บริษัท บลูเวนเจอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BVG ประกอบธุรกิจ ให้บริการแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันในการบริหารจัดการธุรกิจประกันภัยรถยนต์ด้วยระบบ EMCS กำลังจะเข้าซื้อขาย ในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ในวันที่ 17 ก.พ.นี้
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย จึงได้สรุปข้อมูลที่สำคัญจากแบบไฟลิ่ง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน
1.ประกอบธุรกิจ ให้บริการแพลตฟอร์มธุรกิจประกันด้วย AI
บริษัท บลูเวนเจอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BVG ดำเนินธุรกิจ ให้บริการแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันในการบริหารจัดการธุรกิจประกันภัยรถยนต์ด้วยระบบ EMCS
กลุ่มบริษัทฯ ประกอบธุรกิจ 4 ธุรกิจ ได้แก่
1. ธุรกิจให้บริการระบบแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันสำหรับบริหารจัดการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับประกันภัยรถยนต์ (ระบบ EMCS)
2. ธุรกิจให้บริการบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลและสินไหมทดแทน รวมถึงการให้คำปรึกษาแนะนำที่เกี่ยวข้อง ผ่านแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชัน (บริการ TPA)
3. ธุรกิจการให้คำปรึกษาด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย
4. ธุรกิจการให้บริการนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.ขายไอพีโอจำนวน 157.50 ล้านหุ้น คิดเป็น 35%
เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 157,500,000 หุ้น หรือคิดเป็น 35% ของหุ้นทั้งหมดหลัง IPO
แบ่งเป็น
หุ้นเสนอขายโดยบริษัทฯ 90 ล้านหุ้น
หุ้นเสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม บมจ.ไทยรับประกันภัยต่อ (THRE) 67.50 ล้านหุ้น
3.เคาะราคาไอพีโอ 3.85 บาท คิดเป็น P/E ที่ 32.08 เท่า
ราคาเสนอขายหุ้นละ 3.85 บาท คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E Ratio) เท่ากับ 32.08 เท่า คำนวณจากกำไรสุทธิของบริษัทฯ ในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมา (Q4/64 ถึง Q3/65) ที่ 51.86 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ ซึ่งเท่ากับ 450 ล้านหุ้น (Fully Diluted) จะได้กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.12 บาท
เทียบ P/E Ratio ของบจ.ในหมวดธุรกิจเทคโนโลยีฯ ที่ดำเนินธุรกิจใกล้เคียงกัน
บมจ.ฮิวแมนิก้า (HUMAN)
บมจ.ไอแอนด์ไอ กรุ๊ป (IIG)
บมจ.เน็ตเบย์ (NETBAY)
มีค่าเฉลี่ย P/E อยู่ที่ 44.99 เท่า
ขายหุ้นไอพีโอ : จำนวน 175.50 ล้านหุ้น คิดเป็น 35%
มีจำนวนหุ้นหลังเสนอขายไอพีโออยู่ที่ 450 ล้านหุ้น
เข้าจดทะเบียนด้วยวิธี : เกณฑ์กำไรสุทธิ (Profit Test)
มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) : 0.50 บาท/หุ้น
มูลค่าทางบัญชี : 0.98 บาท/หุ้น งวด 9 เดือน ปี 65
เข้าซื้อขายใน : ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ในวันที่ 17 ก.พ.นี้
หมวดธุรกิจ : เทคโนโลยี
ที่ปรึกษาทางการเงิน : บล.เคจีไอ (ประเทศไทย)
ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม : บล.เคจีไอ (ประเทศไทย)
ผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย : บล.กรุงศรี,บล.ทรีนีตี้ และบล.ฟินันเซีย ไซรัส
สัดส่วนการเสนอขายหุ้น
ผู้มีอุปการคุณของบริษัทฯ 17.30 ล้านหุ้น 10.98%
บุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 140.20 ล้านหุ้น 89.02%
4.มีนโยบายปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ
บริษัทฯ มีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทฯ ในแต่ละปี ภายหลังจากหักภาษีและเงินทุนสำรองตามกฎหมายและทุนสำรองอื่น
5.นำเงินพัฒนาระบบ AI ระบบสารสนเทศ
6.อัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 13.73% งวด 9 เดือน ปี 65
รายได้และกำไรของ BVG ตั้งแต่ปี 63-64 และ 9 เดือน ปี 65 เป็นดังนี้
|
ปี 63 |
ปี 64 |
9 เดือน ปี 65 |
รายได้รวม (ลบ.) |
391.11 |
405.23 |
328.34 |
กำไรสุทธิ (ลบ.) |
62.23 |
50.16 |
45.08 |
อัตรากำไรสุทธิ (%) |
15.91 |
12.38 |
13.73 |
7.มี D/E อยู่ที่ 0.45 เท่า
BVG มีระดับ D/E งวด 9 เดือน ปี 65 อยู่ที่ 0.45 เท่า
งบแสดงฐานะการเงิน สิ้นก.ย.65 ดังนี้
สินทรัพย์รวม : 515.16 ลบ.
หนี้สินรวม : 160.78 ลบ.
ส่วนของผู้ถือหุ้น : 354.38 ลบ.
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (D/E) : 0.45 เท่า
อัตราผลตอบแททต่อสินทรัพย์ (ROA) : 11.74%
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) : 16.28%
8.หลังไอพีโอ บมจ.ไทยรับประกันภัยต่อ (THRE) ยังถือหุ้นใหญ่ 65%
หลังจากการเสนอขายหุ้นไอพีโอแล้ว บมจ.ไทยรับประกันภัยต่อ (THRE) ยังคงถือหุ้นใหญ่สัดส่วน 65% โดยมีสัดส่วนถือหุ้นหลังไอพีโอดังนี้
9.สัดส่วนหุ้นของ “ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร” ที่ไม่ติด Silent Period จำนวน 45 ล้านหุ้น คิดเป็น 10%
สัดส่วนหุ้นของ “ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร” ที่ไม่ติด Silent Period : จำนวน 45,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 10.00 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้