ระยะหลังหุ้นขนาดกลาง-เล็กหลายบริษัทราคาดิ่งแรงร่วงแตะฟลอร์แบบไม่ทันตั้งตัว เกิดแรงขายหนีตายกันวุ่นวาย พอสืบสาวราวเรื่องกลายเป็นว่า เกิดจากมีการนำหลักทรัพย์เหล่านั้นไปวางเป็นหลักประกันในบัญชีมาร์จิ้น พอราคาหุ้นลงเกินมูลค่าตามกำหนดและไม่มีการวางหลักทรัพย์เพิ่ม จึงถูกบังคับขาย (Force Sell) ราคาจึงเละแบบที่เห็น ยิ่งช่วงที่ตลาดหุ้นไทยเป็นขาลง
เหตุการณ์เหล่านี้จึงปรากฎบ่อยครั้ง กลายเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญมากระทบความเชื่อมั่นซ้ำเติมไปอีก แล้วการใช้บัญชีมาร์จิ้นคืออะไร เอาหุ้นไปค้ำแล้วเอาเงินไปไหน ใครเป็นคนทำ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นไหนอยู่ในข่ายบ้าง "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" มีคำตอบมาฝาก เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจกระบวนการนี้มากขึ้น ...
*** ทำความรู้จักบัญชีมาร์จิ้น
สำหรับ บัญชีมาร์จิ้น (Margin Account) หรือเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance) เป็นบัญชีที่โบรกเกอร์เปิดเพื่อให้สินเชื่อกับนักลงทุนในการลงทุนซื้อหลักทรัพย์ โดยนักลงทุนจ่ายเงินซื้อเองส่วนหนึ่ง ที่เหลือโบรกเกอร์จะเป็นฝ่ายจ่าย ซึ่งเงินที่โบรกเกอร์จ่ายให้นั้น ถือว่าเป็นเงินส่วนที่นักลงทุนกู้จากโบรกเกอร์นั่นเอง
บัญชีประเภทนี้กล่าวง่าย ๆ คือ "มีเงินส่วนหนึ่ง กู้เพื่อลงทุนอีกส่วนหนึ่ง" โดยนักลงทุนต้องนำเงินสดหรือหลักทรัพย์มาวางเป็นหลักประกันการชำระหนี้ก่อนซื้อหุ้นตามสัดส่วนที่โบรกเกอร์กำหนด เช่น กำหนดสัดส่วนที่ 50% ของวงเงินกู้ ดังนั้น ในการซื้อหุ้น 100 บาท นักลงทุนออกเงินตัวเอง 50 บาท ใช้เงินโบรกเกอร์อีก 50 บาท ซึ่งนักลงทุนจะต้องจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ด้วย
โดย ข้อควรระวังในการเลือกใช้บัญชีประเภทนี้ คือ วงเงินกู้ยืมอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามราคาหุ้นที่วางเป็นหลักประกันไว้ ถ้าราคาหุ้นที่วางเป็นหลักประกันไว้ลดลงมาก ๆ จนอัตรามาร์จิ้นต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โบรกเกอร์อาจบังคับให้ลูกค้าวางหลักประกันหรือเรียกเงินสดเพิ่ม หรืออาจบังคับขาย (Forced Sell) หุ้นดังกล่าวเพื่อรักษาอัตรามาร์จิ้นให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดการซื้อขายในบัญชีมาร์จิ้นจะสามารถซื้อขายได้เฉพาะหลักทรัพย์ที่โบรกเกอร์กำหนดให้ซื้อขายผ่านบัญชีมาร์จิ้นได้เท่านั้น
ดังนั้น บัญชีมาร์จิ้นจึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์การลงทุนสูง มีความสามารถในการลงทุน และมีความสามารถในการชำระหนี้ได้ดี
