ผงะ ! 38 หุ้นเทรดพี/อี 100.8 - 8,530.54 เท่า สูงสุดรอบกว่า 5 ปี พบราคาหุ้นปีนี้พุ่งเฉลี่ย 165% สูงสุด 3,099% แต่เกือบครึ่งกำไรครึ่งปีลงลง 1.11 - 3,046.73% แถม 10 บริษัทยังขาดทุน วงการเตือนเริ่มเห็นสัญญาณฟองสบู่ ให้ระวังเก็งกำไร
*** เปิดโผ 38 หุ้นพี/อีเกิน 100 เท่า สูงสุดรอบ 5 ปี
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจสถิติอัตราส่วนราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ณ 27 ส.ค.64 พบว่ามีบจ.ที่ซื้อขายระดับพี/อีเกิน 100 เท่าถึง 38 บริษัท สูงสุดในรอบกว่า 5 ปี (2559-2564) โดยช่วงที่ดัชนีหุ้นไทยขึ้นทำจุดสูงสุดตลอดกาลที่ 1,852.51 จุด เมื่อช่วง ก.พ.61 ยังมี บจ.ที่ P/E เกิน 100 เท่าเพียง 24 บริษัทเท่านั้น
สำหรับ 38 บจ.ที่ซื้อขายระดับพี/อีเกิน 100 เท่าปัจจุบันประกอบด้วย
38 หุ้น P/E เกิน 100 เท่า
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ราคาปิด 27 ส.ค. (บ.)
|
P/E (เท่า)
|
UV
|
4.32
|
8,530.54
|
MITSIB
|
1.29
|
3,314.10
|
XPG
|
4.46
|
940.59
|
PG
|
6.35
|
842.69
|
JTS
|
61.75
|
586.28
|
DHOUSE
|
1.23
|
537.88
|
SALEE
|
1.15
|
416.12
|
BROOK
|
0.7
|
352.47
|
SEAFCO
|
4.66
|
339.69
|
THANA
|
1.34
|
269.58
|
TKT
|
2.1
|
269.42
|
UNIQ
|
6.65
|
268.14
|
PLANB
|
6
|
216.44
|
STC
|
0.77
|
183.67
|
TWZ
|
0.11
|
179.82
|
AU
|
10.5
|
172.8
|
IND
|
1.72
|
167.1
|
NFC
|
3.96
|
161.55
|
ZEN
|
11.9
|
159.46
|
PLANET
|
2.82
|
159.44
|
SITHAI
|
1.47
|
158.15
|
ICC
|
30
|
157.42
|
BH
|
133
|
150.74
|
DOD
|
12.1
|
142.35
|
VNG
|
7.85
|
140.36
|
NEW
|
50
|
134.8
|
TNL
|
17.7
|
127.43
|
NVD
|
2.46
|
125.93
|
MPIC
|
1.62
|
125.41
|
M-CHAI
|
181.5
|
120.77
|
NRF
|
9.2
|
118.78
|
CRC
|
34
|
112.44
|
ARIP
|
0.86
|
112.36
|
IP
|
22.8
|
102.29
|
PROEN
|
7.2
|
100.8
|
บจ.ข้างต้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 22 บริษัท และ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จำนวน 13 บริษัท โดยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (mai) ติดโผสูงสุด 4 บริษัท รองลงมาคือ กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์, แพทย์ และแฟชั่น ติดมาอย่างละ 3 บริษัทเท่ากัน
ทั้งนี้มี 2 บริษัทที่ปัจจุบันซื้อขายที่ระดับพี/อีหลายพันเท่า ได้แก่ บมจ.ยูนิเวนเจอร์ (UV) ราคาล่าสุดอยุ่ที่ 4.32 บาท คิดเป็นพี/อีถึง 8,530.54 เท่า รองลงมาคือ บมจ.มิตรสิบ ลิสซิ่ง (MITSIB) ราคาล่าสุดอยู่ที่ 1.29 บาท คิดระดับพี/อีที่ 3,314.10 เท่า
*** พบราคาพุ่งเฉลี่ย 165% สูงสุด 3,099%
ขณะที่เมื่อสำรวจความเคลื่อนไหวราคาหุ้นทั้ง 38 บริษัท พบว่าตั้งแต่ต้นปี (YTD) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 165% ซึ่งส่วนใหญ่มีผลตอบแทนราคาหุ้นเป็นบวก โดยมีเพียง 6 บริษัทเท่านั้นที่ราคาติดลบ 2 - 17% แต่ที่เหลืออีก 29 บริษัท ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 4 - 3,099% โดยมีถึง 15 บริษัทที่ราคาหุ้น YTD เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% และมีถึง 10 บริษัทที่ราคาเพิ่มขึ้นมากกว่า 100% ได้แก่
15 หุ้น P/E เกิน 100 เท่า ที่ราคาพุ่งเกิน 50% ตั้งแต่ต้นปี
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ราคาปิด 27 ส.ค.(บ.)
