efinancethai

ประเด็นร้อน

8 หุ้นแบงก์ ถูกโบรกฯปรับเป้ากำไร - ราคาเป้าหมาย หลังงบ Q3/67 ดีกว่าคาด

8 หุ้นแบงก์ ถูกโบรกฯปรับเป้ากำไร - ราคาเป้าหมาย หลังงบ Q3/67 ดีกว่าคาด

หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์โกยกำไร Q3/67 รวมกว่า 6.47 หมื่นล้านบาท โต 7% ส่วนใหญ่ฟันกำไรสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาด ทำโบรกฯแห่ปรับเป้าอุตลุด มีถึง 6 แบงก์ถูกอัปเป้ากำไร - ราคาเป้าหมายปี 67 รับงบฯดีว่าคาด มีแค่ 2 แบงก์ที่ถูกลดเป้ากำไรรับงบฯอ่อนแอกว่าคาด ยก KTB - KBANK หุ้น Top Picks กลุ่ม หลังคาดตั้งสำรองฯจ่อลดต่อเนื่อง - Valuation ไม่แพง

 

*** หุ้นแบงก์รายงานงบ Q3/67 โต 7% ดีกว่าตลาดคาด

ผ่านพ้นไปแล้ว สำหรับการประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3/67 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (กลุ่มแรกที่รายงานงบฯ) โดยในช่วงดังกล่าว 11 หุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิรวมกัน 6.47 หมมื่นล้านบาท เติบโตขึ้น 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกำไรสุทธิระดับดังกล่าว ถือว่าดีกว่าที่นักวิเคราะห์ในตลาดส่วนใหญ่ประเมินไว้ด้วย


ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ผลการดำเนินงานของหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์เติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงไตรมาส 3/67 เป็นเพราะส่วนใหญ่ได้รับอานิสงส์จากรายได้ดอกเบี้ย (NIM) ที่เพิ่มขึ้น ควบคู่กับการตั้งสำรองหนี้สูญที่ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ หุ้นธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิรวมกัน 1.92 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 4.47% จากปีก่อน 



*** พบ 8 หุ้นธนาคาร ถูกโบรกฯปรับเป้ากำไร - ราคาเป้าหมาย

ขณะที่ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจบทวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่มีการอัปเดทข้อมูลหลังหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/67 เสร็จสิ้น พบมี 8 หุ้นในกลุ่ม ถูกนักวิเคราะห์ปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 67 และราคาเหมาะสมใหม่ ประกอบด้วย 
 

โบรกฯแห่อัปเป้ากำไร - ราคาเหมาะสมหุ้นแบงก์ หลังงบ Q3/67 ดีกว่าคาด

ชื่อย่อหุ้น

บล.

กำไรปี 67 (ลบ.)

%เปลี่ยนแปลง

ราคาเหมาะสม (บ.)

เปลี่ยนแปลง (บ.)

