ช่องทางระดมเงินผ่านการเพิ่มทุนของบจ. เริ่มฝืดเคือง ผู้ถือหุ้นไม่ใส่เงินตามสิทธิ พบ 8 บจ.ขายหุ้นเพิ่มทุนเหลือบานเบอะ วงการมองผู้ถือหุ้นเริ่มถอดใจในธุรกิจ หลายบริษัทเพิ่มทุนบ่อย แต่ผลประกอบการไม่ดีขึ้น จับตา 6 บจ.เตรียมเพิ่มทุนโค้งสุดท้ายปีนี้
*** 8 บจ.ขายหุ้นเพิ่มทุนไม่หมด
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจการขายหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่มีกำหนดจองซื้อในปีนี้จำนวน 23 บริษัท พบว่ามีถึง 8 บริษัทที่ขายหุ้นเพิ่มทุนไม่ได้ตามเป้าหมาย คิดเป็นสัดส่วน 35% ของบจ.ที่เพิ่มทุนไปแล้วทั้งหมด ประกอบด้วย
8 บจ.ขายหุ้นเพิ่มทุนไม่หมด
|
ชื่อย่อหุ้น
|
หุ้นเพิ่มทุน
(ล.หุ้น)
|
ราคาเสนอขาย
(บ./หุ้น)
|
ขายได้
(ล.หุ้น)
|
มูลค่า
(ล.บาท)
|
รุปแบบ
|
วันจองซื้อ
|
KWG
|
1,290.34
|
0.93
|
0.000579
|
0.000538
|
RO
|
3-7 ส.ค.
|
VNG
|
223.86
|
3.75
|
168.23
|
630.86
|
RO
|
14-20 ก.ค.
|
HYDRO
|
784.97
|
0.14
|
495.42
|
69.36
|
RO
|
15-19 มิ.ย.
|
T
|
1,700
|
0.03
|
833.5
|
25.01
|
PP
|
26-พ.ค.
|
NOK
|
888.15
|
2.5
|
620.67
|
1,551.68
|
RO
|
3-7 ก.พ.
|
DIMET
|
537.91
|
0.5
|
0.47
|
0.23
|
RO
|
23-29 ม.ค.
|
NEX
|
116
|
2.5
|
94.44
|
236.1
|
RO
|
11-17 มี.ค.
|
EFORL
|
8,054
|
0.05
|
3,174
|
158.7
|
RO
|
2 ธ.ค.62 - 18 มี.ค.63
|
การเพิ่มทุนของทั้ง 8 บริษัทคิดมูลค่าตามราคาเสนอขายรวม 5,382 ล้านบาท แต่ขายได้จริงเพียง 2,672 ล้านบาทเท่านั้น คิดเป็นการระดมทุนผิดเป้าหมายถึง 50%
บริษัท คิง ไว กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KWG พลาดเป้าหมายมากที่สุด ซึ่งประกาศเพิ่มทุน 1,290.34 ล้านหุ้น ขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม (RO) ราคา 0.93 บาท/หุ้น รวมมูลค่าราว 1,200 ล้านบาท แต่ขายได้จริงเพียง 5,790 หุ้น ระดมเงินได้เพียง 5,384.7 บาท
โดยมีเป้าหมายจะนำเงินดังกล่าวเข้าลงทุนใน บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งล่าสุดได้ขอเลื่อนระยะเวลาสุดท้ายในการเข้าลงทุนเป็น 30 พ.ย.63 จากเดิม 31 ส.ค.63
เช่นเดียวกับ บริษัท ไดเมท (สยาม) จำกัด (มหาชน) หรือ DIMET เพิ่มทุน 537.91 ล้านหุ้น ขาย RO ราคา 0.5 บาท/หุ้น มูลค่ารวม 269 ล้านบาท แต่ขายได้เพียง 466,923 หุ้น ได้เงินเพียง 233,461 บาท เท่านั้น
*** ยืดเวลาจอง-ยกเลิก-เพิ่มทุนใหม่ เพียบ !
ขณะเดียวกันพบว่ามีหลาย บจ.ที่มีการเลื่อนเวลาจองซื้อหลายครั้ง เพื่อให้เวลากับผู้ถือหุ้น โดย บริษัท อี ฟอร์ แอล เอม จำกัด (มหาชน) หรือ EFORL เลื่อนการจองซื้อมากสุดถึง 5 ครั้ง ลากเวลาให้ผู้ถือหุ้นใส่เงินเพิ่มทุนจาก 2 ธ.ค.62 จนถึง 18 มี.ค.63 ซึ่งสุดท้ายผู้ถือหุ้นซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพียง 3,174 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 0.05 บาท ระดมเงินได้เพียง 158.7 ล้านบาท จากเดิมจะเพิ่มทุน 8,054 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่ารวม 402.7 ล้านบาท หรือระดมทุนได้เพียง 39% เท่านั้น
เช่นเดียวกับ บริษัท ที เอ็นจิเนียร์ริ่ง คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ T ที่ประกาศขายหุ้นเพิ่มทุน RO จำนวน 1,011 ล้านหุ้น ราคาเสนอขาย 0.03 บาท/หุ้น มูลค่ารวม 30.34 บาท กำหนดวันจองซื้อเดิม 21 มี.ค.- 1 เม.ย.63 แต่ได้เลื่อนไปถึง 3 ครั้ง จนครั้งล่าสุดเลื่อนแบบไม่มีกำหนด โดยชี้แจงว่าเนื่องจากติดขัดเพราะมีการระบาดของโควิด-19
อย่างไรก็ตามการขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับบุคคลในวงจำกัด (PP) จำนวน 1,700 ล้านหุ้น ราคาเสนอขาย 0.03 บาท/หุ้น ซึ่งประกาศพร้อมกันกับ RO แม้จะขายได้ แต่ก็ขายไม่หมด โดยผู้ลงทุนซื้อเพียง 833.5 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่า 25 ล้านบาท จากเป้าหมายเดิมที่ 51 ล้านบาท
