efinancethai

หุ้นเด่นวันนี้

ส่อง 20 หุ้นถูกชอร์ตเซลสูงสุด 3 เดือนหลัง มูลค่ารวมกว่า 2.5 แสนลบ.

ส่อง 20 หุ้นถูกชอร์ตเซลสูงสุด 3 เดือนหลัง มูลค่ารวมกว่า 2.5 แสนลบ.

SET ช่วง 3 เดือนหลัง วูบแรง 178.81 จุด นักลงทุนแห่จับตา Short Sell พบช่วงดังกล่าว มีมูลค่าชอร์ตรวม 2.52 แสนลบ. ท็อป 20 ถูก Short Sell สูงสุด ราคาหุ้นวูบเฉลี่ย 9.19% หุ้นพลังงานติดโผพรึบ กูรูมองหุ้นไทยยังซึมถึงกลางปีหน้า แต่แนะทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี ลุ้นดัชนีเด้งกลับครึ่งหลังปี 67 รับปัจจัยลบคลายตัว 

 

*** หุ้นไทย 3 เดือนหลังวูบ 178.81 จุด นลท.จับตา Short Sell

ดัชนีหุ้นไทย (SET Index) ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดย SET Index ปรับตัวหลุดระดับ 1,500 จุด ในช่วงเดือน ก.ย. ก่อนที่ล่าสุด (13 พ.ย.66) จะปิดการซื้อขายที่ระดับ 1,387.13 จุด ซึ่งหากเทียบสถิติช่วงดังกล่าว พบว่า SET Index ปรับตัวลงถึง 178.81 จุด หรือ -11.41%


ในช่วงที่ SET Index ปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญอย่างต่อเนื่อง อีกหนึ่งปัจจัยที่นักลงทุนมักให้ความสนใจ คือ การทำ Short Sell หุ้น (ยืมหุ้นมาขาย) ซึ่งเป็นเหตุผลที่มักจะมาควบคู่กับช่วงที่ดัชนีหุ้นปรับตัวลงแรง ๆ เสมอ

 

***  เปิดโผ 20 หุ้น ถูก Short Sell สูงสุด 3 เดือนหลัง 

ทั้งนี้ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" จึงสำรวจข้อมูลหุ้นที่ถูกทำ Short Sell ตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย. - ปัจจุบัน พบว่า ในช่วงดังกล่าว มีการทำ Short Sell หุ้น คิดเป็นมูลค่ารวมกัน สูงถึงกว่า 2.52 แสนล้านบาท โดย 20 หุ้นที่ถูกทำ Short Sell คิดเป็นมูลค่าสูงสุด ประกอบด้วย 
 

20 หุ้นถูกชอร์ตเซลสูงสุดตั้งแต่ 1 ก.ย.66

ชื่อย่อหุ้น

มูลค่า (ลบ.)

จำนวน (ลห.)

ราคาปิด 13 พ.ย.66 (บ.)

%chg 3m

PTT

9,465

281.89

33.25

-4.32

BDMS

5,865

218.93

25.25

-9.82

AOT

5,680

81.94

67.75

-6.55

PTTEP

5,432

32.57

160

0.95

ADVANC

5,384

24.31

225

4.17

CPALL

5,273

88.71

55.25

-15.33

BANPU

4,141

525.24

8

-6.98

KBANK

3,489

27.2

131.5

0.77

KTB

3,310

173.48

18.6

-3.63

BBL

3,013

18.38

154

-9.14

GULF

2,804

62.77

45

-6.25

TTB

2,687

1,592.13

1.61

-5.85

DELTA

2,649

29.47

79.25

-26.96

MINT

2,308

75.55

27.25

-18.05

TOP

2,294

46.84

47.5

-7.77

HANA

2,247

37.98

51

-18.07

EA

2,188

43.48

44.25

-28.92

IVL

1,895

72.6

25

-13.79

KCE

1,865

35.1

52.75

3.43

SAWAD

1,858

41.54

45

-11.76

ที่มา : SETSMART ณ 10 พ.ย.66


20 บริษัทดังกล่าว ที่ถูกทำ Short Sell สูงสุด ราคาหุ้น 3 เดือนหลังปรับตัวลงเฉลี่ย 9.19% โดยเป็นหุ้นในดัชนี SET100 ทั้งหมด กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค ติดโผมากสุดถึง 7 บริษัท รองลงมา คือ หุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ ที่ติดโผ จำนวน 4 บริษัท 

