efinancethai

ประเด็นร้อน

งบฯครึ่งปีแรกอสังหาฯ-ยานยนต์อ่วม ส่วนใหญ่ขาดทุน-กำไรทรุดแถมครึ่งปีหลังยังลุ้นเหนื่อย

งบฯครึ่งปีแรกอสังหาฯ-ยานยนต์อ่วม ส่วนใหญ่ขาดทุน-กำไรทรุดแถมครึ่งปีหลังยังลุ้นเหนื่อย

หลัง บจ.รายงานงบ Q2/67 เสร็จสิ้น พบหุ้น 2 กลุ่มอาการร่อแร่ อสังหาฯขาดทุนถึง 19 บริษัท จาก 59 บริษัท หลังกำลังซื้อลดตามภาวะเศรษฐกิจ แถมดอกเบี้ยขาขึ้นฉุดอีกแรง ด้านโบรกฯมอง H2/67 ยังมีลุ้นฟื้นได้ หลังมีมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อจากแบงก์ชาติ ฟากหุ้นยานยนต์กำไรวูบแรง 20% ตามภาวะตลาดผ่านจุดสูงสุด แต่ดูจะหนักกว่าอสังหาฯ โบรกฯมองช่วงที่เหลือของปียังเหนื่อย หลังเห็นสัญญาณผลิตรถยนต์อ่อนแอกว่าคาด ! 

 

*** อสังหาฯอ่วมงบ 6 เดือนขาดทุนถึง 19 บจ.

ผ่านพ้นไปแล้ว สำหรับฤดูการประกาศงบการเงินบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในช่วงไตรมาส 2/67 โดยเมื่อสำรวจงบการเงินของ บจ.กลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พบว่า หุ้นในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มยานยนต์ มีผลการดำเนินงานช่วงดังกล่าวอ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญ


โดยกลุ่มอสังหาฯช่วงไตรมาส 2/67 มีกำไรสุทธิรวม 16,942 ล้านบาท เติบโตขึ้น 6.8% จากปีก่อน ขณะที่ กำไรสุทธิ 6 เดือนของปีรวมอยู่ที่ 31,836 ล้านบาท เติบโตขึ้น 0.3% จากปีก่อน โดยมีถึง 19 บริษัท ที่กำไรสุทธิยังขาดทุนอยู่ และอีก 22 บริษัท กำไรสุทธิลดลง 12 - 99 ล้านบาท โดยมีเพียง 18 บริษัทที่มีกำไรสุทธิ ประกอบด้วย

ตารางแสดงงบการเงินกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ชื่อย่อหุ้น

กำไร Q2/67 (ลบ.)

%chg YoY

กำไร H1/67 (ลบ.)

