แห่ขายบิ๊กล็อตเดือดรอบ 1 เดือนหลัง มูลค่ารวมกว่า 5.1 หมื่นล้านบาท พบมีถึง 68 หลักทรัพย์จาก 60 บจ.ขายเกิน 100 ล้านบาท แถมเจอ 13 บจ.ขายเกิน 1 พันล้านบาท พร้อมเปิดโผ 30 บจ.ที่ขายบิ๊กล็อตสูงสุด พบ 24 ผู้ถือหุ้นใหญ่จาก 14 บจ.ขายหุ้นให้นักลงทุนต่างชาติ-พันธมิตรธุรกิจ-เซียนหุ้น บางส่วนปรับโครงสร้างถือหุ้น กูรูแนะจับตาการชี้แจงและแผนอนาคต
*** พบ "บจ.-เจ้าของ" แห่ขายบิ๊กล็อตกว่า 5.1 หมื่นล้านบาท รอบ 1 เดือนหลัง
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจข้อมูลการซื้อขายหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) รอบ 1 เดือนหลังสุดระหว่างวันที่ 6 พ.ค. - 18 มิ.ย.64 (นับเฉพาะวันทำการ) พบว่า มีการซื้อขายหลักทรัพย์รายใหญ่ (Big Lot) จำนวนมาก โดยมีถึง 68 หลักทรัพย์ จาก 60 บจ. (รวมการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ถือครองโดยผู้ลงทุนต่างประเทศ "Foreign" และ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ "Warrant") ที่ซื้อขายผ่านบิ๊กล็อตมากกว่า 100 ล้านบาทในรอบ 1 เดือน มูลค่ารวมกว่า 5.1 หมื่นล้านบาท
"กรภัทร วรเชษฐ์" ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)โนมูระ พัฒนสิน ระบุว่า สาเหตุที่ บจ. ซึ่งรวมถึงผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหารขายหุ้นบิ๊กล็อตช่วงนี้ เพราะช่วงนี้ตลาดหุ้นไทย (SET Index) กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ถือเป็นแรงจูงใจสำคัญในการขายหุ้นออกมา
*** เปิดโผ 30 บจ.ขายบิ๊กล็อตสูงสุด มูลค่ารวมกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ 30 บจ.ที่มีการขายบิ๊กล็อตสูงสุดรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา มูลค่ารวม 4.5 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย
30 หุ้นมูลค่า Big lot สูงสุดในรอบ 1 เดือน
|
ภาพรวม
|
วันที่ซื้อขายสูงสุด
|
ชื่อย่อหุ้น
|
จำนวน
|
ราคาเฉลี่ย (บ.)
|
มูลค่า (ลบ.)
|
วันที่
|
จำนวน
|
ราคาเฉลี่ย (บ.)
|
มูลค่า (ลบ.)
|
รายการ
|
หุ้น (ล.หุ้น)
|
รายการ
|
หุ้น (ล.หุ้น)
|
INTUCH
|
19
|
181.18
|
64.35
|
11,749
|
4 มิ.ย.
|
11
|
160
|
64.86
|
10,378
|
KTC-F
|
2
|
86
|
73.13
|
6,396
|
27 พ.ค.
|
1
|
76
|
74.75
|
5,681
|
KBANK
|
52
|
23.29
|
123.57
|
2,808
|
4 มิ.ย.
|
5
|
13.22
|
118.5
|
1,566
|
KTC
|
16
|
35.91
|
72.68
|
2,673
|
27 พ.ค.
|
8
|
34
|
74.75
|
2,542
|
AOT
|
18
|
37.55
|
62.74
|
2,416
|
10 มิ.ย.
|
1
|
20.45
|
65.5
|
1,339
|
BDMS
|
7
|
72.96
|
21.66
|
1,623
|
10 มิ.ย.
|
1
|
69
|
22.3
|
1,544
|
PTTEP
|
14
|
10.54
|
119.17
|
1,268
|
10 มิ.ย.
|
2
|
4.56
|
120.99
|
551
|
WHA
|
11
|
519.38
|
3.09
|
1,266
|
21 พ.ค.
|
4
|
493.5
|
2.4
|
1,184
|
ERW
|
6
|
388.1
|
3.36
|
1,239
|
25 พ.ค.
|
2
|
170
|
3
|
510
|
KCE
|
4
|
19.38
|
65.19
|
1,186
|
21 พ.ค.
