เปิดโผ 22 หุ้น Top Pick ปี 64 จาก 4 โบรกเกอร์ ลุยลงทุนดักวัคซีนป้องกันโควิด-19 เชื่อดันเศรษฐกิจฟื้นตัว เน้นธีม Value-Laggard-ปันผล เหตุเป็นเป้า Fund Flow ต่างชาติที่มีแนวโน้มไหลเข้าต่อเนื่อง ส่วนใหญ่กำไรโตแจ่ม แถมมีอัพไซด์ระดับ 9-58% GULF-BDMS-KBANK-JWD ฮ็อตถูกเชียร์มากกว่า 1 โบรกฯ
*** "ฟินันเซียฯ" เปิดโผ 7 หุ้นเด่น 3 ธีมลงทุน
บทวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟินันเซีย ไซรัส ประเมินว่า หุ้น Value Play จะยัง Outperform หุ้น Growth จาก Valuation ที่ถูกกว่า โดยแนะนำลงทุน 3 ธีม ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งจะได้ประโยชน์ตรงจากโควิด-19 ที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง, กลุ่มที่รับประโยชน์จากการบริโภคที่ฟื้นตัวในปีนี้ และ กลุ่มกระแสรักสุขภาพซึ่งจะได้รับผลบวกจากความสำเร็จของวัคซีนโควิด-19 โดยมีหุ้น TOP Pick ทั้งหมด 7 บริษัท ได้แก่
หุ้น TOP Pick จาก บล.ฟินันเซีย ไซรัส
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ราคาเหมาะสม (บ.)
|
%อัพไซด์*
|
กำไรปี 64 (ลบ.)
|
%chg YoY
|
%Div. Yield ปี 64
|
BDMS
|
28
|
35
|
8,850
|
14
|
1.7
|
BEM
|
11
|
33
|
4,162
|
106
|
1.7
|
M
|
63
|
28
|
2,307
|
117
|
2.28
|
KBANK
|
144
|
27
|
26,050
|
17
|
2.9
|
JWD
|
10
|
20
|
358
|
22
|
3.12
|
MTC
|
70
|
19
|
6,008
|
24
|
0.9
|
SYNEX
|
17
|
13
|
713
|
18
|
0.5
|
* เทียบราคาล่าสุด (30 ธ.ค.63)
|
หุ้น Top Pick ของ บล.ฟินันเซีย ไซรัส มีอัพไซด์ 13-35% หรือเฉลี่ย 25% เมื่อเทียบราคาเหมาะสมกับราคาล่าสุด (30 ธ.ค.63) และทุกบริษัทแนวโน้มกำไรสุทธิปี 64 จะเติบโตจากปี 63 ตั้งแต่ 14-117% หรือเฉลี่ย 45%
บมจ.เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป (M) : กำไรจะเติบโตสูงถึง 117% แตะ 2,307 ล้านบาท ซึ่งมองว่าธุรกิจจะสามารถฟื้นตัวกลับไปเหมือนก่อนการระบาดของโควิด-19 หากเริ่มมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยเริ่มเห็นรายได้ฟื้นตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 3/63 เป็นต้นมา ขณะที่ M เป็นหุ้นในธุรกิจอาหารที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่งที่สุด ไม่มีภาระหนี้เลย มีเงินสดและสินทรัพย์ใกล้เคียงเงินสด ณ สิ้นไตรมาส 3/63 ถึง 6.8 พันล้านบาท (คิดเป็น 7.4 บาท/หุ้น) สะท้อนสภาพคล่องที่แข็งแกร่ง โดยราคาเหมาะสมที่ 63 บาท มีอัพไซด์จากราคาล่าสุดถึง 28% และมีแนวโน้มอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) ปี 64 ที่ 2.28%
บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) : คาดกำไรปี 64 จะเติบโตระดับ 106% แตะ 4,162 ล้านบาท คาดว่าหลังความสำเร็จของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ธุรกิจของ BEM จะฟื้นตัวกลับไปอยู่ในระดับก่อนการระบาด ขณะที่การชุมนุมทางการเมืองหากไม่รุนแรงและไม่ยืดเยื้อ บรรยากาศการลงทุนใน BEM ควรกลับสู่ปกติ ประเมินราคาเหมาะสม 11 บาท มีอัพไซด์จากราคาล่าสุดถึง 33%
