7 โบรกฯผสานเสียง SET เดือน ก.ย.ยังไปต่อได้ แต่ช่วงสั้นอาจพักฐานชั่วคราวหลังขึ้นมาแรงก่อนหน้านั้น รอตั้ง ครม.เสร็จ - Fed ลดดอกเบี้ยครั้งแรกหนุน SET แต่แนะระวังแรงขายทำกำไรช่วงปลายเดือน ประเมินดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,290 - 1,430 จุด กลยุทธ์ลงทุนเดือนนี้ ส่วนใหญ่แนะเก็งกำไรหุ้นงบ H2/67 คาดเติบโตแกร่ง มี 33 หุ้นเด่นแนะนำ พบมีอัพไซด์สูงสุดถึง 68%
*** กูรูมองหุ้นไทยเดือน ก.ย.ยังไปต่อ ให้เป้า 1,290 - 1,430 จุด
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจมุมมองโบรกเกอร์ 7 แห่ง ต่อแนวโน้มการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทย (SET Index) ในเดือน ก.ย. พบว่า ทั้งหมด ประเมินว่า ดัชนีหุ้นไทยในเดือนนี้ ยังมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่องจากเกือน ส.ค.ที่ผ่านมา โดยมีลุ้นที่ SET Index จะปรับตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญที่บริเวณ 1,400 จุด โดยนักวิเคราะห์ทั้ง 7 แห่ง ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยเดือน ก.ย. ไว้ดังนี้
บล.
|
ดัชนี
|
ทิสโก้
|
1,330 - 1,430
|
ฟินันเซียฯ
|
1,330 - 1,400
|
ทรีนีตี้
|
1,290 - 1,400
|
เคจีไอ
|
1,400
|
ดาโอ
|
1,340 - 1,380
|
ไอร่า
|
1,330 - 1,375
|
ลิเบอเรเตอร์
|
1,330 - 1,373
|
"มงคล พ่วงเภตรา" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์ลงทุนหลักทรัพย์ บล.ดาโอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า มีมุมมองเป็น "บวก" ต่อตลาดหุ้นไทยในเดือน ก.ย.นี้ โดยประเมินว่า SET Index จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,340 - 1,380 จุด มีปัจจัยหนุนจากความคาดหวังที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงครั้งแรกของปี โดยมองว่า การปรับลดดอกเบี้ยระดับ 0.25% จะเป็นบวกมากกว่าการปรับลดดอกเบี้ยระดับ 0.5% ในครั้งเดียว ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย
อีกทั้ง คาดว่า จะเห็นการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เสร็จสิ้น และจะมีการแถลงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตลาดคาดหวังได้ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเผชิญความไม่แน่นอน โดยนโยบายดังกล่าวอาจครอบคลุมการส่งเสริมการลงทุนในประเทศ, การพัฒนาภาคการเกษตร และการสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)
เช่นเดียวกับ "ณรงค์เดช จันทรไพศาล" ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไอร่า ประเมิน SET Index เดือน ก.ย.นี้ เคลื่อนไหวในกรอบ 1,330 - 1,375 จุด มองว่า ช่วงต้นเดือนดัชนียังมีแนวโน้มย่อตัวจากการยังอยู่ในโหมดปรับฐานอยู่ แต่หลังจากช่วงวันที่ 18 ก.ย.67 ที่ตลาดคาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐฯจะมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง อีกทั้ง ถ้าเห็นการส่งสัญญาณของ Fed เกี่ยวกับแนวโน้มดอกเบี้ยที่เป็นขาลงชัดเจน ก็จะยิ่งเป็นปัจจัยหนุน SET Index ด้วย
สอดคล้องกับ "วิจิตร อารยะพิศิษฐ" นักกลยุทธ์การลงทุน บล.ลิเบอเรเตอร์ ประเมิน SET Index เดือน ก.ย. เคลื่อนไหวในกรอบ 1,330 - 1,373 จุด โดยมองว่า ที่บริเวณ 1,373 จุด ถือเป็นแนวต้านที่สำคัญ หากในเดือน ก.ย.นี้ ดัชนีหุ้นไทยสามารถเคลื่อนไหวผ่านจุดต้านสำคัญดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสสูงที่ SET Index จะเคลื่อนไหวแตะระดับ 1,400 จุด ในเดือน ก.ย.นี้
