บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ RBF ธุรกิจวัตถุปรุงแต่งอาหาร ส่วนผสมในอาหาร และโรงแรม 2 แห่ง กำลังจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET)ในวันที่ 24 ต.ค.62
ทีมข่าว "อีไฟแนนซ์ไทย" เจาะลึก 9 เรื่องน่ารู้ของหุ้น RBF จากข้อมูลในแบบไฟลิ่ง มาเพื่อให้นักลงทุนที่มีความสนใจ ศึกษาข้อมูลเตรียมความพร้อมก่อนเข้าลงทุน
1.ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายวัตถุที่ใช้ผสมอาหาร
อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย หรือ RBF ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2534 ปัจจุบันดำเนินธุรกิจหลัก คือ ผลิตและจำหน่ายวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร(Food Ingredients) โดยแบ่งสินค้าเป็น 6 กลุ่มหลัก ได้แก่
1.กลุ่มวัตถุแต่งกลิ่น สีผสมอาหาร รวมถึงส่วนผสมในน้ำหอม เครื่องสำอาง สัดส่วนรายได้ 38.29%
2.กลุ่มแป้งและซอส สัดส่วนรายได้ 33.87%
3.กลุ่มผลิตภัณฑ์อบแห้ง สัดส่วนรายได้ 6.30%
4.กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง สัดส่วนรายได้ 3.47%
5.กลุ่มบรรจุภัณฑ์พลาสติก สัดส่วนรายได้ 1.65%
6.กลุ่มผลิตภัณฑ์ซื้อมาขายไป เช่น สารกันบูด สารกันรา กรดมะนาว นมผง และปลอกไส้กรอก สัดส่วนรายได้ 13%
โดยมีรูปแบบจำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมตามคำสั่งซื้อเป็นหลัก และจำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมและกลุ่มลูกค้าธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่สั่งผลิตในรูปแบบ OEM
รวมถึงผลิตและจำหน่ายสินค้าให้กับกลุ่มลูกค้าธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่และกลุ่มลูกค้าร้านค้าปลีกทั่วไป ภายใต้ตราสินค้าของบริษัท ได้แก่ “อังเคิลบาร์นส์” “เบสท์ โอเดอร์” “super-find” “ก๊อปจัง” “Haeyo” “Angelo” และ “Aroi Mak Mak”
นอกจากนี้ยังมีบริษัทย่อยที่ลงทุนในธุรกิจโรงแรม 2 แห่ง ได้แก่ โรงแรมไอบิส สไตล์ เชียงใหม่ และโรงแรมโนโวเทล ชุมพร บีช รีสอร์ท แอนด์ กอล์ฟ ปัจจุบันบริหารงานโดยกลุ่มแอคคอร์(ACCOR)
ทั้งนี้ในปี 61 มีสัดส่วนรายได้จากการขาย 96.14% และรายได้จากธุรกิจโรงแรม 3.86%
2.มีโรงงานผลิตทั้งหมด 7 แห่ง ส่งออกหลายประเทศทั่วโลก
ปัจจุบัน RBF มีโรงงานผลิตทั้งหมด 7 แห่ง และส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมาร์ ประเทศแถบตะวันออกกลางและเอเชียใต้ ทั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรต คูเวต อินเดีย ปากีสถาน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน รัสเซีย อังกฤษ เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
มีบริษัทย่อยทั้งหมด 7 แห่ง ในไทย 3 แห่ง เวียดนาม 1 แห่ง อินโดนีเซีย 2 แห่ง และจีน 1 แห่ง
3.ราคาไอพีโอ 3.30 บ. คิดเป็น P/E 22 เท่า
RBF กำหนดราคาเสนอขายหุ้นไอพีโอที่ 3.30 บาทต่อหุ้น ด้วยการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (Book Building) ซึ่งเป็นวิธีการสำรวจปริมาณความต้องการซื้อหุ้นของนักลงทุนสถาบันในประเทศ ในแต่ละระดับราคา