KKP

กรุงศรี

4,773

17.50

55

17

ฟินันเซียฯ

4,512

16.98

47

9

ดาโอ

4,802

16.02

50

10

บัวหลวง

4,862

11.03

60

22

ฟิลลิป

5,200

-5.45

50

-4

KBANK

ทิสโก้

47,263

16.36

150

10

เอเซีย พลัส

48,140

11.18

163

3

อินโนเวสท์ฯ

48,058

10.33

160

15

หยวนต้า

47,966

3.40

175

13

พาย

46,861

0.29

160

-18

กรุงศรี

49,501

0.02

180

ไม่เปลี่ยนแปลง

เคจีไอ

45,691

ไม่เปลี่ยนแปลง

162

10

KTB

ทิสโก้

41,639

14.56

20.6

1.6

ทรีนีตี้

42,626

7.31

24

2.4

บัวหลวง

41,892

7.00

24

4

เอเซีย พลัส

39,882

ไม่เปลี่ยนแปลง

23.4

3.6

หยวนต้า

43,791

ไม่เปลี่ยนแปลง

25

2

พาย

41,388

-1.17

23.8

-0.2

ดีบีเอสฯ

n/a

n/a

22.8

1.8

BBL

ทรีนีตี้

43,803

5.47

185

6

กรุงศรี

44,800

4.58

148

-2

อินโนเวสท์ฯ

45,026

3.45

180

ไม่เปลี่ยนแปลง

เอเซีย พลัส

43,078

ไม่เปลี่ยนแปลง

180

5

บัวหลวง

42,216

ไม่เปลี่ยนแปลง

178

8

พาย

43,746

-1.37

174

3

ดีบีเอสฯ

n/a

n/a

196

7

SCB

พาย

41,641

4.46

123

17

กรุงศรี

41,676

2.76

110

ไม่เปลี่ยนแปลง

บัวหลวง

42,097

2.62

125

25

หยวนต้า

44,475

ไม่เปลี่ยนแปลง

130

5

เคจีไอ

42,159

ไม่เปลี่ยนแปลง

127

10

ยูโอบีฯ

n/a

n/a

134

6

TISCO

อินโนเวสท์ฯ

6,906

4.24

103

ไม่เปลี่ยนแปลง

พาย

6,928

0.77

100

ไม่เปลี่ยนแปลง

บัวหลวง

6,794

ไม่เปลี่ยนแปลง

92

2

กรุงศรี

6,718

ไม่เปลี่ยนแปลง

97

2

ดีบีเอสฯ

n/a

n/a

105

-2

BAY

อินโนเวสท์ฯ

31,098

-4.79

29

ไม่เปลี่ยนแปลง

ทิสโก้

30,894

ไม่เปลี่ยนแปลง

26

-4

TTB

อินโนเวสท์ฯ

20,890

-1.05

1.9

0.05

บัวหลวง

20,376

-1.00

1.9

-0.1

ดาโอ

20,836

-0.04

2

-0.1

ฟินันเซียฯ

21,336

ไม่เปลี่ยนแปลง

2.52

-0.01

ทรีนีตี้

21,053

ไม่เปลี่ยนแปลง

2.02

-0.14

พาย

20,733

0.37

2

-0.1

กรุงศรี

20,810

1.31

2.2

-0.1

ดีบีเอสฯ

n/a

n/a

2.12

-0.02

หมายเหตุ : ข้อมูลเฉพาะหุ้นที่มีบทวิเคราะห์อัปเดทหลังงบฯ Q3/67

 

*** ส่วนใหญ่ 6 ธนาคารถูกอัพเป้ากำไร - ราคาเหมาะสม

การปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 67 และราคาเหมาะสมของนักวิเคราะห์ในตลาด หลังผ่านการรายงานงบการเงินไตรมาส 3/67 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ พบว่า ส่วนใหญ่ถูกปรับขึ้นไปในทางบวกถึง 6 ธนาคาร โดยมีเพียง 2 ธนาคารเท่านั้น ที่ถูกปรับประมาณการณ์ไปในทางลบ  

 

*** "KKP" ถูกอัปเป้ากำไรปี 67 มากที่สุดถึง 17.50%

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) เป็นหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ถูกโบรกเกอร์ปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรสุทธิปี 67 ขึ้นจากเดิมมากที่สุดระหว่าง 11.03 - 17.50% ขยับขึ้นเป็น 4,512 - 5,200 ล้านบาท แต่ยังชะลอตัว 4.46 - 17.10% จากปีก่อน


ส่วน ราคาเหมาะสมถูกปรับขึ้นจากเดิมอีก 9 - 22 บาท/หุ้น เป็น 47 - 60 บาท/หุ้น เนื่องจากกำไรสุทธิไตรมาส 3/67 ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดยนักวิเคราะห์ได้มีการปรับเพิ่มประมาณการรายได้ค่าธรรมเนียมปีนี้ขึ้นจากเดิมอีก 23% (ส่วนใหญ่มาจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตลาดทุน) และปรับลดอัตราการตั้งสำรองหนี้สูญจาก 1.3% เหลือ 1%


