ผลตอบแทน PROP-REIT-IFF กอดคอดิ่งหนัก YTD เฉลี่ยติดลบ 5.34% โดย PROP-REIT วูบเฉลี่ย 4.62% ส่วน IFF รูดเฉลี่ยถึง 10.81% แต่ปันผลยังให้ยีลด์สูงระหว่าง 16 - 28% วงการแนะทยอยเก็บรับดอกเบี้ยใกล้พีค คาดหนุนผลตอบแทนราคาหุ้นบางกองกลับมา Outperform ได้ !
*** ผลตอบแทนกองอสังหาฯ - รีท - โครงสร้างพื้นฐานดิ่งหนัก
ดัชนีหุ้นไทย (SET Index) ตั้งแต่ต้นปี (YTD) ปรับตัวลง 138.4 จุด หรือติดลบ 8.29% ส่งผลให้หุ้นบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในช่วงดังกล่าวส่วนใหญ่ปรับตัวลงตาม SET ถึง 648 บริษัท
สอดคล้องกับทิศทางกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ - รีท และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ที่ผลตอบแทนราคาหุ้น YTD ก็ปรับตัวลงเช่นกัน โดยกองทุรวมอสังหาริมทรัพย์ - รีท ให้ผลตอบแทนติดลบเฉลี่ย 4.62% ประกอบด้วย
ส่องผลตอบแทน – ปันผล 52 กองทุนอสังหาฯ – รีท
|
ชื่อย่อหลักทรัพย์
|
ราคาปิดล่าสุด (บ.)**
|
%Chg YTD
|
%Chg 1 Y
|
%Div. Yield (เฉลี่ยปี 62 - 65)
|
Div. Yield ปี 66 (%)
|
Div. Yield ปี 67 (%)
|
CPNREIT
|
10.9
|
-44.10
|
-42.63
|
3.73
|
9.11 - 10.46
|
6.86 - 10.45
|
MIT*
|
1.23
|
-32.79
|
-61.32
|
5.53
|
n/a
|
n/a
|
MJLF
|
4.02
|
-30.69
|
-47.45
|
10.08
|
n/a
|
n/a
|
QHPF
|
6.6
|
-30.16
|
-30.53
|
8.26
|
n/a
|
n/a
|
SRIPANWA*
|
6
|
-22.08
|
-23.57
|
3.18
|
n/a
|
n/a
|
B-WORK
|
7.8
|
-21.21
|
-20.81
|
6.48
|
8.71
|
9.17
|
KTBSTMR*
|
7.6
|
-15.08
|
-16.94
|
0.29
|
n/a
|
n/a
|
CPNCG
|
10
|
-13.79
|
-9.91
|
8.41
|
n/a
|
n/a
|
CPTGF
|
6.4
|
-13.51
|
-16.34
|
7.34
|
n/a
|
n/a
|
POPF
|
10
|
-13.04
|
-11.50
|
8.8
|
n/a
|
n/a
|
INETREIT*
|
10
|
-12.28
|
-14.53
|
0.78
|
7.64 -7.93
|
7.86
|
LUXF
|
6.95
|
-10.32
|
-8.55
|
3.64
|
n/a
|
n/a
|
SPRIME
|
6.35
|
-8.63
|
-6.62
|
4.14
|
n/a
|
n/a
|
PROSPECT
|
9
|
-7.69
|
-1.10
|
2.95
|
10.01
|
10.44
|
GVREIT
|
8.4
|
-7.69
|
-6.15
|
6.9
|
n/a
|
n/a
|
BOFFICE
|
7.35
|
-7.55
|
-8.13
|
3.32
|
n/a
|
n/a
|
TPRIME
|
8.1
|
-6.36
|
3.85
|
4.77
|
n/a
|
n/a
|
LHSC
|
10.5
|
-6.25
|
3.96
|
4.42
|
n/a
|
n/a
|
SSTRT
|
5.35
|
-6.14
|
-4.46
|
7.49
|
n/a
|
n/a
|
FUTUREPF
|
14
|
-5.41
|
0.00
|
5.81
|
n/a
|
n/a
|
WHAIR
|
7.05
|
-5.37
|
-2.98
|
6.45
|
7.89
|
n/a
|
AIMIRT
|
11.5
|
