4 โบรกเกอร์ แนะนำ 10 หุ้นกำไรปี 64 เทิร์นอะราวด์ หุ้นพลังงานติดโผเกินครึ่ง แถมพบ 5 บจ.ผู้บริหารลั่น ! ปีนี้ลุ้นพลิกกำไร กูรูติงประเมิน Valuation ก่อนลงทุน หลังบางบริษัทราคาวิ่งรับข่าวดีไปแล้ว
*** 4 โบรกฯ ชี้เป้า 10 หุ้นเทิร์นอะราวด์
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจความเห็นจากนักวิเคราะห์ 4 บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เพื่อหาบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่กำไรสุทธิปี 2564 มีแนวโน้มเทิร์นอะราวด์หรือพลิกกลับมามีกำไร จากปี 2563 ที่ขาดทุน โดยพบว่ามีทั้งสิ้น 10 บจ.ดังนี้
10 หุ้นกำไรปี 64 เทิร์นอะราวด์
|
โบรกเกอร์
|
ชื้อย่อหุ้น
|
กำไรปี 63 (ลบ.)*
|
กำไรปี 64 (ลบ.)*
|
ราคาเป้าหมาย (บ.)
|
%อัพไซด์***
|
เอเชีย พลัส
|
PTTGC
|
-845
|
11,530
|
65
|
2.77
|
TOP
|
-3,458
|
5,330
|
55
|
-5.17
|
IRPC
|
-6,152**
|
2,177
|
3.4
|
-7.10
|
MAJOR
|
-793
|
895
|
21
|
9.38
|
หยวนต้า
|
PTTGC
|
-4,868
|
12,866
|
67
|
5.93
|
IRPC
|
-6,152**
|
2,690
|
3.8
|
3.83
|
TOP
|
-5,297
|
2,058
|
59
|
1.72
|
BCP
|
-6,826
|
2,010
|
31
|
19.23
|
SPRC
|
-6,224
|
1,509
|
8.4
|
-7.18
|
MAJOR
|
-727
|
856
|
19.1
|
-9.05
|
ฟินันเซียฯ
|
PTTGC
|
-2,890
|
19,529
|
86
|
35.97
|
TOP
|
-5,290
|
13,805
|
74
|
27.59
|
IRPC
|
-6,152**
|
5,261
|
5.3
|
44.81
|
SPRC
|
-3,712
|
5,112
|
12
|
32.60
|
ESSO
|
-2,813
|
4,358
|
14.3
|
60.67
|
MAJOR
|
-845
|
713
|
19
|
-1.04
|
BEC
|
-398
|
213
|
8.6
|
-4.97
|
ZEN
|
-29
|
165
|
14.1
|
15.57
|
เมย์แบงก์ฯ
|
PTTGC
|
-4,529
|
10,000
|
75
|
18.58
|
TOP
|
-1,621
|
5,838
|
48
|
-17.24
|
IRPC
|
-6,152**
|
2,680
|
4.5
|
22.95
|
SPRC
|
-5,074
|
1,894
|
7
|
-22.65
|
MAJOR
|
-819
|
935
|
18.2
|
-5.21
|
CENTEL
|
-1,720
|
158
|
29
|
-1.69
|
* คาดการณ์กำไรจากโบรกเกอร์
** IRPC ประกาศกำไรสุทธิปี 63 แล้ว
*** %อัพไซด์ เทียบราคาปิด 11 ก.พ.64
|
10 บจ.ข้างต้น ส่วนใหญ่เป็นหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยติดโผทั้งสิ้นถึง 6 บริษัท ส่วนที่เหลือเป็นหุ้นธุรกิจท่องเที่ยวและสันทนาการ, สื่อและสิ่งพิมพ์ และ อาหารและเครื่องดื่ม
"วิจิตร อารยะพิศิษฐ" ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุว่า สาเหตุที่หุ้นกลุ่มพลังงานมีแนวโน้มพลิกกลับมารายงานกำไรสุทธิในปี 64 เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ในปี 63 อย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนจากความต้องการใช้น้ำมัน และราคาขายที่ปรับตัวลงอย่างมากในช่วงดังกล่าว ประกอบกับ หลายบริษัทต้องเผชิญกับการขาดทุนสต็อกน้ำมันครั้งใหญ่อีกด้วย
ส่วน 64 ผลประกอบการของหุ้นในกลุ่มพลังงานฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างโดดเด่น หลังมีการกระจายวัคซีนโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลให้กิจกรรมการเดินทางฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ราคาน้ำมันดิบยังปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ในช่วงต้นปี 64 หุ้นในกลุ่มดังกล่าว มีแนวโน้มจะบันทึกกำไรพิเศษจากสต็อกน้ำมันอีกด้วย
ขณะที่มี 3 บจ.ที่นักวิเคราะห์มองตรงกันทั้ง 4 โบรกเกอร์ว่ากำไรสุทธิปี 64 จะพลิกมีกำไร ได้แก่ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC), บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) และ บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR)
