efinancethai

ประเด็นร้อน

มาแล้ว! เกณฑ์ใหม่คุมชอร์ตเซล-โปรแกรมเทรด เปิดเฮียริ่ง ถึง 21 เม.ย.นี้

มาแล้ว! เกณฑ์ใหม่คุมชอร์ตเซล-โปรแกรมเทรด เปิดเฮียริ่ง ถึง 21 เม.ย.นี้

ตลท.เปิดรับฟังความเห็นถึง 21 เม.ย.นี้ เกี่ยวกับการยกระดับควบคุมชอร์ตเซล - โปรแกรมเทรด รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นธรรมมากขึ้น - บทลงโทษสมาชิกที่รุนแรงกว่าเดิม 3 เท่า หวังยกระดับตลาดหุ้นให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจุบัน ฟื้นความเชื่อมั่นนักลงทุน !


ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)  เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการยกระดับมาตรการกำกับดูแลตลาดหุ้นให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก คือ การควบคุมขายชอร์ตใหม่, การควบคุมโปรแกรมเทรดใหม่, การเปิดเผยข้อมูลที่เป็นธรรมมากขึ้น และการเพิ่มบทลงโทษต่อสมาชิกที่ทำผิดกฏ อัพเกรดตลาดหุ้นไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจุบัน ฟื้นความเชื่อมั่นนักลงทุน ! โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

*** ส่องเกณฑ์คุมการขายชอร์ตใหม่

การกำกับดูแลการขายชอร์ต มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หุ้นที่ขายชอร์ตได้ยังคงเป็นหุ้นที่มีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) และสภาพคล่องอยู่ในกลุ่ม Top Quartile ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นควรเพิ่มขนาดและสภาพคล่องสำหรับหุ้นกลุ่ม non-SET100 Index ดังนี้


1.เพิ่ม Market Capitalization ให้สูงขึ้นจากปัจจุบัน 5,000 ล้านบาท แต่ยังคงมีขนาดเล็กกว่าหุ้นในกลุ่ม SET100 Index โดยเพิ่มเป็น 7,500 ล้านบาท เพื่อให้เหมาะสมกับขนาด Market Capitalization ของหุ้นในกลุ่ม SET100 Index ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น


2.เพิ่มการพิจารณาปริมาณการซื้อขายหมุนเวียนเฉลี่ยต่อเดือน (Monthly Turnover) จากปัจจุบันไม่ได้กำหนด โดยพิจารณาสภาพคล่องจาก Monthly Turnover เฉลี่ย 12 เดือนไม่น้อยกว่า 2% ของจำนวนหุ้นจดทะเบียนของหลักทรัพย์นั้น


ซึ่งจะทำให้เกณฑ์ใหม่นั้น หุ้นที่มีคุณสมบัติขายชอร์ตได้ จะต้องมีคุณสมบัติ Market Capitalization 7,500 ล้านบาท, มี Monthly Turnover เฉลี่ย 12 เดือน ไม่น้อยกว่า 2% และมี Free Float 20% (จากเดิมแค่มีคุณสมบัติ Market Capitalization 5,000 ล้านบาท และ Free Float 20%)


นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงเกณฑ์ราคาขายชอร์ตด้วย ซึ่งเดิมทีตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้การขายชอร์ตสามารถทำได้ในราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Zero-Plus Tick) และหากเกิดเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสภาพการซื้อขายหลักทรัพย์โดยรวม เช่น หลังเกิด Circuit Breaker คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจพิจารณาให้การขายชอร์ตทำได้ในราคาที่สูงกว่าราคาซื้อ
ขายครั้งสุดท้าย (Uptick) ได้ โดยเป็นการดำเนินการกับทุกหลักทรัพย์


อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นควรที่จะปรับปรุงเกณฑ์ให้ครอบคลุมกรณีที่หลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งมีการปรับตัวลดลงด้วย โดยอาจมีการนำ Uptick มาใช้เฉพาะกับหลักทรัพย์ที่มีราคาปรับตัวลดลงตามที่กำหนด เพื่อลดผลกระทบด้านราคาจากการขายชอร์ต ซึ่งในต่างประเทศ เช่น TWSE, Japan Exchange Group (JPX) และตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา ก็มีแนวปฏิบัติดังกล่าว


ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมตลาดบางส่วนว่า การปรับเปลี่ยนเกณฑ์ราคาจาก Zero-Plus Tick มาเป็น Uptick เฉพาะหลักทรัพย์ที่มีราคาลดลงอาจจะนำไปปฏิบัติได้ยากทั้งในเรื่องของการปรับระบบงานและการทำความเข้าใจกับผู้ลงทุน ขณะที่การนำ Uptick มาใช้กับทุกหลักทรัพย์แทนเกณฑ์ Zero-Plus Tick จะเหมาะสมและสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่า ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขอรับฟังความเห็นเป็น 2 แนวทาง ดังนี้


แนวทางที่ 1 ใช้เกณฑ์ราคา Uptick กับทุกหลักทรัพย์ แทนเกณฑ์ราคา Zero-Plus Tick เพื่อลดผลกระทบด้านราคาโดยรวม

แนวทางที่ 2 ใช้เป็นเกณฑ์ราคา Uptick เฉพาะหลักทรัพย์ที่มีราคาปรับตัวลดลงตามที่ก าหนด เมื่อหลักทรัพย์ใดมีราคาปิดลดลงจากราคาปิดของวันท าการก่อนหน้า 10%

 

*** ส่องเกณฑ์ควบคุมโปรแกรมเทรดใหม่

ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ฯ อนุญาตให้ผู้ลงทุนทุกประเภทสามารถใช้ Program Trading ในการส่งคำสั่งซื้อขายได้ โดยสมาชิกต้องขออนุญาต และแสดงมาตรการการควบคุมความเสี่ยง (Pre-trade risk management) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบการซื้อขาย และสภาพการซื้อขายโดยรวม


ซึ่งที่ผ่านมาทางตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่าสัดส่วนการใช้งาน Program trading มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนผู้ลงทุนกลุ่ม High-Frequency Trading (HFT) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เพิ่มสูงขึ้น


ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการเสนอแนวทางการกำกับดูแลเพิ่มเติม โดยเสนอให้สมาชิกแจ้งหรือขึ้นทะเบียนผู้ลงทุนกลุ่ม HFT1 ก่อนเริ่มใช้งาน โดยให้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ลงทุนดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่น ชื่อลูกค้า, เลขที่บัญชีการซื้อขาย และรายละเอียดบัญชีฝากหลักทรัพย์ที่ใช้ในการชำระราคาหลักทรัพย์


รวมถึงกำหนดให้สมาชิกต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนกลุ่มนี้ ตั้งแต่ต้นวันและระหว่างวันอย่างเหมาะสม

 

*** ส่องปรับปรุงเกณฑ์เปิดเผยข้อมูลใหม่

ขณะเดียวกัน ณ ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการกำหนดลักษณะของการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เหมาะสม และตัวอย่างของพฤติกรรม เพื่อให้สมาชิกและผู้ลงทุนมีความเข้าใจและละเว้นการส่งคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสมเข้ามาในระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยส่วนหนึ่งเป็นคำสั่งซื้อขายในลักษณะใส่-ถอนเพื่ออำพรางให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดว่า ณ ขณะใดขณะหนึ่งว่ามีความต้องการซื้อหรือขายมาก หรือลวงบุคคลอื่นเพื่อซื้อหรือขายหลักทรัพย์


อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดคำสั่งซื้อขายในลักษณะใส่-ถอนที่มีความถี่จนอาจทำให้ผู้ลงทุนทั่วไปเข้าใจผิดว่ามีความต้องการซื้อหรือขายหลักทรัพย์มาก ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นควรที่จะให้มีการเพิ่มมาตรการในการกำกับดูแลเพิ่มเติม