|
%chg YTD
|
JTS
|
61.75
|
3,099
|
XPG
|
4.46
|
1,010
|
PLANET
|
2.82
|
196
|
IP
|
22.8
|
145
|
VNG
|
7.85
|
138
|
TKT
|
2.1
|
133
|
SITHAI
|
1.47
|
130
|
DHOUSE
|
1.23
|
124
|
PROEN
|
7.2
|
122
|
ARIP
|
0.86
|
105
|
BROOK
|
0.7
|
86
|
SALEE
|
1.15
|
64
|
TWZ
|
0.11
|
57
|
NRF
|
9.2
|
54
|
THANA
|
1.34
|
52
|
บมจ.จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์ (JTS) ราคาล่าสุดอยู่ที่ 61.75 บาท เพิ่มขึ้น 3,099%YTD โดยซื้อขายที่ระดับพี/อี 586.28 เท่า
เช่นเดียวกับ บมจ.เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล (XPG) ราคาล่าสุดอยู่ที่ 4.46 บาท เพิ่มขึ้น 1,010%YTD ซึ่งซื้อขายที่ระดับพี/อี 940.59 เท่า
ส่วน บมจ.ยูนิเวนเจอร์ (UV) และ บมจ.มิตรสิบ ลิสซิ่ง (MITSIB) ที่มีพี/อีสูงสุด ราคาหุ้น YTD ปรับตัวเพิ่มขึ้น 47% และ 35% ตามลำดับ
*** เกือบครึ่งกำไรครึ่งปี 64 ลดลง 1.11 - 3,046.73%
ทั้งนี้เมื่อสำรวจผลประกอบการงวดครึ่งปี 64 ของ 38 บจ.ข้างต้นพบว่า แม้ส่วนใหญ่กำไรจะเพิ่มขึ้นหรือพลิกมีกำไรจากขาดทุนเมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ก็ยังมีถึง 17 บริษัทที่กำไรลดลง ประกอบด้วย
17 หุ้น P/E เกิน 100 เท่า กำไรครึ่งปี 64 ลดลง YoY
|
ชื่อย่อหุ้น
|
กำไรครึ่งปี 64 (ลบ.)
|
กำไรครึ่งปี 63 (ลบ.)
|
%chg
|
PLANB
|
-33.67
|
-1.07
|
-3,046.73
|
IND
|
-17.04
|
-2.87
|
-493.73
|
M-CHAI
|
-31.76
|
20.45
|
-255.31
|
MITSIB
|
-10.28
|
15.21
|
-167.59
|
DHOUSE
|
-2.4
|
10.62
|
-122.60
|
BROOK
|
-85.46
|
-38.58
|
-121.51
|
ALT
|
-31.5
|
233.9
|
-113.47
|
DOD
|
-2.7
|
103.69
|
-102.60
|
UNIQ
|
12.77
|
206.55
|
-93.82
|
SEAFCO
|
21.98
|
166.25
|
-86.78
|
STC
|
3.08
|
15.4
|
-80.00
|
ZEN
|
-39.14
|
-125.19
|
-68.74
|
BH
|
307.6
|
809.63
|
-62.01
|
AU
|
4.32
|
10.23
|
-57.77
|
NRF
|
34
|
41.1
|
-17.27
|
PROEN
|
20.22
|
22.9
|
-11.70
|
ARIP
|
-0.89
|
-0.9
|
-1.11
|
จากตารางพบว่ามี 8 บริษัทที่กำไรครึ่งปี 64 ลดลงมากกว่า 100% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีถึง 10 บริษัทที่มีผลขาดทุน โดย 5 บริษัทพลิกขาดทุนจากช่วงเดียวกันปีก่อนมีกำไร ส่วนอีก 5 บริษัทขาดทุนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่อีก 7 บริษัท กำไรลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน
บมจ.แพลน บี มีเดีย (PLANB) ขาดทุนเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็น 33.67 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุน 1.07 ล้านบาท หรือลดลงระดับ 3,046.73%
ด้าน บมจ.โรงพยาบาลมหาชัย (M-CHAI) พลิกขาดทุนสูงสุด 31.76 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไร 20.46 ล้านบาท ลดลง 255.31%
ส่วน บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) กำไรลดลงในอัตราส่วนสูงสุด 93.82% เหลือ 12.77 ล้านบาท ณ งวดครึ่งปี 64 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ทำได้ 206.55 ล้านบาท
ฟาก บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (BH) กำไรลดลงมูลค่าสูงสุดถึง 502.03 ล้านบาท โดย ณ งวดครึ่งปี 64 มีกำไร 307.6 ล้านบาท ส่วน งวดครึ่งปี 63 มีกำไร 809.63 ล้านบาท ลดลง 62.01%
*** วงการเตือนเห็นสัญญาณฟองสบู่-ระวังเก็งกำไร
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนหุ้นเน้นคุณค่า (VI) รายใหญ่ มองว่า หุ้นจำนวนมากในตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ มีราคาแพงกว่าพื้นฐานที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะหุ้นขนาดกลาง-เล็ก มีค่าพี/อีเกิน 100 เท่า หลายบริษัท ทั้งที่ SET Index มีพี/อีเพียง 20-21 เท่า หรือหุ้นใน SET50 หรือ SET100 ก็มีพี/อีราว 20 เท่าต้น ๆ