*** ใครเป็นคนทำ เพื่ออะไร
แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการตลาดทุน เปิดเผยว่า ส่วนใหญ่การนำหุ้นไปวางค้ำประกันมาร์จิ้นจำนวนมาก ๆ จะเกิดจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นคนทำ ซึ่งกระบวนการที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะวางมาร์จิ้นเหมือนกับนักลงทุนทั่วไปเลย โดยโบรกเกอร์จะมีคณะกรรมการพิจารณาความเสี่ยงว่าหุ้นตัวไหนควรให้เรตมาร์จิ้นเท่าไร หลัก ๆ จะมีระดับ 50/50, 60/40 และ 70/30 ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของหุ้นแต่ละบริษัท
ขณะที่ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เมื่อวางมาร์จิ้นและได้เงินมาแล้ว ไม่สามารถนำเงินไปใช้อย่างอื่นได้ ทำได้เพียงแค่ลงทุนในหุ้นเท่านั้น ซึ่งจะซื้อหุ้นอะไรก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่หุ้นตัวเดียวกับที่นำมาวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับโบรกเกอร์ เนื่องด้วยจะทำให้มีความเสี่ยงในการลงทุนเพิ่มขึ้น หากปล่อยให้มีการลงทุนในหุ้นตัวเดียวกับที่ค้ำประกันไว้
ทั้งนี้ การวางมาร์จิ้นแตกต่างจากการกู้เงินจากธนาคาร เนื่องด้วยการวางมาร์จิ้น คือ การกู้เงินจากโบรกเกอร์เพื่อมาลงทุนในหุ้น ซึ่งจะมีการคิดอัตราดอกเบี้ยราว 5 - 6% ขณะที่การกู้เงินจากธนาคารไม่สามารถนำมาลงทุนในหุ้นได้ ถ้าธนาคารรู้วัตถุประสงค์ก็ย่อมไม่ปล่อยกู้อยู่แล้ว โดยดอกเบี้ยของธนาคารส่วนใหญ่จะเฉลี่ยอยู่ที่ 6 - 7%
เช่นเดียวกับ "ณรงค์เดช จันทรไพศาล" ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไอร่า ที่ให้ข้อมูลเสริมว่า กระบวนการวางมาร์จิ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะเหมือนกับนักลงทุนทั่วไปทุกประการ คือ แสดงความต้องการกับโบรกเกอร์ จากนั้นวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน และนำเงินไปลงทุน
ซึ่งการที่โบรกเกอร์ จะปล่อยมาร์จิ้นระดับเท่าไรขึ้นอยู่กับหุ้นที่นำมาวางค้ำประกันด้วย โดยจะมีระบบหลังบ้านของโบรกเกอร์วิเคราะห์ว่าหุ้นตัวไหนควรให้มาร์จิ้นเท่าไร หรือไม่ให้เลยก็มี ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์ โดยเงินที่ได้จากการวางมาร์จิ้น สามารถนำไปลงทุนได้เท่านั้น โดยมากจะลงทุนในหุ้น แต่บางโบรกเกอร์ อาจปล่อยให้ลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น DR หรือ DW ได้เหมือนกัน ซึ่งต้องขึ้นอยู่ที่เงื่อนไขของแต่ละโบรกเกอร์ด้วย
ด้าน "ณัฐพล คำถาเครือ" ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การวางมาร์จิ้น นักลงทุนจะได้วงเงิน 50% จากหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อไปใช้ในการลงทุน และไม่สามารถนำเงินไปใช้เพื่อวัตุประสงค์อื่นได้ โดยหุ้นที่จะซื้อต้องไม่ใช่หุ้นตัวเดียวกับที่นำมาวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับโบรกเกอร์ เนื่องด้วยจะทำให้มีความเสี่ยงในการลงทุนเพิ่มขึ้น หากปล่อยให้ผู้ลงทุนไปลงทุนในหุ้นตัวเดียวกับที่ค้ำประกัน