|
3
|
19.23
|
61.12
|
1,175
|
KBANK-F
|
19
|
9.53
|
122.1
|
1,185
|
18 มิ.ย.
|
2
|
4.4
|
124.39
|
547
|
SUPER
|
14
|
1,051.65
|
0.97
|
1,030
|
8 มิ.ย.
|
11
|
1,020
|
0.98
|
1,000
|
SCC
|
10
|
2.4
|
443.62
|
1,027
|
10 มิ.ย.
|
1
|
2082
|
426
|
887
|
AUCT
|
2
|
81
|
9.8
|
793
|
19 พ.ค.
|
1
|
49
|
9.8
|
481
|
AEC
|
14
|
1,207.19
|
0.73
|
779
|
11 พ.ค.
|
4
|
404.15
|
0.58
|
234
|
SKR
|
25
|
88.6
|
7.97
|
704
|
7 มิ.ย.
|
2
|
9.44
|
9.7
|
91
|
CPF-F
|
5
|
24
|
29.05
|
697
|
11 พ.ค.
|
1
|
5
|
29.47
|
147
|
CPALL
|
16
|
11.47
|
59.54
|
665
|
21 พ.ค.
|
1
|
4.32
|
57.52
|
249
|
JMART
|
7
|
19.1
|
32.75
|
626
|
11 มิ.ย.
|
7
|
19.1
|
32.75
|
626
|
BTS
|
9
|
67.58
|
8.81
|
592
|
24 พ.ค.
|
1
|
56
|
8.7
|
487
|
KISS
|
2
|
59.94
|
9
|
539
|
10 มิ.ย.
|
2
|
59.94
|
9
|
539
|
NVD
|
1
|
207
|
2.52
|
522
|
1 มิ.ย.
|
1
|
207
|
2.52
|
522
|
UNIQ
|
2
|
80.26
|
6.13
|
489
|
14 พ.ค.
|
1
|
45
|
5.9
|
266
|
RCL
|
4
|
8.41
|
46.44
|
465
|
10 มิ.ย.
|
1
|
6.81
|
58
|
395
|
SIMAT
|
24
|
96.14
|
4.55
|
425
|
15 มิ.ย.
|
3
|
34.9
|
4.2
|
146
|
GUNKUL
|
6
|
99.81
|
4.02
|
399
|
16 มิ.ย.
|
3
|
99.58
|
4
|
398
|
GJS
|
11
|
1,000
|
0.37
|
370
|
24 พ.ค.
|
11
|
1,000
|
0.37
|
370
|
CHAYO-W1
|
20
|
36.3
|
10.37
|
363
|
17 มิ.ย.
|
16
|
34.5
|
10
|
345
|
ADVANC
|
13
|
2.02
|
171
|
346
|
25 พ.ค.
|
2
|
624.2
|
169.73
|
106
|
III
|
8
|
40.3
|
10.5
|
324
|
25 พ.ค.
|
7
|
40
|
8
|
320
|
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย รวบรวมข้อมูลจาก ตลท. - ก.ล.ต. - eFin StockPickup ข้อมูลระหว่างวันที่ 6 พ.ค. – 18 มิ.ย.64
|
จากตาราง มีถึง 11 บริษัทที่ขายบิ๊กล็อตมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านบาท บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ (INTUCH) ขายสูงสุด 1.17 หมื่นล้านบาท โดยขายมากสุดวันที่ 4 มิ.ย.64 จำนวน 160 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 64.86 บาท มูลค่า 1.04 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มีธุรกรรมขายบิ๊กล็อตสูงสุด 52 รายการในรอบ 1 เดือน มูลค่ารวม 2,808 ล้านบาท โดยขายมากสุดวันที่ 4 มิ.ย.เช่นเดียวกัน จำนวน 13.22 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 118.5 บาท มูลค่ารวม 1,566 ล้านบาท
ด้าน บมจ.บัตรกรุงไทย (KTC) มีการขายบิ๊กล็อตทั้ง KTC และ KTC-F รวมถึง 9,069 ล้านบาท ในรอบ 1 เดือน แบ่งเป็น KTC มูลค่า 2,673 ล้านบาท และ KTC-F มูลค่า 6,396 ล้านบาท โดยถูกขายมากสุดวันที่ 27 พ.ค.64 ทั้ง 2 หลักทรัพย์ ระดับ 2,542 ล้านบาท และ 5,681 ล้านบาท ตามลำดับ
