บริษัท พีรพัฒน์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ PRAPAT กำลังจะเข้าซื้อขายในตลาด เอ็ม เอ ไอ (mai) วันที่ 20 ต.ค. 63 นี้
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย จึงได้สรุปข้อมูลที่สำคัญจากแบบไฟลิ่ง เป็น 10 เรื่องน่ารู้หุ้น PRAPAT เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน
1. PRAPAT ทำธุรกิจเกี่ยวกับ น้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อ
PRAPAT เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อ ภายใต้ตราสินค้าหลัก “PEERAPAT” รวมทั้งเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอุตสาหกรรมการให้บริการ (Hospitality Industry) อีกทั้งให้เช่าและให้บริการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัท
สัดส่วนรายได้
1.ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 80%
2.ธุรกิจให้เช่าและบริการ 20%
2. ขายไอพีโอ 100 ล้านหุ้น คิดเป็น 29.41%
บริษัทฯ เสนอขายหุ้นไอพีโอทั้งหมดจำนวน 100,000,000 หุ้น คิดเป็น 29.41% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้
สัดส่วนการเสนอขายหุ้น
1) เสนอขายต่อบุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 80,000,000 หุ้น
2) เสนอขายต่อผู้มีอุปการคุณของบริษัทและบริษัทย่อย 10,000,000 หุ้น
3) เสนอขายต่อกรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของบริษัทและบริษัทย่อย 10,000,000 หุ้น
โดยเป็นการรับประกันการจำหน่ายอย่างแน่นอนทั้งจำนวน (Firm Underwriting)
3. เคาะราคาขายไอพีโอ 1.50 บ. คิดเป็น P/E 11.90 เท่า
การกำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทที่เสนอขายในครั้งนี้ พิจารณาจากอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (Price to Earnings Ratio : P/E)
ทั้งนี้ ราคาหุ้นที่เสนอขายหุ้นละ 1.50 บาท คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ เท่ากับ 11.90 เท่า
โดยคำนวณกำไรสุทธิต่อหุ้นจากผลกำไรสุทธิในช่วง 4 ไตรมาสย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ซึ่งมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทเท่ากับ 42.85 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทหลังจากการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ ซึ่งเท่ากับ 340,000,000 หุ้น (Fully Diluted) จะได้กำไรสุทธิต่อหุ้น (Earnings Per Share) ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท เท่ากับ 0.1260 บาท
อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนควรทราบว่าอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ (P/E Ratio) ดังกล่าว คำนวณจากผลการดำเนินงานในอดีต 4 ไตรมาสย้อนหลัง ซึ่งไม่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานหรือความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในปัจจุบันหรือในอนาคต และไม่ได้เป็นอัตราส่วนที่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้โดยตรง เนื่องจากเป็นอัตราส่วนในช่วงเวลาที่ต่างกัน
หากเทียบกับ P/E ในหมวดสินค้าอุตสาหกรรม (INDUS) ซึ่งเป็นหมวดธุรกิจที่บริษัทจะเข้าไปจดทะเบียน เฉลี่ยในช่วงระยะเวลา 3 เดือนย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 มีค่าเท่ากับ 33.36 เท่า
PRAPAT ขายหุ้นไอพีโอ : ทั้งหมด 100 ล้านหุ้น คิดเป็น 29.41%
มีจำนวนหุ้นหลังเสนอขายไอพีโออยู่ที่ : 340 ล้านหุ้น
เข้าจดทะเบียนด้วยวิธี : เกณฑ์กำไรสุทธิ (Profit Test)
มูลค่าที่ตราไว้(พาร์) : 0.50 บาท/หุ้น
มูลค่าทางบัญชี : 1.47 บาทต่อหุ้น (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 63)
เข้าซื้อขายใน : ตลาด mai วันที่ 20 ต.ค.63
หมวดธุรกิจ : สินค้าอุตสาหกรรม
ที่ปรึกษาทางการเงิน : บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด
ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย : บล. โนมูระ พัฒนสิน , บล.ฟินันเซีย ไซรัส , บล.โกลเบล็ก , บล.เคทีบี (ประเทศไทย) , บล.ทรีนีตี้ , บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) , บล.ยูโอบี เคย์เฮียน
4. กลุ่มกลุ่มนายสืบพงศ์ เกตุนุติ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