%chg YoY

MK

-50.74

พลิกขาดทุน

-578.26

พลิกขาดทุน

PRECHA

-8.19

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

-15.83

พลิกขาดทุน

SAMCO

-29.03

พลิกขาดทุน

-16.51

พลิกขาดทุน

CGD

-39.38

พลิกขาดทุน

-42.27

พลิกขาดทุน

NCH

-3.09

พลิกขาดทุน

-8.86

พลิกขาดทุน

BROCK

-6.79

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

-9.66

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

MJD

-115.16

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

-181.53

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

BLAND

-54.64

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

-121.26

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

RICHY

-29.92

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

-64.88

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

RML

-327.24

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

-582.34

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

NUSA

-256.99

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

-383.5

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

KC

-24.57

ขาเดทุนเพิ่มขึ้น

-74.21

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

RABBIT

-36.83

ขาดทุนลดลง

-185.2

ขาดทุนลดลง

POLAR

-5.99

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

-14.02

ขาดทุนลดลง

CI

-131.18

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

-109.91

ขาดทุนลดลง

CMC

-85.7

-20.82

-139.68

ขาดทุนลดลง

A

-22.84

ขาดทุนลดลง

-93.72

ขาดทุนลดลง

AKS

-37.13

ขาดทุนลดลง

-86.89

ขาดทุนลดลง

EVER

-76.81

ขาดทุนลดลง

-141.99

ขาดทุนลดลง

UV

-40.08

พลิกขาดทุน

6.72

-99.05

ORN

-2.33

พลิกขาดทุน

8.07

-93.51

UV

59.04

พลิกกำไร

65.76

-86.86

PSH

313.71

-69.77

379.13

-77.57

PRIN

16.16

-83.25

31.63

-76.85

WIN

0.19

-96.86

1.59

-69.71

PEACE

21.54

-62.34

39.25

-69.49

NVD

4.55

-73.47

26.43

-49.24

ORI

451.70

-48.26

915.79

-45.19

LALIN

145.90

-29.57

253.12

-42.60

PROUD

11.58

32.49

88.18

-39.87

SC

531.28

-10.42

713.89

-36.69

BRI

206.46

-40.69

502.88

-25.68

FPT

158.53

-49.99

475.07

-24.82

AP

1,268.80

-17.85

2,277.13

-24.67

LPN

96.42

10.70

179.97

-22.47

SPALI

1,598.90

-5.99

2,212.54

-20.44

LH

1,017.02

-29.85

2,248.05

-19.82

SIRI

1,387.05

-14.44

2,702.03

-15.64

AMATA

231.17

-26.22

694.75

-13.73

SENA

74.60

-41.27

185.54

-13.01

QH

620

-7.38

1,110.09

-12.02

GLAND

84.59

14.31

171.82

8.84

NOBLE

124.34

11.16

203.02

10.09

AWC

1,247.18

11.18

2,851.74

12.11

CPN

4,555.79

23.87

8,709.96

25.80

NNCL

96.32

-15.20

255.98

35.10

PF

-177.77

ขาดทุนเพิ่มขึ้น

-246.56

44.39

MBK

776.61

7.55

1,443.38

61.36

WHA

1,288.55

48.77

2,653.47

91.06

ASW

593.08

278.19

849.4

93.13

JCK

51.01

-74.73

451.34

138.30

PIN

418.54

163.40

871.45

175.92

SA

68.66

702.10

178.4

186.54

PLAT

71.41

116.72

139.91

234.87

ROJNA

628.51

พลิกกำไร

720.47

1,401.29

J

134.34

พลิกกำไร

140.4

2,519.40

AMATAV

52.42

-8.44

84.96

พลิกกำไร

ANAN

151.00

พลิกกำไร

80.12

พลิกกำไร

S

-52.12

ขาดทุนลดลง

10.09

พลิกกำไร

ที่มา : SETSMART ณ 14 ส.ค.67


บทวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุสาเหตุที่ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อ่อนแอลง เป็นเพราะที่ผ่านมามีแรงกดดันจากปัจจัยมหภาค และกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากภาระหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับ สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นด้วย


ด้าน "ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ (ANAN) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ธุรกิจอสังหาฯ ปี 67 ที่อยู่ในระดับ"ทรงตัว" กับ "ติดลบ" เกิดจากการทำตลาดยากและมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากฐานใหญ่ (ตลาดระดับกลาง-ล่าง) ยังได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่ถดถอย ขณะที่ ผู้ประกอบการยังต้องเผชิญมรสุมการชำระหนี้ตราสารหนี้คงค้าง (Roll-over) ต่อเนื่องจากปี 66 เนื่องจากแหล่งเงินทุนหลักของอสังหาฯ มาจากการออกหุ้นกู้


ส่วน "ประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ" กรรมการผู้จัดการบริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด เสริมว่า ณ ปัจจุบัน อสังหาฯไทยมีสินค้าคงเหลือและสินค้าที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอยู่ที่ 707,738 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.02% จากสิ้นไตรมาสแรกของปี 67 


