บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SAK ประกอบธุรกิจ ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่ออื่น ภายใต้ชื่อ “สินเชื่อศักดิ์สยาม” กำลังจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 8 ธ.ค.นี้
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย จึงได้สรุปข้อมูลที่สำคัญจากแบบไฟลิ่ง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน
1.ดำเนินธุรกิจ ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และให้บริการสินเชื่ออื่น
บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SAK ประกอบธุรกิจ ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ โดยส่วนใหญ่ให้บริการสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันและให้บริการสินเชื่ออื่น ภายใต้ชื่อ “สินเชื่อศักดิ์สยาม” มีสาขากระจายครอบ
คลุมทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก มีประสบการณ์ในธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถมากว่า 25 ปี
มี 4 กลุ่มธุรกิจ ดังนี้
1. สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน
2. สินเชื่อส่วนบุคคล
3. สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ (สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์)
4. สินเชื่อเช่าซื้อหรือสินเชื่อรถแลกเงิน
'สินเชื่อศักดิ์สยาม' ปัจจุบันมี 519 สาขา ใน 38 จังหวัด พอร์ตสินเชื่อ 6,300 ล้านบาท มีแผนขยายสาขาเพิ่มเป็น 1,119 สาขา ภายในปี 66 และมีพอร์ตสินเชื่อแตะ 12,000 ล้านบาท
2.ขายไอพีโอ 546 ล้านหุ้น คิดเป็น 26.05%
เสนอขายหุ้นทั้งหมดจำนวนไม่เกิน 546,000,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 26.05 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้
3.เคาะราคาไอพีโอ 3.70 บาท คิดเป็น P/E ที่ 15.4 เท่า
กำหนดราคาเสนอขายหุ้นไอพีโอที่ 3.70 บาท คิดเป็นอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E Ratio) 15.4 เท่า หากพิจารณากำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจปกติ (Normalized Net Profit) ในช่วง 12 เดือนย้อนหลังตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 62 ถึงไตรมาส 3
ปี 63 ซึ่งเท่ากับ 505.2 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดจำนวน 2,096 ล้านหุ้น (Fully Diluted) และจะได้กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) เท่ากับ 0.24 บาทต่อหุ้น
เทียบ P/E Ratio ของบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน 20.1–26.0 เท่า
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ที่ประกอบธุรกิจที่คล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกันกับธุรกิจของบริษัทฯ จำนวน 2 บริษัท
บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC มี (P/E Ratio) เท่ากับ 26 เท่า
บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD มี (P/E Ratio) เท่ากับ 20.1 เท่า
เป็น P/E Ratio เฉลี่ย คำนวณจากข้อมูลการซื้อขายย้อนหลัง 12 เดือน ตั้งแต่ 21 พ.ย.62 ถึง 20 พ.ย.63
ขายหุ้นไอพีโอ : ทั้งหมดไม่เกิน 546 ล้านหุ้น คิดเป็น 26.05% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
มีจำนวนหุ้นหลังเสนอขายไอพีโอที่อยู่ที่ 2,096 ล้านหุ้น
เข้าจดทะเบียนด้วยวิธี : เกณฑ์กำไรสุทธิ (Profit Test)
มูลค่าที่ตราไว้(พาร์) : 1.00 บาท/หุ้น
มูลค่าทางบัญชี : 1.54 บาท/หุ้น (คำนวณ ณ วันที่ 30 ก.ย.63)
เข้าซื้อขายใน : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) วันที่ 8 ธ.ค.63
หมวดธุรกิจ : เงินทุนและหลักทรัพย์
ที่ปรึกษาทางการเงิน : บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต จำกัด (มหาชน)
ผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย : บล.ธนชาต,บล.บัวหลวง,บล.กสิกรไทย,บล.กรุงไทย ซิมิโก้,บล.ฟินันเซีย ไซรัส, บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) และบล.ฟิลลิป (ประเทศไทย)
สัดส่วนการเสนอขายหุ้น