บมจ.เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ (JWD) : คาดกำไรปี 64 เติบโต 22% เป็น 358 ล้านบาท จากการขยายตัวของธุรกิจเดิม และรับรู้รายได้เต็มปีจากคลังสินค้า 3 แห่ง ซึ่งจะแล้วเสร็จในไตรมาส 1/64 รวมถึงธุรกิจ Barge Terminal ที่คาดว่าจำนวนตู้ให้บริการจะเพิ่มเป็นไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นตู้ต่อเดือน และ ธุรกิจ Self-Storage ที่ปัจจุบันมี 5 สาขา คิดเป็นพื้นที่ 1 หมื่นตารางเมตร โดยคาดว่าจะให้ Dividend Yield ปี 64 ที่ 3.12% ราคาเหมาะสม 10 บาท มีอัพไซด์ถึง 20%
ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) : คาดหุ้นกลุ่มแบงก์จะได้ประโยชน์อย่างสูงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 และ KBANK เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในกลุ่ม เพราะกำไรจะฟื้นตัวระดับ 17% เทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 10% เพราะ KBANK ได้จัดสรรสำรองเชิงรุกตั้งแต่ปี 63 ซึ่งหากคุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น KBANK จะเติบโตได้อย่างรวดเร็วและยั่งยื่นจากรากฐานด้านเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง ขณะที่คาดว่า KBANK จะเป็นหนึ่งในผู้ได้รับประโยชน์รายใหญ่จากกระแสการไหลกลับของเงินทุนต่างประเทศ ประเมินราคาเหมาะสมที่ 144 บาท มีอัพไซด์ถึง 27%
บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) : การขายหุ้น บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) จะทำให้ส่วนแบ่งรายได้หายไป 5-7% ของกำไรจากการดำเนินงาน แต่จะลดต้นทุนการเงินได้ราว 5% หลังนำกำไรพิเศษจากการขายไปชำระคืนหนี้ โดยมองว่ากลยุทธ์การขายดังกล่าวสมเหตุสมผลหลัง BDMS ไม่ประสบความสำเร็จในการครอบงำกิจการ BH แต่ศักยภาพการแข็งขันในธุรกิจของ BDMS ยังคงแข็งแกร่งในระยะยาว โดยเฉพาะการบริหาร EBITDA Margin ได้ดีขึ้นต่อเนื่อง ประเมินราคาเหมาะสมที่ 27 บาท มีอัพไซด์ถึง 35%
บมจ.เมืองไทย แคปปิตอล (MTC) : เป็นหุ้นที่ยังเติบโตสูงและมีความเสี่ยงต่ำ เพราะมีคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี NPL ต่่ำสุดและ Coverage Ratio สูงเป็นอันดับ 2 ของกลุ่ม ขณะที่ความต้องการสินเชื่อยังเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องท่ามกลางโควิด-19 คาดกำไรปี 64 เติบโต 24% ประเมินราคาเหมาะสม 70 บาท มีอัพไซด์ 19%
บมจ.ซินเน็ค (ประเทศไทย) : ตลาด Eenterprise ปี 64 สดใสต่อยอดขายและอัตรากำไรของ SYNEX จากการขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการมาของ 5G ขณะที่อุตสาหกรรม Gaming ยังเติบโตต่อเนื่อง โดย SYNEX มี Product Mix ที่หลากหลาย คาดกำไรปี 63-65 เติบโตเฉลี่ย 17% ประเมินราคาเหมาะสม 17 บาท
*** "หยวนต้าฯ" ชี้เป้า 6 หุ้นแจ๋วปี 64
บทวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ประเมินว่า ปี 64 เป็นปีแห่งการฟื้นตัว ทั้งเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย โดยมีวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นปัจจัยบวกสำคัญ โดยแนะนำกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นกลุ่ม Value & Laggard Play และกลุ่ม Vaccine Play โดยมีหุ้น Top Pick ดังนี้
หุ้น TOP Pick ปี 64 จาก บล.หยวนต้า
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ราคาเหมาะสม (บ.)
|
%อัพไซด์*
|
กำไรปี 64 (ลบ.)