ซึ่งเมื่อเทียบกับรายได้ในครึ่งแรกของปี 67 จะใช้เวลาในการขายประมาณ 27 - 28 เดือน ในกรณีที่ไม่มีการเปิดตัวโครงการใหม่ โดย 3 บริษัท ที่มีสินค้าคงเหลือและสินค้าที่อยู่ระหว่างการพัฒนามากสุด ได้แก่ บมจ.แสนสิริ (SIRI) มูลค่า 103,970 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 14.69% รองลงมาคือ บมจ.ศุภาลัย (SPALI) มูลค่า 76,334 ล้านบาท และ บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) หรือ AP มูลค่า 72,451 ล้านบาท

 

*** งบครึ่งปีแรกพบ 5 หุ้นอสังหาฯพลิกขาดทุน 

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกปี 67 พบว่า มี 5 บริษัทในกลุ่มอสังหาฯที่พลิกรายงานขาดทุนสุทธิ นำโดย บมจ.มั่นคงเคหะการ (MK) ที่งวด 6 เดือนพลิกขาดทุนสุทธิ 578 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 22.61 ล้านบาท มีสาเหตุหลักจากสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ทีอยู่อาศัยชะลอตัวในภาวะเศรษฐกิจทียังไม่ฟื้นตัว และกําลังซื้ออ่อนแอจากภาวะหนี้ครัวเรือนและดอกเบี้ยสูง ส่งผลให้ยอดขายของ MK ช่วงดังกล่าวทำได้เพียง 310.66 ล้านบาท ลดลง 63.40% จากป่ีก่อน


ด้าน บมจ.ปรีชากรุ๊ป (PRECHA) ผลการดำเนินงาน 6 เดือน พลิกขาดทุนสุทธิ 15.83 ล้านบาท เทียบปีก่อน มีกำไรสุทธิ 2.51 ล้านบาท เนื่องด้วยกำลังซื้อกลุ่มอสังหาฯที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้รายได้ของบริษัทลดลง 17.06% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน


ฟาก บมจ.สัมมากร (SAMCO) ผลการดำเนินงาน 6 เดือน พลิกขาดทุนสุทธิ 16.51 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน มีกำไรสุทธิ 18.11 ล้านบาท กดดันโดยกำลังซื้อในตลาดอสังหาฯที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้รายได้รวมของ SAMCO อยู่ที่ 929 ล้านบาท ลดลง 7.53% จากปีก่อน 


บมจ.คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์ (CGD) ผลการดำเนินงาน 6 เดือน พลิกขาดทุนสุทธิ 42.27 ล้านบาท เทียบปีก่อน มีกำไรสุทธิ 84.86 ล้านบาท สะท้อนจากรายได้ที่ 670 ล้านบาท ลดลง 41.10% จากปีก่อน สอดรับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลกระทบต่อหลายอุตสาหกรรม การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลง ทําให้ยอดขายลดลงตามไปด้วย 


ขณะที่ บมจ.เอ็น. ซี. เฮ้าส์ซิ่ง (NCH) ผลการดำเนินงาน 6 เดือน พลิกขาดทุนสุทธิ 8.86 ล้านบาท เทียบปีก่อน มีกำไรสุทธิ 120.17 ล้านบาท หลังภาวะอุตสาหกรรมอ่อนแอ และทิศทางดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้รายได้ช่วงดังกล่าวทำได้ 685.02 ล้านบาท ลดลง 48.92% จากปีก่อน 

 

*** โบรกฯลุ้นอสังหาฯฟื้น H2/67 หลังมีมาตรการกระตุ้น

บทวิเคราะห์ บล.ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) คาดว่า ผลกำไรของกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่จะเข้ามาในครึ่งปีหลัง จากยอด backlog และ presales ที่อยู่อาศัยแนวราบและยอดขายสต็อกคอนโดมิเนียมที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้เชื่อว่าการลดค่าโอนและค่าจดจำนองเหลือ 0.01% สำหรับบ้านราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท/ยูนิต น่าจะช่วยกระตุ้นยอดโอนกรรมสิทธิ์ในครึ่งปีหลัง


