ประเด็นร้อน

เปิดพอร์ต 10 บิ๊ก นลท.สถาบัน พบมูลค่ารวมกว่า 2.58 ล้านลบ.

เปิดพอร์ต 10 บิ๊ก นลท.สถาบัน พบมูลค่ารวมกว่า 2.58 ล้านลบ.

"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจพอร์ตนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศที่ลงทุนในตลาดหุ้นไทย ไม่รวมบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่ถือหุ้นบริษัทอื่นในฐานะบริษัทย่อย พบ 10 อันดับแรกถือหุ้นรวมเกิน 100 หลักทรัพย์ มูลค่ารวมกว่า 2.58 ล้านล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้


1."กระทรวงการคลัง" มูลค่าพอร์ตสูงสุด 1.24 ล้านลบ.


กระทรวงการคลัง มีมูลค่าพอร์ตการลงทุนสูงสุดถึง 1.24 ล้านล้านบาท โดยถือครองหุ้นใหญ่ 13 หลักทรัพย์ ประกอบด้วย
 

พอร์ตลงทุน “กระทรวงการคลัง” มูลค่ารวม 1.24 ล้านลบ.

ชื่อย่อหุ้น

%สัดส่วน

มูลค่า (ลบ.)*

วันปิดสมุด

%ผลตอบแทน YTD

AOT

70

665,000

09/12/63

6.83

PTT

51.11

547,457

30/09/63

-11.76

TTB

11.79

13,523

30/04/64

10.19

OR

1.28

4,102

09/09/64

48.61 ***

TFFIF

10

3,473

31/08/64

-21.65

DMT

22.13

3,215

25/08/64

-23.13 ***

MCOT

65.8

3,029

10/03/64

58.02

BCP

4.76

1,802

09/09/64

33.5

MFC

15.92

492

05/05/64

68.49

BEYOND

10.8

306

27/08/64

20.99

NEP

12.72

142

12/03/64

92

RPH

2.69

90

24/08/64

9.91

THAI

47.86

SP/NP/NC**

03/07/63

N/A

* มูลค่าคำนวณจากจำนวนหุ้น x ราคาปิด 12 พ.ย.64

** ถูกห้ามซื้อขายเพราะอยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ

*** ผลตอบแทนราคาปิด 12 พ.ย.64 เทียบราคาไอพีโอ


ทั้งนี้กระทรวงการคลังถือหุ้น บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) มูลค่าสูงสุด 6.65 แสนล้านบาท  สัดส่วน 70% รองลงมาคือ บมจ.ปตท.(PTT) สัดส่วน 51.11% มูลค่ารวม 5.47 แสนล้านบาท

ส่วนที่ถือครองน้อยสุดคือ บมจ.โรงพยาบาลราชพฤกษ์ (RPH) สัดส่วน 2.69%  มูลค่า 90 ล้านบาท
 
นอกจากนี้ ถือครองหุ้น บมจ.การบินไทย (THAI) สัดส่วน 47.86% แต่ถูกห้ามซื้อขายไปแล้ว เพราะอยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ และไม่สามารถประเมินมูลค่าล่าสุดได้
    
สำหรับผลตอบแทนราคาตั้งแต่ต้นปีถึง 12 พ.ย.64 (YTD) พบว่า 12 หลักทรัพย์ถือครอง (ไม่รวม THAI) ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 24.33%  ซึ่งส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก โดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC ให้ผลตอบแทนสูงสุด 68.49%YTD
    
ขณะที่มี 3 บจ.ให้ผลตอบแทนติดลบ โดย บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง (DMT) ให้ผลตอบแทนติดลบสูงสุด 23.13% ล่าสุดอยู่ที่ 12.3 บาท จากราคาไอพีโอ 16 บาท ซึ่งเข้าซื้อขายเมื่อ 7 พ.ค.64
 

2. “SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED” สถาบันต่างชาติถือหุ้นไทยสูงสุด 3.11 แสนลบ.
 

