เปิดสถิติ พ.ค.63 หุ้นต่ำบาทสุดเฮี้ยน! พบ 28 บจ. ราคาทะยานสูง 33-120% ทึ่ง 4 บริษัทพุ่งชนซิลลิ่งไม่ต่ำ 5 รอบในเดือนเดียว 13 บจ.วอลุ่มพุ่งเกินเท่าตัว วงการชี้นักลงทุนเปลี่ยนกลยุทธ์ปลุกผีหุ้นจิ๋ว หลังหุ้นใหญ่อัพไซด์จำกัด แถมรายย่อยคัมแบ็ค แต่เตือนเก็งกำไรอย่างมีสติ ชี้ส่วนใหญ่ยังขาดทุน
*** 28 หุ้นต่ำบาทราคาพุ่ง 33-120%
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจการซื้อขายของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่ราคาหุ้นต่ำกว่า 1 บาท ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา (5 พ.ค.-28 พ.ค.63) พบว่ามีถึง 28 บริษัทที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% โดยมี 11 บริษัท ราคาหุ้นพุ่งเกิน 50% และ 4 บริษัทราคาหุ้นทะลุ 100% สูงสุด 120% ได้แก่
หุ้นต่ำบาทราคาพุ่งเกิน 30%
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ราคาปิด 5 พ.ค.63 (บ.)
|
ราคาปิด 29 พ.ค.63 (บ.)
|
%chg
|
CHOW
|
0.85
|
1.87
|
120
|
TRUBB
|
0.79
|
1.7
|
115
|
MAX
|
0.01
|
0.02
|
100
|
UMS
|
0.14
|
0.28
|
100
|
BGT
|
0.59
|
1.07
|
81
|
PK
|
0.9
|
1.62
|
80
|
GEL
|
0.13
|
0.23
|
77
|
EIC
|
0.08
|
0.13
|
63
|
SAM
|
0.27
|
0.43
|
59
|
ARIN
|
0.55
|
0.87
|
58
|
EMC
|
0.11
|
0.17
|
55
|
PRECHA
|
0.63
|
0.93
|
48
|
SGF
|
0.42
|
0.62
|
48
|
PPM
|
0.72
|
1.05
|
46
|
AIE
|
0.25
|
0.36
|
44
|
ABM
|
0.55
|
0.79
|
44
|
MILL
|
0.52
|
0.74
|
42
|
SOLAR
|
0.83
|
1.17
|
41
|
NDR
|
0.81
|
1.14
|
41
|
FANCY
|
0.37
|
0.52
|
41
|
UKEM
|
0.47
|
0.66
|
40
|
BTW
|
0.61
|
0.83
|
36
|
UEC
|
0.64
|
0.87
|
36
|
TKT
|
0.65
|
0.88
|
35
|
SUPER
|
0.6
|
0.81
|
35
|
IRCP
|
0.4
|
0.54
|
35
|
TGPRO
|
0.06
|
0.08
|
33
|
ACG
|
0.72
|
0.96
|
33
|
ทั้งนี้พบว่า ณ วันที่ 5 พ.ค.63 มีหุ้นที่ราคาต่ำกว่า 1 บาทรวม 174 บริษัท ซึ่งภายใน 1 เดือนที่ผ่านมาราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 118 บริษัท หรือคิดเป็นถึง 68% แบ่งเป็นหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 70 บริษัท และ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) รวม 48 บริษัท
โดยมีหุ้นที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 1-10% จำนวน 37 บริษัท 11-20% จำนวน 33 บริษัท 21-30% จำนวน 20 บริษัท และที่เหลือราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเกิน 30%
ซึ่ง บมจ.เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ (CHOW) ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 120% จากราคาหุ้น ณ 5 พ.ค.63 ที่ 0.85 บาท ล่าสุด ณ 29 พ.ค.63 อยู่ที่ 1.87 บาท โดยมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในเดือน พ.ค.63 ระดับ 2.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า จากมูลค่าการซื้อขาย 1 ปีย้อนหลังที่ระดับ 0.67 ล้านบาทต่อวัน
*** 4 บจ.ราคาพุ่งชนซิลลิ่งไม่ต่ำกว่า 5 รอบในเดือนเดียว
ทั้งนี้ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา 29 บริษัทข้างต้น ส่วนใหญ่ราคาปรับตัวขึ้นแรงจนชนเพดานการซื้อขาย (Ceiling) แต่ส่วนใหญ่อยู่ระดับเฉลี่ย 1-2 ครั้ง แต่มี 4 บริษัทที่ราคาหุ้นขึ้นชนซิลลิ่งไม่ต่ำกว่า 5 ครั้งภายใน 1 เดือน ได้แก่ 1.บมจ.เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ (CHOW) แตะซิลลิ่งไปทั้งสิ้น 8 ครั้ง 2.บมจ.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป (TRUBB) ซิลลิ่ง 8 ครั้งเช่นกัน 3.บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) ซิลลิ่ง 6 ครั้ง และ 4.บมจ.พัฒน์กล (PK) แตะซิลลิ่้ง 5 ครั้ง โดย CHOW, TRUBB และ UMS เป็นหุ้นที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเกิน 100% ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา
*** 13 บจ.วอลุ่มพุ่งเกินเท่าตัว
ขณะเดียวกันพบว่ามี 13 บจ.ที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในเดือน พ.ค.63 (18 วันทำการ) เพิ่มขึ้นเกิน 100% เทียบกับมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี ประกอบด้วย
13 หุ้นต่ำบาทวอลุ่มพุ่งกินท่าตัว
|
ชื่อย่อหุ้น
|
มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน
เดือน พ.ค.63 (ลบ.)
