พบ 31 บจ.ราคาร่วงทำจุดต่ำสุดรอบ 10 ปี หลังดัชนีหุ้นไทยดิ่งแตะ 969.08 จุด แถมพบ 15 บจ.ราคาทรุดต่ำสุดตั้งแต่เข้าตลาดหุ้น ผงะ 24 บจ. ราคาหุ้น YTD ติดลบเกิน 30% กูรูแนะทยอยสะสมอย่างระมัดระวัง พบ 19 บจ.เทรดต่ำบุ๊ค แถม 17 บจ. แนวโน้มปันผลงวดงบปี 63 เกิน 4%
*** 31 หุ้น SET100 ราคาทำนิวโลว์รอบกว่า 10 ปี
สัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงทำจุดต่ำสุดรอบ 9 ปี ที่ 969.08 จุด "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจราคาหุ้นบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่อยู่ในดัชนี SET100 พบว่ามีถึง 31 บริษัทที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงทำจุดต่ำสุดในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่ต้นปี 54 ถึง 13 มี.ค.63 ประกอบด้วย
31 หุ้นราคาดิ่ง New Low รอบ 10 ปี
|
ชื่อย่อหุ้น
|
มาร์เก็ตแคป (ลบ.)
|
ราคาหุ้นรอบ 10 ปี (บ.)
|
ราคาล่าสุด (บ.)
|
ต่ำสุด
|
สูงสุด
|
KBANK
|
228,556
|
84
|
252
|
95.5
|
SCB
|
225,807
|
58.25
|
182
|
66.5
|
BBL
|
194,702
|
92.25
|
237
|
102
|
KTB
|
155,134
|
8.8
|
27.75
|
11.1
|
PTTGC
|
121,739
|
21.4
|
105
|
27
|
AWC
|
119,040
|
2.7
|
6.8
|
3.72
|
BEM
|
117,695
|
6.05
|
12
|
7.7
|
TRUE
|
90,094
|
1.99
|
14.78
|
2.7
|
TMB
|
79,978
|
0.6
|
3.24
|
0.83
|
DTAC
|
73,402
|
27
|
133
|
31
|
TOP
|
71,911
|
28
|
110
|
35.25
|
TOA
|
63,914
|
25.5
|
48.5
|
31.5
|
IRPC
|
41,686
|
1.76
|
8.35
|
2.04
|
BPP
|
35,697
|
10.4
|
31.75
|
11.7
|
TPIPP
|
27,216
|
2.88
|
8.45
|
3.24
|
BANPU
|
26,584
|
4.2
|
65.56
|
5.15
|
SPRC
|
24,715
|
4.7
|
18.4
|
5.7
|
PSH
|
24,074
|
9
|
27
|
11
|
BCPG
|
23,388
|
9.45
|
28
|
11.7
|
ESSO
|
16,958
|
4.12
|
19.5
|
4.9
|
THG
|
16,302
|
15
|
38.5
|
19.2
|
STA
|
16,128
|
9
|
39.74
|
10.5
|
PLANB
|
14,210
|
2.96
|
9.7
|
3.66
|
AMATA
|
11,204
|
8
|
29
|
10.5
|
EPG
|
10,304
|
3.3
|
15.8
|
3.68
|
PRM
|
9,500
|
3.12
|
14.1
|
3.8
|
THAI
|
8,731
|
3.58
|
80
|
4
|
BEC
|
7,000
|
3.04
|
79.50
|
3.5
|
BGC
|
6,563
|
8
|
17
|
9.45
|
PSL
|
6,487
|
3.5
|
22.73
|
4.16
|
STPI
|
4,939
|
2.3
|
23.18
|
3.04
|
ทั้งนี้ส่วนใหญ่ราคาหุ้นลงไปทำจุดต่ำสุดระหว่างวันที่ 12-13 มี.ค.63 แม้เกือบทั้งหมดจะสามารถรีบาวด์กลับมาได้ตามดัชนีฯ แต่เมื่อเทียบกับราคาสูงสุดในรอบ 10 ปี ถือว่าปรับตัวลดลงมาค่อนข้างมาก เกือบทั้งหมดลดลงเกิน 50% โดยมีหุ้นในดัชนี SET50 ติดโผถึง 14 บริษัท และมีหุ้นขนาดใหญ่ที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) เกิน 1 แสนล้านบาท ติดโผจำนวน 7 บริษัท
*** 14 บจ.ราคาดิ่ง All Time Low
ขณะเดียวกันมี 14 จาก 31 บริษัทข้างต้นที่ราคาลงไปแตะจุดต่ำสุดตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์(All time Low) ได้แก่
14 หุ้นราคาดิ่ง ALL Time Low
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ราคาต่ำสุด (บ.)
|
ราคาล่าสุด (บ.)
|
ราคาสูงสุด (บ.)