มองการเคลื่อนไหวของ SET ในช่วงต้นเดือนยังมีแนวโน้มอยู่ในช่วงการพักฐาน แต่หลังจากนั้นมีแนวโน้มกลับมาปรับตัวขึ้นได้ต่อ สะท้อนจากปัจจัยทางการเมืองนิ่งขึ้น โดยมองเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อน SET Index ในช่วงดังกล่าว ซึ่งถ้าเห็นการจัดตั้ง ครม.แล้วเสร็จ และมีการแถลงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ยังเห็นภาพการขับเคลื่อนต่อเนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้ จะหนุน SET Index ให้เป็นบวก
นอกจากนี้ ในช่วงกลางเดือน ก.ย.นี้ จะมีการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯด้วย ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่ Fed จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง โดยถ้าเป็นไปตามตลาดคาด ก็จะยิ่งทำให้เม็ดเงินลงทุนต่างประเทศ (Fund flow) ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยได้มากขึ้น ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนุน SET Index ในเดือน ก.ย.ด้วย
ด้าน บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ประเมิน SET Index เดือน ก.ย.นี้ เคลื่อนไหวในกรอบ 1,330 - 1,400 จุด โดยมองว่าช่วงต้นเดือน ดัชนีหุ้นไทยอาจมีการพักตัวลงมาหลังขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญก่อนหน้า ซึ่งหาก SET Index ไม่หลุดต่ำกว่าระดับ 1,350 หรือ 1,330 จุด ให้จับตาดูการรีบาวด์ขึ้นแรงต่อ โดยมองว่าจะทำนิวไฮลุ้นไปทดสอบโซนแนวต้าน 1,400 จุด ได้ในที่สุด
สำหรับ ปัจจัยหนุน SET Index ในเดือนนี้ คือ การลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ อีกทั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังส่งสัญญาณเปิดกว้างมากกขึ้นในการลดดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต โดยสถิติที่ฝ่ายวิจับ บล.ฟินันเซียฯรวบรวม พบว่า ดัชนีหุ้นไทยมักปรับตัวขึ้นเสมอในภาวะดอกเบี้ยขาลง อีกทั้ง ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศหายไป และยังมีการฟื้นตัวของ GDP รวมถึง กำไรบริษัทจดทะเบียนช่วยหนุนด้วย
ฟาก บทวิเคราะห์ บล.ทิสโก้ ประเมิน SET Index เดือน ก.ย.นี้ เคลื่อนไหวในกรอบ 1,330 - 1,430 จุด หนุนโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง ซึ่งหากอ้างอิงสถิติในอดีต ที่ Fed ลดดอกเบี้ยนโยบายลง ประกอบกับ เศรษฐกิจไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอย ผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทย หลังธนาคารกลางสหรัฐฯลดดอกเบี้ย 6 เดือน เป็นบวกเฉลี่ยราว 13.7%
อีกทั้ง กระแสเงินทุนต่างชาติเริ่มมีสัญญาณไหลเข้าแล้วในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา และมีโอกาสไหลเข้าต่อเนื่องอีกในช่วงที่เหลือของปีนี้ จากการเมืองมีความชัดเจนแล้วและเสถียรภาพรัฐบาลใหม่ดูแข็งแกร่งกว่าเดิม, ตลาดหุ้นไทยยัง Laggard หุ้นโลกและซื้อขายที่ระดับ PER ถูกกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต, โอกาสการซื้อคืนของต่างชาติหลังจากที่ปีนี้ (YTD) ยังมียอดขายสุทธิสะสมมากกว่า 1.2 แสนล้านบาท สอดคล้องกับสถานะชอร์ตคงค้างที่มีมูลค่าลดลงต่อเนื่อง
ส่วน บทวิเคราะห์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) เสริมว่า ช่วงเดือน ก.ย.นี้ SET Index ยังเป็นการฟื้นตัวต่อจากครึ่งหลังของเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ตามปัจจัยบวก ได้แก่ ความคาดหวังต่อแนวนโยบายเศรษฐกิจของ ครม. ชุดใหม่ รวมทั้งประเด็นข่าวบวกเกี่ยวกับการออกกองทุนวายุภักษ์ รวมทั้งภาพตลาดการเงินโลกที่ยังเป็นบวก จากธนาคารกลางสหรัฐฯ เตรียมปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้สกุลเงินดอลล่าร์ฯ และบอนด์ยิลด์สหรัฐฯน่าจะอยู่ในขาลงต่อไป เชิงกลยุทธ์มีโอกาสที่ดัชนีหุ้นไทย จะแกว่งขึ้นทดสอบระดับทางจิตวิทยาที่ 1,400 จุด ได้
