วงการห่วงสภาพคล่องไฮยีลด์บอนด์ พบจ่อครบดีลกว่า 7 หมื่นลบ. จับตากลุ่ม ไฟแนนซ์, อสังหาฯ กลาง-เล็ก อาจมีปัญหา หน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมหาแนวทางควบคุม
*** วงการมองปีนี้ ยังมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหุ้นกู้
"ชวินดา หาญรัตนกุล" นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ประเมินว่า ปี 2567 มีแนวโน้มที่จะยังมีบริษัทผิดนัดชำระหุ้นกู้ต่อจากปีที่แล้ว แต่เชื่อว่าความรุนแรงไม่น่าจะเท่ากับปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้ดูดีขึ้น ซึ่งจะทำให้กระแสเงินสด (Cash Flow) ของบรรดาบริษัทที่ออกหุ้นกู้เป็นบวกมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม มองว่า บริษัทที่ออกหุ้นกู้ที่ไม่มีเครดิต เรทติ้ง รองรับ มีแนวโน้มเหนื่อยมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ความเชื่อมั่นในตลาดหุ้นกู้เริ่มถูกสั่นคลอนมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้กลุ่มหุ้นกู้เหล่านี้ ถูกนักลงทุนทั้งรายใหญ่ และรายย่อยเพ่งเล็งเป็นกลุ่มแรก ๆ ซึ่งโดยปกติของแวดวงเศรษฐกิจถ้าหมดความเชื่อมั่นเมื่อไร ก็มีแต่จะรันดาวน์
*** กูรูแนะระวังกลุ่ม Rollover อสังหาฯ - ไฟแนนซ์ เสี่ยง
"เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย พลัส กล่าวว่า ความเสี่ยงการผิดนัดชำระหุ้นกู้ปี 2567 เริ่มมีสัญญาณอันตรายขึ้นอีกครั้ง หลังบมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ขอเลื่อนชำระคืนเงินต้นหุ้นกู้ออกไปอีก 2 ปี แต่ยังชำระดอกเบี้ยตามปกติ ส่งผลให้เกิดความกังวลต่อกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากหากอิงข้อมูลของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)
พบว่าหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดปี 2567 ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ราว 1.8 แสนล้านบาท (หรือสัดส่วน 17% ของหุ้นกู้ทั้งหมด) นอกจากนี้ หุ้นกู้ในระบบ ที่จะครบกำหนดไตรมาส 1/66 มีอยู่เกือบ 1.9 แสนล้านบาท (แบ่งเป็น Investment Grade 1.48 แสนล้านบาท, Non-Investment Grade 2.04 หมื่นล้านบาท และ Non-Rated อีกราว 1.77 หมื่นล้านบาท) ส่วนใหญ่ก็เป็นหุ้นกู้ในกลุ่มอสังหาฯ เช่นกัน ทำให้เกิดความกังวลต่อความเสี่ยงที่จะไม่สามารถคืนหุ้นกู้ หรือไม่สามารถ Rollover ได้
อย่างไรก็ตาม แม้ประเด็นดังกล่าวจะสร้าง Sentiment เชิงลบ ต่อภาพรวมของกลุ่มอสังหาฯ แต่ก็ไม่สามารถเหมารวมความเสี่ยงต่อกลุ่มดังกล่าวได้ทั้งระบบ เนื่องจากต้องพิจารณา และวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาหุ้นกู้เป็นรายบริษัทมากกว่า
โดยมองว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่มีความเสี่ยงมากกว่ารายอื่น คือ ผู้ประกอบการอสังหาฯขนาดกลาง - เล็ก ที่มีพอร์ตสินค้าไม่กระจายตัว โดยกระจุกตัวในสินค้าประเภทคอนโดมิเนียม (เสี่ยงมากกว่าแนวราบฯ ที่มี Business Cycle สั้นกว่า และสามารถทยอยลงทุนเป็นเฟส ๆ ได้) รวมถึงผู้ประกอบการที่มีปัญหาสภาพคล่องการเงิน โครงสร้างการเงินอ่อนแอ วัดจาก Net Gearing สูงเกิน 2 - 3 เท่าขึ้นไป
ด้าน"อาทิตย์ จันทร์สว่าง" นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์ บล.กรุงศรี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ประเด็นดังกล่าว กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดหุ้นกู้โดยตรง ซึ่งจะทำให้การระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ทำได้ยาก และมีภาระต้นทุนที่สูงขึ้น อาจกระทบกลุ่มบริษัทที่ต้องการ Roll over หุ้นกู้ที่กำลังจะครบกำหนด หรือกลุ่มบริษัทในธุรกิจไฟแนนซ์ ซึ่งนิยมระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ เป็นหลัก