|
%chg YoY
|
%Div. Yield ปี 64
|
JWD
|
13.2
|
58
|
405
|
28
|
3.4
|
CRC
|
42
|
37
|
6253
|
1,273
|
1.3
|
BJC
|
47
|
35
|
7016
|
84
|
2.4
|
SHR
|
3.08
|
25
|
-445
|
75
|
N/A
|
BDMS
|
24.3
|
17
|
9495
|
51
|
1.5
|
KKP
|
60
|
16
|
6057
|
13
|
7.8
|
* เทียบราคาล่าสุด (30 ธ.ค.63)
|
6 บริษัทข้างต้นมีอัพไซด์จากราคาเหมาะสม 16-58% หรือเฉลี่ย 31% ขณะที่กำไรปี 64 จะเติบโต 13%-1,273%YoY
บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) : เริ่มเห็นการฟื้นตัวจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 3/63 คาดฟื้นตัวเต็มที่ในปี 64 จากความสำเร็จของวัคซีนฯ ขณะที่การปรับรูป แบบระหว่าง CDS และ ROBINSON ถือเป็น Synergy ที่เห็นผลตอบรับดี ส่งผลให้ยอดขาย-มาร์จิ้นเพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่การใช้บริการแบบ Omni Channel ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดกำไรปี 64 ฟื้นตัวระดับ 1,273% แตะ 6,253 ล้านบาท ราคาเหมาะสม 42 บาท มีอัพไซด์ถึง 37%
บมจ.เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ (JWD) : อัพไซด์สูงถึง 58% จากราคาเหมาะสมที่ 13.2 บาท ซึ่ง ณ 30 ธ.ค.63 อยู่ที่ 8.35 บาท โดยจะได้อานิสงส์การฟื้นตัวกลุ่มยานยนต์ที่เติบโตกว่าปกติรับตลาดขาขึ้น และลูกค้าเกือบทุกแบรนด์เป็นลูกค้า JWD ทั้งสิ้น ขณะที่กลุ่มสินค้าควบคุมอุณหภูมิจะเป็นปีที่เติบโตทั้งจากลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ ประเมินกำไรสุทธิปีนี้เติบโต 28% แตะ 405 ล้านบาท
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) : เป็นหุ้นปันผลสูง คาด Dividend Yield ปี 64 ระดับ 7.8% สูงสุดในกลุ่ม โดยเป็นแบงก์ที่มีโอกาสปรับตัวได้ดีในตลาดขาขึ้น คาดกำไรสุทธิเติบโต 16% หลังการตั้งสำรองผ่อนคลายลง และรายได้ค่าธรรมเนียมฝั่งตลาดทุนทยอยฟื้นตัวขึ้น ประกอบกับมีดีล IPO ขนาดใหญ่ของ บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) ช่วงต้นปี
บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (BJC) : เห็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปของผลประกอบการ คาดยอดขายธุรกิจ Non-Retail เริ่มมีคำสั่งซื้อทั้งในและต่างประเทศ และมีโอากาศขยายฐานลูกค้าต่อเนื่องโดยเฉพาะในประเทศเวียดนาม ประเมินกำไรปี 64 เติบโต 84%YoY เป็น 6,057 ล้านบาท ราคาเหมาะสมที่ 47 บาท มีอัพไซด์ 35%
บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) : เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้สถานที่โรงพยาบาลเป็นที่กักตัว คาดผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วเมื่อปี 63 และจะเติบโตโดดเด่นในปีนี้ จากโควิด-19 ในต่างประเทศที่คลี่คลายขึ้น หลังความสำเร็จของวัคซีน คาดกำไรสุทธิเติบโต 51% เป็น 9,495 ล้านบาท ราคาเหมาะสม 24.3 บาท มีอัพไซด์ 17%
บมจ.เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท (SHR) : คาด EBITDA เร่งตัวกลับสู่ภาวะปกติที่ 1.6 พันล้านบาทภายใน 2 ปี สะท้อนการฟื้นตัวของ Portfolio รวม ขณะที่ฐานะการเงินแข็งแกร่ง หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุน (IBD/E) ณ สิ้นไตรมาส 3/63 อยู่ที่เพียง 0.5 เท่า เงินสดในมือราว 2.4 พันล้านบาท สร้างโอกาสเข้าซื้อกิจการได้อีกอย่างน้อย 2 หมื่นล้านบาท แม้ประเมินว่ากำไรสุทธิจะยังขาดทุน 445 ล้านบาท แต่ขาดทุนลดลงจากระดับ 1,754 ล้านบาทในปี 63 หรือกำไรดีขึ้น 75% ขณะที่ราคาหุ้นซื้อขายที่ P/BV เพียง 0.5 เท่า ต่ำกว่าคู่แข่งอย่างมีนัยสำคัญ ให้ราคาเหมาะสมที่ 3.08 บาท มีอัพไซด์ 25%
*** "โนมูระฯ" เปิด 8 หุ้น Best Pick ปี 64
บทวิเคราะห์ บล.โนมูระ พัฒนสิน แนะนำเลือกลงทุนหุ้นที่ได้รับผลบวกจาก วงจรเศรษฐกิจโลก, การ Restocking, Green Energy, วงจรขาขึ้นของเอเชีย, การฟื้นตัวการค้าโลก และ Value & Laggard โดยคัดเลือก 8 หุ้น Best Pick สำหรับปี 64 ดังนี้
หุ้น TOP Pick จาก บล.โนมูระ พัฒนสิน
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ราคาเหมาะสม (บ.)