*** กลุ่มบริษัทลูก PTT ติดโผเพียบ
ทั้งนี้พบว่ากลุ่มหุ้นพลังงานที่ติดโผส่วนใหญ่เป็นบริษัทในเครือ บมจ.ปตท.(PTT) ถึง 3 บริษัท ประกอบด้วย
1.บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) นักวิเคราะห์คาดปี 64 พลิกรายงานกำไรสุทธิระดับ 11,530 - 19,529 ล้านบาท จากปี 63 ที่คาดจะขาดทุนสุทธิ 845 - 4,868 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ประเมินว่า ทิศทางกำไรปี 64 จะฟื้นตัวได้ดีกว่าคู่แข่งในกลุ่มอุตสาหกรรมขั้นปลาย (โรงกลั่น-ปิโตรเคมี) เพราะเป็นหุ้นปิโตรเคมี Gas-base ทำให้ได้ประโยชน์จากทั้งส่วนต่างราคาปิโตรเคมีและราคาน้่ำมันดิบที่สูงขึ้น
ขณะเดียวกันกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 10% จากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ของ PO/Polyols และ ORP ช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ ขณะที่ปีนี้ไม่มีการซ่อมบำรุงใหญ่ รวมถึงจะได้ประโยชน์จากความร่วมมือการค้า RCEP อีกด้วย
คาดกำไรสุทธิปี 64 ระดับ 1.29 หมื่นล้านบาท แนะนำ "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 67 บาท
2.บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) นักวิเคราะห์คาดปี 64 จะพลิกรายงานกำไรสุทธิระดับ 2,177 - 5,261 ล้านบาท เทียบกับปี 63 ที่รายงานขาดทุนสุทธิ 6,152 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า กำไรปี 64 จะฟื้นตัวเป็น 5,261 ล้านบาท โดยได้รับแรงผลักดันจาก 1.กำไร Propylene และ Polypropylene (33% ของกำไรรวม) ที่สูงขึ้นจากอุปทานตึงตัว ขณะที่ดีมานด์ชิ้นส่วนรถยนต์และบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้น 2.ต้นทุน Crude Premium ลดลง 3.GRM ฟื้นตัว 2 ดอลลาร์/บาร์เรล และ 4.ต้นทุนเฉลี่ยลดลง 3 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยประเมินว่ากำไรของ IRPC จะฟื้นตัว
ตั้งแต่ไตรมาส 1/63 เป็นต้นไป ตามสถานการณ์ที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก แนะนำ "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 5.30 บาท
3. บมจ.ไทยออยล์ (TOP) นักวิเคราะห์คาดจะพลิกกลับมารายงานกำไรสุทธิปี 64 ระดับ 2,058 - 13,805 ล้านบาท เทียบกับปี 63 ที่คาดขาดทุนสุทธิระหว่าง 1,621 - 5,297 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ประเมินว่า ธุรกิจผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปี 63 และมีแนวโน้มกำไรฟื้นตัวแรง ระดับ 1.38 หมื่นล้านบาท โดยได้แรงหนุนจาก 1.ค่าการกลั่นเพิ่มขึ้นและผลกระทบจาก Crude Premium ลดลง 2.กำไรสุทธิที่สูงขึ้นจากธุรกิจโรงไฟฟ้าผ่านการลงทุนใน บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) และ 3.ผลกระทบจำกัดจากขาดทุนสินค้าคงคลัง ขณะที่การขายเงินลงทุน 2
รายการปีก่อนเพื่อลดหนี้ จะทำให้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลง แนะนำ "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 74 บาท
*** แนะประเมิน Valuation ก่อนลงทุน
"ประสิทธิ รัตนกิจกมล" นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุนและด้านเทคนิค บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า แม้หุ้นกลุ่มดังกล่าว กำไรสุทธิมีโอกาสเทิร์นอะราวด์ในปี 64 แต่ราคาหุ้นบางบริษัทได้ปรับตัวสะท้อนแนวโน้มล่วงหน้าไปแล้ว ส่งผลให้ในแง่ Valuation อาจจะตึงตัว นักลงทุนต้องประเมินให้รอบคอบ เพราะหากกำไรไม่เป็นไปตามคาด อาจจะมีแรงขายออกมาได้
ทั้งนี้ เมื่อสำรวจหุ้นกลุ่มดังกล่าวพบว่ามี 2 บจ.ที่ราคาล่าสุดเกินมูลค่าเหมาะสมที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมิน ได้แก่
