"ขาดทุนสะสม" เป็นสิ่งที่นักลงทุนไม่ต้องการให้เกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียน(บจ.) เพราะจะทำให้ไม่สามารถจ่าย "เงินปันผล" ได้ แม้จะมีกำไรสุทธิก็ตาม เพราะกฎหมายกำหนดไว้แบบนั้น บจ.ที่ต้องการจะจ่ายเงินปันผลก็ต้องดำเนินการล้างขาดทุนสะสมให้เรียบร้อยก่อน
*** 7 บจ.เดินหน้าประกาศล้างขาดทุนสะสม
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจข้อมูลพบว่า ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน มี บจ.ทยอยประกาศล้างขาดทุนสะสมอย่างเป็นทางการไปแล้วถึง 7 บริษัท ประกอบด้วย
บจ.ล้างขาดทุนสะสม
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ขาดทุนสะสม (ลบ.)
|
THAI
|
28,533
|
GRAMMY
|
3,033
|
GGC
|
887
|
DTAC
|
852
|
SMT
|
594
|
META
|
498
|
SISB
|
71
|
7 บริษัทข้างต้นได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้นเรียบร้อยแล้ว โดยทั้งหมดใช้วิธีนำเงินทุนสำรองตามกฎหมายและส่วนเกินมูลค่าหุ้นมาล้างขาดทุนสะสม มีเพียง บมจ.โกลบอลกรีนเคมิคอล (GGC) ที่ใช้วิธีการลดทุนจดทะเบียนเพิ่มเติมจากการใช้เงินทุนสำรองตามกฎหมายและส่วนเกินมูลค่าหุ้น
ขณะที่ บมจ.การบินไทย (THAI) เป็นบริษัทที่ล้างขาดทุนสะสมมูลค่าสูงสุดถึง 2.85 หมื่นล้านบาท รองลงมาคือ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (GRAMMY) ล้างขาดทุนสะสม 3,033 ล้านบาท ส่วน บมจ.เอสไอเอสบี (SISB) หุ้นน้องใหม่ ล้างขาดทุนสะสมมูลค่าน้อยสุดเพียง 71 ล้านบาท
*** META ยังล้างขาดทุนสะสมไม่หมด
อย่างไรก็ตาม 7 บริษัทข้างต้นมี 1 บริษัทที่ยังล้างขาดทุนสะสมไม่หมด ได้แก่ บมจ.เมตะ คอร์ปอเรชั่น (META) ซึ่ง ณ งบปี 61 มีผลขาดทุนสะสม 498 ล้านบาท โดยนำส่วนเกินมูลค่าหุ้นจำนวน 436 ล้านบาทไปลดผลขาดทุนสะสมที่มี จะทำให้เหลือผลขาดทุนสะสมหลังการทำรายการประมาณ 62 ล้านบาท อย่างไรก็ตามงบการเงินปี 61 ของ META สามารถพลิกมีกำไรแล้ว 86 ล้านบาท จากปี 60 ที่ขาดทุนถึง 270 บาท
*** ผู้บริหารลั่นทำเพื่อผู้ถือหุ้น
สาเหตุที่กลุ่ม บจ.ข้างต้นประกาศล้างขาดทุนสะสม เนื่องจากต้องการกลับมาจ่ายเงินปันผลเพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้น โดย “สุเมธ ดำรงชัยธรรม” กรรมการผู้จัดการใหญ่ THAI เผยว่า "แผนการล้างขาดทุนสะสมอยู่ในเป้าหมายลำดับต้นๆ ของบริษัท หลังเข้ารับตำแหน่งเมื่อกลางปีก่อน เป็นการทำเพื่อผู้ถือหุ้นทุกราย เพราะเรามีความมุ่งมั่นที่จะทำให้บริษัทกลับมามีผลประกอบการเป็นบวกอีกครั้ง และการล้างขาดทุนสะสมจะสามารถทำให้จ่ายปันผลต่อผู้ถือหุ้นได้ ซึ่งเดิมหากจะล้างขาดทุนสะสมด้วยการทำกำไรไปเรื่อยๆ ก็ไม่รู้ว่าต้องใช้เวลาอีกกี่ปี วิธีการนี้จึงเหมาะสมที่สุด
ส่วนประเด็นการนำทุนสำรองตามกฎหมายและส่วนเกินมูลค่ามาชดเชยผลขาดทุนสะสมนั้นเป็นวิธีการปกติที่ บจ.ส่วนใหญ่ใช้กันอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือพิสดารเหมือนที่หลายท่านตั้งข้อสังเกตก่อนหน้านี้ เพียงแต่เมื่อล้างขาดทุนสะสมแล้ว ก็เสมือนจัดตั้งบริษัทใหม่ ที่วันแรกยังไม่มีทุนสำรองตามกฎหมาย ไม่มีตัวเลขกำไรสะสม มีแต่เงินทุน และหากเราสามารถกลับมามีกำไรได้ ตัวเลขดังกล่าวก็จะเพิ่มขึ้นมาอีกครั้ง"
ด้าน "กานต์สุดา แสนสุทธิ์" ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน GRAMMY ระบุว่า การนำเงินสำรองตามกฎหมาย 82 ล้านบาท และโอนส่วนเกินมูลค่าหุ้น 2,951 ล้างขาดทุนสะสมทั้งหมด จะทำให้บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ ซึ่งล่าสุดงบปี 61 บริษัทพลิกกลับมามีกำไรแล้ว 15.43 ล้านบาท และหากมีกำไรต่อเนื่องในอนาคต จะมีการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นอย่างแน่นอน
