ประเด็นร้อน

กองอสังหาฯ - โครงสร้างพื้นฐาน เกือบครึ่งผลตอบแทนติดลบ 1.23 - 29%

กองอสังหาฯ - โครงสร้างพื้นฐาน เกือบครึ่งผลตอบแทนติดลบ 1.23 - 29%

กองทุนอสังหาฯ - REIT - โครงสร้างพื้นฐาน ฟอร์มฝืด ผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบ พบ 31 จาก 65 หลักทรัพย์ราคาร่วง 1.23 - 29% วงการมองได้รับผลกระทบโควิดเกือบทุกสินทรัพย์กดดันผลประกอบการ เป็นเหตุนักลงทุนแห่ขาย แต่ประเมินผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว น่าเก็บเก็งกำไรราคาฟื้น-ระยะยาวปันผลสูงสม่ำเสมอ


*** 27 กองทุนอสังหาฯ - REIT ราคาดิ่ง 1.23 - 27.78%


"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจความเคลื่อนไหวราคากองทุนอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund : PF) และ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ตั้งแต่ต้นปีถึง 19 พ.ย.64 (YTD) ซึ่งมีทั้งสิ้น 56 หลักทรัพย์ โดยผลตอบแทนราคาเฉลี่ยอยู่ที่ -0.17% สวนทางดัชนี SET Index ที่ผลตอบแทน +13.50% ขณะที่หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ผลตอบแทน +16.80%

ขณะที่พบว่ามีถึง 27 หลักทรัพย์ที่ผลตอบแทนติดลบตั้งแต่ 1.23 - 27.78% ประกอบด้วย
 

27 กองทุนอสังหาฯ – REIT ผลตอบแทนติดลบ

ชื่อย่อหลักทรัพย์

ราคาปิด 19 พ.ย.(บ.)

%YTD

TPRIME

9.1

-27.78

GVREIT

10.4

-19.38

SHREIT

2.54

-19.11

FUTUREPF

15

-18.92

CPTGF

8.9

-17.59

SPRIME

7.4

-15.91

BOFFICE

9.4

-15.32

TU-PF

1.26

-13.10

SSPF

7.65

-13.07

MIPF

15.5

-12.92

QHOP

2.18

-12.80

AMATAR

9

-11.76

MIT

3.02

-11.18

TLHPF

7.85

-9.77

LPF

15.2

-9.52

LHHOTEL

9.15

-8.50

QHHR

5.65

-6.61

KPNPF

6.7

-6.29

B-WORK

10.5

-6.25

LHSC

10.7

-6.14

BKKCP

10.9

-6.03

SRIPANWA

7.55

-5.03

MNIT2

4.86

-2.80

TNPF

1.95

-2.50

WHART

13

-2.10

IMPACT

19.3

-1.53

HPF

4.8

-1.23

ที่มา : SET ข้อมูล ณ 19 พ.ย.64


ทั้งนี้มี 14 หลักทรัพย์ผลตอบแทนติดลบมากกว่า 10% โดย ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าไทยแลนด์ ไพร์ม พร็อพเพอร์ตี้ (TPRIME) ติดลบสูงสุด 27.78%YTD ราคาล่าสุดอยู่ที่ 9.1 บาท


*** 4 กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ติดลบ 7.38 - 29.05%


ฟากกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund : IFF) ซึ่งมีทั้งสิ้น 9 หลักทรัพย์ พบว่า ผลตอบแทนราคาเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่เฉลี่ย -4.48% ประกอบด้วยกลุ่มพลังงาน 5 หลักทรัพย์, สื่อสาร 2 หลักทรัพย์ และ ขนส่ง/โลจิสติกส์ 2 หลักทรัพย์  ซึ่งต่างจากหุ้นกลุ่มพลังงานที่ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี +4.69%, หุ้นกลุ่มสื่อสาร +24.73% และ หุ้นกลุ่มขนส่ง/โลจิสติกส์ +6.82%

ทั้งนี้มี 4 หลักทรัพย์ผลตอบแทนปีนี้ติดลบ 7.38 - 29.05% ประกอบด้วย
 

 4 กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ผลตอบแทนติดลบ

ชื่อย่อหลักทรัพย์

ราคาปิด 19 พ.ย.(บ.)

%YTD

ABPIF

2.1

-29.05

BTSGIF

4.24

-21.48

TFFIF

7.8

-19.59

BRRGIF

5.65

-7.38

ที่มา : SET ข้อมูล ณ 19 พ.ย.64


4 กองทุนโครงสร้างพื้นฐานข้างต้นอยู่ในกลุ่ม พลังงาน 2 หลักทรัพย์ และ ขนส่ง/โลจิสติกส์ 2 หลักทรัพย์ โดย กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้า อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ (ABPIF) ติดลบสูงสุด 29.05% รองลงมาคือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) ที่ติดลบ 21.48% รวมถึง กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFFIF) ซึ่งมีกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ และมีรายย่อยถือหุ้นถึง 35,160 ราย ก็ติดลบ 19.59%


*** วงการมองโควิดกดผลงาน แต่ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว


"ปิยะภัทร ภัทรภูวดล" ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุว่า กลุ่มกองทุนดังกล่าวได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะช่วงที่ประเทศมีมาตรการล็อกดาวน์หลายช่วงและค่อนข้างนาน ส่งผลโดยตรงต่อผลการดำเนินงาน ซึ่งคาดว่าจะสะท้อนจุดต่ำสุด ณ สิ้นงบไตรมาส 3/64 จึงกดดันให้นักลงทุนทยอยขายออกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี
    
อย่างไรก็ตามคาดว่าจะผ่านจุดต่ำสุดที่ สิ้นงบไตรมาส 3/64 เช่นกัน และคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 4/64 ต่อเนื่องถึงปี 65 ทั้งปี เพราะการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 เริ่มเข้าสู่วงกว้างมากขึ้น และเริ่มทยอยคลายมาตรการล็อกดาวน์เพื่อเปิดประเทศกลับสู่ภาวะปกติ


*** แนะทยอยเก็บเก็งราคาฟื้น-รับปันผลระยะยาว


"ปิยะภัทร ภัทรภูวดล" กล่าวต่อไปว่า  การเข้าลงทุนในสินทรัพย์ดังกล่าว ยังมีความน่าสนใจ เพราะโดยปกติราคาไม่ผันผวน และมีปันผลสูงสม่ำเสมอ โดย กลยุทธ์การลงทุน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 
    
1.ลงทุนเพื่อเก็งกำไรราคาฟื้นตัว โดยเลือกกองที่ลงทุนในศูนย์การค้าหรือโรงแรม เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาผลตอบแทนติดลบค่อนข้างมาก จากผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งมองว่าตั้งแต่ไตรมาส 4/64 เป็นต้นไป ผลตอบแทนมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจกลับสู่ระดับใกล้ปกติ ซึ่งคาดว่ากลุ่มห้างสรรพสินค้าจะฟื้นตัวนำกลุ่มโรงแรม ที่ยังต้องหวังให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น     

2.ลงทุนเพื่อหวังเงินปันผล แนะนำกองทุนที่ลงทุนในคลังสินค้าหรือโรงงาน เนื่องจากผลประกอบการค่อนข้างมีสเถียรภาพ เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 เล็กน้อย จึงทำให้มีกระแสเงินสดสำหรับจ่ายเงินปันผลได้สูง
    
ด้าน "เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า สินทรัพย์กลุ่มนี้ยังมีความน่าสนใจเข้าลงทุน โดยเฉพาะช่วงที่ราคาปรับตัวลง อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Yield) ก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย และมองว่าเมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาส 4/64 จะเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นตัวของพวกหลักทรัพย์กลุ่มนี้ เนื่องจากการโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย และ ไม่มีมาตรการล็อดาวน์ที่เข้มงวดเหมือนก่อนหน้านี้
    
ทั้งนี้ แนะนำเลือก กองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ ประเภทโครงสร้างพื้นฐาน, คลังสินค้า และ ศูนย์การค้าเป็นหลัก เนื่องจากกองทุนที่ลงทุนใน 3 สินทรัพย์ดังกล่าว จะมีรายได้ที่สม่ำเสมอ และไม่มีความผันผวน
    
เช่นเดียวกับ "วิจิตร อารยะพิศิษฐ" ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เพิ่มเติมว่า หลักทรัพย์กลุ่มนี้ยังมีความน่าสนใจเข้าลงทุน เพราะส่วนใหญ่ราคาปรับตัวลงมาถึงระดับที่ต้องหาจังหวะเข้าลงทุน เพื่อรอรับเงินปันผลในระดับสูงช่วงไตรมาสถัดไป ตามผลการดำเนินงานที่เริ่มฟื้นตัว
    
ทั้งนี้เเนะนำ กองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทโครงสร้างพื้นฐาน, เสาสัญญาณ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ผู้เช่ามีการเช่าเพื่อประกอบธุรกิจอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อมีการเปิดประเทศ ผลการดำเนินงานของกลุ่มนี้จะฟื้นตัวตามด้วยเช่นกัน รวมถึงกองทุนที่ลงทุนในห้างสรรพสินค้า เพราะเห็นการฟื้นตัวของลูกค้าได้รวดเร็วหลังคลายล็อกดาวน์ จึงคาดผลการดำเนินงาน จะฟื้นตัวตามได้ในระยะสั้น
    