|
%อัพไซด์*
|
กำไรปี 64 (ลบ.)
|
%chg YoY
|
%Div. Yield ปี 64
|
CENTEL
|
33
|
39
|
-611
|
64
|
N/A
|
CPALL
|
75
|
29
|
20948
|
23
|
1.8
|
KCE
|
53
|
28
|
1993
|
64
|
3.08
|
SCGP
|
50
|
20
|
8064
|
29
|
0.88
|
TOP
|
61
|
17
|
6141
|
201
|
2.76
|
SCC
|
430
|
14
|
43983
|
43
|
4.6
|
PTT
|
47.5
|
12
|
100118
|
119
|
4.62
|
GULF
|
37.5
|
9
|
8591
|
134
|
1.03
|
* เทียบราคาล่าสุด (30 ธ.ค.63)
|
ทั้ง 8 บริษัทมีกำไรเติบโตโดดเด่นระดับ 23-201% หรือเฉลี่ย 85% ขณะที่ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 9-39% หรือเฉลี่ย 21%
บมจ.ไทยออยล์ (TOP) : หลังการมีวัคซีนจะหนุน Spread ปิโตรเลียม เพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อค่าการกลั่นซึ่งผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ขณะที่ภาวะ Oversupply ฝั่งอะโรเมติกส์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คาดปี 64 จะพลิกกำไร 6,141 ล้านบาท จากขาดทุน 6,096 ล้านบาทในปี 63 ซึ่งเป็นหุ้นที่น่าสนใจกลุ่มธุรกิจกลางน้ำ ตาม Demand ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นหลังโควิด-19 คลี่คลาย และเป็นหุ้นที่เป็นเป้าหมาย Fund Flow
บมจ.โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา (CENTEL) : คาดขาดทุนลดลงอย่างมีนัยสำคัญเหลือ -611 ล้านบาทในปี 64 จาก -1,704 ล้านบาทในปี 63 โดยมองว่ากลุ่มท่องเที่ยวแม้ฟื้นช้า แต่ผ่านจุดเลวร้ายไปแล้ว ขณะที่ฐานะการเงิน CENTEL ยังแข็งแกร่ง มีโอกาสซื้อธุรกิจในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แนะนำสะสมล่วงหน้าระยะกลาง-ยาว แต่ระวังราคาอาจจะผันผวนช่วงประกาศงบการเงินปี 63 ประเมินราคาเหมาะสมปี 64 ที่ 33 บาท มีอัพไซด์ 39%
บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) : เป็นหุ้นโรงไฟฟ้าที่มีศักยภาพการเติบโตดีทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีกำลังการผลิตในมือสูงสุดในกลุ่ม และจะได้ประโยชน์จากนโยบาย Green Energy ของ "โจ ไบเดน" ประธานาธิบดีคนใหม่สหรัฐฯ ซึ่งจะหุ้นการเติบโตระยะยาว และเป็นหุ้น Big Cap ที่โดดเด่น มี Track Record ในต่างประเทศและมีการกระจายธุรกิจไปยังโครงสร้างพื้นฐานอื่นต่อเนื่อง คาดกำไรปี 64 เติบโต 134% แตะ 8,591 ล้านบาท
บมจ.ปตท.(PTT) : คาดกำไรปี 64 เติบโต 119% แตะ 1 แสนล้านบาท จากธุรกิจพลังงานทั้งต้นน้ำ-ปลายน้ำฟื้นตัวทั้งหมด และ Stock Loss ลดลงมาก ขณะที่การนำ OR เข้าระดมทุนจะช่วยปลดล็อคมูลค่าธุรกิจในระยะกลาง-ยาว และเป็นหนึ่งในหุ้นที่ เป็นเป้าหมาย Fund Flow ต่างชาติ
บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) : ภาพรวมธุรกิจแข็งแกร่งครบวงจรทั้งในระยะกลาง-ยาว มีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง คาดกำไรปี 64 เติบโต 23% จากการบริโภคในประเทศฟื้นตัว ราคาหุ้นปัจจุบันยัง Laggard มาก และ เป็นเป้าหมาย Fund Flow ประเมินราคาเหมาะสม 75 บาท มีอัพไซด์ 29%
บมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ (KCE) : อุตสาหกรรมฟื้นตัวแรง ยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งในยุโรปและจีนฟื้นตัวใกล้กลับสู่ระดับก่อนโควิด-19 เป็นหุ้นกลุ่มตัวแทนเทคโนโลยีแบบไทย ๆ ที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง คาดกำไรปี 64 เติบโต 64% ราคาเหมาะสมที่ 53 บาท มีอัพไซด์ 28%
บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP) : เป็นหุ้น Mega Trend ที่นำตลาดบรรจุภัณฑ์ครบวงจรที่ใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ คาดกำไรปี 64-65 โตเฉลี่ย 17% สูงกว่ากลุ่มฯ ที่คาดเฉลี่ย 11% ราคาเหมาะสม 50 บาท มีอัพไซด์ 20%
บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) : ธุรกิจแข็งแกร่งมาก รับประโยชน์จากภาวะน้ำมันราคาต่ำ คาดกำไรปี 64 ฟื้นตัว 43% หนุนจากทุกกลุ่มธุรกิจ ขณะที่การนำ SCGP เข้าระดมทุน จะปลดล็อคมูลค่าธุรกิจในระยะกลาง-ยาว
*** "เอเซีย พลัส" ชี้เป้า 5 หุ้นเด่น
บทวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่า เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว ขณะที่ Fund Flow มีแนวโน้มไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องในระยะกลาง-ยาว กลยุทธ์การลงทุนให้เลือกหุ้นขนาดใหญ่ที่คาดหวังการเติบโตในปี 64 และหุ้นปันผลสูง โดยแนะนำ 5 หุ้น Top Pick ดังนี้
หุ้น TOP Pick จาก บล.เอเซีย พลัส
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ราคาเหมาะสม (บ.)
|
%อัพไซด์*
|
กำไรปี 64 (ลบ.)
|
%chg YoY
|
%Div. Yield ปี 64
|
DCC
|
3.15
|
42
|
1,637
|
2
|
8
|
ADVANC
|
220
|
25
|
27,043
|
-2
|
3.6
|
AP
|
8.35
|
15
|
3,752
|
-8
|
6.2
|
GULF
|
38.5
|
12
|
7,836
|
104
|
1.2
|
KBANK
|
126
|
12
|
21,833
|
21
|
1.7
|
* เทียบราคาล่าสุด (30 ธ.ค.63)
|
บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) : เป็นหุ้นขนาดใหญ่กลุ่มโรงไฟฟ้าที่มี Backlog ถึง 5.1 พันเมกะวัตต์ สูงสุดในกลุ่ม ทยอยรับรู้ถึงปี 2570 ขณะที่กำไรสุทธิปี 64 จะเติบโตถึง 104% ทำสถิติใหม่ระดับ 7,836 ล้านบาท จากโครงการใหม่ที่ทยอยผลิตเชิงพาณิชย์ปีนี้ 1.4 พันเมกะวัตต์ รวมทั้งจะรับรู้รายได้จากปันผลของ บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ (INTUCH) เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนการถือหุ้นที่ 14.4% จาก 8% ในปี 63 นอกจากนี้จะเริ่มรับรู้กำไรจากการเข้าซื้อหุ้น 40% ของ PTT NGD ราคาเหมาะสมที่ 38.5 บาท มีอัพไซด์ราว 12%
ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) : คาดกำไรสุทธิเติบโตถึง 21% จากปี 63 อยู่ที่ 2.18 หมื่นล้านบาท ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ P/BV เพียง 0.66 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 12 ปี แนะนำ "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 126 บาท โดย KBANK มีการตั้งสำรองสูงและปรับตัวเข้าสู่ยุค Digital ค่อนข้างดี และเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมจาก Fund Flow ต่างชาติ
ขณะที่อีก 3 หุ้น Top Pick แม้กำไรปี 64 จะลดลงหรือเติบโตไม่มาก แต่เป็นหุ้นปันผลสูงและความผันผวนของราคาต่ำ ประกอบด้วย บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC), บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) (AP) และ บมจ.ไดนาสตี้เซรามิค (DCC) คาดอัตราปันผลตอบแทนปี 64 ที่ 3.6%, 6.2% และ 8% ตามลำดับ