|
มูลค่าซื้อขาเฉลี่ยต่อวัน
1 ปีย้อนหลัง (ลบ.)
|
%chg
|
TRUBB
|
30.12
|
2.67
|
1,028
|
EIC
|
8.93
|
1
|
793
|
UEC
|
0.74
|
0.16
|
363
|
CHOW
|
2.93
|
0.67
|
337
|
MILL
|
3.46
|
0.82
|
322
|
SUPER
|
378.57
|
90.71
|
317
|
PPM
|
0.32
|
0.08
|
300
|
BTW
|
1.05
|
0.28
|
275
|
ABM
|
0.75
|
0.21
|
257
|
SAM
|
0.48
|
0.15
|
220
|
PK
|
0.75
|
0.24
|
213
|
SOLAR
|
5.86
|
2.01
|
192
|
UKEM
|
3.24
|
1.27
|
155
|
บมจ.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป (TRUBB) มีมูลค่าการซื้อขายเปลี่ยนแปลง (เปอร์เซ็นต์) เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า จากค่าเฉลี่ย 1 ปีย้อนหลังอยู่ที่ 2.67 ล้านบาทต่อวัน เป็น 30.12 ล้านบาทต่อวัน
ขณะที่ บมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น (SUPER) มีมูลค่าการซื้อขายเปลี่ยนแปลง (จำนวนเงิน) เพิ่มขึ้นเป็น 379 ล้านบาทต่อวัน จากค่าเฉลี่ย 1 ปีที่มีมูลค่าการซื้อขายเพียง 91 ล้านบาทต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 3 เท่า
*** วงการชี้หุ้นใหญ่อัพไซด์ต่ำ-รายย่อย "Come Back"
"เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย พลัส ระบุว่า สาเหตุที่มีแรงเก็งกำไรหุ้นขนาดเล็กรอบนี้ เนื่องจากตลาดหุ้นไทยเริ่มตึงตัวในเชิงของ Valuation โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ นักลงทุนจึงใช้วิธีหมุนกลุ่มลงทุนแทน โดยเน้นเก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็กที่ราคายังปรับตัวไม่มากนักในช่วงที่ผ่านมา
ขณะที่ "ณัฐชาต เมฆมาสิน" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ เสริมว่า บจ.ขนาดใหญ่ ได้รับผลกระทบต่อกำไรจากไวรัสโควิด-19 มากกว่า บจ.ขนาดเล็ก ขณะเดียวกันพบว่าหุ้นขนาดเล็กปรับตัวขึ้นน้อยกว่าตลาด (Laggard) มา 3 ปีแล้ว สวนทางกับหุ้นขนาดใหญ่ที่ปรับตัวขึ้นจนอัพไซด์เริ่มจำกัด
ด้าน "มนตรี ศรไพศาล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุว่า สาเหตุหนึ่งที่มีการเก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็กมากขึ้น เกิดจากนักลงทุนรายย่อยเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง สะท้อนจากสัดส่วนการซื้อขายนักลงทุนบุคคลที่เพิ่มขึ้นเป็น 46-47% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จากสิ้นปี 62 ที่มีสัดส่วนเพียง 32% เท่านั้น
"ตั้งแต่ตลาดฯ ปรับปรุงเกณฑ์ Short Selling ชั่วคราวและคุมเข้มการทำ Naked Short นักลงทุนรายย่อยที่เคยหมดหวังกับตลาดหุ้นก็กลับเข้ามาอีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่หุ้นไทยปรับตัวลงแรงก่อนหน้านี้จากโควิด-19 จึงเป็นจังหวะและโอกาสในการเข้ามาเก็งกำไร" มนตรี กล่าว