*** ทำไมถึงโดน Force Sell
"ณรงค์เดช จันทรไพศาล" ระบุว่า หุ้นที่วางมาร์จิ้น เมื่อราคาหุ้นปรับตัวลงมา 30% จะถูกบังคับ Forced Sell และเมื่อลงมาที่ระดับ 50% จะถูก Call (เรียกหาหลักทรัพย์ค้ำประกัน) และเมื่อถูกเรียกเติมเงินขึ้นมา นักลงทุนต้องเติมเงินเข้าไปในสัดส่วนที่เท่ากับจำนวนที่วางค้ำประกันไว้ตอนแรก ถึงจะไม่ถูก Forced Sell
ฟาก แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการตลาดทุน เสริมว่า การที่บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นเจ้าหนี้ นำส่วนหนึ่งของหลักทรัพย์ในบัญชีเงินกู้ยืมซื้อหลักทรัพย์ของลูกค้าออกขาย เป็นการลดภาระหนี้ของลูกค้ารายนั้น บริษัทหลักทรัพย์จะทำการบังคับขายก็ต่อเมื่อหลักประกันหนี้ของลูกค้ามีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ซื้อไว้แล้ว โดยมีอัตราส่วนเท่ากับ หรือต่ำกว่าระดับอัตราหลักประกันที่ต้องดำรงไว้ (Maintenance Margin Rate) ที่เป็นเกณฑ์การบังคับขาย
*** ส่อง 50 หุ้นโดนนำไปตึ๊งมากสุด
ขณะที่ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ณ เดือน สิ้นเดือน พ.ค.67 มีหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันในบัญชีมาร์จิ้นรวม 947 หลักทรัพย์ (รวม Warrant, DR, IFF และ REIT) ซึ่้งมีถึง 96 หลักทรัพย์ที่สัดส่วนหุ้นที่นำไปค้ำประกันต่อหุ้นที่ชำระแล้วเกิน 10% โดยสูงสุด 50 อันดับแรกประกอบด้วย
ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น 50 บจ. ถูกวางมาร์จิ้นสูงสุดเดือน พ.ค.
|
ชื่อย่อหุ้น
|
จำนวน (ล.หุ้น)
|
%สัดส่วนต่อหุ้นทั้งหมด
|
% Free float
|
ผถห.รายย่อย (ราย)
|
ราคาล่าสุด (บ.)
|
%chg YTD
|
SBNEXT
|
170
|
28.18
|
51.82
|
4,675
|
0.22
|
-82.54
|
NRF
|
546
|
38.51
|
33.81
|
9,678
|
1.45
|
-72.38
|
AS
|
107
|
20.87
|
36.26
|
6,444
|
3.06
|
-59.74
|
TAKUNI
|
141
|
17.64
|
80.45
|
6,755
|
0.86
|
-45.91
|
YGG
|
326
|
54.23
|
51.13
|
6,844
|
3.98
|
-44.34
|
EE
|
552
|
19.86
|
70.17
|
10,841
|
0.16
|
-40.74
|
AMANAH
|
205
|
17.27
|
43.21
|
8,315
|
1.16
|
-36.87
|
III
|
233
|
28.82
|
54.85
|
6,631
|
6.6
|
-33.67
|
READY
|
26
|
21.81
|
16.69
|
583
|
6.95
|
-33.28
|
APCS
|
158
|
24.00
|
45.22
|
1,079
|
2.78
|
-31.86
|
PJW
|
151
|
24.27
|
50.40
|
4,113
|
2.64
|
-30.16
|
GLOCON
|
586
|
19.04
|
71.66
|
9,791
|
0.26
|
-29.73
|
KGEN
|
410
|
32.77
|
59.44
|
3,292
|
0.68
|
-26.09
|
WARRIX
|
143
|
23.77
|
40.84
|
3,350
|
4.94
|
-25.15
|
EVER
|
851
|
17.52
|
57.90
|
9,616
|
0.12
|
-25
|
BEYOND
|
65
|
22.26
|
50.28
|
5,094
|
8.95
|
-24.15
|
GLORY
|
100
|
37.06
|
31.08
|
2,832
|
1.31
|
-23.39
|
JUBILE
|
32
|
18.17
|
44.94
|
2,576
|
14
|
-21.35
|
SSP
|
286
|
20.79
|
49.11
|
6,113
|
6.3
|
-21.25
|
KUN
|
291
|
38.78
|
24.67
|
1,526
|
1.43
|
-20.56
|
LPN
|
267
|
18.34
|
77.14
|
22,374
|
3.2
|
-19.6
|
PREB
|
59
|
18.96
|
73.64
|
3,575
|
5.25
|
-17.97
|
LDC
|
101
|
16.88
|
49.27
|
4,159
|
0.52
|
-16.13
|
ACE
|
2,016
|
19.81
|
22.48
|
20,502
|
1.29
|
-15.69
|
RS
|
221
|
20.68
|
59.69
|
8,506
|
12
|
-13.67
|
FVC
|
138
|
24.48
|
63.79
|
3,982
|
0.73
|
-12.05
|
IP
|
203
|
33.56
|
48.79
|
6,565
|
4.9
|
-11.53
|
BM
|
171
|
28.25
|
32.82
|
1,216
|
2.7
|
-10.6
|
A5
|
500
|
41.36
|
20.76
|
2,171
|
2.98
|
-10.24
|
UKEM
|
356
|
30.64
|
54.88
|
10,519
|
0.74
|
-8.64
|
JSP
|
151
|
31.72
|
32.64
|
3,489
|
2.12
|
-7.83
|
SFLEX
|
261
|
31.81
|
54.62
|
5,108
|
3.34
|
-6.7
|
SAAM
|
150
|
49.97
|
25.64
|
1,408
|
7.25
|
-6.45
|
NNCL
|
351
|
17.13
|
26.25
|
2,924
|
1.85
|
-5.13
|
STPI
|
355
|
22.19
|
75.52
|
8,945
|
3.12
|
-3.11
|
AMC
|
83
|
17.25
|
30.27
|
2,624
|
3.3
|
-1.2
|
KTC
|
455
|
17.66
|
33.96
|
17,693
|
43
|
-1.15
|
CGD
|
2,259
|
27.33
|
55.65
|
8,497
|
0.33
|
0
|
AQUA
|
1,408
|
24.65
|
49.17
|
6,961
|
0.34
|
0
|
TRITN
|
2,423
|
21.78
|
79.47
|
10,186
|
0.13
|
0
|
SCM
|
315
|
52.09
|
24.55
|
2,198
|
3.56
|
1.71
|
GPI
|
307
|
51.12
|
42.12
|
1,906
|
1.66
|
3.75
|
TFG
|
2,985
|
51.36
|
17.35
|
10,966
|
4.1
|
7.33
|
NER
|
404
|
21.88
|
63.75
|
24,886
|
5.35
|
7.86
|
SA
|
499
|
41.58
|
17.50
|
2,179
|
7.8
|
9.86
|
TPCH
|
67
|
16.70
|
55.40
|
4,686
|
6.7
|
11.67
|
XO
|
77
|
17.98
|
40.05
|
6,811
|
29.25
|
21.88
|
SAMART
|
248
|
24.62
|
57.98
|
8,781
|
5.9
|
33.48
|
DEMCO
|
189
|
25.86
|
49.76
|
7,553
|
3.72
|
50
|
ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
|
50 บริษัทดังกล่าว มีผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมกันกว่า 3.3 แสนราย ซึ่งราคาหุ้นตั้งแต่ต้นปี (YTD) ปรับตัวลงเฉลี่ย 15.27% สูงสุดถึง 82.54% โดยมีถึง 37 บริษัท ที่ราคาหุ้นในช่วงดังกล่าวปรับตัวลง โดยมีเพียง 9 บริษัทเท่านั้นที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น ส่วนที่เหลือราคาหุ้นไม่เปลี่ยนแปลงจากสิ้นปีก่อน
โดย บมจ.สบาย คอนเน็กซ์ (SBNEXT) ราคาหุ้นปรับตัวลงมากที่สุด 82.54% ขณะที่มีอีก 2 บริษัท ที่ราคาหุ้น ปรับตัวลงมากกว่า 50% ประกอบด้วย บมจ.เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ (NRF) ที่ราคาหุ้นปรับตัวลง 72.38% และ บมจ.แอสเฟียร์ อินโนเวชั่นส์ (AS) ที่ราคาหุ้นปรับตัวลง 59.74%
ส่วน บมจ.เด็มโก้ (DEMCO) ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมากที่สุด 50% ขณะที่อีก 2 บริษัท ที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมากกว่า 20% ประกอบด้วย บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น (SAMART) ที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น 33.48% และ บมจ.เอ็กโซติค ฟู้ด (XO) ที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น 21.88%
*** กูรูมองไม่กระทบภาพรวม แค่กระทบความเชื่อมั่น
แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการตลาดทุน มองว่า 50 หุ้นที่มีการวางมาร์จิ้นสูงสุด ราคาหุ้นตั้งแต่ต้นปีปรับตัวลงเฉลี่ย 15% ยังไม่มีความน่าเป็นกังวลมากนัก เนื่องด้วยหุ้นดังกล่าวมีปริมาณการซื้อขายจำนวนมากรองรับอยู่ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูก Forced Sell ค่อนข้างน้อย
ขณะที่ "เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บล.เอเชีย พลัส มองว่า ปัจจัยดังกล่าว จะไม่กดดันหุ้นไทยรุนแรงเหมือนในอดีต เนื่องจาก มูลค่าซื้อขายผ่านบัญชีมาร์จิ้นทั้งหมด ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 8.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งลดลงถึง 71% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยต่อเดือนในปี 2564 ที่อยู่สูงระดับ 2.97 แสนล้านบาท
อีกทั้งข้อมูลล่าสุด ยังมีปริมาณหุ้นที่ใช้มาร์จิ้นคงค้างสัดส่วนเพียง 1.54% ของมูลค่าตามราคาหลักทรัพย์ (MARKET CAP.) แสดงให้เห็นการใช้มาร์จิ้นโดยรวมที่ลดลงกว่าในอดีตอย่างมีนัยสำคัญ จึงเป็นประเด็นที่นักลงทุนเบาใจลงได้บ้างระดับหนึ่ง
ด้าน "ณัฐพล คำถาเครือ" เสริมว่า สำหรับ 50 หุ้นที่วางมาร์จิ้นสูงสุดปรับตัวลงค่อนข้างแรง มองว่า ยังไม่น่าเป็นกังวลเท่าไร เนื่องจากเป็นไปตาม Sentiment การลงทุนที่ตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาลง หุ้นดังกล่าวก็มักจะถูกบีบให้ปรับตัวลงมาตามภาวะตลาดหุ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นปัจจัยลบระยะสั้นเท่านั้น เดี๋ยวพอ SET Index พลิกกลับก็จะคลายความกังวลไปเอง
ทั้งนี้ มองว่าหุ้นที่ปรับตัวลงมาในลักษณะดังกล่าว แต่ปัจจัยพื้นฐานยังดี เป็นโอกาสในการเข้าลงทุนด้วยซ้ำ เพราะคำว่าปัจจัยพื้นฐานดี นั่นหมายความว่ากำไรต้องโต มูลค่า (Valuation) ไม่แพง ซึ่งการที่หุ้นถูก Forced Sell บางทีก็ไม่ได้เกิดมาจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่เป็นกรณีของผู้ลงทุนบางกลุ่มนำหุ้นไปวางเพื่อขอมาร์จิ้น ซึ่งเหตุผลนี้ไม่ได้ชี้นำว่าหุ้นไม่ดี ดังนั้นจึงมองเป็นโอกาสลงทุนสำหรับหุ้นพื้นฐานแกร่ง ๆ
*** สิ่งที่ต้องรู้หากหุ้นที่เราถือ โดนนำไปวางมาร์จิ้นสัดส่วนสูง
แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการตลาดทุน กลับมากล่าวต่อว่า สิ่งที่นักลงทุนควรทราบหลังจากหุ้นที่ถืออยู่ถูกนำไปวางมาร์จิ้นระดับสูง คือ หุ้นตัวดังกล่าวมีปริมาณการซื้อขายสูงพอหรือไม่ หากยังมีปริมาณการซื้อขายที่อยู่ในระดับสูง ก็ลดความกังวลที่หุ้นจะถูก Force Sell ได้ค่อนข้างเยอะ ประกอบกับ ถ้าเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งด้วย ยิ่งคลายความกังวลได้เลย
สอดคล้องกับ "ณรงค์เดช จันทรไพศาล" ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หุ้นที่ถูกวางมาร์จิ้นระดับสูง นักลงทุนควรพิจารณาปัจจัยพื้นฐานควบคู่ด้วยว่ายังแข็งแกร่งอยู่หรือไม่ ? ถ้าพบว่าแนวโน้มกำไรในอนาคตยังเติบโตในระดับที่น่าพอใจ ก็ยังสามารถวางในถือลงทุนต่อไปได้ เพราะปัจจัยพื้นฐานที่เเข็งแกร่งย่อมเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ราคาหุ้นปรับตัวลงแรง - นาน ถึงราคาหุ้นลงเดี๋ยวก็ฟื้นขึ้นมาได้
อย่างไรก็ตาม หุ้น ส่วนใหญ่ที่ถูกวางมาร์จิ้นสูง ๆ ในตลาดหุ้นไทย มักจะเป็นหุ้นขนาดกลาง - เล็ก ทำให้มีผู้ถือหุ้นค่อนข้างน้อย จึงแนะนำว่า นักลงทุนควรระมัดระวังในจุดนี้ด้วย
*** ชี้มาตรการควบคุมรัดกุมพอแล้ว
แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการตลาดทุน มองว่า มาตรการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำกับดูแลเกี่ยวกับเรื่องการวางมาร์จิ้น ณ ปัจจุบัน ครอบคลุมและรัดกุมดีแล้ว สะท้อนจากมีมาตรการ Maintenance Margin Rate ที่มีการควบคุมความเสี่ยงไว้ 2 ระดับ ประกอบด้วย
1.ระดับที่ใช้เป็นเกณฑ์ Margin Call (เรียกให้ลูกค้าวางมาร์จิ้นเพิ่ม) เช่น กำหนดไว้ที่ร้อยละ 35 หากมูลค่ามาร์จิ้น (หรือหลักประกัน) ส่วนที่เหลืออยู่ของลูกค้าเมื่อเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ซื้อ (หรือที่ขายชอร์ตไว้) แล้วมีอัตราเท่ากับหรือต่ำกว่าร้อยละ 35 บริษัทหลักทรัพย์เจ้าหนี้จะต้องเรียกให้ลูกค้ารายนี้วางมาร์จิ้นเพิ่ม เพื่อให้มาร์จิ้นกลับมาสูงกว่าอัตรา Margin Call
2.ระดับที่ใช้เป็นเกณฑ์ Forced Sell (กรณีเป็นลูกค้าเงินกู้เพื่อซื้อหลักทรัพย์) หรือเกณฑ์ Forced Buy (กรณีเป็นลูกค้าขายชอร์ต) ระดับที่สองนี้จะมีอัตราต่ำกว่าระดับแรก เช่น เกณฑ์ Forced Sell กำหนดที่อัตราร้อยละ 25 เป็นต้น หากมูลค่ามาร์จิ้นที่เหลืออยู่ของลูกค้า เทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ซื้อไว้มีอัตราต่ำถึงระดับดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์เจ้าหนี้จะต้องทำการบังคับขายหลักทรัพย์บางส่วนของลูกค้านั้นเพื่อลดภาระหนี้ของลูกค้า
ซึ่งจะมีผลให้มาร์จิ้นของลูกค้าเมื่อเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ที่เหลืออยู่มีอัตราไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ Forced Sell นี้ ส่วนเกณฑ์ Forced Buy ก็เป็นทำนองเดียวกัน (ดู Margin Call, Forced Sell, Forced Buy) ได้
เช่นเดียวกับ "ณรงค์เดช จันทรไพศาล" ที่ระบุว่า มาตรการควบคุมของตลาดหลักทรัพย์ฯ ณ ปัจจุบัน ถือว่าครอบคลุมแล้ว สะท้อนจากการมี Maintenance Margin Rate และตลาดหลักทรัพย์ฯก็มีการเปิดเผยข้อมูลหุ้นที่ถูกวางมาร์จิ้นเป็นรายวันด้วย แต่ปัญหา คือ นักลงทุนบางรายอาจจะไม่เห็นข้อมูลดังกล่าว เนื่องจากถูกวางไว้ในที่ที่เข้าถึงยาก ซึ่งถ้าจะมีการแก้ไขก็อาจจะเพิ่มอีกแถบใน Streaming ให้นักลงทุนเห็นได้ง่ายขึ้น จะเป็นการช่วยนักลงทุนรายย่อยอีกด้าน
ขณะที่ ในมุมมองโบรกเกอร์เห็นควรว่าจะต้องมีการทำมาร์จิ้นต่อไป แต่ก็ต้องมีความระมัดระวังของนักลงทุนด้วย เพราะการทำมาร์จิ้นมีข้อดี คือ ช่วยให้ลงทุนได้ง่าย สร้างกำไรได้กว้างขึ้น เนื่องจากไม่มีเงินก็สามารถนำเงินไปลงทุนได้ก่อน แต่ข้อเสียของส่วนนี้ คือ ความเสี่ยงการลงทุนก็จะสูงด้วย และก็ต้องเสียดอกเบี้ย แถมยังเสี่ยงถูก Forced Sell ด้วย
ข้อดีอีกประเด็น คือ ทำให้ตลาดหุ้นคึกคักมากขึ้น สะท้อนจากสภาพคล่องในการซื้อขายที่สูงขึ้น ส่งผลให้ตัวตลาดหุ้นเองก็มีความน่าสนใจมากขึ้นด้วย แต่ข้อเสียของส่วนนี้ คือ สามารถทำให้ตลาดหุ้นเกิดความผันผวนได้เหมือนกันเวลาที่มีการ Forced Sell กันมาก ๆ
ส่วน "ณัฐพล คำถาเครือ" กล่าวปิดท้ายว่า การวางมาร์จิ้นถือว่ามีมานานมากแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้กับนักลงทุน ส่วนมากก็มีบัญชีดังกล่าวกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ให้เป็นประโยชน์เท่าใด แต่ปัจจุบันต้องยอมรับว่าตลาดหุ้นปรับตัวลงแรง มีบางคนที่หันมาโทษการวางมาร์จิ้น ส่วนตัวมองว่าไม่ใช่ต้นตอของปัญหา เป็นเพียงแค่ตัวเร่งให้ SET Index ปรับตัวลงเร็วขึ้นเท่านั้น
แต่เมื่อหุ้นปรับตัวลงถึงจุดหนึ่ง (จุดต่ำสุด) ราคาหุ้นก็จะฟื้นตัวขึ้นได้ ซึ่งมองในแง่ดี คือ ทำให้นักลงทุนได้เห็นสถานะที่แท้จริงของหุ้นแต่ละตัวมากขึ้น เช่น ถ้าหุ้นที่พื้นฐานดี ราคาหุ้นลงไปถึงจุดหนึ่งเดี๋ยวก็ปรับตัวขึ้นมา แต่ถ้าราคาหุ้นลงไปแล้วไม่เด้งขึ้นมา ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นหุ้นที่ไม่ได้มีปัจจัยพื้นฐานที่ดี