"ตลาดหลักทรัพย์ฯ" ปรับเกณฑ์ Ceiling & Floor เป็น+/- 15% จากเดิม +/-30% และ Circuit Breaker ปรับเป็น 3 ระดับ ตั้งแต่ -8% , - 15% ,-20% พัก 30 ,30 , 60 นาที ตามลำดับ เริ่มใช้ 18 มี.ค.-30 มิ.ย.นี้ ยันไม่ปิดการซื้อขาย มาตรการที่ออกมาเพียงพอรองรับ ด้าน บจ.ทยอยควักเงินซื้อหุ้นคืนพยุงราคา หลังร่วงต่ำพื้นฐาน ขณะที่กูรูชี้หุ้นไทย P/E ต่ำแล้ว-ปันผลน่าสนใจ
*** ตลท.ปรับเกณฑ์เซอร์กิตฯ/ซิลลิ่ง-ฟลอร์ เริ่ม 18 มี.ค.63
นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ในภาวะที่ตลาดมีความผันผวนอย่างมากจากปัจจัยภายนอก ทั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของทั่วโลก ซึ่งที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับปรุงเกณฑ์ short selling ให้ทำได้เฉพาะในราคาที่สูงกว่าราคาซื้อขายล่าสุด (uptick) เป็นมาตรการแรกตั้งแต่การซื้อขายภาคบ่ายของวันที่ 13 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายยังมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงปรับปรุงเกณฑ์การกำหนดราคาเสนอซื้อขายสูงสุดและต่ำสุด (Ceiling & Floor) และเกณฑ์การหยุดการซื้อขายโดยอัตโนมัติ (Circuit Breaker) เป็นการชั่วคราวจนกว่าตลาดจะเข้าสู่ภาวะปกติ เพื่อลดความผันผวนของภาวะตลาดในปัจจุบัน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 และไม่เกิน 30 มิถุนายน 2563 ดังนี้
ปรับ Ceiling & Floor สำหรับทั้ง SET, mai และ TFEX ดังนี้
ตลาด |
ผลิตภัณฑ์ |
Ceiling&Floor
เดิม | ใหม่ |
SET , mai |
หุ้น / หน่วยลงทุน / warrant / DW / ETF / TSR / DR
________________________________________
Foreign share
|
+/-30%
______
+/-60% |
+/-15%
______
+/-30% |
TFEX |
Index Futures / Options
Sector Futures
Single Stock Futures |
+/-30% |
+/-15% |
ปรับเกณฑ์ Circuit Breaker จาก 2 ระดับ เป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับ |
เดิม |
ใหม่ |
|
Index |
หยุดซื้อขาย |
Index |
หยุดซื้อขาย |
ระดับที่ 1 |
-10% |
30 นาที |
-8% |
30 นาที |
ระดับที่ 2 |
-20% |
60 นาที |
-15% |
30 นาที |
ระดับที่ 3 |
- |
- |
-20% |
60 นาที |
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ติดตามและกำกับดูแลการซื้อขายอย่างใกล้ชิด และเชื่อว่ามาตรการปรับปรุงเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ออกมานั้น จะมีส่วนช่วยให้เสริมเสถียรภาพของตลาดและสร้างความมั่นใจในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน
โดยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์กล่าวทิ้งท้ายว่า ยืนยันไม่มีนโยบายปิดการซื้อขายในตลาดหุ้นไทย เหมือนกับบางประเทศ แต่นโยบายที่ออกมาเพียงต้องการให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวช้าลง
*** บจ.ควักเงินซื้อหุ้นคืน พยุงราคาหุ้น
จากการสำรวจของผู้สื่อข่าวพบว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(บจ.)หลายแห่ง เริ่มทยอยออกโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงินออกมาจำนวนมาก เนื่องจากมองว่าราคาหุ้นในปัจจุบันต่ำกว่าพื้นฐานในความเป็นจริง ดังนี้
บริษัท |
จำนวนหุ้นซื้อคืน |
วงเงิน(ลบ.) |
CPF |
400,000,000 |
10,000 |
CPALL |
180,000,000 |
13,000 |
TU |
200,000,000 |
3,000 |
TFG |
38,000,000 |
150 |
SGP |
91,000,000 |
1,000 |
SCP |
15,000,000 |
98.5 |
นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่อยู่ระหว่างการศึกษาซื้อหุ้นคืนดังนี้ TTA และ CBG
*** กูรูชี้หุ้นไทย P/E ต่ำ- ปันผลน่าสนใจแล้ว
นายสาห์รัช ชัฏสุวรรณ ผู้อำนวยการสายการตลาด และที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด ระบุว่า ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลงมากกว่า 30% รับข่าวความกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ปัจจุบันหุ้นไทยซื้อขายในระดับอัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E)ย้อนหลัง อยู่ที่ประมาณ 11 - 12 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ยังซื้อขายต่ำกว่าตลาดอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอีกด้วย ทั้งนี้ในระยะนี้บริษัทจดทะเบียนยังทยอยประกาศจ่ายเงินปันผลออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะเริ่มขึ้นเครื่องหมาย XD ในเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งจากราคาหุ้นที่ปรับลดลงไปมาก ทำให้อัตราการจ่ายปันผลของตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.5% สูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีประมาณ 3%
ดังนั้นจึงมองเป็นโอกาสในการลงทุนเพิ่ม เนื่องจากเชื่อว่าผลกระทบจาก COVID-19 จะเป็นเพียงปัจจัยระยะสั้น เมื่อเห็นสัญญาณที่ประเทศต่างๆ สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ หรือสามารถคิดค้นวัคซีนเพื่อมาสร้างภูมิคุ้มกันได้ จะทำให้ตลาดปรับตัวขึ้นแรงทันที