-4.96
|
-4.17
|
4.17
|
7.57
|
7.74
|
SSPF
|
6.8
|
-4.90
|
-8.11
|
4.33
|
n/a
|
n/a
|
TTLPF
|
22
|
-3.51
|
-2.65
|
7.1
|
n/a
|
n/a
|
LHHOTEL
|
11.8
|
-3.28
|
30.39
|
4.49
|
9.28
|
9.99
|
TLHPF
|
7.45
|
-3.25
|
-4.49
|
7.58
|
n/a
|
n/a
|
GROREIT*
|
9.5
|
-3.06
|
-2.56
|
0.69
|
n/a
|
n/a
|
CTARAF
|
5.1
|
-1.92
|
-2.86
|
6.25
|
n/a
|
n/a
|
DREIT
|
6.05
|
-1.63
|
0.00
|
5.16
|
n/a
|
n/a
|
PPF
|
11.3
|
-0.88
|
0.00
|
6.19
|
n/a
|
n/a
|
TIF1
|
8.95
|
-0.56
|
0.56
|
6.6
|
n/a
|
n/a
|
HYDROGEN*
|
9.95
|
-0.50
|
n/a
|
0.00
|
n/a
|
n/a
|
HPF
|
4.68
|
-0.43
|
1.74
|
5.11
|
n/a
|
n/a
|
MNIT2
|
4.98
|
0.00
|
-0.40
|
4.3
|
n/a
|
n/a
|
WHART
|
10.7
|
0.00
|
5.94
|
4.48
|
7.21 - 7.25
|
7.29 - 7.34
|
GAHREIT
|
8.55
|
0.59
|
-3.93
|
7.05
|
n/a
|
n/a
|
LPF
|
12.8
|
0.79
|
-7.91
|
4.99
|
6.24 - 6.47
|
6.68- 7.06
|
AIMCG*
|
5.25
|
0.96
|
7.14
|
4.36
|
n/a
|
n/a
|
ALLY*
|
7.35
|
1.38
|
5.76
|
1.73
|
8.38 - 8.52
|
8.01 - 8.85
|
AMATAR
|
6.75
|
1.50
|
-0.74
|
6.49
|
n/a
|
n/a
|
SIRIP
|
9
|
1.69
|
12.50
|
4.40
|
n/a
|
n/a
|
BAREIT*
|
10.7
|
1.90
|
n/a
|
0.00
|
n/a
|
n/a
|
BKKCP
|
10.5
|
1.94
|
0.96
|
6.45
|
n/a
|
n/a
|
M-II
|
7.5
|
2.74
|
4.17
|
7.55
|
n/a
|
n/a
|
IMPACT
|
12.9
|
4.03
|
-12.84
|
2.5
|
4.65
|
5.66
|
WHABT
|
9
|
4.65
|
1.69
|
6.83
|
n/a
|
n/a
|
MNIT
|
1.86
|
5.68
|
12.73
|
3.42
|
n/a
|
n/a
|
FTREIT
|
10.9
|
5.83
|
1.87
|
5.55
|
6.88
|
6.97
|
M-PAT
|
4.26
|
6.50
|
10.94
|
5.69
|
n/a
|
n/a
|
LHPF
|
6.9
|
12.20
|
23.21
|
5.62
|
n/a
|
n/a
|
QHHR*
|
6.9
|
15.00
|
40.24
|
4.72
|
n/a
|
n/a
|
ERWPF*
|
5.2
|
25.60
|
19.27
|
0.00
|
n/a
|
n/a
|
ที่มา : SETSMART
*จ่ายเงินปันผลไม่ครบทุกปี
**ราคาปิดล่าสุด 14 ก.ค.66
|
52 กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ - รีท มีถึง 38 กองทุนที่ผลตอบแทน YTD ติดลบ ซึ่งถ้านับเฉพาะในกลุ่มติดลบ พบว่าให้ผลตอบแทนติดลบเฉลี่ยถึง 10.94%
*** "CPNREIT" ผลตอบแทน YTD ติดลบมากสุด 44.10%
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท (CPNREIT) เป็นกองทุนรวมในกลุ่มอสังหาฯ - รีท ที่ให้ผลตอบแทน YTD ติดลบมากสุดถึง 44.10% ขณะที่อัตราการจ่ายเงินปันผลย้อนหลัง 4 ปี (ปี 62 - 65) เฉลี่ยอยู่ที่ 3.73% เท่านั้น