ลำดับที่ 2 เป็นฝั่งนักลงทุนสถาบันต่างชาติ คือ “SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED” ที่ถือหุ้นไทยถึง 105 หลักทรัพย์ มูลค่ารวมกว่า 3.11 แสนล้านบาท โดย 20 หลักทรัพ์ที่ถือครองมูลค่าสูงสุดได้แก่
 

TOP20 หุ้นในพอร์ต “SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED”

ชื่อย่อหุ้น

%สัดส่วน

มูลค่า (ลบ.)*

วันปิดสมุด

%ผลตอบแทน YTD

CPALL

6.82

40,003

15/09/64

12.02

AOT

3.74

35,536

09/12/63

6.83

PTT

1.85

19,843

30/09/64

-11.76

SCB

3.85

17,325

06/10/64

51.43

KBANK

4.52

15,834

09/09/64

30.97

SCC

2.76

13,101

16/08/64

4.76

BDMS

3.34

12,956

14/10/64

17.31

PTTEP

2.36

11,021

13/08/64

19.59

ADVANC

1.75

10,017

17/08/64

9.66

MINT

4.2

7,246

07/05/64

29.13

DELTA

1.22

6,154

05/03/64

-16.87

PTTGC

2.03

5,625

06/09/64

5.13

CPN

2.15

5,615

05/03/64

21.99

COM7

5.13

4,663

30/04/64

94.23

EA

1.85

4,601

15/03/64

35.03

TISCO

5.97

4,397

29/04/64

3.95

CRC

1.88

4,148

30/04/64

18.7

BBL

1.63

3,931

09/09/64

6.75

BTS

2.79

3,567

27/07/64

4.3

CPF

1.6

3,474

31/08/64

-5.61

หมายเหตุ : ผู้ลงทุนรายนี้ถือหุ้นรวม 105 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 3.11 แสนลบ.

* มูลค่าคำนวณจากจำนวนหุ้น x ราคาปิด 12 พ.ย.64


“SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED” ถือหุ้นกระจายในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม โดยสัดส่วนใหญ่อยู่ที่หมวดธุรกิจพาณิชย์, พลังงาน และ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมี 9 หลักทรัพย์ที่ถือครองมูลค่ามากกว่า 1 หมื่นล้านบาท และ 42 หลักทรัพย์ถือครองมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านบาท

ทั้งนี้ถือ บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) มูลค่าสูงสุด 4 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 6.82% 
    
ส่วนหุ้นที่ถือครองมูลค่าน้อยสุด บมจ.บิวตี้ คอมมูนิตี้ (BEAUTY) สัดส่วน 1.12% มูลค่า 58 ล้านบาท
    
นอกจากนี้ ถือครองหุ้น บมจ.การบินไทย (THAI) สัดส่วน 47.86% แต่ถูกห้ามซื้อขายไปแล้ว เพราะอยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ และไม่สามารถประเมินมูลค่าล่าสุดได้
    
สำหรับผลตอบแทนราคาตั้งแต่ต้นปี พบว่า 104 หลักทรัพย์ที่ถือ (ไม่รวม THAI) ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 21%YTD โดยมี 81 หลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนเป็นบวกตั้งแต่ 1.02 - 204.58% ซึ่งมีถึง 5 หลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า 100% และ บมจ.อาร์ ซี แอล (RCL) ให้ผลตอบแทนสูงสุด 204.58% 
    
ขณะที่มี 20 หลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนติดลบ 0.96 - 21.65% ซึ่ง กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFFIF) ติดลบสูงสุด


3."ประกันสังคม" ถือ 67 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 2.94 แสนลบ.


ลำดับที่ 3 คือ สำนักงานประกันสังคม ถือหุ้นถึง 67 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 2.94 แสนล้านบาท โดย 20 หลักทรัพ์ที่ถือครองมูลค่าสูงสุดได้แก่
 

TOP20 หลักทรัพย์ในพอร์ต “ประกันสังคม”

ชื่อย่อหุ้น

%สัดส่วน

มูลค่า (ลบ.)*

วันปิดสมุด

%ผลตอบแทน YTD

PTT

2.14

22,909

30/09/64

-11.76

ADVANC

3.36

19,290

17/08/64

9.66

SCC

4.01

19,066

16/08/64

4.76

AOT

1.89

17,949

09/12/63

6.83

CPALL

2.96

17,375

15/09/64

12.02

SCB

3.54

15,946

06/10/64

51.43

BDMS

4.08

15,819

14/10/64

17.31

KBANK

4.18

14,659

09/09/64

30.97

BBL

5.22

12,595

09/09/64

6.75

CPF

3.56

7,748

31/08/64

-5.61

PTTEP

1.56

7,290

13/08/64

19.59

HMPRO

2.93

5,861

16/09/64

10.95

CPN

2.16

5,644

05/03/64

21.99

WHART

15.69

5,621

21/10/64

-2.85

BCP

14.4

5,453

09/09/64

33.5

BEM

3.81

5,324

10/05/64

10.24

CRC

2.19

4,830

30/04/64

18.7

LH

4.5

4,650

25/08/64

8.81

FTREIT

11.09

4,416

17/08/64

11.11

TU

4.54

4,399

24/08/64

49.26

หมายเหตุ : “ประกันสังคม” ถือหุ้นรวม 67 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 2.94 แสนลบ.