ส่วน Warrant ที่ถูกขายบิ๊กล็อตสูงสุดมาจาก บมจ.ชโย กรุ๊ป (CHAYO-W1) มูลค่ารวม 363 ล้านบาท ในรอบ 1 เดือน โดยถูกขายมากสุดวันที่ 17 มิ.ย.64 จำนวน 34.5 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 10 บาท คิดเป็นมูลค่า 345 ล้านบาท มากกว่าหุ้นสามัญ (CHAYO) ที่มีการขายบิ๊กล็อตรวม 1 เดือนหลังมูลค่า 155 ล้านบาท
*** 24 ผู้ถือหุ้นใหญ่จาก 14 บจ.โกยเงิน 24 - 1,000 ล้านบาท
ทั้งนี้เมื่อสำรวจแบบรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (แบบ 246-2) ซึ่งจะรายงานการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้นทุก 5% และ แบบรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้บริหาร (แบบ 59) พบว่า หลายบริษัทโดยเฉพาะหุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap.) สูงจะไม่มีรายละเอียดข้อมูลการซื้อขายหุ้น ซึ่งอาจจะเกิดจากการขายหุ้นของผู้ถือหุ้นใหญ่หรือนักลงทุนสถาบันสัดส่วนไม่เกิดระดับการเปลี่ยนแปลง 5% ตามแบบ 246-2 รวมถึงไม่ได้เป็นผู้บริหารจึงไม่ปรากฏข้อมูลใน แบบ 59
อย่างไรก็ตามพบว่ามี 14 บริษัทที่มีการรายงานข้อมูลในแบบ 246-2 และแบบ 59 ซึ่งตรงกับจำนวนธุรกรรมการขายบิ๊กล็อต ทั้งช่วงเวลา, จำนวนหุ้น และมูลค่าการซื้อขาย โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ 24 รายที่ทำการขายบิ๊กล็อตดังนี้
24 บิ๊ก บจ.ขายหุ้น Big lot สูงสุดในรอบ 1 เดือน
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ชื่อผู้ขายหุ้น
|
วันที่ขาย
|
จำนวน (ล.หุ้น)
|
ราคาเฉลี่ย (บ.)
|
มูลค่า (ลบ.)
|
SUPER
|
จอมทรัพย์ โลจายะ
|
8 มิ.ย.
|
1020
|
0.98
|
1,000
|
ERW
|
สุขกาญจน์ วัธนเวคิน
|
24-25 พ.ค.
|
255
|
3
|
765
|
JMART
|
อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา
|
11 มิ.ย.
|
19.1
|
32.75
|
626
|
KCE
|
พิธาน องค์โฆษิต
|
21 พ.ค.
|
10
|
61.12
|
611
|
NVD
|
วัฒนา สมวัฒนา
|
1 มิ.ย.
|
207.01
|
2.52
|
522
|
AUCT
|
ภาคภูมิ ศิลา
|
18 พ.ค.
|
49.07
|
9.8
|
481
|
GJS
|
“ไทย อาร์. ที. เอ็น. ที โฮลดิ้ง”
|
24 พ.ค.
|
1000
|
0.37
|
370
|
KISS
|
“AURORA ASIA HOLDINGS”.
|
10 มิ.ย.
|
40.46
|
9
|
364
|
AUCT
|
ธิดารัตน์ สีตภวังค์
|
17 พ.ค.
|
31.83
|
9.8
|
312
|
KCE
|
อรรถสิทธิ์ องค์โฆษิต
|
21 พ.ค.
|
5
|
61.12
|
306
|
UNIQ
|
นิตยา สงวนพานิช
|
14 พ.ค.
|
45
|
5.9
|
266
|
VL-W1
|
ชุติภา กลิ่นสุวรรณ
|
14-17 มิ.ย.
|
180
|
1.3
|
234
|
KISS
|
ปิยวดี สอนสิงห์
|
10 มิ.ย.
|
19.48
|
9
|
175
|
AEC
|
กิ่งกาญจน์ สมิตานนท์
|
6 พ.ค.
|
297.07
|
0.56
|
166
|
III
|
ทิพย์ ดาลาล
|
25 พ.ค.
|
15
|
8
|
120
|
AEC
|
อนัญญา เรืองศักดิ์วิชิต
|
11 พ.ค.
