โบรกฯ เปิดโผ 14 หุ้น กำไร Q4/64 จ่อโตทั้ง YoY-QoQ พบส่วนใหญ่เป็นหุ้นนอกดัชนี SET100 ถึง 9 บริษัท โดยมี 2 บริษัท กำไรจ่อโตจากปีก่อนเกิน 100% คาด WICE รายงานกำไร 167 - 169 ลบ. โต YoY สูงสุด 181 - 184% ส่วน KCE คาดกำไร 650 - 763 ลบ. โต 72 - 101%
*** พบ 14 หุ้น กำไร Q4/64 จ่อโตทั้ง YoY -QoQ
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจบทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่ได้ประเมินกำไรสุทธิไตรมาส 4/64 ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ซึ่งไม่รวมหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ พบ 14 บริษัท ที่โบรกเกอร์ คาดว่า กำไรสุทธิ มีแนวโน้มเติบโตขึ้นจากปีก่อน (YoY) และ ไตรมาสก่อน (QoQ) ประกอบด้วย
14 หุ้น กำไร Q4/64 จ่อโตทั้ง YoY - QoQ
|
ชื่อย่อหุ้น
|
บล.
|
กำไร Q4/64 (ลบ.)
|
%chg YoY
|
%chg QoQ
|
WICE
|
เคทีบีฯ
|
169
|
184
|
4
|
เมย์แบงก์ฯ
|
167
|
181
|
3
|
KCE
|
เคทีบีฯ
|
763
|
101
|
26
|
ฟินันเซียฯ
|
650
|
72
|
8
|
JWD
|
เคทีบีฯ
|
147
|
94
|
6
|
หยวนต้า
|
139
|
85
|
1
|
GLOBAL
|
โนมูระฯ
|
725
|
92
|
10
|
เคทีบีฯ
|
667
|
77
|
1
|
SPRC
|
หยวนต้า
|
1,500
|
75
|
1,231
|
เคทีบีฯ
|
1,200
|
43
|
989
|
SC
|
ฟินันเซียฯ
|
750
|
64
|
38
|
โนมูระฯ
|
569
|
25
|
5
|
ICHI
|
โนมูระฯ
|
134
|
60
|
5
|
หยวนต้า
|
130
|
55
|
2
|
SYNEX
|
เคทีบีฯ
|
240
|
38
|
24
|
หยวนต้า
|
210
|
23
|
8
|
ORI
|
ฟินันเซียฯ
|
821
|
28
|
16
|
เคทีบีฯ
|
800
|
25
|
13
|
SNNP
|
หยวนต้า
|
117
|
26
|
91
|
เคทีบีฯ
|
116
|
25
|
90
|
TNP
|
เคทีบีฯ
|
51
|
16
|
38
|
โกลเบล็ก
|
46
|
3
|
25
|
TACC
|
หยวนต้า
|
57
|
13
|
2
|
เคจีไอ
|
56
|
10
|
1
|
HANA
|
เคทีบีฯ
|
784
|
12
|
40
|
ฟินันเซียฯ
|
770
|
10
|
37
|
DCC
|
ฟินันเซียฯ
|
396
|
10
|
8
|
ทิสโก้
|
394
|
9
|
7
|
ที่มา : บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ณ 17 ม.ค.65
|
14 บริษัท ดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นบริษัทนอกดัชนี SET100 จำนวน 9 บริษัท ขณะที่ หุ้นในดัชนี SET100 ติดโผ จำนวน 5 บริษัท โดยกลุ่มธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, ขนส่งและโลจิสติกส์, พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และ อาหารและเครื่องดื่ม ติดโผสูงสุด 2 บริษัท เท่ากัน
*** จับตา ! 2 บจ. กำไรจ่อโตเกิน 100% จากปีก่อน
บมจ.ไวส์ โลจิสติกส์ (WICE) เป็นบริษัทที่ถูกโบรกเกอร์คาดหมายว่า กำไรสุทธิไตรมาส 4/64 มีแนวโน้มเติบโตจากปีก่อนสูงสุด โดยคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 167 - 169 ล้านบาท เติบโตขึ้น 181 - 184% จากปีก่อน และ เติบโตขึ้น 3 - 4% จากไตรมาสก่อน มีปัจจัยหนุนจากธุรกิจ Sea freight เติบโตโดดเด่น ตามปริมาณขนส่งที่เพิ่มขึ้น สอดรับ Global Demand ฟื้นตัว ประกอบกับ ค่าขนส่งยังอยู่ในระดับสูง ตามทิศทางค่าระวางเรือคอนเทนเนอร์ที่สูงขึ้น
รองลงมา คือ บมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ (KCE) ที่ถูกคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 650 - 763 ล้านบาท เติบโตขึ้น 72 - 101% จากปีก่อน และ เติบโตขึ้น 8 - 26% จากไตรมาสก่อน โดยมีปัจจัยหนุนจากอัตราการทำกำไรสูงขึ้น หลังเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับ รายได้จากการขายเพิ่มขึ้น หลังมีการปรับราคาขาย และ เพิ่มกำลังการผลิตขึ้น
*** อีก 6 บจ. กำไรจ่อโตเกิน 30% จากปีก่อน
ขณะที่ มีอีก 6 บริษัท ที่กำไรสุทธิไตรมาส 4/64 มีแนวโน้มเติบโตขึ้นมากกว่า 30% จากปีก่อน ประกอบด้วย บมจ.เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ (JWD) ที่ถูกคาดกำไรสุทธิ 139 - 147 ล้านบาท เติบโตขึ้น 85 - 94% จากปีก่อน และ เติบโตขึ้น 1 - 6% จากไตรมาสก่อน มีปัจจัยหนุนจากการเพิ่มปริมาณห้องเย็น หลังมีปริมาณการเช่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
บมจ.สยามโกลบอลเฮ้าส์ (GLOBAL) ถูกคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 667 - 725 ล้านบาท เติบโตขึ้น 77 - 92% จากปีก่อน และเติบโตขึ้น 1 - 10% จากไตรมาสก่อน โดยมีปัจจัยหนุนจากจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้น 4 แห่งในไตรมาสนี้ ประกอบกับ อัตราการเติบโตยอดขายสาขาเดิม (SSSG) เติบโตขึ้นอีก 15% จากปีก่อน