สำหรับคำแนะนำการลงทุนหุ้นกลุ่มอสังหาฯ ยังคงน้ำหนักการลงทุน (Neutral) เพราะมองว่ายอด presales และกำไรจากการดำเนินงานปกติมีแนวโน้มชะลอตัวในปี 67 แต่อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ 8.2-9.0% ในปี 67-68 ยังคงน่าสนใจ อีกทั้งการประเมินมูลค่าที่ P/E 6.1 เท่าในปี 68 หรือต่ำกว่า -2SD ของ P/E ล่วงหน้าเฉลี่ยย้อนหลัง น่าจะมี downside จำกัด


ทั้งนี้ เลือก AP และ SIRI เป็นหุ้น Top pick ชอบ SIRI เนื่องจากธุรกิจอสังหาฯ ของบริษัท outperform คู่แข่งและอัตราผลตอบแทนสูง และยังชอบ AP เนื่องจากบริษัทน่าจะมีกำไรสุทธิ กลับมาเติบโตแข็งแกร่งในครึ่งปีหลัง และ valuation ไม่สูง อย่างไรก็ตามมองว่ากลุ่มอสังหาฯจะมี downside risk จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจมหภาคและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ส่วน upside risk จะมาจากการผ่อนคลาย LTV และการปรับลดดอกเบี้ย


ด้าน บทวิเคราะห์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ระบุว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังหารือกับผู้ประกอบการและกลุ่มธนาคารเกี่ยวกับเกรฑ์ LTV เพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากขึ้น โดยฝ่ายวิจัยมองเป็นเรื่องที่ดีที่ ธปท.มีท่าทีผ่อนผัน เปลี่ยนใจกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งมองว่า กฎเกณฑือาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับการหารือ


แต่หากวิเคราะห์จากการผ่อนคลาย LTV ที่บังคับใช้ล่าสุดในช่วงปี 65 อสังหาฯสามารถปล่อยกู้ได้ 100% ทุกระดับราคา บวกกับปัจจุบันยังมีมาตรการลดค่าโอน-จำนอง อสังหาฯราคาไม่เกิน 7 ล้านบาทเข้ามาเสริม จะช่วยกระตุ้นอสังหาฯได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ในโซนกรุงเทพฯ - ปริมณฑล มากที่สุดกว่า 61% ของมูลค่าโอนทั้งหมด


ส่วนใหญ่เป็นช่วงระดับราคาอสังหาฯ 3 - 5 ล้านบาท และมากกว่า 10 ล้านบาท ทำให้ทางฝ่ายวิจัย บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ชอบผู้ประกอบการที่ทำโครงการอยู่ในกรุงเทพฯเป็นหลัก อาทิ AP, OSI ,SC และ SIRI แต่หากมีการผ่อนผันมาตรการ LTV มากเกินไป อาจเกิดการเก็งกำไรคอนโดฯตามมาจนเกิดภาวะฟองสบู่

 

*** ฟากกลุ่มยานยนต์ กำไรครึ่งปีแรกวูบถึง 20%

ขณะเดียวกัน กลุ่มยานยนต์ มีกำไรสุทธิไตรมาส 2/67 รวมกันที่ 1,278 ล้านบาท ลดลง 41.11% จากปีก่อน ขณะที่ กำไรสุทธิ 6 เดือนของปีรวมกอยู่ที่ 4,205 ล้านบาท ลดลง 19.86% จากปีก่อน โดยมีถึง 13 บริษัท ที่ผลการดำเนินงานช่วงดังกล่าวลดลง และมีเพียง 8 บริษัทเท่านั้น ที่ผลการดำเนินงานช่วงดังกล่าว มีกำไรสุทธิ ประกอบด้วย

ตารางแสดงงบการเงินกลุ่มยานยนต์

ชื่อย่อหุ้น

กำไร Q2/67 (ลบ.)

%chg YoY

กำไร H1/67 (ลบ.)