*** แนะจับตาสงคราม - ระวังแรงขายทำกำไรปลายเดือนกดหุ้น
"มงคล พ่วงเภตรา" กลับมากล่าวต่อว่า ในช่วงเดือน ก.ย.นี้ นักลงทุนยังคงต้องจับตาความตึงเครียดของสงครามระหว่างอิหร่าน กับ อิสราเอล และ อิสราเอล กับ ฮามาส ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ แม้จะมีการเจราจาหยุดยิงและปล่อยตัวประกันก็ตาม ฝ่ายวิจัย บล.ดาโอ (ประเทศไทย) มองว่าหากเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถเจรจากันได้ จะส่งผลดีต่อตลาดหุ้น แต่จะส่งผลกระทบต่อราคาทอง และราคาน้ำมัน
ขณะที่ บทวิเคราะห์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) ระบุว่า นักลงทุนควรเพิ่มความระมัดระวังในช่วงครึ่งหลังของเดือน ก.ย.นี้ เพราะจากสถิติในอดีต ตลาดหุ้นสหรัฐฯ อาจเผชิญแรงขายรับข่าว (sell on fact) หลัง Fed ปรับลดดอกเบี้ยได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะทยอยออกมาระหว่างเดือน ว่าจะกระตุ้นให้ความกังวลต่อเศรษฐกิจถดถอยกลับมาอีกครั้งหรือไม่
ส่วน บทวิเคราะห์ บล.ทรนีตี้ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า แม้ SET Index เดือน ก.ย.นี้ จะเมีแนวโน้มคลื่อนไหวในกรอบ 1,290 - 1,400 จุด แต่ยังมอง SET Index มีโอกาสผันผวนอิงทางลง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งเดือนหลัง เนื่องจาก 3 สาเหตุหลักดังนี้
1.หมดข่าวดีทางการเมืองภายในระยะสั้น โดยหลังจากที่เริ่มเห็นความชัดเจนเกี่ยวกับโผครม.ชุดใหม่แล้ว มองว่าข่าวดีทางการเมืองสุดท้ายที่รออยู่น่าจะเป็นการแถลงนโยบายของท่านนายกฯต่อสภา ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในวันที่ 15 ก.ย.นี้ เมื่อถึงตรงนั้น มองว่านักลงทุนในตลาดจะเลือกหันมาพิจารณาภาพความเป็นจริงหรือพื้นฐานกำไรของบจ.กันมากขึ้น ซึ่งล่าสุดยังไม่มีสัญญาณที่ดีขึ้นแต่อย่างใด
2.ความผิดหวังที่อาจเกิดขึ้นจากการประชุม FOMC ในวันที่ 17-18 ก.ย.นี้ ไม่ว่าการลดดอกเบี้ยจะลงเอยที่ระดับไหน หากลด 0.25% ก็เป็นสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ไว้แล้ว และอาจทำให้นักลงทุนบางส่วนไม่สบายใจว่า Fed อาจลดน้อยเกินไป ในสภาวะที่เศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากขึ้น ขณะเดียวกัน หากลด 0.50% ก็จะทำให้นักลงทุนบางส่วนกังวลว่า Fed อาจเห็นสัญญาณความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งอาจทำให้ประเด็น Recession fear กลับเข้ามามีน้ำหนักอีกครั้ง
3.แรงขายของนักลงทุนสถาบันภายในประเทศ ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นปกติในเดือนก.ย.ของทุกปี โดยอาจเป็นการเตรียมเงินสดเพื่อรองรับการไถ่ถอนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม หากในเดือนนี้มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนรอบใหม่ของกองทุนวายุภักษ์ อาจจะพอเป็นตัวช่วยประคับประคอง Sentiment ในตลาดหุ้นไทยเอาไว้ได้บ้าง ประเมินกรอบแนวต้านเดือนกันยายนที่ 1,370 และ 1,400 จุด ส่วนแนวรับประเมินที่ 1,320 และ 1,290 จุด
*** พบ 33 หุ้นเด่นเดือน ก.ย. ส่วนใหญ่เน้นธีมงบ H2/67 แกร่ง
ขณะที่ เมื่อสำรวจหุ้นแนะนำประจำเดือน ก.ย.นี้ ของทั้ง 7 โบรกเกอร์ พบว่า มีหุ้นรวมกันทั้งหมด 33 บริษัท (ราคาหุ้นล่าสุดมีอัพไซด์มากกว่า 10%)โดยส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่ผลการดำเนินงานช่วงครึ่งหลังของปี 67 (H2/67) มีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่ง รองลงมา คือ หุ้นที่คาดว่าจะได้รับอานิสงส์จากยอดส่งออกแข็งแกร่ง และคาดตกเป็นเป้าหมายเงินทุนไหลเข้า ประกอบด้วย
7 โบรกฯชี้เป้า 33 หุ้นเด่นเดือน ก.ย. เน้นธีมงบ H2/67 แกร่ง
|
บล.
|
ชื่อย่อหุ้น
|
เหตุผล
|
ราคาเหมาะสม (บ.)
