เหตุการณ์ บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ผิดชำระหนี้หุ้นกู้ปะทุขึ้นอีกครั้ง หลังเงียบสงบไปกว่า 2 ปี รอบนี้เบิกร่องโดย บมจ.พีพี ไพร์ม (PPPM) ที่มีปัญหาทางเทคนิคในการชำระหุ้นกู้ชุดที่ 1/60 มูลค่า 260.50 ล้านบาท ซึ่งครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อ 27 ก.ค.62 และได้ขอเลื่อนชำระหุ้นกู้ชุดที่ 2/61 มูลค่า 319.5 ล้านบาท ซึ่งครบกำหนดไถ่ถอน 2 ส.ค.62 ไปอีก 330 วัน เพราะเงินที่มีทั้งหมดนำไปชำระหุ้นกู้ชุดที่ 1/60 จนไม่มีเงินเพียงพอสำหรับไถ่ถอนหุ้นกู้ชุดที่ 2/61
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเรียกความสนใจจากผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนไม่น้อย เพราะหวั่นว่าจะเกิดเหตุการณ์ลุกลาม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ออกหุ้นกู้ที่ไม่มีเครดิตเรทติ้ง หรือ มีเรทติ้งต่ำกว่า BBB ซึ่งถือเป็นกลุ่มตราสารเสี่ยง(Non-Investment Grade)
*** พบ 33 บจ.ขายหุ้นกู้เสี่ยง มูลค่าคงค้าง 8 หมื่นลบ.
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจข้อมูลจาก สมาคมตราสารหนี้ (ThaiBMA) ณ วันที่ 7 ส.ค.62 พบว่า ปัจจุบันมี 33 บจ.ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่ไม่มีเรทติ้ง หรือ มีเรทติ้งต่ำกว่า BBB มูลค่าคงค้าง 80,619 ล้านบาท ประกอบด้วย
33 บจ.ขายหุ้นกู้เสี่ยงสูง
|
ชื่อย่อหุ้น
|
จำนวนหุ้นกู้
(ชุด)
|
มูลค่า
(ล้านบาท)
|
ดอกเบี้ยเฉลี่ย
(%)
|
เรทติ้ง
|
PF
|
16
|
20,555
|
6
|
BB+/TRIS
|
GLAND
|
9
|
7,260
|
6
|
BB/TRIS
|
A
|
8
|
6,382
|
6
|
BB/TRIS
|
MJD
|
7
|
5,449
|
6
|
BB+/TRIS
|
TTCL
|
5
|
5,075
|
5
|
BB+/TRIS
|
EARTH
|
1
|
4,000
|
5
|
-
|
CGD
|
3
|
3,700
|
7
|
-
|
CI
|
5
|
2,740
|
5
|
BB+/TRIS
|
ACAP
|
7
|
2,675
|
6
|
BB-/TRIS
|
CHEWA
|
3
|
2,185
|
6
|
-
|
RICHY
|
4
|
2,008
|
6
|
-
|
NUSA
|
4
|
1,760
|
6
|
-
|
GCAP
|
6
|
1,653
|
6
|
-
|
GL
|
1
|
1,500
|
3
|
BB+/TRIS
|
NVD
|
2
|
1,283
|
5
|
-
|
PACE
|
1
|
1,219
|
7
|
-
|
ECF
|
3
|
1,015
|
7
|
BB+/TRIS
|
APEX
|
2
|
960
|
6
|
-
|
ALL
|
4
|
936
|
7
|
-
|
JSP
|
3
|
929
|
7
|
-
|
LIT
|
4
|
900
|
6
|
-
|
CHO
|
2
|
746
|
7
|
-
|
ILINK
|
1
|
700
|
5
|
-
|
CWT
|
2
|
631
|
6
|
BB+/TRIS
|
PPPM
|
3
|
542
|
8
|
-
|
PLE
|
1
|
500
|
7
|
-
|
SGF
|
2
|
465
|
6
|
-
|
TNITY
|
2
|
421
|
3
|
-
|
SEAOIL
|
1
|
400
|
6
|
-
|
UAC
|
1
|
400
|
6
|
-
|
PSTC
|
1
|
399
|
5
|
-
|
J
|
3
|
300
|
6
|
-
|
UWC
|
1
|
300
|
6
|
-
|
SMT
|
1
|
217
|
6
|
-
|
ACC
|
1
|
155
|
6
|
-
|
BSM
|
1
|
100
|
6
|
-
|
จากตาราง มีถึง 23 บจ.ที่ขายหุ้นกู้แบบไม่มีเรทติ้ง โดยมากกว่า 95% เป็นการขายให้กับนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนประเภท High Net Worth ขณะที่มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยรวม 33 บจ.ที่ 6% ส่วน บจ.ที่มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยสูงสุดคือ PPPM ระดับ 8%