*** จับตา ! ไฮยีลด์บอนด์ครบดีลปี 67 เฉียดล้านลบ.
"อริยา ติรณะประกิจ" รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า ปี 2567 จะมีหุ้นกู้ครบกำหนดรวมทั้งสิ้น 8.9 แสนล้านบาท โดยประมาณ 90% เป็นหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงต่ำระดับ Investment Grade หรือมีอันดับเครดิตเรทติ้งตั้งแต่ BBB- ขึ้นไป คิดเป็นมูลค่ารวม 7.9 แสนล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นหุ้นกู้ที่มีเรทติ้ง A- ขึ้นไปถึง 6.9 แสนล้านบาท
ขณะเดียวกันมีหุ้นกู้กลุ่ม Non-Investment Grade (เครดิตเรทติ้งตั้งแต่ BB+ ลงมา) หรือเรียกอีกอย่างว่า High Yield Bond หรือหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูง และมีความเสี่ยงสูงเช่นกัน โดยพบว่าปี 67 จะครบกำหนดประมาณ 9.96 แสนล้านบาท คิดเป็นราว 10% ของหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดทั้งหมดในระบบ
ขณะที่ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจข้อมูลหุ้นกู้ไฮยีลด์บอนด์ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่กำลังจะครบกำหนดภายในปี 2567 พบว่ามีทั้งสิ้น 45 บริษัท มูลค่ารวม 7.1 หมื่นล้านบาท โดยมีถึง 19 บจ.ที่มีมูลค่าหุ้นกู้ใกล้ครบกำหนดเกิน 1,000 ล้านบาท และ 5 บริษัทมีหุ้นกู้ต้องชำระคืนเกิน 5,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ "อริยา ติรณะประกิจ" กลับมากล่าวต่อว่า สถานการณ์ ณ ปัจจุบัน ยังคงต้องติดตามเป็นรายบริษัท เพราะส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา แม้เป็นหุ้นกู้ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือก็ตาม แต่ยังได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุน โดยจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัท และชื่อเสียงของผู้บริหาร เป็นสำคัญ
ไฮยีลด์บอนด์ 45 บจ.ต่อครบกำหนดปี 67
|
ชื่อย่อหุ้น
|
เครดิตเรทติ้ง
|
จำนวนหุ้นกู้ (ชุด)
|
มูลค่า (ลบ.)
|
ดอกเบี้ย (%)
|
ANAN
|
BB+
|
4
|
7,057
|
4.5 - 5.4
|
PF
|
BB
|
6
|
6,668
|
6.8 - 7.25
|
STARK
|
-
|
3
|
6,585
|
3.8 - 4
|
THAI
|
-
|
5
|
5,840
|
3.55 - 5.58
|
ITD
|
BB+
|
3
|
5,670
|
5 - 5.8
|
GRAND
|
BB-
|
4
|
4,799
|
6.85 - 7.3
|
SINGER
|
BB+
|
2
|
3,000
|
5.75
|
JKN
|
-
|
5
|
2,511
|
6.25 - 7
|
CGD
|
-
|
4
|
2,229
|
7.5 - 7.75
|
SABUY
|
-
|
2
|
2,000
|
6.25
|
A
|
B
|
3
|
1,929
|
6.7 - 7
|
MJD
|
BB
|
4
|
1,867
|
6.8
|
TNITY
|
-
|
11
|
1,608
|
3.4 - 5.5
|
INET
|
-
|
3
|
1,500
|
4.9 - 5.15
|
JCK
|
-
|
3
|
1,442
|
7 - 7.5
|
MK
|
BB+
|
2
|
1,136
|
5.6
|
NVD
|
-
|
2
|
1,115
|
6.4 - 6.8
|
MICRO
|
BB+
|
3
|
1,083
|
5.4 - 5.5
|
RML
|
-
|
5
|
1,012
|
7 - 7.35
|
EP
|
BB+
|
2
|
938
|
5.25 - 6.25
|
CHAYO
|
BB+
|
2
|
889
|
5.25 - 5.7
|
RICHY
|
-
|
2
|
864
|
6.75 - 7.1
|
PSTC
|
-
|
1
|
788
|
6.95
|
NUSA
|
-
|
2
|
750
|
6.5 - 7
|
APCS
|
-
|
2
|
692
|
6 - 6.2
|
AQUA
|
BB+
|
1
|
629
|
5.75
|
ECF
|
BB-
|
2
|
610
|
6.85 - 7.15
|
PLE
|
-
|
1
|
600
|
6.5
|
BEYOND
|
BB
|
1
|
577
|
6.25
|
CI
|
BB
|
1
|
500
|
6.85
|
PROEN
|
-
|
1
|
500
|
6.5
|
SGF
|
-
|
1
|
500
|
6.7
|
CMC
|
-
|
1
|
485
|
7
|
NOVA
|
-
|
1
|
400
|
6.8
|
GLOCON
|
-
|
1
|
300
|
7.5
|
LIT
|
BB-
|
1
|
300
|
7
|
TWZ
|
-
|
1
|
209
|
6.25
|
CWT
|
-
|
1
|
200
|
7.5
|
KUN
|
B
|
1
|
200
|
6.9
|
TCC
|
-
|
1
|
200
|
6.5
|
GCAP
|
-
|
2
|
191
|
7.5 - 7.75
|
SKY
|
-
|
1
|
156
|
6
|
NCH
|
-
|
1
|
150
|
4.85
|
ZIGA
|
-
|
1
|
127
|
6.25
|
PPS
|
-
|
1
|
120
|
7.5
|
ที่มา : ThaiBMA ข้อมูล ณ 19 ธ.ค.66