ขณะที่ คาดการณ์การจ่ายเงินปันผลปี 66 - 67 ของนักวิเคราะห์จาก IAA Consensus ประเมินว่า CPNREIT จะจ่ายเงินปันผลช่วงดังกล่าว คิดเป็น Dividend Yield ราว 9.11 - 10.46% และ 6.86 - 10.45% ตามลำดับ
*** อีก 3 กองทุนอสังหาฯ - รีท ผลตอบแทน YTD ดิ่งกว่า 30%
นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 กองทุนอสังหาฯ - รีท ที่ผลตอบแทนราคาหุ้น YTD ติดลบมากกว่า 30% ประกอบด้วย ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เอ็มเอฟซีอินดัสเตรียล (MIT) ที่ผลตอบแทน YTD ติดลบ 32.79%, กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาฯ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ไลฟ์สไตส์ (MLLF) ผลตอบแทน YTD ติดลบ 32.69% และ กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ควอลิตี้ เฮ้าส์ (QHPF) ที่ให้ผลตอบแทน YTD ติดลบ 30.16%
*** แต่มี 7 กองทุน คาดจ่ายปันผลยีลด์มากกว่า 7% ช่วงปี 66 - 67
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลตอบแทนราคาหุ้น YTD ส่วนใหญ่จะติดลบ แต่ยังมี 7 กองทุน ที่ถูกนักวิเคราะห์จาก IAA Consensus คาดการณ์ว่าจะจ่ายเงินปันผลงวดปี 66 - 67 คิดเป็น Dividend Yield ที่สูงกว่า 7% ตลอดทั้ง 2 ปี
โดย 3 กองทุนที่ถูกนักวิเคราะห์จาก IAA Consensus คาดการณ์ว่า จะจ่ายเงินปันผลงวดปี 66 - 67 คิดเป็น Dividend Yield สูงสุด ประกอบด้วย ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ พรอสเพค โลจิสติกส์และอินดัสเทรียล (PROSPECT) ถูกคาดจ่ายเงินปันผลปี 66 - 67 คิดเป็น Dividend Yield ที่ 10.01% และ 10.44% ตามลำดับ
ด้าน ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช โฮเทล (LHHOTEL) ถูกคาดจ่ายเงินปันผลปี 66 - 67 คิดเป็น Dividend Yield ที่ 9.28% และ 9.99% ตามลำดับ
ขณะที่ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์บัวหลวง ออฟฟิศ (B-WORK) ถูกคาดจ่ายเงินปันผลปี 66 - 67 คิดเป็น Dividend Yield ที่ 8.71% และ 9.17% ตามลำดับ
*** ส่วน 8 กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ผลตอบแทน YTD ลบเฉลี่ย 10.81%
ฟาก 8 กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้ผลตอบแทนราคาหุ้น YTD ติดลบหนักถึง 10.81% โดยมีถึง 7 กองทุนที่ผลตอบแทนราคาหุ้นในช่วงดังลก่าวติดลบ ประกอบด้วย
ส่องผลตอบแทน – ปันผล 8 กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน
|
ชื่อย่อหลักทรัพย์
|
ราคาปิดล่าสุด (บ.)