%chg YoY

NEX

-255.61

พลิกขาดทุน

-206.31

พลิกขาดทุน

TNPC

-28.52

พลิกขาดทุน

-26.99

พลิกขาดทุน

TKT

45

พลิกกำไร

-6.54

ขาดทุนลดลง

CWT

-97

พลิกขาดทุน

6.54

-84.18

MGC

50.3

-57.09

40.79

-79.49

AH

102.73

-74.94

422.23

-56.55

GYT

47.78

-37.26

52.49

-41.16

SAT

140.19

-37.19

327.28

-34.23

EASON

23.99

-17.73

45.1

-21.63

PCSGH

145.37

-35.68

313.14

-18.28

SPG

67.55

-3.79

154.42

-12.14

ACG

5.16

-12.98

12.21

-4.83

TRU

42.47

39.20

112.33

2.32

POLY

47.52

211.61

93.72

117.10

HFT

114.66

57.41

263.13

159.80

HFT

114.66

57.44

263.13

159.80

IHL

38.28

820.19

59.92

236.06

ชื่อย่อหุ้น

กำไร Q1 ปี 67/68 (ลบ.)

%chg YoY

กำไรปี 66/67 (ลบ.)

%chg YoY

INGRS

30.63

-34.20

8.12

พลิกกำไร

STANLY

307.81

-2.25

1,756.92

0.64

3K-BAT

93.03

พลิกกำไร

145.26

16.66

ชื่อย่อหุ้น

กำไร Q3 ปี 66/67 (ลบ.)

%chg YoY

กำไรปี 65/66 (ลบ.)

%chg YoY

TSC

83.92

21.57

208.61

-25.12

IRC

158.74

433.94

159.77

45.32

ที่มา : SETSMART ณ 14 ส.ค.67

INGRS : งบปี 67/68 (เริ่ม ก.พ.สิ้นสุด ม.ค.ปีถัดไป)

STANLY : งบปี 67/68 (เริ่ม เม.ย.สิ้นสุด พ.ค.ปีถัดไป)

3K-BAT : งบปี 67/68 (เริ่ม เม.ย.สิ้นสุด พ.ค.ปีถัดไป)

TSC : งบปั 66/67 (เริ่ม ต.ค.สิ้นสุด ก.ย.ปีถัดไป)

IRC : งบปั 66/67 (เริ่ม ต.ค.สิ้นสุด ก.ย.ปีถัดไป)


KKP Research ระบุว่า ปัจจัยที่ทำให้ผลการดำเนินงานของหุ้นในกลุ่มยานยนต์ชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ เป็นเพราะตลาดรถยนต์ในประเทศไทย ได้ผ่านจุดสูงสุดและเริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัวนับตั้งแต่ปี 61 ซึ่งส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศจะเปลี่ยนเป็นทิศทางขาลงต่อเนื่อง 


อีกทั้งในอนาคตมีแนวโน้มไม่สามารถรองรับรถยนต์ EV จีนที่จะทะลักเข้ามาในตลาดและที่กำลังจะมีการผลิตภายในประเทศได้ทั้งหมด ทางออกที่สำคัญ คือ ความสามารถในการส่งออก EV จากไทยไปยังประเทศอื่นที่จะช่วยพยุงอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยต่อไปได้

 

*** งบครึ่งปีแรกพบ 3 หุ้นยานยนต์รายงานขาดทุน 

โดยผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกปี 67 พบว่า 3 บริษัทในกลุ่มยานยนต์รายงานขาดทุนสุทธิ นำโดย บมจ.เน็กซ์ พอยท์ (NEX) ที่ผลการดำเนินงานช่วงดังกล่าวพลิกขาดทุนสุทธิ 206.31 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนมีกำไรสุทธิ 504.59 ล้านบาท มีสาเหตุหลักจากยอดจายรถยนต์ไฟฟ้าทำได้เพียง 2,399 ล้านบาท ลดลง 57.73% จากปีก่อน 