โดยข้อมูลล่าสุด มีนักวิเคราะห์ 5 ราย ที่ออกบทวิเคราะห์หุ้น KKP และได้มีการปรับประมาณการกำไรสุทธิ และราคาเหมาะสมขึ้นจากเดิม ซึ่งส่วนใหญ่ 4 ราย ยังให้คำแนะนำการลงทุนหุ้น KKP เพียงแค่ "ถือ" เท่านั้น ขณะที่ อีก 1 ราย แนะนำ "ซื้อ" 


รองลงมา คือ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ที่ถูกโบรกเกอร์ปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรสุทธิปี 67 ขึ้นจากเดิมระหว่าง 0.02 - 16.36% ขยับขึ้นเป็น 45,691 - 49,501 ล้านบาท เติบโตขึ้น 7.74 - 16.73% จากปีก่อน ส่วน ราคาเหมาะสมถูกปรับขึ้นจากเดิมอีก 3 - 15 บาท/หุ้น เป็น 150 - 180 บาท/หุ้น


ปัจจัยหนุนที่ทำให้ KBANK ถูกนักวิเคราะห์ปรับคาดการณ์กำไรสุทธิ - ราคาเหมาะสมขึ้น แม้ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/67 จะเป็นไปตามคาด แต่รายได้ค่าธรรมเนียม - บริการยังดีกว่าคาด จากธุรกิจ Wealth management อีกทั้งคุณภาพสินทรัพย์ของ KBANK ยังมีพัฒนาการที่ดีขึ้น จึงคาดว่าในระยะถัดไปจะเห็นการตั้งสำรองหนี้สูญลดลงสู่ระดับปกติ

 

*** ส่องอีก 4 ธนาคาร ถูกอัปเป้ากำไร 0.77 - 14.56%

ขณะเดียวกัน ยังมีธนาคารพาณิชย์อีก 4 แห่ง ถูกนักวิเคราะห์ปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 67 - และราคาเหมาะสมขึ้น หลังผ่านการรายงานงบการเงินไตรมาส 3/67 ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย (KTB) ที่ถูกโบรกเกอร์ปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรสุทธิปี 67 ขึ้นจากเดิมระหว่าง 7 - 14.56% ขยับขึ้นเป็น 39,882 - 43,791 ล้านบาท เติบโตขึ้น 8.92 - 19.59% จากปีก่อน ส่วน ราคาเหมาะสมถูกปรับขึ้นจากเดิมอีก 1.6 - 4 บาท/หุ้น เป็น 20.6 - 25 บาท/หุ้น


สาเหตุหลักเป็นเพราะกำไรสุทธิไตรมาส 3/67 เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ได้มีการปรับเพิ่มอัตราการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย (NIM) ปีนี้ของ KTB ขึ้นเป็น 3.3% (เดิมคาด 3.21%) ทำให้ประมาณการกำไรสุทธิ และราคาเหมาะสมถูกขยับขึ้นตาม 


ด้าน ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ถูกโบรกเกอร์ปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรสุทธิปี 67 ขึ้นจากเดิมระหว่าง 3.45 - 5.47% ขยับขึ้นเป็น 42,216 - 45,026 ล้านบาท เติบโตขึ้น 1.39 - 8.14% จากปีก่อน ส่วน ราคาเหมาะสมถูกปรับขึ้นจากเดิมอีก 3 - 8 บาท/หุ้น เป็น 148 - 196 บาท/หุ้น


ปัจจัยหนุนเป็นเพราะกำไรสุทธิไตรมาส 3/67 ดีกว่าตลาดคาดการณ์ หลังการตั้งสำรองหนี้สูญลดลง ขณะที่ ระยะถัดไปเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันด้านคุณภาพสินทรัพย์ ประกอบกับ ช่วยหนุนการฟื้นตัวของสินเชื่อ BBL ในระยะถัดไปได้ 