5. คาดปี 63 กำไรสุทธิลดลงจากปีก่อนจากสถานการณ์โควิด-19
งวด 6 เดือนปี 2563 บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทจำนวน 11.09 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า จำนวน 2.38 ล้านบาท เป็นผลมาจากสถานการณ์โรค COVID-19 ทำให้มีรายได้ลดลง อัตรากำไรขั้นต้นจากการงานบริการที่ลดลง โดยเฉพาะอัตรากำไรขั้นต้นจากการให้เช่าเครื่องล้างภาชนะอัตโนมัติตามมาตรการช่วยเหลือลูกค้าเฉพาะกลุ่มโรงแรมและร้านอาหารที่ถูกสั่งปิดชั่วคราวตามคำสั่งของหน่วยงานภาครัฐ
สำหรับปี 2563 กำไรสุทธิอาจจะลดลงจากปี 2562 อันเนื่องมาจากผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ซึ่งกดดันให้รายได้ที่ตั้งเป้าหมายไว้ลดลง กอปรกับอัตราการทำกำไรอาจลดลงเนื่องจากกลุ่มบริษัทมีการกำหนดมาตรการต่างๆ ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 ทั้งนี้วัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยเหลือลูกค้าและตัวแทนจำหน่ายของบริษัท ซึ่งจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าและช่วยลดผลกระทบจากการลดลงของรายได้ของลูกค้าให้สามารถผ่านพ้นในช่วงวิกฤตไปด้วยกันกับกลุ่มบริษัท
6. D/E ล่าสุดอยู่ที่ 1.82 เท่า จากเงื่อนไขไม่เกิน 2 เท่า

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของภาระหนี้เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน การเพิ่มขึ้นของหนี้สินตามสัญญาเช่าจากการจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่องสัญญาเช่า ในขณะที่มูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เปลี่ยนแปลงมากนักเนื่องจากบริษัทมีการจ่ายเงินปันผลใกล้เคียงกันกับกำไรสุทธิสำหรับงวด 6 เดือนของปี 2563 และเงินเพิ่มทุนที่ได้จากการระดมทุนต้นปี 2563
ทั้งนี้ บริษัทมีเงื่อนไขตามสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินให้ต้องรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของไม่ให้เกิน 2.00 เท่า ซึ่งฝ่ายบริหารโดย CFO ได้รับมอบหมายให้ดูแลติดตามประเด็นนี้ไม่ให้ผิดเงื่อนไขของเจ้าหนี้สถาบันการเงิน โดยภายหลังจากการระดมทุนเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) บริษัทจะมีอัตราส่วนทางการเงินที่ดีขึ้นและยังคงเป็นไปตามเงื่อนไขของสถาบันการเงิน
7. มีการเพิ่มทุนราคาพาร์ ก่อนขายไอพีโอ
บริษัทมีการเพิ่มทุน 40,000,000 หุ้น ราคาเสนอขาย 0.50 บาท/หุ้น (พาร์) โดยเป็นการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน (Right Offering) ในอัตรา 5 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่ ระหว่างวันที่ 7-15 เมษายน 2563
8. หุ้นของผู้มีส่วนร่วมในการบริหารติด Silent Period ทั้งหมด
PRAPAT ระบุในแบบไฟลิ่งว่า ไม่มีหุ้นของผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร” ที่ไม่ติด Silent Period
9. นโยบายจ่ายปันผลไม่น้อยกว่า 30%
บริษัทมีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่า 30% ของกำไรสุทธิหลังหักสำรองตามกฎหมาย และเงินสำรองอื่นตามที่บริษัทกำหนด โดยพิจารณาจากงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท
อย่างไรก็ตามการจ่ายเงินปันผลดังกล่าว อาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับความเพียงพอของกระแสเงินสดสุทธิ ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน แผนการลงทุนในโครงการต่างๆ ของบริษัท รวมถึงความจำเป็นและความเหมาะสมอื่นในอนาคตตามที่คณะกรรมการบริษัท และ/หรือผู้ถือหุ้นของบริษัท เห็นสมควรหรือเหมาะสม ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น
10. เงินระดมทุนส่วนใหญ่ ใช้ก่อสร้างคลังสินค้าเพิ่มเติม

อ่านไฟลิ่งฉบับเต็มที่นี่
https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=295851