*** PF ออกหุ้นกู้สูงสุดของกลุ่มถึง 2.05 หมื่นลบ.
บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค(PF)เป็นบริษัทที่เสนอขายหุ้นกู้สูงสุดในกลุ่มนี้ จำนวน 16 ชุด มูลค่ารวม 20,555 ล้านบาท โดยมีอันดับเรทติ้งอยู่ที่ BB+ เป็นหุ้นกู้ไร้หลักประกันทั้งหมด อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 6% สูงสุด 9.5% ต่ำสุด 4.75% และขายให้กับนักลงทุนสถาบัน-High Net Worth ทั้งหมด
หุ้นกู้คงค้างของ PF
|
หุ้นกู้ชุดที่
|
มูลค่า (ลบ.)
|
อัตราดบ.(%)
|
กำหนดไถ่ถอน
|
Perpetual bond 1/60
|
447.7
|
9.5
|
N/A
|
Perpetual bond 1/61
|
60.3
|
9.5
|
N/A
|
3/59 (1)
|
1200
|
4.85
|
22 ก.ย. 62
|
1/59
|
3000
|
5.6
|
28 ม.ค. 63
|
2/59 (2)
|
1450
|
5.5
|
2 มิ.ย. 63
|
3/59 (2)
|
1200
|
5.3
|
22 ก.ย. 63
|
1/62 (1)
|
435.1
|
4.75
|
5 ต.ค. 63
|
2/60 (2)
|
724.4
|
5.7
|
7 เม.ย. 64
|
1/61
|
1034.5
|
5.75
|
27 เม.ย. 64
|
2/61
|
2069.4
|
5.75
|
19 ก.ค. 64
|
3/60
|
1509.6
|
5.9
|
22 ก.ย. 64
|
4/60
|
1195.7
|
5.9
|
30 พ.ย. 64
|
3/61
|
1819.9
|
6
|
22 ก.พ. 65
|
4/61
|
1789.1
|
6
|
7 มิ.ย. 65
|
1/62 (2)
|
775
|
6.25
|
5 ต.ค. 65
|
2/62
|
1844.6
|
6.25
|
10 พ.ค. 66
|
*** หุ้นกู้ 21 ชุดจาก 16 บจ.ต้องไถ่ถอนปีนี้ มูลค่ากว่า 1.35 หมื่นลบ.
ส่วนช่วงที่เหลือของปีนี้มีหุ้นกู้ครบกำหนดไถ่ถอนจำนวน 21 ชุด จากผู้ออก 16 บจ. มูลค่ารวมกว่า 1.35 หมื่นล้านบาท ดังนี้
หุ้นกู้เสี่ยงสูงที่ครบกำหนดปี 62
|
ชื่อย่อหุ้น
|
หุ้นกู้ชุดที่
|
มูลค่า (ลบ.)
|
วันที่ครบกำหนด
|
RICHY
|
2/60
|
528
|
9 ส.ค. 62
|
MJD
|
4/59
|
500
|
11 ส.ค. 62
|
NUSA
|
2/60
|
650
|
15 ส.ค. 62
|
CI
|
1/59
|
300
|
25 ส.ค. 62
|
GCAP
|
1/60
|
355
|
25 ส.ค. 62
|
PPPM
|
3/61
|
134
|
3 ก.ย. 62
|
CHOW
|
1/61 (2)
|
983
|
16 ก.ย. 62
|
ALL
|
3/61
|
167
|
18 ก.ย. 62
|
PF
|
3/59 (1)
|
1,200
|
22 ก.ย. 62
|
GL
|
1/59
|
1,500
|
29 ก.ย. 62
|
GLAND
|
2/60
|
380
|
5 ต.ค. 62
|
ACAP
|
3/60
|
769
|
6 ต.ค. 62
|
EARTH
|
1/59
|
4,000
|
7 ต.ค. 62
|
ALL
|
1/60
|
182
|
12 ต.ค. 62
|
APEX
|
1/62
|
160
|
22 ต.ค. 62
|
TNITY
|
1/61
|
220
|
22 ต.ค. 62
|
CHOW
|
1/61 (3)
|
405
|
2 พ.ย. 62
|
MJD
|
1/62
|
450
|
12 พ.ย. 62
|
J
|
3/60
|
100
|
15 พ.ย. 62
|
J
|
1/61
|
100
|
14 ธ.ค. 62
|
MJD
|
6/59
|
300
|
16 ธ.ค. 62
|
ทั้งนี้หุ้นกู้จำนวน 10 ชุด จาก 10 บจ. มีกำหนดไถ่ถอนภายในไตรมาส 3 นี้ มูลค่ารวม 6,317 ล้านบาท