|
%อัพไซด์*
|
ทิสโก้
|
FM
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
8.3
|
68.02
|
CK
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
26.5
|
39.47
|
BJC
|
คาดเป็นเป้าเงินทุนไหลเข้า
|
31
|
38.39
|
TTB
|
คาดเป็นเป้าเงินทุนไหลเข้า
|
2.5
|
38.12
|
ICHI
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
21
|
37.25
|
AOT
|
คาดเป็นเป้าเงินทุนไหลเข้า
|
74
|
22.82
|
ADVANC
|
คาดเป็นเป้าเงินทุนไหลเข้า
|
288
|
17.55
|
ทรีนีตี้
|
MINT
|
ธุรกิจเข้าไฮซีซั่น
|
42
|
55.56
|
ITC
|
ยอดส่งออกแข็งแกร่ง
|
29.5
|
46.77
|
AAI**
|
ยอดส่งออกแข็งแกร่ง
|
7.54
|
43.62
|
GFPT**
|
ยอดส่งออกแข็งแกร่ง
|
16.32
|
32.68
|
COCOCO**
|
ยอดส่งออกแข็งแกร่ง
|
15.63
|
30.25
|
KCE
|
ยอดส่งออกแข็งแกร่ง
|
48
|
27.15
|
BH**
|
ธุรกิจเข้าไฮซีซั่น
|
294.83
|
20.83
|
ลิเบอเรเตอร์
|
SGC
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
1.96
|
44.12
|
CK
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
26
|
36.84
|
GPSC
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
55
|
36.65
|
STA
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
26
|
20.37
|
CPALL
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
72
|
20.00
|
ดาโอ
|
NER
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
6.8
|
39.34
|
SISB
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
40
|
34.45
|
MAGURO
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
21.4
|
22.29
|
SAV
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
26
|
19.82
|
IVL
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
21
|
15.38
|
KTB
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
21
|
13.51
|
เคจีไอ
|
AAV
|
อานิสงส์บาทแข็ง
|
3.2
|
34.45
|
TFG
|
กำไร Q3/67 จ่อโต YoY - QoQ
|
6.1
|
32.61
|
GPSC
|
อานิสงส์บาทแข็ง
|
51
|
26.71
|
CBG
|
กำไร Q3/67 จ่อโต YoY - QoQ
|
86.5
|
26.28
|
CPAXT
|
อานิสงส์รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ
|
35
|
13.82
|
ฟินันเซียฯ
|
CPALL
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
79
|
31.67
|
ICHI
|
Valuation ถูก - ปันผลสูง
|
19
|
24.18
|
NSL
|
งบ H2/67 แข็งแกร่ง
|
36
|
24.14
|
BDMS
|
กำไร Q3/67 จ่อทำนิวไฮ
|
35
|
23.89
|
MTC
|
ต้นทุนดอกเบี้ยลดลงช่วง H2/67
|
50
|
14.29
|
ไอร่า
|
BBL**
|
อานิสงส์เศรษฐกิจฟื้นตัว
|
171.34
|
22.82
|
MTC**
|
อานิสงส์เศรษฐกิจฟื้นตัว
|
50.69
|
15.86
|
KBANK**
|
อานิสงส์เศรษฐกิจฟื้นตัว
|
152.17
|
10.12
|
*อัพไซด์เทียบราคาปิด 2 ก.ย.67
**ราคาเหมาะสมเฉลี่ยจาก IAA Consensus
|
*** เดือน ก.ย.นี้ หุ้นอาหาร - ธนาคารติดโผเพียบ !
33 บริษัทดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นหุ้นในดัชนี SET100 จำนวน 22 บริษัท ขณะที่ บริษัทนอกดัชนี SET100 ติดโผ จำนวน 11 บริษัท โดยกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ติดโผมากที่สุด จำนวน 9 บริษัท รองลงมา คือ กลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ที่ติดโผ จำนวน 4 บริษัท
*** พบ 5 หุ้น มีโบรกฯแนะนำตรงกันมากที่สุด
โดยในเดือน ก.ย.นี้ พบว่า มี 5 บริษัท ที่ถูกนักวิเคราะห์แนะนำตรงกันมากที่สุด 2 แห่งเท่ากัน นำโดย บมจ.ช.การช่าง (CK), บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL), บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC), บมจ.อิชิตัน กรุ๊ป (ICHI) และ บมจ.เมืองไทย แคปปิตอล (MTC)
