดลง ถือว่าได้ไม่คุ้มเสีย และไม่เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมในระยะยาว"

ด้าน "มนตรี ศรไพศาล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.เมย์แบงก์กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุว่า สัดส่วนนักลงทุนรายย่อยที่ลดลงต่อเนื่องของตลาดหุ้นไทย ส่งผลต่อวอลุ่มการซื้อขาย และผลประกอบการของ บล. โดยล่าสุดสัดส่วนนักลงทุนรายย่อยเหลือเพียง 33% จากสิ้นปีก่อนที่ 39% และสิ้นปี 60 ที่ 46.45%, สิ้นปี 59 ที่ 52.38%, สิ้นปี 58 ที่ระดับ 55.93% และสิ้นปี 57 ที่ 59.29% สาเหตุเกิดจากการเข้ามามีบทบาทของโปรแกรมซื้อขายอัตโนมัติ ที่มีความรวดเร็วในการซื้อขาย กระทบต่อโอกาสการทำกำไรของรายย่อย 

*** "ภัทร" ขึ้นเบอร์ 1 มาร์เก็ตแชร์

สำหรับมาร์เก็ตแชร์มีการเปลี่ยนผู้นำอีกครั้ง โดยข้อมูลการซื้อขายตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (Year to date) บล.ภัทร ขึ้นมาอยู่ดับดับ 1 ด้วยสัดส่วนมาร์เก็ตแชร์ถึง 9.62% แทน บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) แชมป์เก่าปีก่อน โดย 10 อันดับมาร์เก็ตแชร์ บล.ล่าสุดประกอบด้วย
 

มาร์เก็ตแชร์โบรกเกอร์ 10 อันดับแรก

อันดับ

บล.

% มาร์เก็ตแชร์ YTD

บล.

% มาร์เก็ตแชร์ ปี 61

1

ภัทร

9.62

ดีบีเอสฯ

6.81

2

เมย์แบงก์ฯ

6.09

เมย์แบงก์ฯ

6.06

3

ฟินันเซียฯ

6.02

เอเชีย เวลท์

5.75

4

เครดิต สวิส

5.88

ซีแอลเอสเอ

5.37

5

คิงส์ฟอร์ด

5.62

ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี

5.26

6

ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี

5.54

ภัทร

4.65

7

ดีบีเอสฯ

4.93

บัวหลวง

4.6

8

บัวหลวง

4.16

เครดิต สวิส

4.41

9

ยูบีเอส

3.85

ฟินันเซียฯ

3.91

10

เจพีมอร์แกน

3.77

หยวนต้า

3.84

 

*** บล.เร่งปรับตัวหาทางรอด

"ภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ" ระบุว่า ช่วง 1-2 ปีนี้อุตสาหกรรมโบรกเกอร์จะต้องเร่งปรับตัวรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงพฤติกรรมของนักลงทุน ระยะสั้นต้องลงทุนเพื่อหาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้าให้มากที่สุดและอาจจะกระทบต้นทุนบ้าง แต่เป็นการลงทุนระยะยาว เพื่อยกระดับธุรกิจเข้าสู่ยุคถัดไป ซึ่งระยะสั้นอาจจะยังเห็นหลายบริษัทประสบภาวะกำไรลดลงหรือขาดทุน แต่ระยะยาวธุรกิจจะยังอยู่ได้ เพราะนักลงทุนทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ขณะที่ "ไพบูลย์ นลินทรางกูร" เผยว่า บล.ต้องหาจุดยืนทางธุรกิจให้ชัดเจนว่าจะเน้นจุดเด่นบริการด้านไหน ของทิสโก้จะเน้นบริการลูกค้าสถาบันมากขึ้น พัฒนาคุณภาพบทวิจัย ลงทุนฟินเทคเพื่อใช้นวัตกรรมเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น ขณะที่ลูกค้ารายย่อยก็จะเน้นทำในสิ่งที่มีอยู่ เพียงแต่จะเน้นการบริการและมีความใกล้ชิดในการแนะนำลูกค้ามากขึ้น โดยมองว่าในอนาคตโบรกเกอร์ที่ไม่มีจุดขายชัดเจนจะอยู่ยากขึ้นในอุตสาหกรรม

ฟาก "ช่วงชัย นะวงศ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า หลังจากนี้จะเน้นเทคโนโลยีการซื้อขายมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เน้นซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยตนเองมากขึ้น ขณะเดียวกันจะไม่หยุดพัฒนาคุณภาพด้านงานบริการต่างๆ โดยเฉพาะคุณภาพของบทวิเคราะห์

ด้าน "มนตรี ศรไพศาล" จะมุ่งเน้นขยายสินค้าและบริหารให้หลากหลายและครอบคลุมให้ลูกค้ามีทางเลือกการลงทุนมากที่สุด ขณะเดียวกันได้มีการพัฒนาบุคคลากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงลงทุนเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

*** สมาคมโบรกฯ เก็บค่า Fee ลูกค้าเพิ่ม ลดภาระต้นทุน

"พิเชษฐ สิทธิอำนวย" นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย ระบุว่า ภาวะการแข่งขันสูงในปัจจุบัน เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของ บล. สมาคมมีมติเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จากลูกค้าทั่วไปแบบแยกรายการ (Unbundled Fee) โดยแยกรายการค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และรายการค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บโดยหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ บล.เป็นผู้รับภาระดังกล่าว โดยจะเริ่มตั้งแต่ 1 เม.ย.63 เป็นต้นไป ประกอบด้วย
 

ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์จากลูกค้าทั่วไป เริ่ม 1 เม..63

รายการ

อัตรา

หน่วยงานที่เรียกเก็บ

ค่านายหน้า

(Brokerage Fee)

ตามที่ บล.กำหนด

บริษัทหลักทรัพย์

ค่าธรรมเนียมตลาดฯ

(Trading Fee)

0.005%

ตลาดหลักทรัพย์ฯ

ค่าธรรมเนียมชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ฯ (Clearing Fee)

0.001%

บ. สำนักหักบัญชี

ค่าธรรมเนียมการกำกับดูแล

(Regulatory Fee)

0.001%

สำนักงาน ก.ล.ต.

ค่าธรรมเนียมธนาคาร ATS

(Bank Fee)

14 บาท

ธนาคารและ บ. Finnet







ข่าวหุ้นอื่นๆที่น่าสนใจ

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

Refresh




LATEST NEWS

ข่าวหุ้นล่าสุด

Refresh

ดูข่าวทั้งหมด