เช่นเดียวกับ "อเล็กซานดรา ไรซ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ที่เผยว่า ปี 61 บริษัทมีค่าใช้จ่ายพิเศษเพื่อระงับข้อพิพาทกับ กสท.โทรคมนาคม ทำให้มีผลขาดทุนและขาดทุนสะสม ดังนั้นจึงต้องล้างขาดทุนสะสมทันที เพราะเชื่อมั่นว่าปีนี้ผลการดำเนินงานจะกลับมาอยู่ในระดับปกติ และหากมีกำไรสุทธิจะจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นทันที ทั้งนี้ งบการเงินไตรมาส 1/62 บริษัทพลิกมีกำไรแล้ว 1,408 ล้านบาท เติบโต 7.12 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ด้าน "ยิว ฮอค โคว" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SISB ระบุ เตรียมจ่ายเงินปันผลในช่วงครึ่งปีหลัง เพราะล่าสุดได้ล้างขาดทุนสะสมหมดแล้ว โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรสุทธิถึง 104 ล้านบาท ซึ่งมั่นใจว่ากำไรจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
***วงการชี้งบฟื้น-หวังกลับจ่ายปันผล
"มงคล พ่วงเภตรา" ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์กลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคทีบี (ประเทศไทย) มองว่า บจ.ส่วนใหญ่ข้างต้นเป็นบริษัทที่ผลประกอบการเริ่มพลิกกลับมามีกำไร ซึ่งการล้างผลขาดทุนสะสมจะทำให้จ่ายเงินปันผลได้ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อผู้ถือหุ้น
อย่างไรก็ตามสำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีหุ้นดังกล่าว ต้องพิจารณารายละเอียดแต่ละบริษัทให้รอบคอบ ต้องประเมินแนวโน้มธุรกิจและทิศทางกำไรว่ามีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่องหรือไม่ก่อนจะตัดสินใจลงทุน
ทั้งนี้ เมื่อสำรวจงบการเงินพบว่า 5 ใน 7 บริษัทมีแนวโน้มผลประกอบการดีขึ้นอย่างชัดเจน 4 บริษัทพลิกกลับมามีกำไร และ 1 บริษัทกำไรเติบโตหลายเท่าตัว ดังนี้
กำไรหุ้นที่ล้างขาดทุนสะสม
|
ชื่อย่อหุ้น
|
กำไร 60 (ลบ.)
|
กำไร 61 (ลบ.)
|
กำไร Q1/62 (ลบ.)
|
DTAC
|
2,115
|
-4,369
|
1,408
|
SMT
|
-546
|
70
|
n/a
|
GRAMMY
|
-384
|
15
|
n/a
|
META
|
-270
|
86
|
n/a
|
SISB
|
18
|
104
|
n/a
|
THAI
|
-2,107
|
-11,625
|
n/a
|
GGC
|
521
|
-1,161
|
n/a
|
*** ระวังราคาวิ่งรับข่าวไปแล้ว
ด้าน "วิจิตร อารยะพิศิษฐ" ผู้อำนวยการนักกลยุทธ์การลงทุน บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เพิ่มเติมว่า แม้หุ้นกลุ่มนี้จะมีแนวโน้มผลประกอบการที่ดี และอาจจะมีการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นอีกครั้ง แต่ต้องระมัดระวังการเคลื่อนไหวของราคาที่ผิดปกติเพราะรับข่าวการล้างขาดทุนสะสม ซึ่งมักเป็นหนึ่งประเด็นสำคัญที่นักเก็งกำไรชอบ
"บางบริษัทราคาหุ้นอาจจะวิ่งรับข่าวจนเกินพื้นฐานไปแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นดาบสองคมที่หันกลับมาฉุดราคาหุ้น หากไม่มีการจ่ายเงินปันผลจริงหรือผลประกอบการกลับไปแย่เหมือนเดิม และอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย" วิจิตร กล่าว
ขณะที่เมื่อสำรวจราคาหุ้นนับจากวันประกาศล้างขาดทุนสะสมจนถึงล่าสุด ปรากฎว่า 6 ใน 7 บริษัท ราคาปรับเพิ่มขึ้น โดย SISB ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 22% รองลงมาคือ DTAC ราคาเพิ่มขึ้น 20% และ GGC-GRAMMY เพิ่มขึ้น 18% เท่ากัน ดังนี้
ราคาหุ้นที่ประกาศล้างขาดทุนสะสม
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ณ วันประกาศ (บ.)
|
ณ 3 พ.ค.62
(บ.)
|
%chg
|
ราคาเหมาะสม
เฉลี่ย (บ.)
|
%upside
|
SISB
|
6.15
|
7.50
|
22
|
8.84
|
18
|
DTAC
|
43.00
|
51.50
|
20
|
53.5
|
4
|
GGC
|
10.30
|
12.20
|
18
|
12
|
-2
|
GRAMMY
|
7.00
|
8.25
|
18
|
9.1
|
10
|
SMT
|
2.12
|
2.16
|
2
|
2.28
|
6
|
THAI
|
12.60
|
12.70
|
1
|
11.6
|
-9
|
META
|
1.84
|
1.60
|
-13
|
n/a
|
n/a
|
อย่างไรก็ตามมีเพียง GGC และ THAI ที่ราคาล่าสุดสูงกว่าราคาเหมาะสมเฉลี่ยของ IAA Consensus