|
PTTGC
|
21.4
|
27
|
105
|
AWC
|
2.7
|
3.72
|
6.8
|
TOA
|
25.5
|
31.5
|
48.5
|
BPP
|
10.4
|
11.7
|
31.75
|
TPIPP
|
2.88
|
3.24
|
8.45
|
SPRC
|
4.7
|
5.7
|
18.4
|
PSH
|
9
|
11
|
27
|
BCPG
|
9.45
|
11.7
|
28
|
PLANB
|
2.96
|
3.66
|
9.7
|
EPG
|
3.3
|
3.68
|
15.8
|
PRM
|
3.12
|
3.8
|
14.1
|
THAI
|
3.58
|
4
|
80
|
BEC
|
3.04
|
3.5
|
79.50
|
BGC
|
8
|
9.45
|
17
|
*** 24 บจ.ราคาหุ้น YTD ติดลบเกิน 30%
ขณะที่เมื่อสำรวจราคาหุ้นของทั้ง 31 บริษัทพบว่า ราคาหุ้นตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (Year to date) ปรับตัวลงลงถึง 30 บริษัท มีเพียง บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี (STA) เท่านั้นที่ราคาหุ้น YTD ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5% โดยมีถึง 24 บริษัทที่ราคาปรับตัวลดลงเกิน 30% ได้แก่
24 หุ้นราคา YTD ดิ่งเกิน 30%
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ราคาล่าสุด (บ.)
|
%chg YTD
|
BANPU
|
5.15
|
-57
|
STPI
|
3.04
|
-55
|
PTTGC
|
27
|
-53
|
PLANB
|
3.66
|
-52
|
TMB
|
0.83
|
-51
|
TOP
|
35.25
|
-49
|
AMATA
|
10.5
|
-48
|
SPRC
|
5.7
|
-47
|
PRM
|
3.8
|
-46
|
SCB
|
66.5
|
-45
|
PSL
|
4.16
|
-45
|
IRPC
|
2.04
|
-45
|
ESSO
|
4.9
|
-43
|
DTAC
|
31
|
-42
|
THAI
|
4
|
-42
|
TRUE
|
2.7
|
-41
|
EPG
|
3.68
|
-41
|
BEC
|
3.5
|
-41
|
KBANK
|
95.5
|
-37
|
AWC
|
3.72
|
-36
|
BBL
|
102
|
-36
|
BPP
|
11.7
|
-34
|
KTB
|
11.1
|
-32
|
BGC
|
9.45
|
-31
|
ทั้งนี้มี 5 บริษัทที่ราคาหุ้น YTD ปรับตัวลดลงมากกว่า 50% โดย บมจ.บ้านปู (BANPU) ปรับตัวลดลงสูงสุดถึง 57% ล่าสุดอยู่ที่ 5.15 บาท และเคยลงไปต่ำสุดถึง 4.2 บาท ซึ่งเคยซื้อขายที่ระดับสูงสุดถึง 65.56 บาท
*** 19 บจ.เทรดต่ำบุ๊ค
อย่างไรก็ตามพบว่ามี 19 บริษัทข้างต้นที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงจนล่าสุดซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี (Book Value) ประกอบด้วย
19 หุ้นเทรดต่ำบุ๊ค
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ราคาล่าสุด (บ.)
|
BV (บ.)
|
P/BV (เท่า)
|
BANPU
|
5.15
|
14.23
|
0.36
|
TMB
|
0.83
|
2.02
|
0.41
|
PTTGC
|
27
|
63.71
|
0.42
|
BBL
|
102
|
224.09
|
0.46
|
KTB
|
11.1
|
24.2
|
0.46
|
IRPC
|
2.04
|
4.08
|
0.5
|
SCB
|
66.5
|
117.78
|
0.56
|
PSL
|
4.16
|
7.41
|
0.56
|
KBANK
|
95.5
|
169.79
|
0.56
|
PSH
|
11
|
19.67
|
0.56
|
STPI
|
3.04
|
5.21
|
0.58
|
TOP
|
35.25
|
58.81
|
0.6
|
STA
|
10.5
|
15.7
|
0.67
|
TRUE
|
2.7
|
3.76
|
0.72
|
THAI
|
4
|
5.34
|
0.75
|
SPRC
|
5.7
|
7.49
|
0.76
|
ESSO
|
4.9
|
6.39
|
0.77
|
AMATA
|
10.5
|
13.17
|
0.8
|
BPP
|
11.7
|
12.81
|
0.91
|
จากตารางมีถึง 6 บริษัทที่ราคาหุ้นล่าสุดต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีเกินเท่าตัว ซึ่ง BANPU มี P/BV ต่ำสุดเพียง 0.36 เท่า โดยซื้อขายที่ 5.15 บาท แต่มีมูลค่าทางบัญชีถึง 14.23 บาท
ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ติดโผสูงสุดคือ ธนาคารพาณิชย์, พลังงาน และ โรงกลั่น
*** 17 บจ.แนวโน้มปันผลปีนี้เกิน 4%
นอกจากนี้พบเมื่อสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ (IAA Consensus) ที่อัพเดทข้อมูลภายในสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า มี 17 บริษัทถูกคาดการณ์แนวโน้มอัตราการจ่ายเงินผันผล (Dividend Yield) มากกว่า 4% ได้แก่
17 หุ้นแนวโน้มปันผลปี 63 เกิน 4%
|
ชื่อย่อหุ้น
|
%Div. Yield 2563
|
ราคาเป้าหมาย (บ.)