"ศรพล ตุลยะเสถียร" รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เผยว่า ช่วง 2-3 เดือนหลังนักลงทุนรายย่อยซื้อขายหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันการเปิดบัญชีใหม่ก็เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติด้วย โดยพบว่าเดือน มี.ค.-เม.ย.63 นักลงทุนรายย่อยเปิดบัญชีซื้อขายใหม่ถึง 8 หมื่นราย จากก่อนหน้านี้ที่เฉลี่ย 2-3 หมื่นรายต่อเดือน ซึ่งมองว่าตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงแรงจากความกังวลโควิด-19 ทำให้ต้นทุนลดลง 30-40% แต่ความสามารถในการลงทุนยังมีอยู่ จึงเป็นจุดตัดสินใจเข้าลงทุนช่วงนี้
*** เตือนเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่ยังขาดทุน
"ณัฐชาต เมฆมาสิน" เตือนว่า การลงทุนในหุ้นขนาดเล็กต้องระมัดระวัง เนื่องจากสภาพคล่องต่ำ คาดการณ์ผลการดำเนินงานยาก เพราะหลายบริษัทไม่มีบทวิเคราะห์ ที่สำคัญหุ้นขนาดเล็กข้างต้นหลายบริษัทยังอยู่ในภาวะขาดทุน
ด้าน "ประกิต สิริวัฒนเกตุ" ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ ระบุว่า หุ้นกลุ่มนี้เป็นประเภทของการเก็งกำไรมากกว่าการลงทุน ให้ระมัดระวัง เพราะราคาขึ้นลงเร็วและแรง หากไม่ศึกษาข้อมูลให้รอบคอบหรือไม่ชำนาญการลงทุนหุ้นประเภทนี้ควรหลีกเลี่ยง เพราะรอบการเก็งกำไรในหุ้นลักษณะนี้มักจะสั้น โดยเฉพาะบริษัทที่ผลประกอบการไม่ดี
เช่นเดียวกับ "เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ที่มองว่า หุ้นขนาดเล็กมักมีแรงเก็งกำไรและปรับตัวขึ้นได้ดียามที่ดัชนีฯ เป็นขาขึ้น แต่หากมีการปรับฐาน หุ้นกลุ่มนี้จะมีแรงขายก่อน ต้องระมัดระวัง เพราะคาดว่าตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับฐานลงมาในระยะสั้น เนื่องจากปัจจุบันซื้อขายที่ระดับ P/E ถึง 20 เท่า สูงที่สุดในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่เฉลี่ยเพียง 16 เท่า ประเมินว่าหากมีการปรับฐานดัชนีฯ มีโอกาสลงไปต่ำสุดถึงระดับ 1,200 จุด
*** พบเกินครึ่งยังขาดทุน
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจผลประกอบการ 28 บจ.ข้างต้นพบว่า 15 บริษัทผลประกอบการยังขาดทุน
15 หุ้นต่ำบาทงบขาดทุน
|
ชื่อย่อหุ้น
|
กำไรปี 61
|
กำไรปี 62
|
กำไร Q1/63
|
CHOW
|
-122
|
-198
|
-191
|
SOLAR
|
-383
|
-435
|
-73
|
TGPRO
|
1
|
-172
|
-58
|
GEL
|
-150
|
-273
|
-51
|
IRCP
|
-52
|
-101
|
-35
|
EIC
|
5
|
-22
|
-32
|
PK
|
-17
|
-186
|
-21
|
SAM
|
-99
|
-186
|
-20
|
BGT
|
-8
|
-42
|
-19
|
UMS
|
-64
|
-42
|
-13
|
EMC
|
370
|
4
|
-13
|
FANCY
|
-165
|
-92
|
-13
|
PRECHA
|
-30
|
-25
|
-7
|
ARIN
|
N/A
|
-14
|
-6
|
TKT
|
-37
|
12
|
-1
|