*** วงการมองผิดนัดชำระหุ้นกู้ไม่ลุกลาม แต่จับตาใกล้ชิด
"อริยา ติรณะประกิจ" รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตราสารหนี้ ระบุว่า โอกาสเกิดเหตุการณ์ผิดชำระหนี้ลุกลามมีจำกัด เนื่องจาก บจ.แต่ละรายที่ขายหุ้นกู้กลุ่มนี้มีมูลค่าไม่สูงมากนัก เหมือนที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 2-3 ปีก่อน แม้บางบริษัทจะไม่มีเรทติ้ง หรือ หรือมีเรทติ้งระดับ Non-Investment Grade เพราะเกิน 60% เป็นหุ้นกู้ที่มีหลักประกัน ซึ่งมีโอกาสที่นักลงทุนจะได้รับเงินคืนสูง หากเกิดกรณีผิดนัดชำระ(Default)
"โอกาสเกิดโดมิโน่แบบ 2-3 ปีก่อนมีไม่มากนัก เพราะมูลค่าแต่ละรายที่ครบกำหนดปีนี้ไม่สูงมาก และหลายบริษัทก็ยังมีฐานะการเงินดี อย่างไรก็ตามสมาคมตราสารหนี้อยู่ระหว่างการติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีกำหนดชำระภายใน 1-2 เดือนนี้ ซึ่งได้มีการประสานงานกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ด้านข้อมูลต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง" อริยา ระบุ
นอกจากนี้สัดส่วนหุ้นกู้กลุ่มเสี่ยงของ 33 บจ.มูลค่า 8 หมื่นล้านบาท คิดเป็นเพียง 2% ของหุ้นกู้ทั้งระบบ ซึ่งถือว่ามีนัยต่ออุตสาหกรรมตราสารหนี้ทั้งหมดไม่มากนัก
ด้าน "ประกิต สิริวัฒนเกตุ" ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ แนะนำ นักลงทุนติดตาม บจ.กลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากหากเกิดเหตุผิดชำระหนี้ขึ้น จะส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นค่อนข้างรุนแรง
"นักลงทุนที่ถือตราสารหนี้เหล่านี้อยู่ต้องหาจังหวะปล่อยออก เพราะความเสี่ยงสูง และปัญหาผิดชำระเริ่มส่งสัญญาณน่ากลัวอีกครั้ง โดยเฉพาะ บจ.ที่งบการเงินน่าเป็นห่วง ส่วนผู้ที่จะเข้าลงทุนหุ้นเหล่านี้ ผมไม่แนะนำ ให้หลีกเลี่ยง และไม่ควรเข้าไปยุ่ง" ประกิต แนะนำ
*** 8 บจ.อัตราส่วนความสามารถชำระดอกเบี้ยติดลบ
ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบงบการเงินของทั้ง 33 บจ. พบว่า มี 10 บริษัทที่หนี้สินต่อทุน (D/E) สูงเกิน 3 เท่า โดย บมจ.เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น (PACE) มีดี/อีสูงสุดถึง 19 เท่า
ขณะที่พบว่ามี 8 บริษัทที่มีอัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) ติดลบ สะท้อนว่ามีปัญหาในการชำระหนี้สิน โดยผลประกอบการของบริษัทกลุ่มนี้มีผลขาดทุนต่อเนื่อง ขณะที่เงินสดจากการดำเนินงานส่วนใหญ่ติดลบ
บจ.ออกหุ้นกู้เสี่ยงสูง-งบแย่
|
ชื่อย่อหุ้น
|
Interest Coverage Ratio (เท่า)
|
เงินสดจากการดำเนินงาน (ลบ.)
|
กำไร Q1/62 (ลบ.)
|
กำไรปี 61
(ลบ.)
|
กำไรปี 60
(ลบ.)