4.มีนโยบายปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ
บริษัทฯ มีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทฯ ในแต่ละปี ภายหลังจากหักภาษีและเงินทุนสำรองตามกฎหมายและทุนสำรองอื่น
5.นำเงินระดมทุนขยายการให้สินเชื่อ เป็นเงินทุนหมุนเวียน

6.อัตรากำไรสุทธิอยู่ 33.6% (สิ้นก.ย.63)
รายได้ของ SAK เติบโตต่อเนื่อง และสามารถรักษาอัตรากำไรได้ในระดับสูง
รายได้และกำไรสุทธิของ SAK ตั้งแต่ปี 60 - 9 เดือน ปี 63 เป็นดังนี้
|
ปี 60 |
ปี 61 |
ปี 62 |
สิ้นก.ย.63 |
รายได้(ลบ.) |
928.5 |
1,256.6 |
1,604.6 |
1,216 |
กำไรสุทธิ(ลบ.) |
290.1 |
398.5 |
345.9 |
408.8 |
อัตรากำไรสุทธิ(%) |
31.2 |
31.7 |
21.6 |
33.6 |
ปี 62 กำไรสุทธิและอัตรากำไรสุทธิลดลง มาจากการบันทึกขาดทุนจากการปิดสัญญา ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวจากการเปลี่ยนสัญญาเงินให้สินเชื่อเพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ ธปท. โดยหากคำนวณกำไรสุทธิหลังปรับปรุงรายการ
พิเศษ (Normalized Profit) ได้แก่ ขาดทุนจากการปิดสัญญา จะมีกำไรสุทธิ 476 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.4%
สิ้น 30 ก.ย.63 โดยพอร์ตสินเชื่อมีมูลค่า 6,247 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากสิ้นปี 62 เนื่องจากมีนโยบายใช้หลักความระมัดระวังในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อแก่ลูกค้า เพื่อรักษาสภาพคล่องของกระแสเงินสด อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนของ
สถานการณ์โควิด แต่รายได้ในงวด 9 เดือน ปี 63 ยังคงโต 3.7% เทียบงวดเดียวกันปีก่อน
7.มี D/E อยู่ที่ 1.9 เท่า
SAK มีระดับ D/E ณ สิ้นก.ย.63 อยู่ที่ 1.9 เท่า
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (D/E) สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่ง และหลัง IPO จะทำให้ D/E ลดลง สามารถรองรับการขยายวงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน รวมถึงแหล่งเงินทุนประเภทตราสารหนี้อื่น และการขยายสินเชื่อได้อีก
ในอนาคต
งบแสดงฐานะการเงิน ณ สิ้นก.ย.63 ดังนี้
สินทรัพย์รวม : 6,864.2 ลบ.
หนี้สินรวม : 4,472 ลบ.
ส่วนของผู้ถือหุ้น : 2,392.2 ลบ.
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (D/E) : 1.9 เท่า
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) : 7.8%
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) : 21.1%
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) : 21.9%
ลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) : 2.6%
8.หลังไอพีโอกลุ่มนามสกุลบุญสาลี ยังถือหุ้นใหญ่ 66.8%
หลังจากการเสนอขายหุ้นไอพีโอแล้ว กลุ่มนามสกุลบุญสาลี ยังคงสัดส่วนถือหุ้นใหญ่ 66.8% โดยมีสัดส่วนถือหุ้นหลังไอพีโอดังนี้


9.สัดส่วนหุ้นของ “ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร” ที่ไม่ติด Silent Period จำนวน 415.2 ล้านหุ้น คิดเป็น 19.8%
หุ้นที่ไม่ติด Silent Period จำนวน 415,200,000 หุ้น คิดเป็น 19.8% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้
โดยหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมก่อนการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ที่ติดเงื่อนไขห้ามขายตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ (Silent Period) รวม 1,152,800,000 หุ้น คิดเป็น 55% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลัง IPO
ส่วนหุ้นที่ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร ได้รับการจัดสรรหุ้น IPO ในครั้งนี้ จำนวนรวม 15,500,000 หุ้น ติดเงื่อนไขห้ามขายหุ้น (Lock-up) กับบริษัทฯ เป็นระยะเวลา 6 เดือนนับจากวันแรกที่หุ้นของบริษัทฯ ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