ส่วน กองทุนที่ยังต้องชะลอการลงทุนออกไปก่อน คือ กองทุนที่ลงทุนในอาคารสำนักงาน แม้จะมีการคลายล็อกดาวน์แล้วก็ตาม แต่หลายบริษัทยังคงใช้นโยบายทำงานที่บ้าน (WFH) เหมือนเดิม ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่า แต่ละบริษัทจะให้พนักงานกลับมาทำงานที่สำนักงานได้ตามปกติ เหมืนช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 หรือไม่ ซึ่งอาจทำให้รายได้ในสินทรัพย์ดังกล่าว ฟื้นตัวช้าที่สุดในกลุ่ม


*** เปิดสถิติ 36 หลักทรัพย์ปันผลเฉลี่ย 3 ปีหลังเกิน 5%


ทั้งนี้เมื่อสำรวจสถิติการจ่ายเงินปันผลของหลักทรัพย์หลุ่มนี้พบว่ามี 36 หลักทรัพย์ที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอช่วง 3 ปีหลัง (61-63) และมี Dividend Yield เฉลี่ยมากกว่า 5% ได้แก่
 

36 กองทุนอสังหาฯ – REIT – โครงสร้างพื้นฐาน ปันผลสูง 3 ปีหลัง

ชื่อย่อหลักทรัพย์

%DIV. Yield ปี 61

%DIV. Yield ปี 62

%DIV. Yield ปี 63

%DIV. Yield เฉลี่ย 3 ปี

กองทุนอสังหาฯ - REIT

M-PAT

10.17

12.07

7.21

9.82

MJLF

9.84

7.82

7.22

8.29

POPF

9.49

7.71

7.67

8.29

QHHR

10.71

6.35

7.2

8.09

CPNCG

9.48

7.67

6.39

7.85

QHPF

10.14

6.76

6.51

7.80

M-STOR

6.97

7.36

8.9

7.74

LHHOTEL

11.1

5.64

5.38

7.37

TLHPF

8.51

6.73

6.7

7.31

TTLPF

7.3

6.88

7.35

7.18

LHPF

8.98

5.97

6.4

7.12

CPTGF

7.85

6.22

6.12

6.73

M-II

7.83

6.34

5.87

6.68

AMATAR

7.3

5.66

6.9

6.62

HPF

5.63

6.77

7.35

6.58

SRIPANWA

6.29

6.43

7.03

6.58

TIF1

6.98

6.37

6.34

6.56

CTARAF

6.6

6.03

7.01

6.55

FUTUREPF

7.81

5.63

6.2

6.55

PPF

6.16

6.15

6.62

6.31

LHSC

8.37

5.03

5.45

6.28

BKKCP

6.9

6.11

5.64

6.22

SIRIP

7.92

5.54

5.14

6.20

WHABT

6.91

5.61

5.48

6.00

LUXF

2.39

7.81

7.26

5.82

GVREIT

6.19

5.26

5.74

5.73

QHOP

4.8

7.37

4.35

5.51

KPNPF

6

5.03

5.06

5.36

MIPF

4.72

6.1

5

5.27

GAHREIT

7.64

6.59

1.45

5.23

กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน

ABPIF

14.14

11.68

9.9

11.91

JASIF

9.1

6.38

7.17

7.55

EGATIF

7.05

6.37

6.55

6.66

BRRGIF

2.93

7.65

9.08

6.55

BTSGIF

6.76

6.14

5.26

6.05

DIF

4.08

4.87

7.57

5.51

ที่มา : SET ข้อมูล ณ 19 พ.ย.64


36 หลักทรัพย์ข้างต้นประกอบด้วยกองทุนอสังหาฯ - REIT จำนวน 30 หลักทรัพย์ และ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 6 หลักทรัพย์ 

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอ็มเอฟซี ป่าตอง เฮอริเทจ (M-PAT) ให้ Dividend Yield เฉลี่ย 3 ปีหลังสูงสุด 9.82% 
    
ฟากกองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ให้ Dividend Yield เฉลี่ย 3 ปีหลังสูงสุดคือ  กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้า อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ (ABPIF) ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 11.91%

 

 

 

 

 

 

 

 

 







ข่าวหุ้นอื่นๆที่น่าสนใจ

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

Refresh




LATEST NEWS

ข่าวหุ้นล่าสุด

Refresh

ดูข่าวทั้งหมด