|
204.15
|
0.58
|
118
|
SABAY
|
เพ็ญศรี วีระประวัติ
|
14 พ.ค.
|
18.9
|
5.5
|
104
|
SIMAT
|
ภิญโญ รุขพันธ์เมธ
|
15 มิ.ย.
|
24.6
|
4.2
|
103
|
III
|
วิรัช นอบน้อมธรรม
|
25 พ.ค.
|
12
|
8
|
96
|
VL
|
ชุติภา กลิ่นสุวรรณ
|
8 มิ.ย.
|
40
|
2.2
|
88
|
AEC
|
ประพล มิลินทจินดา
|
12 พ.ค.
|
143
|
0.6
|
86
|
III
|
ธีรนิติ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
|
25 พ.ค.
|
7
|
8
|
56
|
SABUY
|
วรัญญา ชัยลิมปมนตรี
|
14 พ.ค.
|
10
|
5.5
|
55
|
III
|
เฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์
|
25 พ.ค.
|
3
|
8
|
24
|
III
|
จิโรจ พนาจรัส
|
25 พ.ค.
|
3
|
8
|
24
|
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย รวบรวมข้อมูลจาก แบบรายงาน 246-2 และ 59 ของ ก.ล.ต.
|
*** บิ๊ก SUPER รับทรัพย์สูงสุด 1,000 ล้านบาท
"จอมทรัพย์ โลจายะ" ผู้ถือหุ้นใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น (SUPER) ขายบิ๊กล็อต 1,020 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 0.98 บาท รวมมูลค่า 1,000 ล้านบาท โดยระบุว่าเป็นการขายให้กับกองทุนต่างประเทศที่ไม่มีความสัมพันธ์กับบริษัทและ/หรือผู้ถือหุ้น/ผู้บริหาร จำนวน 2 ราย
*** 2 ผู้ถือหุ้นใหญ่ KCE กดขายหุ้นรวม 917 ล้านบาท
ขณะที่ 2 ผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหาร บมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ (KCE) ขายบิ๊กล็อตรวมกันกว่า 917 ล้านบาท โดย "พิธาน องค์โฆษิต"ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ขาย 10 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 61.12 บาท คิดเป็นมูลค่า 611 ล้านบาท และ "อรรถสิทธิ์ องค์โฆษิต" ขาย 5 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 61.12 บาท มูลค่ารวม 306 ล้านบาท ซึ่งขายให้กับนักลงทุนสถาบันต่างชาติ "LGT BANK HONG KONG" ทั้ง 2 ราย
*** ซีอีโอ AUCT ไล่เก็บหุ้นมูลค่ากว่า 793 ล้านบาท
ฟาก บมจ.สหการประมูล (AUCT) มีการปรับโครงสร้างการถือหุ้นภายใน โดย "วรัญญู ศิลา" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เข้าซื้อหุ้นบิ๊กล็อตจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ในครอบครัว ประกอบด้วย "ภาคภูมิ ศิลา" และ "ธิดารัตน์ สีตภวังค์" มูลค่ารวมกว่า 793 ล้านบาท ส่งผลให้หลังการทำบิ๊กล็อต "วรัญญู ศิลา" ขึ้นมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 สัดส่วน 16.18% จากเดิมถือ 1.47% อยู่ลำดับที่ 9
ด้าน "ภาคภูมิ ศิลา" เดิมเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 สัดส่วน 25% ลดการถือหุ้นเหลือ 16.08% ตกไปอยู่อันดับ 3 และ "ธิดารัตน์ สีตภวังค์" ซึ่งเดิมถือหุ้นอันดับ 2 สัดส่วน 22.53% ลดเหลือ 16.75% แต่ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 โดยบริษัทฯ ชี้แจงว่าเป็นการปรับโครงสร้างภายในครอบครัว ไม่มีผลกระทบต่อการบริหารงานหรือการดำเนินธุรกิจ
*** KISS ขายบิ๊กล็อตให้ GRAMMY
ขณะที่ บมจ.โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล (KISS) หุ้นน้องใหม่ที่ขายไอพีโอเข้าตลาดฯ เมื่อต้นปี ทำการขายบิ๊กล็อตจาก 2 ผู้ถือหุ้นใหญ่คือ “AURORA ASIA HOLDINGS” และ "ปิยวดี สอนสิงห์" ให้ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (GRAMMY) มูลค่ารวม 539 ล้านบาท ซึ่งหลังจากการขายหุ้นครั้งนี้ GRAMMY จะถือหุ้น KISS สัดส่วน 9.99%