ด้าน บมจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (SPRC) ถูกคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 1.2 - 1.5 พันล้านบาท เติบโตขึ้น 43 - 75% จากปีก่อน และ เติบโตขึ้น 989 - 1,231% จากไตรมาสก่อน มีปัจจัยหนุน จากการแพร่ระบาดโควิด-19 ลดความรุนแรงลง ส่งผลให้กิจกรรมการเดินทางฟื้นตัว หนุนให้ค่าการกลั่นฟื้นตัวตามด้วยเช่นกัน
ฟาก บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น (SC) ถูกคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 569 - 750 ล้านบาท เติบโตขึ้น 25 - 64% จากปีก่อน และ เติบโตขึ้น 5 - 38% จากไตรมาสก่อน มีปัจจัยหนุนจากยอดขายไตรมาสนี้ที่ทำได้ราว 5.7 พันล้านบาท เติบโตขึ้น 35% จากปีก่อน เป็นจุดสูงสุดของปี 64
บมจ.อิชิตัน กรุ๊ป (ICHI) ถูกคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 130 - 134 ล้านบาท เติบโตขึ้น 55 - 60% จากปีก่อน และ เติบโตขึ้น 2 - 5% จากไตรมาสก่อน มีปัจจัยหนุนจาก การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ลดความรุนแรงลง ส่งผลให้ยอดขายผ่อนช่องทาง Modern Trade และ การส่งออกฟื้นตัว อย่างมีนัยสำคัญ
ส่วน บมจ.ซินเน็ค (ประเทศไทย) (SYNEX) ถูกคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 210 - 240 ล้านบาท เติบโตขึ้น 23 - 38% จากปีก่อน และ เติบโตขึ้น 8 - 24% จากไตรมาสก่อน มีปัจจัยหนุนจากการเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นของการขายอุปกรณ์ไอที เนื่องจากเป็นช่วงที่ค่ายโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่
*** 6 บจ. ถูกคาดกำไรโตในกรอบ 9 - 28% จากปีก่อน
นอกจากนี้ มีอีก 6 บริษัท ที่ถูกดาดกำไรสุทธิ เติบโตในกรอบ 9 - 28% จากปีก่อน ประกอบด้วย บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ (ORI) ถูกคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 800 - 821 ล้านบาท เติบโตขึ้น 25 - 28% จากปีก่อน และ เติบโตขึ้น 13 - 16% จากไตรมาสก่อน มีปัจจัยหนุจากยอดโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้น หลังคลายล็อกดาวน์ ส่วนใหญ่มาจากโครงการ Park Origin พญาไท
ขณะที่ บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง (SNNP) ถูกคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 116 - 117 ล้านบาท เติบโตขึ้น 25 - 26% จากปีก่อน และเติบโตขึ้น 90 - 91% จากไตรมาสก่อน มีปัจจัยหนุนจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ลดความรุนแรงลง ส่งผลให้สามารถกลับมาเดินเครื่องผลิตสินค้าได้ตามปกติ และ กำไรขั้นต้น (GPM) สูงขึ้น หลังไม่มีค่าใช้จ่ายทำ Bubble&Seal และ Sandbox เหมือนไตรมาสก่อน
ด้าน บมจ.ธนพิริยะ (TNP) ถูกคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 46 - 51 ล้านบาท เติบโตขึ้น 3 - 16% จากปีก่อน และเติบโตขึ้น 25 - 38% จากไตรมาสก่อน มีปัจจัยหนุนจากเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจ เนื่องจากเป็นฤดูท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย และยังได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อของภาครัฐเสริมด้วย
ฟาก บมจ.ที.เอ.ซี. คอนซูเมอร์ (TACC) ถูกคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 56 - 57 ล้านบาท เติบโตขึ้น 10 - 13% จากปีก่อน และเติบโตขึ้น 1 - 2% จากไตรมาสก่อน มีปัจจัยหนุนจากการคลายล็กดาวน์ ส่งผลให้ยอดขายเครื่องดื่มโถกดในร้านสะดวกซื้อ และธุรกิจ Character ตัวการ์ตูน ฟื้นตัวขึ้น
ส่วน บมจ.ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส (HANA) ถูกคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 770 - 784 ล้านบาท เติบโตขึ้น 10 - 12% จากปีก่อน และ เติบโตขึ้น 37 - 40% จากไตรมาสก่อน มีปัจจัยหนุนจากอัตราการทำกำไรสูงขึ้น หลังเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับ มีการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานในเครือ
ปิดท้ายด้วย บมจ.ไดนาสตี้เซรามิค (DCC) ที่ถูกคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 394 - 396 ล้านบาท เติบโตขึ้น 9 - 10% จากปีก่อน และ เติบโตขึ้น 7 - 8% จากไตรมาสก่อน มีปัจจัยหนุนจากการแพร่ระบาดโควิด-19 คลี่คลาย หนุนความต้องการใช้กระเบื้องในงานก่อสร้างฟื้นตัว ประกอบกับ มีการทยอยปรับราคาขายสินค้าขึ้น 3 - 5 บาท/ตารางเมตร