|
*** หน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งหามาตรการควบคุม
"จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (รมช.คลัง) เปิดเผยถึงแนวทางการตั้งกองทุนพยุงหุ้นกู้ที่อาจมีปัญหาผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่สามารถออกหุ้นกู้เพื่อทดแทนชุดเดิม (Roll Over) ได้นั้น ยืนยันว่า สามารถทำได้ แต่ปัจจุบัน ยังไม่มีความชัดเจนว่าจำเป็นต้องทำหรือไม่ หรือหากจะดำเนินการ จะทำในช่วงเวลาใด
ส่วนสถานการณ์หุ้นกู้ที่หลายภาคส่วนแสดงความกังวลใจนั้น ยืนยันว่า ปัจจุบัน กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด
ด้าน บล.กสิกรไทย เสริมว่า ต้องติดตามทางรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมหาแนวทางดูแลหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2567 กว่า 1 ล้านล้านบาท เพื่อไม่ให้มีปัญหาต่อสภาพคล่องและเกิดการเบี้ยวหนี้ แบ่งเป็น 2 แนวทางคือ 1.ตั้งกองทุนดูแลหุ้นกู้เฉพาะที่มีเครดิตเรตติ้ง หรือ 2.ตั้งกองทุนดูแลทั้งระบบ เพื่อไม่ให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ มองเป็นปัจจัยบวกกับกลุ่มไฟแนนซ์ และอสังหาริมทรัพย์ ที่จะต้อง Rollover หุ้นกู้ปีนี้
ขณะที่ "อริยา ติรณะประกิจ" ระบุว่า ก่อนหน้านี้ ThaiBMA ได้เสนอแนวคิดต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ในการจัดทำข้อกำหนดเงื่อนไขที่ผู้ออกจะต้องปฏิบัติสำหรับผู้ออกหุ้นกู้เสี่ยงสูง เพราะตามมาตรฐานต่างประเทศไฮยีลด์บอนด์จะมีกำหนดเงื่อนไขที่เข้มงวดกว่าหุ้นกู้ Investment Grade เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ออกจะต้องเอาเงินมาคืนเจ้าหนี้ระหว่างทาง
"ผู้ออกไฮยีลด์บอนด์ จะเป็นบริษัทขนาดกลางขนาดเล็ก ข้อกำหนดเหล่านี้จะต้องเข้มงวด เช่น จะต้องมีข้อจำกัดการก่อหนี้, ข้อจำกัดการจ่ายเงินออกไปจากบริษัท, ข้อจำกัดการขายทรัพย์สิน เป็นต้น ดังนั้นในอนาคตก่อนออกหุ้นกู้ อาจจะต้องมีการจัดทำข้อกำหนดลักษณะนี้ เพื่อให้สามารถไปมอนิเตอร์ในระหว่างทางได้ เบื้องต้นจะเป็นข้อเสนอการจัดทำ และนำไปหารือผู้ร่วมตลาด สำนักงาน ก.ล.ต. และนักกฎหมาย เพื่อนำมาตรฐานจากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ โดยอาจจะเริ่มใช้เป็นแนวทางปฏิบัติก่อนสำหรับผู้ออกไฮยีลด์บอนด์ในปี 67"
ปัจจุบันผู้ออกหุ้นกู้ไฮยีลด์บอนด์กว่า 99% จะเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ (HNW) ประเภทบุคคลธรรมดา และที่ผ่านมาหุ้นกู้ที่มีการผิดนัดชำระหนี้ส่วนใหญ่ก็อยู่ในกลุ่มนี้ ไม่นับกรณีหุ้นกู้ บมจ.การบินไทย (THAI) โดยผู้ถือหุ้นกู้ที่ได้รับความเสียหายจากกรณี บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) และ บมจ.เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป (JKN) พบว่ามีกว่า 3 พันราย/บริษัท
ส่วน"ชวินดา หาญรัตนกุล" กล่าวทิ้งท้ายว่า มาตรการต่าง ๆ ที่หน่วยงานเกี่ยวข้องจะออกมาช่วยพยุงตลาดหุ้นกู้ ส่วนตัวมองว่า ต้องให้น้ำหนักไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เนื่องจาก ธปท. เป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลตัวเลขต่าง ๆ เชิงลึก และรอบด้านกว่าหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้สามารถออกมาตรการช่วยเหลือได้อย่างตรงจุด
"แต่ถ้าถามว่า วันนี้ควรออกมาตรการช่วยเหลือหรือยัง ส่วนตัวมองว่ายังไม่สมควร เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังไม่มีสัญญาณเชิงลบ ที่จะไปกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทส่วนใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ จึงมองว่าหลาย ๆ บริษัท น่าจะยังมีแนวโน้มในการเอาตัวรอดได้"ชวินดา กล่าว