โดย ตลาดหลักทรัพย์ฯเห็นควรให้มีการกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำของคำสั่งซื้อขายที่ต้องคงอยู่ในระบบการซื้อขายก่อนที่สมาชิกจะสามารถทำการแก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการส่งคำสั่งซื้อขายในลักษณะใส่-ถอนที่มีความถี่ที่อาจทำให้ผู้ลงทุนทั่วไปเข้าใจผิด ด้วยการกำหนดห้ามสมาชิกแก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้ (Minimum Order Resting Time) เช่น กำหนดให้หลังจากส่งคำสั่งแล้วต้องรออย่างน้อย X วินาทีจึงจะสามารถแก้ไข/ยกเลิกคำสั่งได้ เป็นต้น


นอกจากนี้ เพื่อยกระดับการกำกับดูแลผู้ลงทุนที่มีพฤติกรรมการส่งคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสมซึ่งอาจนำไปสู่การสร้างราคา ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นควรที่จะปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อให้ตลาดหลักทรัพย์ฯสามารถเปิดเผยข้อมูลของผู้ลงทุนที่มีพฤติกรรมดังกล่าวแก่สมาชิกทุกรายทราบ 


จากเดิมที่เปิดเผยเฉพาะกับสมาชิกที่พบการส่งคำสั่งไม่เหมาะสม โดยสมาชิกที่ผู้ลงทุนรายดังกล่าวเปิดบัญชีซื้อขายไว้จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO) กับผู้ลงทุนรายดังกล่าว เช่น ลดวงเงินการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือให้ซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่รับอนุญาต (Trader) เท่านั้น เป็นต้น ซึ่ง ASCO อยู่ระหว่างทบทวนหลักเกณฑ์ให้มีความเข้มข้นขึ้นด้วยเช่นกัน โดยหากสมาชิกไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ ASCO ตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจพิจารณาดำเนินการทางวินัยกับสมาชิกได้

 

*** ส่องมาตรการเพิ่มโทษสมาชิกใหม่

ตลาดหลักทรัพย์ได้ทำการทบทวนบทลงโทษเดิมที่มีต่อสมาชิก และพบว่ายังมีอัตราโทษที่ต่ำกว่าในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงอัตราโทษปรับด้วย นอกจากนี้ ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เกี่ยวข้องกับบทระวางโทษสมาชิกก็มีผลใช้บังคับมาระยะหนึ่งแล้ว (ตั้งแต่ปี 2550) 


ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงเห็นควรทบทวนอัตราโทษปรับเพื่อให้มีมาตรการกำกับดูแลสมาชิกในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนดที่เข้มข้นขึ้น และเพื่อให้เกิดความระมัดระวัง รวมทั้งเพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้สมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพิ่มขึ้นดังนี้
 

บทลงโทษใหม่ที่เตรียมเสนอใช้

เรื่อง

บทระวางโทษ (ปัจจุบัน)

ข้อเสนอปรับปรุง

1.การซื้อขาย การชำระราคา และการส่งมอบหลักทรัพย์

1.1 ซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ฯโดยไม่ได้รับอนุญาต

ไม่เกิน 1,000,000 บาท

ไม่เกิน 3,000,000 บาท

1.2 ติดตั้งระบบส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์นอกสถานที่ทำการของสมาชิกหรือไม่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ

ไม่เกิน 1,000,000 บาท

ไม่เกิน 3,000,000 บาท

1.3 ติดตั้งจอคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการซื้อขายไว้ในสถานที่ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์ฯ

ไม่เกิน 1,000,000 บาท

ไม่เกิน 3,000,000 บาท

1.4 ให้บุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขายหลักทรัพย์เข้าไปในสถานที่ติดตั้งจอคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ในการซื้อขาย

ไม่เกิน 1,000,000 บาท/ครั้ง

ไม่เกิน 3,000,000 บาท/ครั้ง

1.5 ให้บุคคลอื่นต่อเชื่อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้ากับระบบส่งคำสั่งซื้อขายของสมาชิกซึ่งทำให้บุคคลนั้นสามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้โดยตรงหรือได้รับข้อมูลที่ได้จากระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