* มูลค่าคำนวณจากจำนวนหุ้น x ราคาปิด 12 พ.ย.64


"ประกันสังคม" ถือครองหุ้นกระจายในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมเช่นกัน โดยสัดส่วนใหญ่อยู่ในหมวดธุรกิจ พลังงาน, ธนาคารพาณิชย์ และ พาณิชย์ ซึ่งมี 9 หลักทรัพย์ที่ถือครองมูลค่ามากกว่า 1 หมื่นล้านบาท และ 38 หลักทรัพย์ถือครองมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านบาท
    
ทั้งนี้ถือ บมจ.ปตท.(PTT) มูลค่าสูงสุด 2.29 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 2.14% 
    
ส่วนที่ถือครองน้อยสุดคือน้องใหม่ไอพีโออย่าง บมจ.อุบล ไบโอ เอทานอล (UBE) สัดส่วน 0.75% มูลค่า 57 ล้านบาท
    
สำหรับผลตอบแทนราคาตั้งแต่ต้นปี พบว่า 67 หลักทรัพย์ที่ถือให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 11.44%YTD โดยมี 47 หลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนเป็นบวก 1.02 - 149.48% ซึ่ง บมจ.เอเชี่ยนซี คอร์ปอเรชั่น (ASIAN) ให้ผลตอบแทนสูงสุด
    
ขณะที่มี 19 หลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนติดลบ 0.51 - 21.65% โดย กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFFIF) ติดลบสูงสุด


4. "กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง" ถือ 15 หลักทรัพย์ มูลค่า 2.75 แสนลบ.


ลำดับที่ 4 คือ กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง ถือครอง 15 หลักทรัพย์ มูลค่า 2.75 แสนล้านบาท ประกอบด้วย
 

พอร์ตลงทุน “กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง” มูลค่ารวม 2.75 แสนลบ.

ชื่อย่อหุ้น

%สัดส่วน

มูลค่า (ลบ.)*

วันปิดสมุด

%ผลตอบแทน YTD

PTT

12.16

130,267

30/09/64

-11.75

SCB

23.12

104,052

06/10/64

51.43

TTB

10.44

11,975

30/04/64

10.19

BCP

19.84

7,512

09/09/64

33.5

KTB

4.36

7,193

22/04/64

6.31

AOT

0.7

6,678

09/12/63

6.83

ESSO

8.46

2,270

19/03/64

4.73ถื

IVL

0.8

1,898

30/08/64

12.84

EGCO

1.28

1,191

30/08/64

-8.57

SCCC

1.96

967

25/02/64

22.14

RATCH

0.98

629

08/09/64

-16.04

DTAC

0.62

518

02/08/64

7.52

KWC

8.36

140

28/04/64

1.82

THAI

17.08

SP/NP/NC**

03/07/63

N/A

หมายเหตุ : "กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง" บริหารโดย บลจ.กรุงไทย และ บลจ.เอ็มเอฟซี ซึ่งแบ่งการจัดการทรัพย์สินของกองทุนบริษัทละเท่าๆ กัน

* มูลค่าคำนวณจากจำนวนหุ้น x ราคาปิด 12 พ.ย.64

** ถูกห้ามซื้อขายเพราะอยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ


ทั้งนี้ "กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง" บริหารโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย และ บลจ.เอ็มเอฟซี ซึ่งแบ่งการจัดการทรัพย์สินของกองทุนบริษัทละเท่าๆ กัน เช่น การถือครอง บมจ.ปตท. (PTT) ที่ 12.16% เป็น กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย ถือ 6.08% และ กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี ถือ 6.08%
    
ขณะที่มูลค่าการถือครองสูงสุดอยู่ที่ บมจ.ปตท.(PTT) สัดส่วน 12.16% มูลค่ารวม 1.3 แสนล้านบาท
    
ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ซึ่งถือครองมูลค่า 1.04 แสนล้านบาท ให้ผลตอบแทนราคาสูงสุด 51.43%YTD


5. "UBS AG SINGAPORE BRANCH" ถือ 38 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 1.95 แสนลบ.