|
BANPU
|
5.8
|
7.35
|
TMB
|
6
|
1.1
|
PTTGC
|
6.5
|
49
|
BBL
|
6.9
|
150
|
KTB
|
5.4
|
13.5
|
IRPC
|
4.9 - 10.8
|
2.5 - 4.2
|
SCB
|
6.8 - 8.3
|
79 - 119
|
KBANK
|
4.6
|
140
|
PSH
|
10.8
|
14.2
|
STPI
|
4.3
|
3.74
|
TOP
|
5.3 - 5.7
|
47 - 51
|
STA
|
4.9
|
16.3
|
BPP
|
4.9
|
20.5
|
EPG
|
6.8
|
6.7
|
BGC
|
5.8
|
14.4
|
BCPG
|
6.1
|
20.7
|
DTAC
|
4 - 6
|
36.83 - 55
|
*** กูรูแนะสะสมอย่างระมัดระวัง
"วิจิตร อารยะพิศิษฐ" ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุว่า ราคาหุ้นกลุ่มนี้น่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปได้แล้ว ตามภาพรวมดัชนีฯ ที่ตอบรับปัจจัยลบไปมากแล้วในระดับหนึ่ง หุ้นหลายบริษัทราคาต่ำกว่าพื้นฐานค่อนข้างมาก ซึ่งมีโอกาสเห็นดัชนีดีดตัวกลับขึ้นมากกว่าลงต่อ โดยสามารถเข้าทยอยสะสมหุ้นขนาดใหญ่ที่พื้นฐานยังแข็งแกร่งได้ แต่ให้ระมัดระวัง ซึ่งต้องเน้นการถือลงทุนระยะยาวเป็นสำคัญ เพราะช่วงสั้นอาจจะมีความผันผวนได้
ด้าน "ณัฐพล คำถาเครือ" ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ประเมินว่า การที่ดัชนีฯ ปรับลดระดับลงไปทดสอบ 969 จุด น่าจะใกล้เคียงกับจุดต่ำสุดแล้ว แม้อาจมีความผันผวนลงแรงได้อีกเล็กน้อย แต่เชื่อว่าดัชนีไม่น่าจะปรับลดลงหลุด 900 จุดได้ เนื่องจากมีแรงสนับสนุนจากการอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารทั่วโลก รวมถึงของไทยเองด้วย ซึ่งน่าจะประคองดัชนีฯ ได้
"ผมมองว่าคงไม่ลงไปถึงขนาด 400 จุด เหมือนปี 51 โดยพื้นฐานเป็นไปได้ยากมาก เพราะมาร์เก็ตแคปของตลาดหุ้นไทยในปีดังกล่าว ถือเป็นครึ่งหนึ่งของตลาดในปัจจุบัน ประเมินว่ากรณีเลวร้ายที่สุดน่าจะเทียบเท่ากับวิกฤตซับไพรม์ ซึ่งมองว่าระดับประมาณนี้อยู่ใกล้โซนต่ำสุดแล้ว ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้ฟื้นในทันทีแต่ว่าดาวน์ไซด์ค่อนข้างจำกัด
กลยุทธ์ให้เน้น ลงซื้อ - ขึ้นขาย ตราบใดที่ยังไม่เจอวัคซีนหุ้นก็จะเคลื่อนไหวผันผวนต่อเนื่อง แต่หากเจอวัคซีนหุ้นจะเคลื่อนไหวเป็นขาขึ้นอย่างเดียว ให้เลือกหุ้นกลุ่มที่มีความปลอดภัย อาทิ สื่อสาร เพราะมีปันผลดี และมีกระแสเงินสดมั่นคง โดยหากราคาปรับลดลงมามาก ๆ สามารถเข้าสะสมได้
ส่วนอีกกลุ่มเป็นหุ้นกลุ่มแบงก์ แม้จะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง จนลืมเรื่องการปันผลไป ซึ่ง เม.ย.นี้ หุ้นหลายตัวเตรียมขึ้นเครื่องหมายปันผลแล้ว เลือกกลุ่มที่ให้ยีลด์เกิน 5% ขึ้นไป มองว่าโอกาสที่หุ้นเหล่านี้จะลงแรงๆ ไม่น่าจะเกิดขึ้นแล้ว อีกกลุ่มเป็นค้าปลีกและเกษตรอาหาร ซึ่งเป็นกลุ่มปัจจัย 4 และอาจได้อานิสงส์ในการประกาศเข้าระยะ 3 ของโรคระบาด ทำให้การกักตุนอาหารเครื่องดื่มเกิดขึ้น"
เช่นเดียวกับ "เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส แนะนำว่า สามารถเข้าทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดีที่มีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอและมีแนวโน้มจ่ายปันผลต่อเนื่อง โดยให้เน้นลงทุนระยะยาว ระมัดระวังการเก็งกำไร เพราะดัชนีฯ มีความผันผวนสูง