ไม่เกิน 1,000,000 บาท

ไม่เกิน 3,000,000 บาท

1.6 ให้บุคคลอื่นนอกจากเจ้าหน้าที่รับอนุญาตส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยระบบการซื้อขาย

ไม่เกิน 1,000,000 บาท

ไม่เกิน 3,000,000 บาท

1.7 เปิดเผยข้อมูลที่ได้จากระบบการซื้อขายไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

ไม่เกิน 50,000 บาท/รายการ

ไม่เกิน 150,000 บาท/รายการ

1.8 จัดให้มีระบบที่ใช้ในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบออนไลน์ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

ไม่เกิน 1,000,000 บาท

ไม่เกิน 3,000,000 บาท

1.9 ไม่จัดให้มีมาตรการป้องกันและควบคุมไม่ให้บุคคลอื่นบันทึกคำสั่งซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ให้แก่ลูกค้า

ไม่เกิน 100,000 บาท

ไม่เกิน 300,000 บาท

1.10 ใช้ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์สำหรับการซื้อขายโดยอัตโนมัติที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

ไม่เกิน 100,000 บาท/รายการซื้อขาย

ไม่เกิน 300,000 บาท/รายการซื้อขาย

1.11 การต่อเชื่อมระบบส่งคำสั่งซื้อขายของสมาชิกไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ไม่กำหนด

ไม่เกิน 3,000,000 บาท

1.12 การไม่จัดให้มีระบบทดสอบหรือไม่กำกับดูแลให้การส่งคำสั่งซื้อขายเพื่อการทดสอบใด ๆ กระทำในระบบทดสอบ (Test Environment)

ไม่กำหนด

ไม่เกิน 3,000,000 บาท

1.13 ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีผลทำให้ราคาหรือปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงหรือไม่เปลี่ยนแปลงอันไม่ตรงต่อสภาพปกติของตลาด (false market) โดยมีตัวอย่างพฤติกรรมการส่งคำสั่ง เช่น ส่งคำสั่งซื้อหรือขายในราคาที่สูงหรือต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นมาก ซึ่งโดยปกติไม่น่าจะเกิดการจับคู่ซื้อขาย และไม่ว่าจะมีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวในภายหลังหรือไม่ก็ตาม

ไม่เกิน 1,000,000 บาท

ไม่เกิน 3,000,000 บาท

1.14 การไม่ตรวจสอบข้อมูลการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เหมาะสมที่ตลาดหลักทรัพย์ฯได้เปิดเผย หรือการไม่ได้ดำเนินการกับลูกค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ ASCO

ไม่กำหนด

ไม่เกิน 300,000 บาท/รายการ

1.15 ไม่ดำเนินการให้ลูกค้าปฏิบัติตามมาตรการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด กรณีมีการซื้อขายที่ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด

ไม่เกิน 1,000,000 บาท

ไม่เกิน 3,000,000 บาท

1.16 สมาชิกไม่ดำเนินการให้ลูกค้าปฏิบัติตามมาตรการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด เช่น การซื้อขายด้วยบัญชี Cash Balance กับหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้มาตรการหรืออยู่ระหว่างเปิดให้มีการซื้อขายชั่วคราวก่อนถึงกำหนดวันที่มีผล

ไม่กำหนด

ไม่เกิน 300,000 บาท/รายการ

1.17 ไม่ควบคุมดูแลให้เจ้าหน้าที่รับอนุญาตและลูกค้าที่ซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ปฏิบัติตามเกณฑ์เกี่ยวกับการส่งคำสั่งซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด

ไม่เกิน 1,000,000 บาท

ไม่เกิน 3,000,000 บาท

1.18 ไม่ควบคุมดูแลให้เจ้าหน้าที่รับอนุญาตปฏิบัติตามหน้าที่ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด

ไม่เกิน 500,000 บาท

ไม่เกิน 1,500,000 บาท

1.19 ไม่เพิกถอนการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่รับอนุญาตตามแบบและระยะเวลาที่กำหนด

วันละ 1,000 บาท/ราย

วันละ 3,000 บาท/ราย

1.20.1 ไม่ดำเนินการให้ลูกค้าซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทตนเองหรือบริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาชิกด้วยเงินสด