*** "ฉัตรชัย ปิยะสมบัติกุล" สอย NVD มูลค่า 522 ล้านบาท พร้อมทำเทนเดอร์
ด้าน "ฉัตรชัย ปิยะสมบัติกุล" ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 3 ของ บมจ.เนอวานา ไดอิ (NVD) เข้าซื้อหุ้นบิ๊กล็อตจาก ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 "วัฒนา สมวัฒนา" จำนวน 207.1 ล้านหุ้น สัดส่วน 15% ราคา 2.52 บาท มูลค่า 522 ล้านบาท โดยหลังจากการซื้อหุ้นดังกล่าวส่งผลให้ "ฉัตรชัย ปิยะสมบัติกุล" ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 สัดส่วน 25% และแสดงเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ ซึ่งจะทำการเสนอซื้อหุ้น (Tender offer) ที่ราคา 2.52 บาท ตั้งแต่ 15 มิ.ย. - 19 ก.ค.นี้
*** บิ๊ก COM7-NCAP ผนึกกำลังเซียนหุ้น ช้อปบิ๊กล็อต III-GUNKUL
นอกจากนี้พบว่ามีผู้บริหารจดทะเบียนและนักลงทุนรายใหญ่ ซึ่งนำโดย "สุระ คณิตทวีกุล" ผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหาร บมจ.คอมเซเว่น (COM7) และ บมจ.เน็คซ์ แคปปิตอล (NCAP) เข้าซื้อหุ้นบิ๊กล็อต บมจ.ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์ (III) จาก "ทิพย์ ดาลาล" ผู้ถือหุ้นใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จำนวน 15 ล้านหุ้น ราคา 8 บาท มูลค่า 120 ล้านบาท เมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมา
ขณะที่ในวันเดียวกัน มีนักลงทุนรายใหญ่อีก 3 รายเข้าซื้อหุ้นบิ๊กล็อตจากผู้ถือหุ้นใหญ่ III ประกอบด้วย "พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี", "ภาวศุทธิ โชติกเสถียร" และ "สง่า พิชญังกูร" รวมมูลค่า 200 ล้านบาท
นอกจากนี้เมื่อ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา พบการขายบิ๊กล็อต บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) จำนวน 3 รายการ รวม 99.58 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 4 บาท คิดเป็นมูลค่า 398 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนั้นมีข่าวลือว่า "สุระ คณิตทวีกุล" และนักลงทุนรายใหญ่อีก 2 รายได้เข้าซื้อหุ้นดังกล่าว โดย "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" ได้สอบถาม "สุระ คณิตทวีกุล" แล้วได้คำตอบว่า มีการซื้อขายจริง แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้
อย่างไรก็ตาม "สมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GUNKUL เผยว่า มีนักลงทุนรายใหญ่ 3 ราย เข้ามาซื้อหุ้นของบริษัท อาทิ "สุระ คณิตทวีกุล" และ "พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี" เป็นต้น เข้ามาซื้อหุ้นผ่านบิ๊กล็อต
อนึ่งก่อนหน้านี้ "สุระ คณิตทวีกุล" ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทอื่นอีก 2 แห่ง ประกอบด้วย บมจ.ชโย กรุ๊ป (CHAYO) จำนวน 20.5 ล้านหุ้น สัดส่วน 2.42% (ข้อมูล ณ 11 มิ.ย.64) และ บมจ.เอ็ม วิชั่น (MVP) จำนวน 38.9 ล้านหุ้น สัดส่วน 19.45% (ข้อมูล ณ 24 พ.ค.64)
*** บิ๊ก AEC ขายหุ้นบิ๊กล็อต พร้อมปรับโครงสร้าง
ด้าน บล.เออีซี (AEC) มีการขายบิ๊กล็อตของผู้ถือหุ้นใหญ่ 3 รายการ มูลค่ารวม 370 ล้านบาท โดย "ประพล มิลินทจินดา" ขายบิ๊กล็อตให้ "พลอยส่องแสง นพรัมภา" มูลค่า 86 ล้านบาท ขณะที่ "อนัญญา เรืองศักดิ์วิชิต" และ "กิ่งกาญจน์ สมิตานนท์" ขายหุ้นบิ๊กล็อตให้ "วิมลวรรณ มิลินทจินดา" มูลค่ารวม 284 ล้านบาท