ฟาก บมจ.เอสซีบี เอกซ์ (SCB) ถูกโบรกเกอร์ปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรสุทธิปี 67 ขึ้นจากเดิมระหว่าง 2.62 - 4.46% ขยับขึ้นเป็น 41,641 - 44,475 ล้านบาท ชะลอตัว 4.31 - เติบโตขึ้น 2.19% จากปีก่อน ขณะที่ ราคาเหมาะสมถูกปรับขึ้นจากเดิมอีก 5 - 25 บาท/หุ้น เป็น 110 - 134 บาท/หุ้น
 

หนุนโดย กำไรสุทธิไตรมาส 3/67 ดีกว่าตลาดคาดการณ์ หลังค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่ำกว่าคาด โดยนักวิเคราะห์ได้มีการปรับคาดการณ์อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของ SCB ลงมาอยู่ที่ 42.8% (เดิมคาด 43.9%) ส่งผลให้กำไรสุทธิ และราคาเหมาะสมถูกปรับขึ้นตามไปด้วย 


ขณะที่ บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (TISCO) ถูกโบรกเกอร์ปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรสุทธิปี 67 ขึ้นจากเดิมระหว่าง 0.77 - 4.24% ขยับขึ้นเป็น 6,718 - 6,928 ล้านบาท แต่ยังชะลอตัว 5.1 - 7.98% จากปีก่อน ขณะที่ ราคาเหมาะสมถูกปรับขึ้นจากเดิมอีก 2 บาท/หุ้น เป็น 92 - 105 บาท/หุ้น

 

*** "BAY" - "TTB" โดนหั่นเป้ารับงบ Q3/67 ต่ำคาด 

ส่วน 2 ธนาคารพาณิชย์ที่ถูกโบรกเกอร์ปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิปี 67 - ราคาเหมาะสม หลังรายงานงบการเงินไตรมาส 3/67 ประกอบด้วย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ที่ถูกนักวิเคราะห์ปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิปี 67 ลงจากเดิม 4.79% เหลือ 30,894 - 31,098 ล้านบาท ชะลอตัว 5.56 - 6.17% จากปีก่อน ขณะที่ ราคาเหมาะสมถูกปรับลงจากเดิมอีก 4 บาท/หุ้น เหลือ 26 - 29 บาท/หุ้น สะท้อนจากการตั้งสำรองหนี้สูญ และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้หนี้เสียมีแนวโน้มยังไม่ปรับตัวลงในระยะสั้นนี้


ปิดท้ายด้วย ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) ที่ถูกนักวิเคราะห์ปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิปี 67 ลงจากเดิม 0.04 - 1.05% เหลือ 20,376 - 21,336 ล้านบาท แต่ยังเติบโตขึ้นได้ 10.20 - 15.56% จากปีก่อน ขณะที่ ราคาเหมาะสมถูกปรับลงจากเดิมอีก 0.01 - 0.14 บาท/หุ้น เหลือ 1.9 - 2.52 บาท/หุ้น 


ปัจจัยหลักเป็นเพราะนักวิเคราะห์ได้มีการปรับเพิ่มอัตราการตั้งสำรองหนี้สูญปีนี้ของ TTB ขึ้นมาเป็น 1.5% (เดิมคาด 1.35%) อีกทั้ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไตรมาส 4/67 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่การขยายตัวของสินเชื่อในช่วงดังกล่าวมีแนวโน้มลดลง

 

*** กูรูชี้ กนง.ลดดอกเบี้ยกระทบกำไรแบงก์ปีนี้แค่ 0.5%

"ศรัณรัตน์ พันธโชติรัตน์" ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ดาโอ (ประเทศไทย) ระบุว่า หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 : 2 เสียง ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ลงมาอยู่ที่ 2.25% ในรอบการประชุม 16 ต.ค.ที่ผ่านมา จะทำให้กระทบต่อผลประกอบการของหุ้นธนาคารพาณิชย์ทันที สะท้อนจากะรายได้ดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลงทันที โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ขณะที่เมินว่า กนง. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 1 ครั้ง ในปี 68


อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อกำไรสุทธิปี 67 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ของแต่ละธนาคารคาดอยู่ในกรอบ 0.47 - 0.65% จากคาดการณ์เดิม ส่งผลให้กำไรสุทธิปีรวมของกลุ่มคาดจะมีดาวน์ไซด์ราว 0.5% ขณะที่หุ้นที่ได้รับผลกระทบต่อกำไรสุทธิเรียงจากมากไปน้อยคือ BBL (-0.65%), KTB (-0.64%), KBANK (-0.52%) และ SCB (-0.50%) ขณะที่หุ้นที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงคือ KKP (+0.58%) และ TISCO (+0.38%) จากการคำนวณที่คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลง -0.25% เป็นระยะเวลา 2 เดือนครึ่งของปีนี้

 

*** โบรกฯผสานเสียงยก "KTB" - "KBANK" เด่นสุด

"ศรัณรัตน์ พันธโชติรัตน์" กลับมากล่าวต่อ ยังคงน้ำหนักการลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์มากกว่าตลาด โดยเลือก KBANK และ KTB เป็นหุ้น Top Picks ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยชอบ KBANK เพราะคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และ มูลค่า (valuation) ถูก โดยซื้อขายบน P/BV เพียง 0.65 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ที่อยู่ในระดับ 0.7 เท่า 


ส่วน KTB ประเมินว่า กำไรสุทธิปี 67 มีแนวโน้มจะเติบโตจากปีก่อนสูงที่สุดในกลุ่มราว 15% หรือ 4.2 หมื่นล้านบาท จากการตั้งสำรองหนี้สูญที่ลดลง ประกอบกับ KTB เป็นธนาคารพาณิชย์ที่เน้นการปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่สินเชื่อดังกล่าวงมีความเสี่ยงต่ำที่จะกลายเป็นหนี้เสียในระยะถัดไป 


ขณะที่ บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส เสริมว่า ปรับคำแนะนำการลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขึ้นเป็นเท่ากับตลาด (เดิมน้อยกว่าตลาด) โดยมีปัจจัยผลักดันจากผลการดำเนินงานของทั้งกลุ่มในปี 67 - 68 ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับ การตั้งกองทุนวายุภักษ์ และ Thai ESG จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหนุนหุ้นกลุ่มดังกล่าวด้วย 


ทั้งนี้ ประเมินว่า ผลตอบแทนในรูปแบบเงินปันผลของหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ๆ โดยคาดว่าส่วนมากจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ 5.2 - 5.7% ต่อปี เทียบกับ 2.5 - 4.5% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยหุ้นเด่นในกลุ่ม แนะนำ KTB, KBANK และ BBL ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์ที่สุดจากรอบการลงทุนใหม่ และ TTB ที่คาดว่า อัตราเงินปันผลจะสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 6 - 7% ต่อปี 


ส่วน บทวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส กล่าวปิดท้ายว่า กลยุทธ์การลงทุนหุ้นธนาคารพาณิชย์ แนะนำ นักลงทุนพิจารณาหุ้นที่มี COVERAGE RATIO สูง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้านการตั้งสำรองฯ จากภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยชอบ KTB และ BBL มากที่สุด ขณะที่ ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก เลือก TISCO เพราะอัตราเงินปันผลต่อปีเฉลี่ยราว 7 - 8% และยังมีอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) สูงกว่ากลุ่มฯ อีกด้วย 

แบบสอบถามความพึงพอใจ






ข่าวหุ้นอื่นๆที่น่าสนใจ

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

Refresh




LATEST NEWS

ข่าวหุ้นล่าสุด

Refresh

ดูข่าวทั้งหมด