ไม่เกิน 10,000 บาท/ครั้ง ที่สั่งซื้อขาย

ไม่เกิน 30,000 บาท/ครั้ง ที่สั่งซื้อขาย

1.20.2 ไม่เปิดเผยให้ลูกค้าทราบถึงลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ตามเกณฑ์ที่กำหนด

ไม่เกิน 10,000 บาท/ครั้ง ที่สั่งซื้อขาย

ไม่เกิน 30,000 บาท/ครั้ง ที่สั่งซื้อขาย

1.20.3 ไม่รายงานรายชื่อบริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาชิกและรายงานการเปลี่ยนแปลงรายชื่อบริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในเวลาและตามแบบที่กำหนด

ไม่เกิน 10,000 บาท/ครั้ง ที่สั่งซื้อขาย

ไม่เกิน 30,000 บาท/ครั้ง ที่สั่งซื้อขาย

1.20.4 ไม่จัดให้มีมาตรการแก้ไขความผิดพลาดในการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทตนเองที่เหมาะสมและชัดเจน

ไม่เกิน 10,000 บาท/ครั้ง ที่สั่งซื้อขาย

ไม่เกิน 30,000 บาท/ครั้ง ที่สั่งซื้อขาย

1.20.5 ไม่จัดทำหลักเกณฑ์การห้ามใช้ข้อมูลภายในเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทตนเองหรือบริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาชิกและหลักเกณฑ์การห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflictof Interest) ระหว่างสมาชิกกับลูกค้า รวมทั้งบทลงโทษพนักงานของสมาชิกในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์

ไม่เกิน 100,000 บาท/ครั้ง

ไม่เกิน 300,000 บาท/ครั้ง

1.20.6 ไม่จัดให้มีระบบกำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของสมาชิก และไม่รายงานให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบทันทีเมื่อตรวจสอบพบการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทตนเองหรือบริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาชิก

ไม่เกิน 100,000 บาท/ครั้ง

ไม่เกิน 300,000 บาท/ครั้ง

2.กรณี Naked Short Selling

2.1 ขายหลักทรัพย์โดยที่สมาชิกหรือลูกค้ายังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง และรายงานตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ

ปรับเท่ากับกำไรที่ได้รับ

ปรับ 3 เท่าของกำไรที่ได้รับ แต่ไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท

2.2 ขายหลักทรัพย์โดยที่สมาชิกหรือลูกค้ายังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองและไม่ได้รายงานตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ

ปรับเท่ากับกำไรที่ได้รับ และปรับเพิ่มอีกไม่เกิน 50,000 บาท

ปรับ 3 เท่าของกำไรที่ได้รับ แต่ไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท และปรับเพิ่มอีกไม่เกิน 150,000 บาท

3.กรณี Short Selling

กรณีไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ขายชอร์ตที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด เช่น ไม่ขายชอร์ตในหลักทรัพย์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด, ไม่ใส่ Flag “S” เป็นต้น

ไม่เกิน 100,000 บาท/ครั้ง

ไม่เกิน 300,000 บาท/ครั้ง

4.การซื้อขายมารจ์ิ้น

4.1 ไม่เรียกให้ลูกค้าวางหลักประกันเพิ่มในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้า ลดลงจนต่ำกว่ามูลค่าหลักประกันที่ต้องดำรงไว้

ไม่เกิน 10,000 บาทต่อครั้งที่สมาชิกต้องเรียกให้ลูกค้าวางหลักประกันเพิ่ม

ไม่เกิน 30,000 บาทต่อครั้งที่สมาชิกต้องเรียกให้ลูกค้าวางหลักประกันเพิ่ม

4.2 ไม่บังคับขายหลักทรัพย์ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าลดลงจนเท่ากับหรือต่ำกว่ามูลค่าหลักประกันขั้นต่ำ