*** พบ "FM" ราคาหุ้นล่าสุดมีอัพไซด์สูงถึง 68%
บมจ.ฟู้ดโมเม้นท์ (FM) เป็นบริษัทที่ราคาหุ้นซื้อขาย ณ ปัจจุบัน มีอัพไซด์มากที่สุดถึง 75% หลังถูกโบรกเกอร์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 8.3 บาท/หุ้น รองลงมา คือ บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) ที่ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 55.56% หลังถูกโบรกเกอร์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 42 บาท/หุ้น
นอกจากนี้ ยังมีอีกถึง 15 บริษัท ที่ราคาหุ้นซื้อขาย ณ ปัจจุบัน มีอัพไซด์มากกว่า 30% ประกอบด้วย บมจ.ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น (ITC) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 46.77% หลังถูกนักวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 31 บาท/หุ้น, บมจ.เอสจี แคปปิตอล (SGC) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 44.12% หลังถูกนักวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 1.96 บาท/หุ้น
ด้าน บมจ.เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (AAI) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 43.62% หลังถูกนักวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 7.54 บาท/หุ้น, บมจ.ช.การช่าง (CK) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 36.84 - 39.47% หลังถูกนักวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 29.5 บาท/หุ้นม บมจ.นอร์ทอีส รับเบอร์ (NER) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 39.34% หลังถูกนักวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 6.8 บาท/หุ้น
ขณะที่ บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (BJC) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 38.39% หลังถูกนักวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 31 บาท/หุ้น, ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 38.12% หลังถูกนักวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 2.5 บาท/หุ้นม บมจ.อิชิตัน กรุ๊ป (ICHI) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 24.18 - 37.25% หลังถูกนักวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 19 - 21 บาท/หุ้น
ฟาก บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 26.71 - 36.65% หลังถูกนักวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 51 - 55 บาท/หุ้น, บมจ.เอสไอเอสบี (SISB) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 34.45% หลังถูกนักวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 40 บาท/หุ้น, บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 34.45% หลังถูกนักวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 3.2 บาท/หุ้น
ปิดท้ายด้วย บมจ.จีเอฟพีที (GFPT) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 32.68% หลังถูกนักวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 16.32 บาท/หุ้น, บมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 32.61% หลังถูกนักวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 6.1 บาท/หุ้น,บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 20 - 31.67% หลังถูกนักวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 72 - 79 บาท/หุ้น และ บมจ.ไทย โคโคนัท (COCOCO) ราคาหุ้นมีอัพไซด์ 30.25% หลังถูกนักวิเคราะห์ประเมินราคาเหมาะสมไว้ที่ 15.63 บาท/หุ้น