1.บมจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (SPRC) ราคาล่าสุดที่ 9.05 บาท เกินราคาเหมาะสม 2 จาก 3 โบรกเกอร์ โดย บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ให้ราคาเหมาะสม 7 บาท และ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ให้ราคาเหมาะสม 8.4 บาท
นักวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุว่า ผลประกอบการปี 64 จะพลิกกลับมามีกำไร เนื่องจากราคาน้ำมันดิบมีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้ไม่มีผลขาดทุนสต็อกน้ำมันจำนวนมาก ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะทำให้ดีมานด์น้ำมันเชื้่อเพลิงปรบตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามราคาหุ้นได้สะท้อนโอกาสการฟื้นตัวไปแล้ว แนะนำเพียง "เก็งกำไร" เพราะราคาล่าสุดเต็มมูลค่าพื้นฐานไปแล้ว
2.บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) ซึ่งนักวิเคราะห์ 4 โบรกเกอร์คาดปี 64 จะพลิกรายงานกำไรสุทธิ 713 - 935 ล้านบาท เทียบปี 63 ที่คาดขาดทุนสุทธิ 793 - 845 ล้านบาท
แต่ราคาล่าสุดที่ 21 บาท เกินราคาเหมาะสมไปถึงแล้ว 3 โบรกเกอร์ โดย บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ประเมินไว้ที่ 18.2 บาท, บล.ฟินันเซีย ไซรัส ประเมินไว้ที่ 19 บาท และ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ประเมินที่ 19.10 บาท
*** 5 บิ๊ก บจ.มั่นใจกำไรปี 64 เทิร์นอะราวด์
นอกจาก 10 บจ.ที่นักวิเคราะห์ประเมินว่าปี 64 กำไรจะพลิกกลับมาเทิร์นอะราวด์ ยังพบว่ามีอีก 5 บจ.ที่ผู้บริหารประกาศแผนปีนี้ถึงโอกาสในการพลิกกำไร ประกอบด้วย
1. "สุวิน ไกรภูเบศ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บิวตี้ คอมมูนิตี้ (BEAUTY) ตั้งเป้า ปี 64 ผลประกอบการพลิกกลับมามีกำไร หลังปรับแผนดำเนินธุรกิจ 3 แนวทาง คือ 1.ปรับโครงสร้างบริหารจัดการ (Re-structure) 2.ขยายช่องทางการจำหน่ายที่มีการขยายตัวสูง (Re-new) และ 3.พัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ (Re-model) โดยตั้งเป้ารายได้รวมปีนี้เติบโต 5% จากปีก่อน และคาดว่าจากการปรับกลยุทธ์การดำเนินงานจะสร้างอัตรากำไรสุทธิไม่ต่ำกว่า 5%
ขณะเดียวกันเพิ่มโมเดลการขายใหม่ คือ Affiliate Program เปลี่ยนจากลูกค้าเป็นคู่ค้า ให้บุคคลทั่วไปที่สนใจนำสินค้าของบริษัทไปขายในช่องทาง Social Media ของตนเองได้ โดยไม่ต้องสต๊อกสินค้า ไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องยุ่งยากส่งสินค้าเอง อยู่ที่ไหนก็ขายสินค้าได้
ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มรายได้สำหรับคนทั่วไปที่มีงานประจำทำอยู่แล้วแต่ต้องการหารายได้เสริมและเป็นอีกทางเลือกในการเพิ่มรายได้สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 คาดการณ์ว่าจะสามารถเริ่มได้ภายในไตรมาส 1/64
2."ศมิษฐา ทินนาม" ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพันธมิตรธุรกิจการเงิน บมจ.ล็อกซเล่ย์ (LOXLEY) เปิดเผยว่า ตั้งเป้าปี 64 ผลประกอบการจะเทิร์นอะราวด์สามารถพลิกกลับมามีกำไร จากปี 63 ที่คาดว่าจะยังขาดทุน เนื่องจากมีภาระค่าใช้จ่ายตั้งสำรองเพิ่มเติมจากการบันทึกประมาณการหนี้สินผลขาดทุนของงานโครงการหนึ่งในสายธุรกิจเน็ตเวิร์คโซลูชั่นส์ ส่วนปีนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายดังกล่าว
ขณะเดียวกันคาดว่าธุรกิจหลักของบริษัทฯทั้ง 5 สายธุรกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้ รวมถึงเงินปันผลจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมทุนและบริษัทย่อยที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีงานในมือที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) อยู่ประมาณ 8,000 ล้านบาท จะรับรู้ปี 64 ราว 66%