ไม่เกิน 100,000 บาทต่อครั้งที่ สมาชิกต้องบังคับขาย

ไม่เกิน 300,000 บาทต่อครั้งที่ สมาชิกต้องบังคับขาย

4.3 สมาชิกไม่เรียกให้ลูกค้าวาง หลักประกันเริ่มต้นตามอัตราที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด

ไม่กำหนด

ปรับไม่เกิน 30,000 บาทต่อครั้งที่สมาชิกต้องเรียกให้ลูกค้าวางหลักประกันเริ่มต้น

5.การซื้อขายด้วยเงินสด

5.1 ไม่ควบคุมการสั่งซื้อหลักทรัพย์ของลูกค้าในขณะใดขณะหนึ่งไม่ให้เกินวงเงินที่กำหนด

ไม่เกิน 50,000 บาท/ครั้งที่สั่งซื้อ และมีผลให้เกินวงเงิน

ไม่เกิน 150,000 บาท/ครั้งที่สั่งซื้อและมีผลให้เกินวงเงิน

5.2 ยินยอมให้ลูกค้าซื้อเพิ่มโดยที่ยังไม่ได้ชำระค่าซื้อหรือส่วนต่างของมูลค่าหักกลบ

50,000 บาท/ครั้งที่ยินยอมให้ลูกค้าสั่งซื้อเพิ่มหรือค่านายหน้าจากมูลค่าซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวที่สั่งซื้อเพิ่มโดยยังไม่ชำระค่าซื้อหรือส่วนต่างของมูลค่าหักกลบแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

150,000 บาท/ครั้งที่ยินยอมให้ลูกค้าสั่งซื้อเพิ่มหรือค่านายหน้าจากมูลค่าซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวที่สั่งซื้อเพิ่มโดยยังไม่ชำระค่าซื้อหรือส่วนต่างของมูลค่าหักกลบแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

5.3 ไม่เรียกให้ลูกค้าวางหลักประกันตามเกณฑ์ที่กำหนด

ไม่เกิน 50,000 บาท/ครั้งที่ สมาชิกต้องเรียกให้ลูกค้าวางหลักประกัน

ไม่เกิน 150,000 บาท/ครั้งที่สมาชิกต้องเรียกให้ลูกค้าวางหลักประกัน

5.4 จ่ายค่าขายหลักทรัพย์ให้ลูกค้าก่อนครบกำหนดจ่ายตามเกณฑ์ที่กำหนด

50,000 บาท/ครั้ง หรือค่านายหน้าจากมูลค่าขายหลักทรัพย์ดังกล่าวที่จ่ายค่าขายให้ลูกค้าก่อนครบกำหนดจ่ายแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

150,000 บาท/ครั้ง หรือค่านายหน้าจากมูลค่าขายหลักทรัพย์ดังกล่าวที่จ่ายค่าขายให้ลูกค้าก่อนครบกำหนดจ่ายแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

5.5 จ่ายค่าขายหลักทรัพย์ให้ลูกค้าก่อนรับชำระค่าซื้อหลักทรัพย์นั้น

ไม่เกิน 50,000 บาท/ครั้ง

ไม่เกิน 150,000 บาท/ครั้ง

5.6 จ่ายค่าขายหลักทรัพย์ให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกค้า

ไม่เกิน 10,000 บาท/ครั้ง

ไม่เกิน 30,000 บาท/ครั้ง

5.7 ไม่ดำเนินการให้ลูกค้าที่เป็นนิติบุคคลรับค่าขายหลักทรัพย์ตามวิธีการที่กำหนด

ไม่เกิน 10,000 บาท/ครั้ง

ไม่เกิน 30,000 บาท/ครั้ง

5.8.1 ไม่ดำเนินการให้ลูกค้าชำระค่าซื้อหลักทรัพย์และรับค่าขายหลักทรัพย์ตามวิธีการที่กำหนด และรายงานตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ

1,000 บาท/ครั้ง

3,000 บาท/ครั้ง

5.8.2 ไม่ดำเนินการให้ลูกค้าชำระค่าซื้อหลักทรัพย์และรับค่าขายหลักทรัพย์ตามวิธีการที่กำหนด และไม่ได้รายงานตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ

1,000 บาท/ครั้ง และปรับเพิ่มอีกไม่เกิน 10,000 บาท

3,000 บาท/ครั้ง และปรับเพิ่มอีกไม่เกิน 30,000 บาท

5.9 ไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนดกรณีชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์แบบทีละรายการ (Gross Settlement)

ไม่เกิน 100,000 บาท/ครั้ง

ไม่เกิน 300,000 บาท/ครั้ง

6.การขายเพื่อการบังคับจำนำหรือบังคับชำระหนี้

การไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์การขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อการบังคับจำนำ หรือบังคับชำระหนี้ตามเที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด

ไม่กำหนด

ปรับไม่เกิน 300,000 บาท/ครั้ง

7.การส่งรายงานและงบการเงิน

7.1 ไม่รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของสมาชิกต่อตลาดหลักทรัพย์ฯตามเกณฑ์และระยะเวลาที่กำหนด เช่นเหตุการณ์ที่สมาชิกประสบความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือหยุดประกอบกิจการ เหตุการณ์เกี่ยวกับ การเพิ่มทุนหรือควบรวมกิจการของ สมาชิก การเปลี่ยนแปลงกรรมการ การย้ายที่ตั้งส านักงานใหญ่ การ เปิด/ปิดสาขา เป็นต้น

ไม่เกิน 50,000 บาท/รายงาน

ไม่เกิน 150,000 บาท/รายงาน

7.2 ไม่จัดส่งแบบรายงานให้ตลาดหลักทรัพย์ฯภายในเวลาที่กำหนด

ล่าช้าวันละไม่เกิน 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท/รายงาน

ล่าช้าวันละไม่เกิน 3,000 บาท แต่ไม่เกิน 30,000 บาท/รายงาน

8.การทำสัญญาเป็นนายหน้าฯให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สมาชิก

8.1 ไม่แจ้งการทำหรือการยกเลิกสัญญาเป็นนายหน้าหรือตัวแทนกับบริษัทหลักทรัพย์ที่มิใช่สมาชิก

ไม่เกิน 10,000 บาทต่อสัญญา/ราย

ไม่เกิน 30,000 บาทต่อสัญญา/ราย

8.2 ไม่ดำเนินการให้บริษัทหลักทรัพย์ที่มิใช่สมาชิกปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญาระหว่างสมาชิกกับบริษัทหลักทรัพย์ที่มิใช่สมาชิก

ไม่เกิน 50,000 บาท/ราย

ไม่เกิน 150,000 บาท/ราย

9.การเพิ่มโทษกรณีจงใจหรือเอื้อประโยชน์ให้ลูกค้า

9.1กรณีเป็นการกระทำผิดโดยจงใจหรือเอื้อประโยชน์ให้ลูกค้าหรือมีการกระทำในลักษณะหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ

ปรับเพิ่มจากค่าปรับที่กำหนดในแต่ละลักษณะการกระทำอีกไม่เกิน 1,000,000 บาท

ปรับเพิ่มจากค่าปรับที่กำหนดในแต่ละลักษณะการกระทำอีกไม่เกิน 3,000,000 บาท


สำหรับ ข้อเสนอทั้งหมดของตลาดหลักทรัพย์ฯที่กล่าวมาข้างต้น จะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไปจนถึง 21 เม.ย.นี้ และจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการอีกที


นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯยังได้ยกระดับการกำกับดูแลการขายชอร์ต และการใช้คอมพิวเตอร์ส่งคำสั่งซื้อขายด้วยการเตรียมเปิดเผยข้อมูลการขายชอร์ตที่ยังไม่ได้ซื้อคืน (Outstanding Short Positions) เป็นรายหลักทรัพย์ด้วย โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเริ่มเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวบนเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ www.set.or.th ตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย.67 เป็นต้นไป 

แบบสอบถามความพึงพอใจ






ข่าวหุ้นอื่นๆที่น่าสนใจ

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

Refresh




LATEST NEWS

ข่าวหุ้นล่าสุด

Refresh

ดูข่าวทั้งหมด