ซึ่งราคาเสนอขายครั้งนี้ คิดเป็นอัตราส่วน P/E อยู่ที่ 22 เท่า โดยการคำนวณกำไรสุทธิต่อหุ้นจากกำไรสุทธิในช่วง 4 ไตรมาสย้อนหลัง(1 ก.ค.61 - 30 มิ.ย.62) เท่ากับ 299.49 ล้านบาท หารด้วยหุ้นสามัญทั้งหมด 2,000 ล้านหุ้น ได้กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) 0.15 บาท
ทั้งนี้ RBF ไม่มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเดียวกันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงเปรียบเทียบกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิของหมวดอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) ซึ่งเป็นหมวดธุรกิจที่บริษัทจะเข้าไปจดทะเบียน ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2562 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2562 ซึ่งเท่ากับ 23.47 เท่า
RBF ขายหุ้นไอพีโอทั้งหมด 520 ล้านหุ้น
มีจำนวนหุ้นหลังเสนอขายไอพีโอที่อยู่ที่ 2,000 ล้านหุ้น
มูลค่าที่ตราไว้(พาร์) 1 บาท/หุ้น
มูลค่าทางบัญชีที่ 1.34 บาท/หุ้น (คำนวณ ณ วันที่ 30 มิ.ย.62)
เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 24 ต.ค. 62
ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด
อันเดอร์ไรท์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส, บล.กสิกรไทย, บล.โกลเบล็ก, บล.เคจีไอ, บล.เคที ซีมิโก้, บล.เคทีบี , บล.ทรีนีตี้ , บล.โนมูระ พัฒนสิน , บล.ฟิลลิป, บล.ยูโอบี เคย์เฮียน, บล.อาร์เอชบี, บล.ไอร่า, บล.เอเซีย พลัส
สัดส่วนการเสนอขายหุ้น IPO ดังนี้
ประเภทผู้ลงทุน |
จำนวนหุ้นที่เสนอขาย(ล้านหุ้น) |
สัดส่วนที่เสนอขาย(%) |
บุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ |
158,741,500 |
30.52 |
เสนอขายต่อผู้มีอุปการคุณของบริษัทและบริษัทย่อย |
16,845,000 |
3.25 |
เสนอขายต่อกรรมการ ผู้บริหาร
และ/หรือพนักงานของบริษัทและบริษัทย่อย |
22,413,500 |
4.31 |
เสนอขายต่อนักลงทุนสถาบัน |
322,000,000 |
61.92 |
4.หลัง IPO ตระกูล"รัตนภูมิภิญโญ" ยังถือหุ้นใหญ่
บริษัทมีกลุ่ม "รัตนภูมิภิญโญ" ถือหุ้นใหญ่ก่อนไอพีโอในสัดส่วน 100% และมีสัดส่วนถือหุ้นหลังไอพีโอ ดังนี้

อนึ่ง บริษัท เจ.พี.เอส. โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้นโดย
1.นายสมชาย รัตนภูมิภิญโญ 40.62%
2.พ.ต.พญ.จัณจิดา รัตนภูมิภิญโญ 29.69%
3.พญ.สนาธร รัตนภูมิภิญโญ 29.69%
5.มีหุ้นไม่ติด Silent Period จำนวน 75.18 ล้านหุ้น คิดเป็น 3.76% ของหุ้นทั้งหมด
สัดส่วนหุ้นของ "ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร" ที่ไม่ติด Silent Period มีจำนวน 75,182,000 หุ้น คิดเป็น 3.76% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้
6.กำไร-มาร์จิ้นเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 61
ผลการดำเนินงานปี 59 - ครึ่งแรกปี 62
ปี |
รายได้ |
กำไรสุทธิ |
อัตรากำไรสุทธิ |
59 |
2,640 |
366 |
13.9% |
60 |
2,919 |
402 |
13.8% |
61 |
2,749 |
321 |
11.7% |
ครึ่งแรกปี 62 |
1,343 |
147 |
10.4%
|
สาเหตุที่กำไรสุทธิ และอัตรากำไรสุทธิลดลงตั้งแต่ปี 61 มาจาก รายได้ที่ปรับลดลงจาก
1.ตามการลดปริมาณการจำหน่ายนมผง
2.รายได้จากกลุ่มวัตถุแต่งกลิ่นและสีผสมอาหารเนื่องจากลูกค้ารายหนึ่งย้ายไปผลิตสินค้าในประเทศจีน
3.รายได้อาหารแช่แข็ง เนื่องจากไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบได้ตามที่ต้องการ
4.ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการขายและบริหาร โดยส่วนใหญ่มาจากการปรับเพิ่มของค่าใช้จ่ายพนักงาน
7.มี D/E ล่าสุดที่ 0.75 เท่า เพิ่มขึ้นจาก 0.33 เท่าในปี 60
งบแสดงฐานะการเงิน ณ 30 มิ.ย. 62 ดังนี้
สินทรัพย์รวม 3,474 ลบ.
หนี้สินรวม 1,489 ลบ.
ส่วนของผู้ถือหุ้น 1,984.94 ลบ.
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (D/E) 0.75 เท่า
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) 8.51%
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) 14.45%
บริษัทและบริษัทย่อยมี D/E เท่ากับ 0.40 เท่า 0.33 เท่า 0.65 เท่า และ 0.75 เท่า ในปี 59-30 มิ.ย. 62 ตามลำดับ
โดยปี 2560 อัตราส่วน D/E ลดลง เป็นผลจากการเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 62 ล้านบาท เป็น 638 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นของผลประกอบการของบริษัท และการลดลงของภาระหนี้เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินและเงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้อง
ณ สิ้นปี 2561 อัตราส่วน D/E เพิ่มขึ้น เกิดจากการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2560 จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,436.20 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าการเพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัท จาก 638 ล้านบาท เป็น 1,480 ล้านบาท และกำไรจากการดำเนินงานประจำปี ประกอบกับมีการกู้ยืมเงินระยะยาวจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันจำนวน 1,400 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการจัดโครงสร้างทุนบริษัทและจัดโครงสร้างกลุ่มบริษัท
ณ 30 มิถุนายน 2562 อัตราส่วน D/E เพิ่มขึ้น เกิดจากการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2561 จำนวนรวมทั้งสิ้น 250 ล้านบาท และมีเงินกู้ยืมเงินระยะสั้นจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการ รวมทั้งมีภาษีเงินได้ค้างจ่ายและภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานเพิ่มขึ้น
8.เงินระดมทุนส่วนใหญ่นำไปใช้หนี้ให้กับผู้ถือหุ้นใหญ่และเป็นทุนหมุนเวียน
บริษัทเตรียมนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้ ภายหลังหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องราว 3,451 ล้านบาท ไปใช้ดังนี้
-ใช้ 500 - 600 ล้านบาท ชำระคืนเงินกู้ให้กับผู้ถือหุ้นใหญ่ในปี 62
-ใช้ 20 - 25 ล้านบาท ลงทุนเปิดบริษัทตัวแทนและห้องทดลองในต่างประเทศในปี 63
-ใช้ 641.89 - 806.89 เป็นเงินทุนหมุนเวียนในปี 63
-ใช้ 120 - 130 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงและซื้อเครื่องจักรเพิ่มเติมในปี 64
-ใช้ 200 - 250 ล้านบาท ในการลงทุนก่อสร้างโรงงานในต่างประเทศในปี 65
9.มีนโยบายปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ
บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในแต่ละปี ไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิที่เหลือหลังจากหักสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายกำหนด โดยพิจารณาจากงบการเงินเฉพาะของบริษัท