|
%Chg YTD
|
%Chg 1 Y
|
%Div. Yield (เฉลี่ยปี 62 - 65)
|
Div. Yield ปี 66 (%)
|
Div. Yield ปี 67 (%)
|
KBSPIF*
|
9.15
|
-19.03
|
-19.74
|
3.40
|
n/a
|
n/a
|
DIF
|
10.7
|
-18.94
|
-19.55
|
6.97
|
8.88 - 9.38
|
8.6 - 9.35
|
SUPEREIF*
|
8
|
-18.37
|
-31.62
|
4.62
|
n/a
|
n/a
|
JASIF
|
6.95
|
-13.66
|
-21.47
|
8.74
|
10.22 - 13.78
|
8.49 - 14.43
|
BTSGIF*
|
3.6
|
-8.33
|
-10.47
|
2.85
|
16.31 - 22.45
|
21.72 - 28.55
|
BRRGIF
|
4.44
|
-8.26
|
-14.62
|
6.54
|
n/a
|
n/a
|
TFFIF
|
7.6
|
-0.65
|
-2.56
|
2.91
|
5.53 - 5.75
|
6.05 - 6.58
|
EGATIF
|
6.65
|
0.76
|
-11.33
|
7.07
|
n/a
|
n/a
|
ที่มา : SETSMART
*จ่ายเงินปันผลไม่ครบทุกปี
**ราคาปิดล่าสุด 14 ก.ค.66
|
*** "KBSPIF" ผลตอบแทน YTD ดิ่งหนักสุดถึง 19.03%
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำตาลครบุรี (KBSPIF) ให้ผลตอบแทน YTD ติดลบมากสุดถึง 19.03% ซึ่งมากกว่าอัตราเงินปันผล 4 ปีหลัง ที่เฉลี่ยอยู่ในระดับ 3.4% เท่านั้น
รองลงมา คือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล (DIF) ให้ผลตอบแทน YTD ติดลบ 18.94% ซึ่งมากกว่าอัตราเงินปันผล 4 ปีหลัง ที่เฉลี่ยอยู่ในระดับ 6.97% เท่านั้น และยังมากกว่าคาดการณ์อัตราเงินปันผลปี 66 - 67 ที่ถูกคาดไว้ที่ระดับ 8.88 - 9.38% และ 8.6 - 9.35% ตามลำดับ
*** แต่มี 2 กองทุน คาดจ่ายปันผลยีลด์มากกว่า 10% ช่วงปี 66 - 67
อย่างไรก็ตาม ยังมี 2 กองทุนที่ถูกคาดว่าจะจ่ายเงินปันผลมากกว่า 10% ตลอดช่วงปี 66 - 67 ประกอบด้วย กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) ที่คาดจ่ายปันผลปี 66 - 67 คิดเป็น Dividend Yield ระดับ 16.31 - 22.45% และ 21.72 - 28.55% ตามลำดับ มากกว่าราคาหุ้น YTD ที่ติดลบ 8.33%
ปิดท้ายด้วย กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน (JASIF) ที่คาดจ่ายปันผลปี 66 - 67 คิดเป็น Dividend Yield ระดับ 10.22 - 13.78% และ 8.49 - 14.43% ตามลำดับ
*** วงการชี้ดอกเบี้ยขาขึ้น ทำผลตอบแทนราคาหุ้นวูบ
"ณรงค์เดช จันทรไพศาล" ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไอร่า เปิดเผยถึงสาเหตุที่ทำให้ผลตอบแทนราคาหุ้นกองทุนทั้ง 3 ประเภท ปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากยังไม่สามารถฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้อย่างเต็มที่ อีกทั้ง ระยะหลังยังมีปัจจัยลบใหม่เข้ามากดดัน อาทิ เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น ยิ่งทำให้มูลค่า (Valuation) ของกองทุนดังกล่าว มีความน่าสนใจลดลงอีกด้วย
สอดคล้องกับ "เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บล.เอเชีย พลัส ที่ให้ความเห็นว่า เทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นปัจจัยหลักที่กดดันผลตอบแทนราคาหุ้นกองทุนทั้ง 3 ประเภทให้ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
