บริษัท ชริ้งเฟล็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SFT ผู้นำการให้บริการ Labeling Solutions แบบครบวงจร ด้วยผลิตภัณฑ์ฉลากฟิล์มหดรัดรูปในภูมิภาคอาเซียน กำลังจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ในวันที่ 29 ต.ค.นี้
ดังนั้น สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย จึงได้สรุปข้อมูลที่สำคัญจากแบบไฟลิ่ง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน
1.บริษัท ชริ้งเฟล็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SFT ผู้ให้บริการด้านระบบการพิมพ์ฉลากฟิล์มหดรัดรูป ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การให้คำปรึกษา การออกแบบ การผลิตและจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า ประกอบธุรกิจของบริษัทแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
ผลิตภัณฑ์ฉลากฟิล์มหดรัดรูป สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามระบบการพิมพ์ ได้แก่ ระบบการพิมพ์กราเวียร์ และระบบการพิมพ์ดิจิตอล
ผลิตภัณฑ์อื่น ได้แก่ แม่พิมพ์ (Printing Cylinder) และฟิล์มยืด (Stretch Film)
2.ขายไอพีโอ 120 ล้านหุ้น คิดเป็น 27.27%
หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 120,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 27.27 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้
3.เคาะราคาไอพีโอ 3.80 บาท คิดเป็น P/E ที่ 27.14 เท่า
SFT กำหนดราคาเสนอขายหุ้นไอพีโอที่ 3.80 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E ratio) เท่ากับ 27.14 เท่า โดยคำนวณจากกำไรสุทธิของบริษัท ในช่วง 12 เดือนย้อนหลัง (ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 ถึงไตรมาสที่ 2 ของปี 2563) ซึ่งเท่ากับ 59.71 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดจำนวน 440.00 ล้านหุ้น (Fully Diluted) จะได้กำไรสุทธิต่อหุ้น (Earnings Per Share) เท่ากับ 0.14 บาทต่อหุ้น และอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (Price to Earnings Ratio : P/E) ประมาณ 27.14 เท่า
เมื่อเทียบกับ P/E Ratio เฉลี่ยในช่วงเวลา 12 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.62 ถึง 30 ก.ย.63 ของบริษัทจดทะเบียนที่ดำเนินธุรกิจคล้ายคลึงกันกับบริษัท คือ
1.บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SFLEX เท่ากับ 37.97 เท่า
2.บริษัท ไทย โอ.พี.พี. จำกัด (มหาชน) หรือ TOPP เท่ากับ 9.01 เท่า
SFT ขายหุ้นไอพีโอ : ทั้งหมดไม่เกิน 120 ล้านหุ้น คิดเป็น 27.27%
มีจำนวนหุ้นหลังเสนอขายไอพีโอที่อยู่ที่ : 440 ล้านหุ้น
เข้าจดทะเบียนด้วยวิธี : เกณฑ์กำไรสุทธิ (Profit Test)
มูลค่าที่ตราไว้(พาร์) : 0.50 บาท/หุ้น
มูลค่าทางบัญชี : 0.66 บาทต่อหุ้น (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 63)
เข้าซื้อขายใน : ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) วันที่ 29 ต.ค.63
หมวดธุรกิจ : สินค้าอุตสาหกรรม
ที่ปรึกษาทางการเงิน : บริษัทหลักทรัพย์ อาร์เอชบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ผู้ร่วมจัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย : บริษัทหลักทรัพย์ อาร์เอชบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
สัดส่วนการเสนอขายหุ้น :
บุคคลตามดุลพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ จำนวน 60 ล้านหุ้น (50%)
นักลงทุนสถาบัน จำนวน 30 ล้านหุ้น (25%)
ผู้มีอุปการคุณของบริษัท จำนวน 18 ล้านหุ้น (15%)
กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท จำนวน 12 ล้านหุ้น (10%)
4.มีการขายหุ้นให้ผู้ถือหุ้นเดิมที่ราคาต่ำก่อนไอพีโอ
บริษัทฯ มีการเสนอขายหุ้นแก่ผู้ถือหุ้นเดิมที่ราคามูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) ในช่วง 9 เดือนก่อนหน้ายื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงานจนถึงช่วงเสนอขาย
5.หลังไอพีโอ กลุ่มซุง ชง ทอย ยังถือหุ้นใหญ่ 47.27%
หลังจากการเสนอขายหุ้นไอพีโอแล้วกลุ่ม กลุ่มซุง ชง ทอย ยังคงสัดส่วนถือหุ้นใหญ่ 47.27% และกลุ่มปิยะตรึงส์ ถือ 25.45% โดยมีสัดส่วนถือหุ้นหลังไอพีโอดังนี้

6.รายได้และกำไรสุทธิเติบโตต่อเนื่องในปี 60 - สิ้นมิ.ย.63
รายได้และกำไรสุทธิของ SFT ในปี 60 -สิ้นมิ.ย.63 เป็นดังนี้
|
ปี 60 |
ปี 61 |
ปี 62 |
สิ้นมิ.ย.63 |
รายได้(ลบ.) |
391.48 |
430.74 |
586.40 |
330.47 |
กำไรสุทธิ(ลบ.) |
19.54 |
30.84 |
56.90 |
34.96 |
อัตรากำไรสุทธิ(%) |
4.99 |
7.16 |
9.70 |
10.58 |
แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิแปรผันตามการขยายตัวของธุรกิจ ซึ่งบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่บริษัทสามารถควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างดี จึงส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
สำหรับงวด 6 เดือน ปี 63 บริษัทมีกำไรสุทธิ 34.96 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.74% เทียบงวดเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยหลักเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายของบริษัทจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า และการเพิ่มขึ้นของรายได้อื่นจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ในขณะที่บริษัทสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการแข็งค่าของเงินบาทซึ่งทำให้บริษัทมีต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง ดังนั้น จึงทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิและอัตรากำไรสุทธิที่เพิ่มมากขึ้น
7.มี D/E ที่ 1.54 เท่า
SFT มีระดับ D/E อยู่ที่ 1.54 เท่า
หนี้สินรวมของบริษัทในช่วงดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของธุรกิจซึ่งส่งผลตามมา ได้แก่ ความต้องการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีการเบิกใช้เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินและทำให้มีปริมาณเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่นเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังมีขอวงเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ลงทุนในเครื่องจักรเพิ่มเติมเพื่อขยายกำลังการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
งบแสดงฐานะการเงิน SFT สิ้นมิ.ย.63 ดังนี้
สินทรัพย์รวม : 534.98 ลบ.
หนี้สินรวม : 324 ลบ.
ส่วนของผู้ถือหุ้น : 210.98 ลบ.
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (D/E) : 1.54 เท่า
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) :14.56%
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) :31.84%
8.สัดส่วนหุ้นของ “ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร” ที่ไม่ติด Silent Period อยู่ที่ 62 ล้านหุ้น หรือ 14.09%
สัดส่วนหุ้นของ “ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร” ที่ไม่ติด Silent period : จำนวน 62,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 14.09 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้
9.นโยบายจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 30%
บริษัทมีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิจากงบเฉพาะกิจการภายหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและการจัดสรรทุนสำรองต่างๆ
10.เงินระดมทุนส่วนใหญ่ใช้ลงทุนโรงงานผลิตแห่งใหม่
บริษัทจะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งนี้ หลังหักค่าธรรมเนียมการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหุ้น ซึ่งเป็นเงินประมาณ 428.02 ล้านบาท ไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้