 

*** มี 6 บริษัท ถูก Short Sell มากกว่า 5 พันลบ.

บมจ.ปตท. (PTT) เป็นบริษัท ที่ถูก Short Sell สูงสุดในช่วง 3 เดือนหลัง คิดเป็นมูลค่า 9.4 พันล้านบาท หรือ 11.77% จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 281.89 ล้านหุ้น คิดเป็น 11.77% ขณะที่ ราคาหุ้นในช่วงดังกล่าว ปรับตัวลง 4.32%


รองลงมา คือ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ที่ถูก Short Sell คิดเป็นมูลค่า 5.8 พันล้านบาท หรือ 9.47% จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 218.93 ล้านหุ้น คิดเป็น 9.49% ขณะที่ ราคาหุ้นในช่วงดังกล่าว ปรับตัวลง 9.82%


ด้าน บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) ถูก Short Sell คิดเป็นมูลค่า 5.6 พันล้านบาท หรือ 9.43% จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 81.94 ล้านหุ้น คิดเป็น 9.41% ขณะที่ ราคาหุ้นในช่วงดังกล่าว ปรับตัวลง 6.55%


ฟาก บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ถูก Short Sell คิดเป็นมูลค่า 5.4 พันล้านบาท หรือ 5.84% จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 32.57 ล้านหุ้น คิดเป็น 5.84% ขณะที่ ราคาหุ้นในช่วงดังกล่าว ปรับตัวขึ้น 0.95%


ขณะที่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) ถูก Short Sell คิดเป็นมูลค่า 5.3 พันล้านบาท หรือ 10.78% จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 24.31 ล้านหุ้น คิดเป็น 10.77% ขณะที่ ราคาหุ้นในช่วงดังกล่าว ปรับตัวขึ้น 4.17%


ส่วน บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) ถูก Short Sell คิดเป็นมูลค่า 5.2 พันล้านบาท หรือ 8.71% จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 88.71 ล้านหุ้น คิดเป็น 8.67% ขณะที่ ราคาหุ้นในช่วงดังกล่าว ปรับตัวลง 15.33%

 

*** 20 หุ้น ถูก NVDR ทำ Short Sell รวม 6.6 หมื่นลบ.

ขณะเดียวกัน 20 หุ้นที่ถูก NVDR ทำ Short Sell มากที่สุดในช่วง 3 เดือนหลัง มีมูลค่ารวมกันกว่า 6.6 หมื่นล้านบาท และยังเป็นหุ้นในดัชนี SET100 ทั้งหมด ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค ยังติดโผสูงสุด 8 บริษัท เช่นกัน 
 

20 หุ้นถูก NVDR ชอร์ตเซลสูงสุดตั้งแต่ 1 ก.ย.66

ชื่อย่อหุ้น

มูลค่า (ลบ.)

จำนวน (ลห.)

ราคาปิดล่าสุด 13 พ.ย.66 (บ.)

%chg 3m

PTTEP-R

6,185

37.82

160

0.95

DELTA-R

5,605

62.31

79.25

-26.96

SCB-R

5,435

52.37

98

-16.95

AOT-R

5,233

75.58

67.75

-6.55

EA-R

4,572

86.79

44.25

-28.92

KBANK-R

4,529

35.33

131.5

0.77

CPALL-R

3,547

59.19

55.25

-15.33

GULF-R

3,367

74.82

45

-6.25

ADVANC-R

3,256

14.7

225

4.17

CRC-R

3,067

78.5

38.75

-6.06

SCC-R

2,816

9.37

288

-7.99

HANA-R

2,489

42.02

51

-18.07

PTT-R

2,321

69.4

33.25

-4.32

BH-R

2,210

8.62

229

-11.58

TOP-R

2,184

44.65

47.5

-7.77

GPSC-R

2,046

44.98

43.75

-17.06

PTTGC-R

1,985

57.36

36.25

-2.68

BANPU-R

1,951

244.23

8

-6.98

KCE-R

1,782

33.6

52.75

3.43

SCGP-R

1,768

47.88

36.5

-10.98

ที่มา : SETSMART ณ 10 พ.ย.66


โดย บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) เป็นหุ้นที่ถูก NVDR ทำ Short Sell ในช่วง 3 เดือนหลัง มูลค่าสูงสุด 6.1 พันล้านบาท คิดเป็น 6.65% จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 37.82 ล้านหุ้น คิดเป็น 6.71% 


นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 บริษัท ที่ถูก NVDR ทำ Short Sell ในช่วงดังกล่าว คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 5 พันล้านบาท ประกอบด้วย บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA ถูก NVDR ทำ Short Sell มูลค่า 5.6 พันล้านบาท คิดเป็น 7.78% จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 62.31 ล้านหุ้น คิดเป็น 7.61%


ขณะที่ บมจ.เอสซีบี เอกซ์ (SCB) ถูก NVDR ทำ Short Sell มูลค่า 5.4 พันล้านบาท คิดเป็น 6.88% จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 52.37 ล้านหุ้น คิดเป็น 6.85% และ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) ถูก NVDR ทำ Short Sell มูลค่า 5.2 พันล้านบาท คิดเป็น 8.69% จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 75.58 ล้านหุ้น คิดเป็น 8.68%

 

*** มีถึง 13 บจ. ถูก Short Sell ทั้ง 2 ฝั่ง

ขณะเดียวกัน มีหุ้นถึง 13 บริษัท ที่ถูกทำ Short Sell ทั้ง 2 ฝั่ง (ในประเทศ และNVDR) ประกอบด้วย บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) มูลค่ารวม 1.15 หมื่นล้านบาท, บมจ.ปตท. (PTT) มูลค่ารวม  1.1 หมื่นล้านบาท, บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) มูลค่ารวม 1.08 หมื่นล้านบาท


บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) มูลค่ารวม 8.7 พันล้านบาท, บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) มูลค่ารวม 8.5 พันล้านบาท, บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA มูลค่ารวม 8.2 พันล้านบาท, ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มูลค่ารวม 7.9 พันล้านบาท, บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) มูลค่ารวม 6.6 พันล้านบาท  


บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) มูลค่ารวม 6.1 พันล้านบาท, บมจ.บ้านปู (BANPU) มูลค่ารวม 6 พันล้านบาท, บมจ.ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส (HANA) มูลค่ารวม 4.6 พันล้านบาท, บมจ.ไทยออยล์ (TOP) มูลค่ารวม 4.3 พันล้านบาท และ บมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ (KCE) มูลค่ารวม 3.5 พันล้านบาท 

 

*** กูรูชี้หุ้นไทยยังซึมต่อ แนะเก็บหุ้นพื้นฐานดี ลุ้นดัชนีฟื้นครึ่งหลังปี 67

ด้าน นักวิเคราะห์รายหนึ่งประเมินว่า ทิศทางตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปี 66 ไปจนถึงครึ่งแรกของปี 67 ยังคงเป็นขาลง และมีโอกาสที่ดัชนีจะไปแตะระดับ 1,200 จุด ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ดีขึ้น ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และยังไม่ทราบว่าจะมีท่าทีจะปรับตัวลง รวมถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะกดดันให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวลำบาก


แม้เศรษฐกิจไทย โดยรวมยังมีความแข็งแกร่ง และมีเสถียรภาพ มีทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูง หนี้รัฐบาลและหนี้ภาคเอกชนไม่มาก แต่เป็นเรื่องยากที่เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้เกิน 3% อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ระดับสูงนั้นจะกดดันการทำกำไร ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) 


อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าว ทำให้มองว่าเป็นโอกาสในการเข้าสะสมหุ้นพื้นฐานดีราคาถูก เพราะเมื่อทุกอย่างอยู่ในจุดต่ำสุด ย่อมมีการฟื้นตัว และหากเกิดสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้น ยิ่งทำให้ตลาดหุ้นไทยในฃ่วงครึ่งปีหลังของปี 67 มีโอกาสขยับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างน่าสนใจ







ข่าวหุ้นอื่นๆที่น่าสนใจ

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

Refresh




LATEST NEWS

ข่าวหุ้นล่าสุด

Refresh

ดูข่าวทั้งหมด