ลำดับที่ 5 เป็นสถาบันต่างชาติ คือ "UBS AG SINGAPORE BRANCH" ถือหุ้น 38 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 1.95 แสนล้านบาท โดย 20 หลักทรัพ์ที่ถือครองมูลค่าสูงสุดได้แก่
 

TOP20 หุ้นในพอร์ต “UBS AG SINGAPORE BRANCH”

ชื่อย่อหุ้น

%สัดส่วน

มูลค่า (ลบ.)*

วันปิดสมุด

%ผลตอบแทน YTD

GULF

12.56

61,532

14/05/64

21.9

EA

20.95

51,960

15/03/64

35.03

BDMS

3.62

14,020

14/10/64

17.31

MINT

6.98

12,051

07/05/64

29.13

AWC

6.67

9,989

05/03/64

2.63

BTS

6.31

8,056

27/07/64

4.3

CBG

4.52

5,577

30/08/64

7.86

BGRIM

4.6

4,920

27/08/64

-15.46

CPN

1.25

3,263

05/03/64

21.99

KTC

1.95

2,905

20/04/64

-2.94

STEC

11.04

2,307

26/03/64

7.87

WHA

3.89

1,998

10/05/64

13.16

VGI

3.23

1,959

16/07/64

6.02

SIRI

9.57

1,849

16/03/64

60.49

CRC

0.83

1,818

30/04/64

18.7

SPCG

9.02

1,723

30/08/64

-9.95

DMT

11.65

1,693

25/08/64

-23.13

TGH

4.45

945

16/03/64

-13.08

RML

22.43

936

26/03/64

56.25

EE

18.35

847

15/06/4

163.49

หมายเหตุ : ผู้ลงทุนรายนี้ถือหุ้นรวม 38 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 1.95 แสนลบ.

* มูลค่าคำนวณจากจำนวนหุ้น x ราคาปิด 12 พ.ย.64


"UBS AG SINGAPORE BRANCH" ถือหุ้นกลุ่มพลังงานสูงสุดมากกว่า 40% ของพอร์ต ซึ่ง 4 หลักทรัพย์ถือครองมูลค่ามากกว่า 1 หมื่นล้านบาท และ 13 หลักทรัพย์ถือครองมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านบาท
    
ทั้งนี้ ถือหุ้น บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) มูลค่าสูงสุดของพอร์ตถึง 6.15 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 12.56%
    
ส่วนที่ถือครองน้อยสุดคือ บมจ.เทพธานีกรีฑา (CSR) มูลค่า 16 ล้านบาท สัดส่วน 1.32%
    
สำหรับผลตอบแทนราคาตั้งแต่ต้นปี พบว่า 38 หลักทรัพย์ที่ถือให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 40%YTD โดยมี 27 หลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนเป็นบวก 2.63 - 671.56% ซึ่ง บมจ.เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล (XPG) ที่ถือสัดส่วน 2.91% ให้ผลตอบแทนสูงสุด
    
ขณะที่มี 9 หลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนติดลบ 1.52 - 38.84% โดย บมจ.โมโน เน็กซ์ (MONO) ซึ่งถือ 2.1% ผลตอบแทนติดลบสูงสุด


6. "ธนาคารกรุงเทพ" ถือ 45 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 5.89 หมื่นลบ.


ลำดับที่ 6 คือ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ถือครอง 45 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 5.89 หมื่นล้านบาท โดย 20 หลักทรัพ์ที่ถือครองมูลค่าสูงสุดได้แก่
 

TOP20 พอร์ตลงทุน “ธนาคารกรุงเทพ”

ชื่อย่อหุ้น

%สัดส่วน

มูลค่า (ลบ.)*

วันปิดสมุด

%ผลตอบแทน YTD

IVL

4.83

11,310

30/08/64

12.84

BH

7.58

9,277

27/08/64

28.33

GULF

1.27

6,202

14/05/64

21.9

VGI

8.36

5,076

16/07/64

6.02

BLA

7.61

3,998

12/05/64

46.43

BKI

9.97

2,950

27/09/64

0.72

BEM

1.99

2,777

10/05/64

10.24

OSP

2.5

2,625

25/08/64

-1.41

FTREIT

4.03

1,606

17/08/64

11.11

JASIF

1.58

1,306

24/08/64

8.42

BA

5

1,250

11/03/64

85.94

ASK

7.35

1,067

28/04/64

104.68

RS

5.18

941

27/04/64

8.09

VNG

5.35

863

27/08/64

181.82

CK

2.3

853

11/05/64

31.93

TPIPL

2.26

749

14/10/4

-5.98

ASP

8.46

623

30/08/64

60.55

KEX

0.98

621

25/08/64

-25.89

MILL

7.37

506

10/05/64

85.2

TSTH

3.52

474

24/05/64

138.81

หมายเหตุ : “ธนาคารกรุงเทพ” ถือหุ้นรวม 45 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 5.89 หมื่นลบ.