ด้าน บมจ.ไทยนามพลาสติกส์ (TNPC) ผลการดำเนินงานช่วงดังกล่าวพลิกขาดทุนสุทธิ 26.99 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนมีกำไรสุทธิ 2 ล้านบาท กดดันจากรายได้จากการขายลดลง 16.37% หลังลูกค้ายานยนต์ได้รับผลกระทบจากการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า อีกทั้ง ต้นทุนการขายยังเพิ่มขึ้นอีก 19.81% จากปีก่อน


ฟาก บมจ.ที.กรุงไทยอุตสาหกรรม (TKT) ผลการดำเนินงานช่วงดังกล่าวขาดทุนสุทธิ 6.54 ล้านบาท แต่ยังดีกว่าปีก่อนที่มีผลขาดทุนสุทธิ 18.33 ล้านบาท ปัจจัยหลักเป็นเพราะต้นทุนขายและบริการลดลง 19.01 ล้านบาท หรือ ลดลง 7.37% จากปีก่อน ทำให้กำไรขั้นต้นสูงขึ้น 14.37 ล้านบาท ประกอบกับ ค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลง 4.84 ล้านบาท หรือ ลดลง 10.41% จากปีก่อน 

 

*** ยานยนต์ปีนี้ฟื้นยาก รับอุตสาหกรรมจ่อแย่สุดรอบ 14 ปี

"นฤดม มุจจลินทร์กูล" นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่า สงครามราคารถ EV ในช่วงที่ผ่านมา จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภคชาวไทยหันมาสนใจรถ EV มากขึ้น ซึ่งประมาณ 90% ยังต้องนําเข้ามาจากต่างประเทศ เชื่อว่าสงครามราคาจะปะทุขึ้นอีกระลอกในไตรมาส 4/67 ช่วงที่มีการจัด Motor Expo ในเดือน ธ.ค.ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะเพิ่มแรงกดดันต่อยอดผลิตรถยนต์ในปีนี้ นอกจากนี้ สถาบันการเงินยังใช้แนวทางการอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น จากความกังวลเกี่ยวกับระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงอีกด้วย


ขณะที่ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลงต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีโรงงานหลายแห่งที่กําหนดชั่วโมงการทํางานสั้นลง และมีการปลดคนงาน ส่งผลกระทบต่อรายได้ของลูกจ้าง และการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค


ดังนั้น จึงปรับลดประมาณการยอดผลิตรถยนต์ในปีนี้ลงอีก 6% จากเดิม 1.75 ล้านคัน เหลือ 1.65 ล้านคัน (ลดลง 10% จากปีก่อน) พร้อมทั้งปรับลดประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปีนี้ลงอีก 7% เหลือ 650,000 คัน (ลดลง 16% จากปีก่อน) และปรับลดประมาณการยอดส่งออกรถปีนี้ลงอีก 1% เหลือ 1.09 ล้านคัน (ลดลง 2% จากปีก่อน)


ทั้งนี้ ประเมินยอดผลิตรถยนต์ในปี 67 อาจจะเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 14 ปี (ไม่รวมปีที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19) คาดว่ายอดผลิตรถยนต์รายเดือนอาจจะเริ่มดีขึ้นเล็กน้อยในช่วงไตรมาส 4/67 ซึ่งหมายความว่าผลประกอบการของบริษัทในกลุ่มยานยนต์จะแย่ลงจากปีก่อนอีกในช่วงไตรมาส 3/67


โดยยังคงให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มยานยนต์ ลดน้ำหนักการลงทุน (Underweight) โดยมองว่าประมาณการกําไรของทุกบริษัทในกลุ่มยังมีดาวน์ไซด์อีก ซึ่งจะปรับลดประมาณการกําไรของบริษัทในกลุ่มลงในระยะข้างหน้า
 

แบบสอบถามความพึงพอใจ






ข่าวหุ้นอื่นๆที่น่าสนใจ

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

Refresh




LATEST NEWS

ข่าวหุ้นล่าสุด

Refresh

ดูข่าวทั้งหมด