|
UWC
|
-6.89
|
14.85
|
-172.13
|
-390.12
|
-250.97
|
CI
|
-2.41
|
-673.71
|
-82.13
|
82.41
|
18.63
|
NUSA
|
-2.39
|
387.54
|
-182.45
|
-221.71
|
-240.87
|
PACE
|
-1.21
|
-475.38
|
-316.82
|
-5,155.52
|
171.12
|
APEX
|
-0.38
|
-127.52
|
-83.53
|
-302.95
|
-113.22
|
J*
|
-0.17
|
-11.85
|
-17.49
|
-17.44
|
6.38
|
PPPM
|
-0.15
|
13.89
|
-50.52
|
-110.08
|
-249.57
|
CGD
|
-0.02
|
-438.11
|
-108.32
|
-464.17
|
-144.3
|
*งบการเงิน J สิ้นสุด H1/62
|
อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) คำนวณจาก (กำไรสุทธิ+ภาษีเงินได้-ดอกเบี้ยจ่าย)/ดอกเบี้ยจ่าย ใช้วัดความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ หากมากกว่า 1 เท่าแสดงว่าธุรกิจมีความสามารถที่จะจ่ายชำระค่าดอกเบี้ยได้ทั้งหมด แต่หากต่ำกว่า 1 เท่า แสดงว่ามีความสามารถในการจ่ายชำระดอกเบี้ยได้เพียงบางส่วนเท่านั้น แต่หากมีค่าเท่ากับ 0 หรือติดลบ เท่ากับว่าธุรกิจไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยได้เลย ซึ่งจะพัฒนากลายเป็นปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินในที่สุด
*** ก.ล.ต.เตรียมปรับเกณฑ์ขายตราสารเสี่ยง
ขณะที่ สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เตรียมปรับเพิ่มความเข้มงวดเกณฑ์การขายตราสารหนี้เสี่ยง โดยประเด็นสำคัญที่ปรับเพิ่มคือ นักลงทุนรายบุคคล ซึ่งประกอบด้วยนักลงทุนทั่วไป และ กลุ่ม High net Worth จะไม่สามารถซื้อตราสารหนี้แบบวงจำกัด (PP) ที่ไม่มีการยื่นแบบไฟลิ่งได้
ขณะเดียวกันจะเพิ่มความเข้มงวดในการการติดตามผู้ออกหุ้นกู้ โดยเฉพาะตราสารที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งจะกำหนดให้มีการอธิบายความเสี่ยงความสารมารถในการชำระหนี้ รวมถึงให้ตัวกลางขายตราสารหนี้มีความระมัดระวังในการทำหน้าที่
ด้านตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับการขายตราสารหนี้ต้องมีระบบการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอและเข้าใจง่าย เช่น เพิ่มรอบการส่งงบการเงิน, ความเคร่งครัดในมาตรฐานการขาย และ การดูแลกลุ่มที่เปราะบาง เป็นต้น
รวมถึงเพิ่มคุณภาพข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และมีเครื่องมือที่สามารถเปรียบเทียบตราสารได้
นอกจากนี้จะเพิ่มกลไกการจัดการเมื่อผิดการชำระหนี้ เช่น กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนที่ต้องรายงานเมื่อผิดชำระหนี้, พิจารณาแนวทางให้ความรู้นักลงทุนในการรักษาสิทธิดำเนินคดีเรียกร้องค่าเสียหาย และการฟ้องร้องบังคับคดี
"จอมขวัญ คงสกุล" ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต. ระบุว่า เกณฑ์ใหม่จะเพิ่มความเข้มงวดในการกำกับดูแล โดยผู้ซื้อได้รับข้อมูลที่ตรงประเด็นและชัดเจนเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ เข้าใจง่าย และเป็นปัจจุบันมากขึ้น ส่วนตัวกลางต้องใช้ความระมัดระวังในการขาย โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง
"เกณฑ์ใหม่จะทำให้ผู้ลงทุนซื้อตราสารหนี้ด้วยความเข้าใจที่มากขึ้น และจะช่วยให้ลดความเสี่ยงจากการขายตราสารหนี้ลงได้" จอมขวัญ กล่าว
"อริยา ติรณะประกิจ" รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตราสารหนี้ เสริมว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการปรับเกณฑ์ใหม่ น่าจะเกิดกับผู้ออกหุ้นกู้เป็นสำคัญ อาจจะขายยากขึ้น แต่นักลงทุนจะปลอดภัยขึ้นเช่นกัน และอุตสาหกรรมจะได้ประโยชน์ หุ้นกู้จะมีคุณภาพมากขึ้น ปัญหาการผิดชำระหนี้จะลดลง เพราะมีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นในขั้นตอนการออกและเสนอขาย
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลการออกและเสนอขายหุ้นกู้กลุ่ม Non-Investment Grade ที่คงค้าง รวมถึงนำเสนอข้อมูลงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน โดยไม่ได้มีเจตนาชี้นำหรือกล่าวหาว่าบริษัทใดจะผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้แต่อย่างใด