รวมถึง บริษัท ไฮโดรเท็ค จำกัด (มหาชน) หรือ HYDRO ซึ่งมีการเพิ่มทุนถึง 2 ครั้งช่วงต้นปี โดยเมื่อ 5 มี.ค.63 บอร์ดมีมติเพิ่มทุนขาย RO จำนวน 156.99 ล้านหุ้น PP จำนวน 78.50 ล้านหุ้น ราคาเสนอขาย 0.29 บาท/หุ้น แต่ผู้ลงทุน PP ยกเลิกซื้อหุ้นเนื่องจากเห็นว่าราคาขายสูงกว่าราคาตลาด ขณะที่ RO ขายได้เพียง 2,325 หุ้น คิดเป็นมูลค่าเพียง 674.25 บาท โดยมีกำหนดจองซื้อช่วง 9-13 มี.ค.63 แต่เมื่อ 10 เม.ย.63 บริษัทประกาศยกเลิกการเพิ่มทุน RO ดังกล่าว โดยชี้แจงว่ามีข้อผิดพลาดทางเทคนิค
ต่อมา 13 เม.ย.63 มีการประกาศเพิ่มทุนอีกครั้งจำนวน 784.97 ล้านหุ้น ราคา 0.14 บาท/หุ้น คิดเป็นมูลค่า 109.9 ล้านบาท โดยกำหนดจองซื้อ 15-19 มิ.ย.63 แม้จะขายได้ แต่ก็ไม่หมดตามเป้าหมาย ซึ่งระดมเงินทุนได้ 69.36 ล้านบาท
*** วงการชี้ผู้ถือหุ้นถอดใจในธุรกิจ
แหล่งข่าวนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ระบุว่า บริษัทข้างต้นส่วนใหญ่ธุรกิจอยู่ในช่วงขาลง ผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่อง ผู้ถือหุ้นเริ่มถอดใจไม่ใส่เงินเพิ่มทุน โดยเฉพาะรายย่อย
"หลายบริษัทเพิ่มทุนบ่อยครั้งเพื่อเติมสภาพคล่อง แต่ธุรกิจก็ไม่ดีขึ้น ยังขาดทุนต่อเนื่อง ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนคงถอดใจ เติมทุนให้เท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ สู้เก็บเงินสดไว้ดีกว่า" แหล่งข่าวกล่าว
ด้าน "แมนพงศ์ เสนาณรงค์" รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มองว่า ต้องดูรายละเอียดในแต่ละบริษัท ซึ่งปกติการขายหุ้นเพิ่มทุนไม่หมดมีความเป็นไปได้ โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กที่มีปัญหาเรื่องผลประกอบการ เพราะผู้ถือหุ้นอาจจะมีปัญหาสภาพคล่องส่วนตัวด้วยเช่นกัน ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่แน่นอน อาจจะมีความรอบคอบในการบริหารความเสี่ยงด้านการเงินมากขึ้น
อย่างไรก็ตามยังไม่ถือว่ามีนัยสำคัญมากนัก ขณะที่ บจ.ขนาดใหญ่ก็ยังสามารถขายหุ้นเพิ่มทุนได้หมดตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลก่อนใส่เงินเพิ่มทุนทุกครั้ง ประเมินวัตถุประสงค์ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเพิ่มทุน
*** จับตา 6 บจ.เตรียมขายหุ้นเพิ่มทุน Q4/63
ทั้งนี้มี 6 บจ.เตรียมทำการเพิ่มทุนจดทะเบียนในไตรมาส 4 นี้ โดยมี 3 บริษัทที่กำหนดวันจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนในเดือน ต.ค.นี้ ขณะเดียวกัน 6 บจ.ที่เตรียมเพิ่มทุนส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ประกอบด้วย
6 บจ.เตรียมเพิ่มทุน
|
ชื่อย่อหุ้น
|
หุ้นเพิ่มทุน
(ล.หุ้น)
|
ราคาเสนอขาย
(บ./หุ้น)
|
มูลค่า
(ล.บาท)
|
รุปแบบ
|
วันจองซื้อ
|
วัตถุประสงค์
|
THANI
|
1,887.00
|
1
|
1,887.00
|
RO
|
5-9 ต.ค.
|
เงินทุนหมุนเวียน
|
AMATA
|
83.00
|
11.8
|
979.40
|
RO
|
9-16 ต.ค.
|
ลงทุน
|
DIMET
|
1,076
|
0.1
|
107.65
|
RO
|
22-29 ต.ค.
|
เพิ่มสภาพคล่อง
|
BCPG
|
1,301.70
|
11.5
|
14,969.55
|
RO-PP
|
กำหนดรายชื่อ 15 ต.ค.
|
ลงทุน/คืนหนี้
|
JMT
|
356.60
|
N/A
|
N/A
|
RO-PP
|
ขออนุมัติ ผถห. 2 พ.ย.
|
เงินทุนหมุนเวียน
|
JMART
|
362.64
|
N/A
|
N/A
|
RO-PP
|
ขออนุมัติ ผถห. 2 พ.ย.
|
เงินทุนหมุนเวียน
|
บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือ BCPG มีมูลค่าระดมทุนสูงสุดเกือบ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยจะกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิ 15 ต.ค.นี้ หลังจากนั้นจะกำหนดวันจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน
ขณะที่ บริษัท ไดเมท (สยาม) จำกัด (มหาชน) หรือ DIMET จะเพิ่มทุนอีกครั้ง หลังจากต้นปีระดมเงินทุนไม่ได้ตามเป้าหมาย