"รายได้ปี 64 คาดว่าอยู่ที่ระดับ 1.3 - 1.4 หมื่นล้านบาท แม้จะเติบโตจากปีก่อนไม่มาก แต่มั่นใจว่าผลการดำเนินงานจะกลับมาเทิร์นอะราวด์แน่นอน เพราะไม่มีแรงกดดันจากค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ แล้ว" นางสาวศมิษฐา กล่าว
3. "ธีรพัฒน์ จิรพิพัฒน์" กรรมการผู้จัดการ บมจ.เชียงใหม่ริมดอย (CRD) คาดว่า กำไรสุทธิปีนี้จะเทิร์นอะราวด์กลับมาเป็นบวก โดยได้ปรับปรุงบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับได้รับงานที่มีมาร์จิ้นสูง เช่น บริการจัดการขยะ และการบริหารจัดการโครงการเดิมที่มีปัญหา ซึ่งจะทำให้อัตรากำไรสุทธิกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง
ปัจจุบันบริษัทมีงานในมือ (Backlog) ราว 700-800 ล้านบาท โดยจะรับรู้ในปี 64 ค่อนข้างมาก คาดจะทำให้รายได้ปี 64 เติบโตถึง 20%
4. "พิรัฐ เย็นสุดใจ" รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ทีวี ธันเดอร์ (TVT) ตั้งเป้ารายได้ปี 64 เติบโต 30-40% กำไรเทิร์นอะราวด์ โดยจะเติบโตจากธุรกิจการรับจ้างผลิตรายการประมาณ 60% และธุรกิจขายโฆษณาประมาณ 40% โดยปีนี้ธุรกิจการรับจ้างผลิตรายการจะเพิ่มอีก 2-3 รายการ จากสิ้นปี 63 ที่ 15 รายการ ส่วนการขายโฆษณาคาดจะมีเพิ่มอีก 1-2 รายการ ซึ่งจะเห็นตั้งแต่ไตรมาส 3/64 เป็นต้นไป
นอกจากนี้บริษัทจะเดินหน้าขายคอนเทนต์ที่มีในมือให้กับลูกค้าต่างประเทศแถบประเทศเอเชีย เพื่อหารายได้เข้ามาเพิ่มเติม คาดจะมีสัดส่วนรายได้จากการขายคอนเทนต์ให้ลูกค้าต่างประเทศปี 2564 ที่ราว 2-3% ของรายได้รวมทั้งหมด
"นอกจากธุรกิจรับจ้างผลิต และขายโฆษณาแล้ว เราจะเน้นการขายคอนเทนต์ที่มีอยู่ไปต่างประเทศ ซึ่งการขายคอนเทนต์ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพราะเป็นรายการที่เราผลิตแล้ว และเตรียมส่งออกในแถบเอเชีย ซึ่งจะทำให้เรามีอัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้น" นายพิรัฐกล่าว
ขณะเดียวกันบริษัทได้ปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยปิดบริษัทในเครือที่ไม่สร้างกำไร เพื่อบริหารจัดการต้นทุนองค์กรให้ลดลง และผลักดันการทำกำไรให้สูงขึ้น
5. "เชน เหล่าสุนทร" รองผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน บมจ.โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง (WPH) ตั้งเป้า กำไรสุทธิปีนี้พลิกกลับมาเป็นบวก หลังจำนวนผู้ใช้บริการฟื้นตัวต่อเนื่อง และสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้มีประสิทธิภาพ โดยปี 64 ได้ปรับรูปแบบมาเน้นฐานลูกค้าในไทยทั้งหมด จากเดิมที่บางส่วนจะเป็นฐานผู้ใช้บริการจากต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้รายได้ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งคงทำควบคู่ไปกับการพยายามควบคุมต้นทุนในส่วนต่างๆ และชะลอการลงทุนใหม่ๆ ออกไปก่อน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายโดยรวมต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น
พร้อมกันนี้ ได้มีการเปิดให้บริการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ในรูปแบบห้องปฏิบัติการ (PCR) ซึ่งจะเพิ่มรายได้เข้ามาอีกส่วนหนึ่ง โดยมีอัตราค่าบริการอยู่ที่ราว 4,600-4,900 บาทต่อครั้ง
ส่วนความคืบหน้าของการพัฒนาวัคซีน COVID-19 ในหลายประเทศนั้นทาง WPH ได้มีการเตรียมความพร้อมในการจัดหาวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพื่อมาให้บริการในโรงพยาบาลต่างๆ ของบริษัท ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างรอความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายของทางรัฐบาล