7 เซียนหุ้นแห่ปรับพอร์ต เทขาย 15 หุ้น แทบเกลี้ยงพอร์ต มูลค่ารวมกว่า 5.7 พันล้านบาท จนหลุดโผรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ เพราะถือสัดส่วนไม่ถึง 0.5% แจงปรับกลยุทธ์รับมือโควิด-19 หุ้นยังดีชิงขายทำกำไร-หุ้นแย่ยอมตัดขาดทุน
*** 7 เซียนเทขายหุ้น 15 บจ. จนหลุดโผผู้ถือหุ้นใหญ่
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจพอร์ตเซียนหุ้น ณ 24 ก.ค.63 เทียบกับการจัดอันดับพอร์ตเซียนหุ้น ณ 7 เม.ย.63 พบว่า มี 7 รายขายหุ้นออกจนไม่ติดรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งต้องมีสัดส่วนการถือครองมากกว่า 0.5% โดยมี 15 บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่ถูกขาย ได้แก่
15 บจ.ที่เซียนหุ้นขายจนหลุดรายชื่อ ผถห.ใหญ่
|
ชื่อนักลงทุน
|
ชื่อย่อหุ้น
|
จำนวนหุ้น
(ล.หุ้น)
|
วันปิดสมุดล่าสุดที่มีชื่อ
|
ราคาปิด*
(บ.)
|
มูลค่า**
(บ.)
|
รวมมูลค่า
(ลบ.)
|
สถาพร งามเรืองพงศ์
|
KTC
|
128.51
|
25/05/63
|
37.75
|
4,851.21
|
5,200.31
|
BFIT
|
10.49
|
13/03/63
|
28.75
|
301.71
|
EKH
|
13.09
|
12/03/63
|
3.62
|
47.39
|
นเรศ งามอภิชน
|
SPALI
|
11.00
|
11/03/63
|
16.60
|
182.60
|
182.60
|
วิชัย วชิรพงศ์
|
ITD
|
53.85
|
15/05/62
|
2.20
|
118.47
|
143.52
|
META
|
16.16
|
02/07/62
|
1.55
|
25.05
|
ประชา ดำรงสุทธิพงศ์
|
AUCT
|
22.18
|
16/03/63
|
5.10
|
113.11
|
113.11
|
อนุรักษ์ บุญแสวง
|
TPCH
|
2.02
|
22/08/62
|
12.20
|
24.66
|
68.28
|
NER
|
8.59
|
12/03/63
|
1.99
|
17.09
|
TCMC
|
14.44
|
20/03/63
|
0.82
|
11.84
|
D
|
1.76
|
12/03/63
|
2.76
|
4.87
|
SVOA
|
6.66
|
12/03/63
|
0.68
|
4.53
|
WIIK
|
3.16
|
28/11/62
|
1.27
|
4.01
|
SE
|
1.21
|
22/03/63
|
1.06
|
1.29
|
สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล
|
RBF
|
10.24
|
10/03/63
|
4.30
|
44.02
|
44.02
|
พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี
|
TCMC
|
25.84
|
20/03/63
|
0.82
|
21.19
|
21.19
|
* ราคาปิด ณ วันปิดสมุดล่าสุดที่เซียนหุ้นมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
** มูลค่าเทียบคำนวณจากราคาหุ้น ณ วันปิดสมุดล่าสุดที่เซียนหุ้นมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
|
*** พบเซียนขายหุ้นเกือบเกลี้ยงพอร์ต
"สถาพร งามเรืองพงศ์" ขายหุ้นออกมูลค่าสูงสุด โดย ณ 25 พ.ค.63 ถือครองหุ้น บมจ.บัตรกรุงไทย (KTC) จำนวน 128.51 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 4.98% เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 3 แต่ล่าสุด ณ 30 มิ.ย.63 ไม่ปรากฎอยู่ในรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่แล้ว โดยหากคำนวณราคาปิด ณ 25 พ.ค.63 ที่ 37.75 บาท/หุ้น จะมีมูลค่ารวม 4,851.21 ล้านบาท
ขณะเดียวกันยังขายหุ้น บมจ.เงินทุน ศรีสวัสดิ์ (BFIT) และ บมจ.เอกชัยการแพทย์ (EKH) จนไม่ติดโผรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่แล้วเช่นกัน คิดเป็นมูลค่า ณ วันปิดสมุดครั้งสุดท้ายที่มีรายชื่อ 301.71 ล้านบาท และ 47.39 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งเมื่อรวมทั้ง 3 บริษัทที่ขายออกจนหลุดโผรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ คิดเป็นมูลค่ารวมถึง 5,200.31 ล้านบาท
ปัจจุบัน "สถาพร งามเรืองพงศ์" ปรากฎรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีสัดส่วนเกิน 0.5% เพียงบริษัทเดียว คือ บมจ.ดูโฮม (DOHOME) แต่ได้มีการลดสัดส่วนการถือครองเหลือเพียง 1.71% หรือ 31.8 ล้านหุ้น ณ วันปิดสมุด 9 มิ.ย.63 เทียบกับวันปิดสมุด ณ 12 มี.ค.63 มีสัดส่วนการถือครอง 3.63% หรือ 67.43 ล้านหุ้น