นอกจากนี้ ได้มีการขายหุ้นโดยตรงนอกตลาด โดย "ประพล มิลินทจินดา" และ "ยุวดี วชิรปภา" จำนวน 936 ล้านหุ้น ราคา 0.1 บาท ให้กับ "โฟน สุ่นสวัสดิ์" กรรมการบริหาร คิดเป็นมูลค่า 93.6 ล้านบาท ซึ่งหลังการขายหุ้นดังกล่าว "โฟน สุ่นสวัสดิ์" จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 สัดส่วน 21.84%
ขณะเดียวกัน "ประพล มิลินทจินดา" ได้ขายหุ้นโดยตรงนอกตลาดให้กับ "กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา" จำนวน 700 ล้านหุ้น สัดส่วน 16.34% ราคา 0.1 บาท คิดเป็นมูลค่า 70 ล้านบาท โดยหลังจากการขายหุ้นดังกล่าว "กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา" จะขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2
ส่วน "ประพล มิลินทจินดา" จากผู้ถือหุ้นลำดับที่ 1 เดิม จะเหลือถือหุ้นลำดับที่ 5 สัดส่วน 5.18% ด้าน "ยุวดี วชิรปภา" ผู้ถือหุ้นลำดับที่ 3 เดิม จะเหลือถือหุ้น 13.82% อยู่ในลำดับที่ 4
ทั้งนี้ "โฟน สุ่นสวัสดิ์" เป็นอดีตที่ปรึกษาทางการเงินอิสระจาก บล.ฟาร์อีสท์ ก่อนเข้ามาดำรงตำแหน่ง กรรมการบริหารของ ACE เมื่อ 15 มี.ค.64
ส่วน "กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา" เป็นประธานบริษัท เค.บิวเดอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, ผู้บริหารบริษัท ดับเบิล พีแลนด์ จำกัด และผู้บริหารโครงการนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทราบลูเทค ซิตี้ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ "ไทยสไมล์ บัส"
*** กูรูมองลบ แนะจับตาแผนอนาคต
"เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บล. เอเซียพลัส มีมุมมองเป็นลบต่อกรณีผู้บริหาร บจ.ขายหุ้นบิ๊กล็อตตัวเองทีละมากๆ เนื่องจากเป็นการส่งสัญญาณว่า หุ้นของบริษัทดังกล่าว มีแนวโน้มอยู่ในช่วงชะลอตัว หรือ ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาแพงกว่าพื้นฐานแล้ว โดยนักลงทุนต้องติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการขายหุ้นบิ๊กล็อตของผู้บริหารแต่ละครั้ง มีเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งต้องติดตามการชี้แจงของผู้บริหารแต่ละรายหลังการขายหุ้น ว่ามีการชี้แจงที่สมเหตุสมผลมากแค่ไหน ประกอบกับ พิจารณา แนวโน้มผลประกอบการบริษัทในระยะถัดไป ควบคู่ในการตัดสินใจเข้าลงทุน
ด้าน "กรภัทร วรเชษฐ์" ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุว่า ปัจจัยที่นักลงทุนต้องติดตาม หลังผู้บริหาร บจ.ขายหุ้นออกไป คือ ผู้บริหารบจ.ยังมีสัดส่วนการถือครองหุ้นในระดับสูงหรือไม่ และการเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่ออำนาจการบริหารงานแค่ไหน หากพบว่า สัดส่วนการถือหุ้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จนทำให้อำนาจในการบริหารลดลง ถือว่าเป็นปัจจัยลบต่อพื้นฐาน
ส่วน "ปิยะภัทร ภัทรภูวดล" ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) เพิ่มเติมว่า การขายหุ้นบิ๊กล็อตของผู้ถือหุ้นใหญ่ ยังไม่ใช่ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อพื้นฐาน เพราะโดยทั่วไปมีสิทธิ์ซื้อขายได้ อย่างไรก็ตาม แนะนำนักลงทุนต้องติดตามข้อมูลเพิ่มเติมหลังการขายหุ้นออกมาอย่างใกล้ชิดว่าจะมีรายงานข้อมูลที่สมเหตุสมผลหรือไม่อย่างไร