แม้นักวิเคราะห์มักบอกว่าหุ้นตัวเล็กโดยรวมแล้วโตเร็วกว่าหุ้นตัวใหญ่ แต่มองว่าอาจจะเป็นเรื่องของ "จินตนาการ" ที่ใช้ในการอธิบายเรื่องของราคาหุ้นที่ขึ้นไปสูงลิ่ว โดยหาเหตุผลอื่นที่เกี่ยวกับพื้นฐานจริงได้น้อยมาก
"เท่าที่ตามที่ผมสังเกตดู ราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นไปอย่างรวดเร็วมากแต่ละตัวนั้น มักจะเกิดจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์บางอย่าง ที่ทำให้นักเก็งกำไรแห่กันเข้าไปซื้อหุ้น จนทำให้ราคาและค่าพี/อีสูงขึ้น บางตัวสูงมาก จนไม่อาจอธิบายได้โดยพื้นฐานของกิจการของบริษัท ในความคิดของผม ถ้าพื้นฐานยังเหมือนเดิม ราคาที่เพิ่มขึ้นไปก็เป็นเพียงฟอง ที่ในที่สุดก็จะแตก แต่เมื่อไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และก็เป็นไปได้อีกเช่นกันว่า ฟองก็อาจจะโตขึ้นไปได้อีก เสะท้อนในหลายหุ้นที่กลายเป็นหุ้นมีฟองไปนานแล้ว"
ดร.นิเวศน์ เพิ่มเติมว่า การศึกษาหรือวิเคราะห์ว่าหุ้นมีฟองหรือไม่นั้น นอกจากการดู "ราคา" และ "สตอรี่" ที่มีการพูดถึงในสื่อต่างๆ รวมถึง บทวิเคราะห์แล้ว สิ่งที่ควรดูประกอบด้วย คือระดับของการเก็งกำไร ซึ่งวัดจากปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันโดยเฉพาะในช่วงที่หุ้นกำลังวิ่งขึ้นแรงด้วย
"ฟัง อ่าน ดู แล้วก็อย่าเพิ่งเชื่อ มีโอกาสสูงที่ทั้งหมดนั้น จะมองโลกในแง่ที่ดีเกินไป หลายคนอาจจะบอกว่า จะจริงหรือไม่ ก็ไม่ใช่ประเด็น แต่ตราบใดที่คนเชื่อ ราคาก็จะ ต้องขึ้นไปเอง เรามีหน้าที่แค่จะต้องรีบซื้อก่อน และขายทำกำไรก่อนคนอื่น แต่คำเตือนของผมก็คือ ทุกคนก็อาจจะคิดเหมือนกัน และอาจจะเป็นไปได้ว่าเราเป็นคนที่มาทีหลัง และขายทีหลังและขายขาดทุน เหตุผลก็คือคนที่รู้ก่อนเราก็คือรายใหญ่ที่คุมเกมและสร้างราคาหรือเติมฟองให้กับหุ้น ก่อนที่เราจะรู้"
ด้าน "เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส ระบุว่า ปัจจุบันที่ตลาดหุ้นไทยมีหุ้นที่พี/อีเกิน 100 เท่าจำนวนมาก สะท้อนว่าเทรนด์การลงทุนขณะนี้เน้นการเก็งกำไรเป็นหลัก เช่น หุ้นที่มีข่าวกับกัญชา-กัญชง แค่บริษัทใดประกาศเข้าลงทุนในธุรกิจดังกล่าว ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นนำผลการดำเนินงานที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง
"การเข้าลงทุนในหุ้นประเภทดังกล่าว มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง สำหรับนักลงทุนที่ไม่ศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด หากในระยะถัดไป บริษัทไม่สามารถสร้างกำไรที่เกิดขึ้นจากความคาดหวังของนักลงทุนได้ จะมีแรงขายออกมา และมีความเสี่ยงขาดทุนสูง แนะนำนักลงทุนศึกษาข้อมูลข่าวสารของบริษัทที่ต้องการเข้าลงทุนอย่างละเอียด ว่าบริษัทที่ต้องการเข้าไปเก็งกำไรนั้น ในอนาคตจะสามารถสร้างการเติบโตจากความคาดหวังของนักลงทุนได้จริงหรือไม่"
ส่วน "ณรงค์เดช จันทรไพศาล" นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน บล.ไอร่า ระบุว่า หุ้นกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูง นักลงทุนที่จะเข้าเก็งกำไรต้องระมัดระวัง เพราะราคาหุ้นมีความผันผวนสูงเช่นกัน ดังนั้น การลงทุนในกลุ่มลักษณะดังกล่าว จึงต้องมีวินัยสูง และต้องมีจุด Stop loss ที่ชัดเจน
นอกจากนี้ นักลงทุนยังต้องติดตามข้อมูลข่าวสารของบริษัท ที่ต้องการเข้าลงทุนอย่างละเอียด ซึ่งจะช่วยจำกัดความเสี่ยงในการเข้าลงทุนให้ลดลง