*** โบรกฯแนะลงทุนช่วงดอกเบี้ยใกล้พีค !
"ณรงค์เดช จันทรไพศาล" มองว่า ในช่วงนี้อาจยังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสมในการเข้าลงทุนกองทุนทั้ง 3 ประเภทดังกล่าว เนื่องจากยังไม่ผ่านพ้นช่วงการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายของธนาคารกลางทั่วโลก จึงทำให้คาดการณ์ว่าผลตอบแทนราคาหุ้นในระยะถัดไปอาจจะปรับตัวลดลงได้มากกว่านี้ ซึ่งจะทำให้อัตราผลตอบแทนเงินปันผล (Dividend Yield) สูงขึ้นกว่านี้ด้วย
ขณะที่ กลยุทธ์เลือกลงทุนในกองทุนทั้ง 3 ประเภท แนะนำนักลงทุนพิจารณา 3 ปัจจัยหลักควบคู่กันไป ได้แก่ 1.อัตราเงินปันผลสูงในระดับที่พอใจหรือไม่ ?, 2.ทิศทางดอกเบี้ยเป็นเช่นไร ถ้าช่วงขาขึนก็อาจจะทำให้ความน่าสนใจเข้าลงทุนในกลุ่มนี้ลดลง แต่ถ้าเป็นภาวะทรงตัว และขาลงถือเป็นอีกจังหวะที่ดีในการเข้าซื้อ และ 3.อายุสัญญาเช่าของกองทุนหรือมากน้อยแค่ไหน ?
ด้าน "เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" เสริมว่า จากผลตอบแทนราคาหุ้นของกองทุนทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวลดลงมาอย่างมีนับสำคัญ ทำให้การเข้าลงทุนเริ่มมีความน่าสนใจมากขึ้น แต่เเนะนำจังหวะเข้าซื้อ จะอยู่ในช่วงของการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้ผ่านจุดสูงสุด (พีค) ไปแล้ว จะหนุนให้ผลตอบแทนราคาหุ้นของกองทุนบางตัวกลับมา Outperform ได้อีกครั้ง
ส่วน กลยุทธ์ในการเลือกกองทุน นอกจากพิจารณาอัตราเงินปันผล, ทิศทางดอกเบี้ย และสัญญาเช่าแล้ว สิ่งสำคัญที่สุด คือ นักลงทุนต้องพิจารณาคุณภาพสินทรัพย์ของกองทุนที่สนใจจะเข้าไปลงทุนด้วย ว่ามีศักยภาพในการสร้างรายได้มากน้อยแค่ไหน ?
*** บางกองสินทรัพย์ปล่อยเช่ายาก ทำปันผลไม่ได้ แนะเลี่ยง !
ทั้งนี้ "ณรงค์เดช จันทรไพศาล" ปิดท้ายว่า กองทุนในกลุ่มนี้ มีบางกองทุนที่ไม่ได้จ่ายเงินปันผลมาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนประเภทอินฟราสตรัคเจอร์ ซึ่งทางกองทุนก็มีนโยบายจ่ายเงินปันผลเหมือนกองทุนอื่น ๆ แต่ปัญหาคือไม่มีเงินสดมาจ่ายเงินปันผล เนื่องจากกองทุนประเภทนี้ จะมีการเอาสินทรัพย์ของตัวเองออกไปปล่อยเช่า และได้ผลตอบแทนกลับมา
แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ ทรัพย์สินที่กองทุนประเภทนี้เอาออกมาปล่อยเช่า มักเป็นทรัพย์สินที่มีความต้องการเช่าในตลาดค่อนข้างน้อย เช่น เสาสัญญาณ เป็นต้น ดังนั้น ก่อนจะเข้าลงทุนกองทุนประเภทนี้ ก็ต้องศึกษาข้อมูลเสียก่อนว่าสินทรัพย์ที่กองทุนปล่อยเช่าคืออะไร และมีความต้องการเช่ามากน้อยแค่ไหน ? ถ้าพบว่าสินทรัพย์ที่ปล่อยเช่ามีโอกาสสร้างรายได้ยาก แนะนำเลี่ยงลงทุน