* มูลค่าคำนวณจากจำนวนหุ้น x ราคาปิด 12 พ.ย.64


ธนาคารกรุงเทพถือหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีสัดส่วนสูงสุด รองลงมาคือกลุ่มการแพทย์ โดยถือหุ้น บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) มูลค่าสูงสุด 1.13 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 4.83%
    
ส่วนที่ถือครองสัดส่วนน้อยสุดคือ บมจ.พรีเมียร์ โพรดักส์ (PPP) มูลค่าเพียง 12 ล้านบาท
    
สำหรับผลตอบแทนราคาตั้นแต่ต้นปี พบว่าหุ้นที่ถือครองให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 37%YTD โดยมีถึง 38 หลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนเป็นบวก 0.72 - 292% ซึ่งมีถึง 5 หลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนมากกว่า 100% โดย บมจ.ไทยนามพลาสติกส์  (TNPC) ให้ผลตอบแทนสูงสุด
    
ขณะที่มี 6 หลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนติดลบ 0.75 - 25.89% โดย บมจ.เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) หรือ KEX ติดลบสูงสุด


7. "HSBC" ถือ 16 หลักทรัพย์ มูลค่า 5.09 หมื่นลบ.


ลำดับที่ 7 คือ  “THE HONGKONG AND SHANGHAI BANKING CORPORATION LIMITED” หรือ HSBC ถือครอง 16 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 5.09 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย
 

พอร์ตลงทุน “THE HONGKONG AND SHANGHAI BANKING CORPORATION LIMITED”

ชื่อย่อหุ้น

%สัดส่วน

มูลค่า (ลบ.)*

วันปิดสมุด

%ผลตอบแทน YTD

DELTA

4.83

24,321

05/03/64

-16.87

INTUCH

5.2

12,632

10/09/64

34.67

ABFTH

95.24

9,644

15/06/64

-7.58

MTC

0.58

744

30/04/64

2.12

JWD

4.32

692

11/05/64

88.02

RS

3.04

552

27/04/64

8.09

TQM

1.59

505

27/08/64

-21.19

STARK

0.77

430

05/04/64

10.8

TIDLOR

0.45

380

06/05/64

0.68 ***

SINGER

1.57

353

02/11/64

74.18

GJS

1.78

173

11/03/64

137.5

ITEL

2.67

164

23/09/64

79.56

KAMART

3.48

120

26/08/64

-1.52

MILL

1.34

92

10/05/64

85.2

PATO

3.37

59

19/03/64

16.19

PACE

2.25

SP **

16/03/64

N/A

* มูลค่าคำนวณจากจำนวนหุ้น x ราคาปิด 12 พ.ย.64 โดยมีมูลค่าลงทุนรวม 5.09 หมื่นล้านบาท

** ถูกห้ามซื้อขายเพราะไม่ส่งงบการเงิน

 *** ผลตอบแทนราคาปิด 12 พ.ย.64 เทียบราคาไอพีโอ


ทั้งนี้ถือหุ้น บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA  มูลค่าสูงสุด 2.43 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 4.83%
    
ขณะที่ผลตอบแทนราคาตั้นแต่ต้นปี พบว่าหุ้นที่ถือครองให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 30.62%YTD โดย บมจ.จี เจ สตีล (GJS) ให้ผลตอบแทนสูงสุด 137.5% และ บมจ.ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น (TQM) ให้ผลตอบแทนติดลบสูงสุด 21.19%


8.“UBS AG HONG KONG BRANCH” ถือ 7 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 4.7 หมื่นลบ.


ลำดับที่ 8 คือ “UBS AG HONG KONG BRANCH” ถือหุ้น 7 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 4.7 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย
 

พอร์ตลงทุน “UBS AG HONG KONG BRANCH” มูลค่ารวม 4.7 หมื่นลบ.