ทั้งนี้ เมื่อคำนวณมูลค่าหุ้นจากราคาปิด ณ วันปิดสมุด ที่กลุ่มเซียนทั้ง 7 ราย มีรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สัดส่วนมากกว่า 0.5% พบว่า 15 หุ้น ที่ถูกขายมีมูลค่ารวม 5773.03 ล้านบาท
*** 2 เซียนหุ้นพร้อมใจขาย TCMC
บมจ.ทีซีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น (TCMC) ซึ่งมีนักลงทุนรายใหญ่ 2 ราย ถือครองมากกว่า 0.5% เมื่อเดือน มี.ค.63 ได้แก่ “พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี” และ “อนุรักษ์ บุญแสวง” สัดส่วน 0.82% และ 1.89% ตามลำดับ ล่าสุดถูกเทขายออกจนไม่ปรากฏในรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่แล้วทั้ง 2 ราย
*** ชิงขายทำกำไรไร-ตัดขาดทุน หลังโควิด-19 บุก
"วิชัย วชิรพงศ์" หรือ เสี่ยยักษ์ ระบุว่า ได้ขายตัดขาดทุน (Cut Loss) หุ้นบางบริษัทออกจากพอร์ต เนื่องจากทิศทางผลประกอบการไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าธุรกิจและราคาหุ้นในระยะยาว โดยถือเป็นการปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับภาวะตลาดหุ้นไทยในปัจจุบัน
"ตั้งแต่มีโควิด-19 ผมได้ปรับกลยุทธ์การลงทุนใหม่ หุ้นตัวไหนที่ไม่สร้างกำไรและมีแนวโน้มทางธุรกิจไม่สู้ดีนัก ก็ต้องตัดขาดทุนออกไป จากนี้จะเน้นธุรกิจที่เติบโตได้และเลี่ยงหุ้นที่จะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพราะมองว่าโรคนี้จะยังไม่มีทางแก้ไขแบบเด็ดขาดไปอีกพักใหญ่" เสี่ยยักษ์ กล่าว
ด้าน "อนุรักษ์ บุญแสวง" หรือ โจ ลูกอีสาน เผยว่า ช่วงที่ตลาดหุ้นไทยโดนแรงกระแทกจากโควิด-19 ได้มีการปรับพอร์ตครั้งใหญ่ เน้นหุ้นขนาดกลาง-ใหญ่ที่มีธุรกิจมั่นคงในระยะยาวมากขึ้น ส่วนหุ้นขนาดเล็กบริษัทไหนที่มีกำไรก็จะขายทำกำไรออกไป ส่วนบริษัทไหนที่ขาดทุนก็จะขายตัดขาดทุนไปเลย เพราะภาพรวมเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญ บริษัทขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบมากกว่าในระยะยาว
อย่างไรก็ตามหุ้นบางบริษัทที่ไม่ปรากฎชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่เกิน 0.5% ยังไม่ได้ขายทั้งหมด แต่อาจจะลดสัดส่วนการถือครองลง เพื่อกระจายเงินลงทุน โดยปัจจุบันยังมีหุ้นในพอร์ตรวมกว่า 50 บริษัท และผลตอบแทนรวมติดลบน้อยกว่าตลาดฯ
"ตั้งแต่มีโควิด-19 นักลงทุนรายใหญ่มีการปรับพอร์ตกันเยอะ เพราะหลายธุรกิจได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ผมก็ขายหุ้นเล็กไปหลายตัว มีทั้งได้กำไรและขนาดทุน ถัวเฉลี่ยกันไป เปลี่ยนไปเน้นบริษัทขนาดกลาง-ใหญ่ที่มีขีดความสามารถการแข่งขันสูงในแต่ละอุตสาหกรรมไว้ก่อน ในฐานะนักลงทุนอาชีพเราต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์เสมอ นักลงทุนวีไอรายใหญ่บางรายถึงขั้นขายหุ้นไทยทั้งพอร์ตเพื่อไปลงทุนหุ้นต่างประเทศ 100% เพราะมีศักยภาพการเติบโตระยะยาวมากกว่าเช่น หุ้นเทคโนโลยี เพราะมองว่าหุ้นไทยเริ่มมีข้อจำกัดด้าน Valuation และลักษณะของอุตสาหกรรม" โจ ลูกอีสาน เสริม
ส่วนนักลงทุนรายใหญ่อีกราย ซึ่งไม่ประสงค์ออกนาม มองว่า โควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระยาว หลายอุตสาหกรรมที่เคยเติบโตโดดเด่นอาจจะไม่เป็นเช่นเดิมอีกต่อไป เพราะโควิด-19 เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แม้ปัจจุบันหุ้นที่เข้าไปลงทุนยังเป็นบริษัทที่ดีมีกำไร แต่การเติบโตลดลงและมีแนวโน้มที่ไม่สดใสในอีก 1-2 ปีถัดไป ดังนั้นจึงต้องขายหุ้นออกก่อนเพื่อล็อคกำไร