ผู้สื่อข่าวรายงานว่า "สิงคโปร์" เอาชนะ "ฮ่องกง" กลายเป็นศูนย์กลางด้านการเงินอันดับหนึ่งในเอเชีย และอันดับสามของโลก โดยที่ "นิวยอร์ค" และ "ลอนดอน" ขึ้นแท่นอันดับ 1 และ 2 ของโลก จากรายงานของดัชนีการเงินโลก หรือ Global Financial Centres Index (GFCI 32)
"ฮ่องกง" หลุดลงมาอยู่ที่อันดับที่ 4 หลังเผชิญกับมาตรการคุมเข้มโควิด-19 และภาวะสมองไหล ขณะที่ "ซาน ฟรานซิสโก" ขยับขึ้นสองอันดับจากอันดับที่ 13 ขึ้นมาติด 1 ใน 5 อันดับแรกของดัชนี GFCI 32
"ฮ่องกง"นั้น กำลังฝ่าฟันเพื่อชิงบทบาทในฐานะศูนย์กลางการเงินโลกกลับมา ในขณะที่ยังคงต้องดำเนินการตามมาตรการของจีน เพื่อที่จะลดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้เหลือน้อยที่สุด ท่ามกลางการผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวของนานาประเทศทั่วโลก
ทั้งนี้ การประชุมสุดยอดของเหล่านายธนาคารทั่วโลกในเดือนพฤศจิกายน มุ่งหวังเพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่นให้กลับมายังฮ่องกง ล่าสุดบริษัทชั้นนำ 20 แห่งของโลกได้ให้คำมั่นว่าจะส่งผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมงานดังกล่าว แต่ยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับกับกฎระเบียบการกักตัว ที่ทำให้จำนวนของนักท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับต่ำ
ทางด้าน"สิงคโปร์"นั้น คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 4 ล้านคนในปี 2565 อีกทั้ง บรรดางานกิจกรรมอันเป็นที่น่าจับตา ไม่ว่าจะเป็นประชุมสุดยอด Milken Institute Asia Summit งานสัมมนา Forbes Global CEO Conference และการแข่งรถ Singapore Grand Prix ยิ่งจะช่วยยกระดับเมืองในฐานะเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวยิ่งขึ้น
ส่วนเมืองขนาดใหญ่ของจีน อย่าง เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง และ เซินเจิ้น ยังคงรักษาระดับไว้ใน 10 อันดับแรกของ GFCI ได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเผชิญกับมาตรการควบคุมโควิด-19 เป็นศูนย์ของทางการจีน ที่ตัดขาดจีนจากโลกไปก็ตาม
สำหรับมหานครนิวยอร์คนั้น ยังคงรั้งอันดับ 1 และคงความเป็นหนึ่งตั้งแต่การจัดอันดับดัชนี GFCI ครั้งที่ 24 เมื่อ ก.ย. 2561
ขณะที่ กรุงมอสโคว ศูนย์กลางทางการเงินของรัสเซีย ได้รับผลกระทบจากสงครามในยูเครน ส่งผลให้อันดับของเมืองหล่นลงถึง 22 อันดับ มาอยู่ที่อันดับที่ 73 และ เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ร่วง 17 อันดับมาอยู่ที่ อันดับ 114
ด้านกรุงเทพฯ ดิ่งลง 18 อันดับ อยู่อันดับที่ 79 และรายชื่อรั้งท้าย 3 อันดับสุดท้ายของดัชนี GFCI 32 นี้ คือ บาร์เบโดส ซึ่งเป็นประเทศสาธารณะรัฐล่าสุดในประชาคมโลก พร้อมด้วยเมืองซีอาน และอู่ฮั่น ของจีน
โดย 20 อันดับ ได้แก่ 1. New York, US / 2. London, UK /3. Singapore / 4. Hong Kong / 5. San Francisco, US / 6. Shanghai, China / 7. Los Angeles, US / 8.Beijing, China / 9.Shenzhen, China / 10.Paris, France 11.Seoul, South Korea / 12. Chicago, US / 13.Sydney, Australia / 14. Boston, US / 15. Washington DC, US / 16.Tokyo, Japan / 17. Dubai, United Arab Emirates / 18.Frankfurt, Germany / 19.Amsterdam, Netherlands / 20.Geneva, Switzerland
อย่างไรก็ดี ค่าเฉลี่ยของการจัดอันดับครั้งนี้ เพิ่มขึ้น 4.83% จากการจัดทำดัชนี GFCI 31 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในศูนย์กลางทางการเงินเหล่านี้ แม้จะเผชิญกับปัจจัยสงครามรัสเซียบุกยูเครน ความไม่มั่นคงด้านเศรษฐกิจและพลังงาน และแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ
ดัชนี GFCI 32 นี้ ได้จัดอันดับศูนย์กลางทางการเงินโลกทั้งหมด 119 แห่ง โดย Z/Yen Partners และ China Development Institute ได้ดำเนินการรวบรวมผลการประเมินจากนักการเงินมืออาชีพหลายพันคนผ่านทางแบบสำรวจออนไลน์ 20 อันดับเมืองศูนย์กลางทางการเงินของโลก
Rank |
Centre |
GFCI 32 Rating |
Rank(+/-) |
1 |
New York |
760 |
0 |
2 |
London |
731 |
0 |
3 |
Singapore |
726 |
3 |
4 |
Hong Kong |
725 |
-1 |
5 |
San Francisco |
724 |
2 |
6 |
Shanghai |
723 |
-2 |
7 |
Los Angeles |
722 |
-2 |
8 |
Beijing |
721 |
0 |
9 |
Shenzhen |
720 |
1 |
10 |
Paris |
719 |
1 |
11 |
Seoul |
718 |
1 |
12 |
Chicago |
717 |
1 |
13 |
Sydney |
716 |
10 |
14 |
Boston |
715 |
0 |
15 |
Washington DC |
714 |
0 |
16 |
Tokyo |
713 |
-7 |
17 |
Dubai |
712 |
0 |
18 |
Frankfurt |
711 |
-2 |
19 |
Amsterdam |
710 |
0 |
20 |
Geneva |
709 |
5 |
|