ชื่อย่อหุ้น

%สัดส่วน

มูลค่า (ลบ.)*

วันปิดสมุด

%ผลตอบแทน YTD

DELTA

4.39

22,123

05/03/64

-16.87

TRUE

9.19

11,588

15/03/64

9.88

CPF

3.31

7,190

31/08/64

-5.61

BTS

2.86

3,646

27/07/64

4.3

SAWAD

2.58

2,229

06/05/64

-4.18

NOBLE

2.31

204

25/08/64

21.97

TRITN

1.93

60

15/10/64

-22.22

* มูลค่าคำนวณจากจำนวนหุ้น x ราคาปิด 12 พ.ย.64


ทั้งนี้ถือหุ้น บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA  มูลค่าสูงสุด 2.2 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 4.39%
    
ขณะที่ผลตอบแทนราคาตั้นแต่ต้นปี พบว่าหุ้นที่ถือครองให้ผลตอบแทนเฉลี่ย -1.82YTD โดยมีถึง 4 หลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนติดลบ ซึ่ง บมจ.ไทรทัน โฮลดิ้ง (TRITN) ติดลบสูงสุด 22.22%


9.“RAFFLES NOMINEES (PTE) LIMITED”  ถือ 8 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 3.67 หมื่นลบ.


ลำดับที่ 9 คือ “RAFFLES NOMINEES (PTE) LIMITED”  ถือหุ้น 8 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 3.67 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย 
 

พอร์ตลงทุน “RAFFLES NOMINEES (PTE) LIMITED” มูลค่ารวม 3.67 หมื่นลบ.

ชื่อย่อหุ้น

%สัดส่วน

มูลค่า (ลบ.)*

วันปิดสมุด

%ผลตอบแทน YTD

DELTA

4.62

23,279

05/03/64

-16.87

MINT

2.82

4,864

07/05/64

29.13

AWC

1.73

2,597

05/03/64

2.63

BJC

1.81

2,514

25/08/64

0

NOBLE

20.05

1,771

25/08/64

-21.97

THANI

5.6

1,307

05/03/64

-0.96

DDD

4.94

286

15/03/64

0.55

SFP

4.9

124

09/12/63

-5.51

* มูลค่าคำนวณจากจำนวนหุ้น x ราคาปิด 12 พ.ย.64


ทั้งนี้ถือหุ้น บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA  มูลค่าสูงสุด 2.3 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 4.62%
    
ขณะที่ผลตอบแทนราคาตั้นแต่ต้นปี พบว่าหุ้นที่ถือครองให้ผลตอบแทนเฉลี่ย -1.63YTD โดยมีถึง 4 หลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนติดลบ ซึ่ง บมจ.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ (NOBLE) ติดลบสูงสุด 21.97%


10."GIC PRIVATE LIMITED" ถือ 9 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 3.55 หมื่นลบ.


ลำดับที่ 10 คือ "GIC PRIVATE LIMITED" ถือหุ้น 9 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 3.55 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย
 

พอร์ตลงทุน “GIC PRIVATE LIMITED” มูลค่ารวม 3.55 หมื่นลบ.

ชื่อย่อหุ้น

%สัดส่วน

มูลค่า (ลบ.)*

วันปิดสมุด

%ผลตอบแทน YTD

CPALL

2.9

17,027

15/09/64

12.02

ADVANC

1.18

6,797

17/08/64

9.66

OR

1.03

3,312

09/09/64

48.61

TOP

2.94

3,235

10/09/64

3.85

AWC

2.13

3,186

05/03/64

2.63

MAJOR

4.55

847

19/07/64

13.66

KEX

0.8

507

25/08/64

-25.89

BAM

0.68

446

07/05/64

-7.31

SHREIT

19.34

172

16/03/64

-19.75

* มูลค่าคำนวณจากจำนวนหุ้น x ราคาปิด 12 พ.ย.64


ทั้งนี้ถือ บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) มูลค่าสูงสุด 1.7 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 2.9% 
    
ขณะที่ผลตอบแทนราคาตั้นแต่ต้นปี พบว่าหุ้นที่ถือครองให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4.16%YTD โดย บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) ให้ผลตอบแทนสูงสุด 48.61% 
    
ส่วน บมจ.เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) หรือ KEX ติดลบสูงสุด 25.89%
    

 

 

 

 

 

 

 







ข่าวหุ้นอื่นๆที่น่าสนใจ

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

Refresh




LATEST NEWS

ข่าวหุ้นล่าสุด

Refresh

ดูข่าวทั้งหมด