บริษัท วีรันดา รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ VRANDA ผู้ประกอบการรีสอร์ทชื่อดัง อสังหาริมทรัพย์ และร้านอาหาร กำลังจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ 3 พ.ค.นี้
ทีมข่าว "อีไฟแนนซ์ไทย" เจาะลึก 9 เรื่องน่ารู้ของหุ้น VRANDA จากข้อมูลในแบบไฟลิ่ง มาให้นักลงทุนที่มีความสนใจ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าลงทุน
1.ทำธุรกิจโรงแรม อสังหาฯ และอาหาร
VRANDA ประกอบธุรกิจโรงแรม ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุดพักอาศัย และธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยมีสัดส่วนรายได้โรงแรมอยู่ที่ 54.03% พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 43.32% อาหารและเครื่องดื่ม 0.84% รายได้ค่าบริหารจัดการ 0.79% และอื่นๆ 1.02%
ณ สิ้นปี 61 บริษัทมีโรงแรมเปิดให้บริการทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ 1.โรงแรมวีรันดา รีสอร์ท หัวหิน 2.โรงแรมวีรันดา เดอะ ไฮ รีสอร์ท เชียงใหม่ 3.โรงแรม โซ โซฟิเทล แบงค็อก 4.โรงแรมวีรันดา รีสอร์ท พัทยา 5.โรงแรมร็อคกี้ บูติค รีสอร์ท และอยู่ระหว่างพัฒนา 1 แห่ง คือ โรงแรม เวอโซ หัวหิน
ธุรกิจอาคารชุดพักอาศัยปัจจุบันมีโครงการสร้างเสร็จพร้อมอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ 1. วีรันดา ไฮ เรสซิเดนซ์ เชียงใหม่ 2.วีรันดา เรสซิเดนซ์ พัทยา และอยู่ระหว่างก่อสร้าง 1 แห่ง คือ วีรันดา เรสซิเดนซ์ หัวหิน
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มปัจจุบันเปิดดำเนินการทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ ร้าน Skoop Beach Cafe พัทยา และหัวหิน ร้าน KOF สาทร และทองหล่อ
2.รายได้-กำไรฟื้นตัวก้าวกระโดด
ผลการดำเนินงานในปี 59 - 61
|
|
|
หน่วย:ล้านบาท |
ปี |
รายได้ |
กำไรสุทธิ |
อัตรากำไรสุทธิ(%) |
59 |
1,210 |
-17.85 |
-1.47 |
60 |
1,731 |
22.23 |
1.28 |
61 |
2,431 |
235.78 |
9.7 |
ผลประกอบการปี 59 ที่ขาดทุนสุทธิ 17.85 ล้านบาท มีสาเหตุมาจากการเปิดโรงแรมวีรันดา รีสอร์ท พัทยา ทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายต่างๆเข้ามาซึ่งเป็นเหตุการณ์ปกติของธุรกิจโรงแรม และมีค่าใช้จ่ายการขายโครงการวีรันดา เรสซิเดนซ์ พัทยาเข้ามา ซึ่งต่อมา 2 โครงการดังกล่าวเริ่มสร้างรายได้ทำให้กำไรสุทธิกลับมาฟื้นตัวตามลำดับ
3.ราคาไอพีโอ 10 บาท คิดเป็น P/E 13.51 เท่า ต่ำกว่าธุรกิจคล้ายกัน
VRANDA กำหนดราคาขายหุ้นไอพีโอที่หุ้นละ 10 บาท โดยกำหนดจากราคาหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จะเสนอขายในครั้งนี้จากการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์(Book Building)จากช่วงราคา 9.80 - 10 บาทต่อหุ้น
ซึ่งหากพิจารณาจากำไรสุทธิในช่วง 12 เดือนย้อนหลังของบริษัท(ไตรมาส 1/61 - 4/61) เท่ากับ 235.75 ล้านบาท หรือ 0.74 บาทต่อหุ้น จะคิดเป็นอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น(P/E)อยู่ที่ 13.51 เท่า
โดยมีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ดำเนินธุรกิจใกล้เคียงกันทั้งหมด 3 บริษัท และมี P/E เฉลี่ยอยู่ที่ 31.25 เท่า ได้แก่
1.บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) P/E 32.74 เท่า
2.บมจ.โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา (CENTEL) P/E 27.34 เท่า
3.บมจ.ดิเอราวัณ กรุ๊ป(ERW) P/E 33.67 เท่า
อนึ่ง VRANDA ขายหุ้นไอพีโอทั้งหมด 75 ล้านหุ้น
มีจำนวนหุ้นหลังเสนอขายไอพีโอที่อยู่ที่ 319 ล้านหุ้น
มูลค่าที่ตราไว้(พาร์) 5 บาท/หุ้น
มูลค่าทางบัญชีที่ 5.48 บาท/หุ้น (คำนวณ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 61)
เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ในวันที่ 3 พ.ค. 62
ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
อันเดอร์ไรท์ บล.กสิกรไทย, บล.ไทยพาณิชย์, บล.ฟินันเซีย ไซรัส
4.นำเงินระดมทุนขยายธุรกิจ-ชำระหนี้สถาบันการเงิน
VRANDA เตรียมนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้ภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการเสนอขายหลักทรัพย์ จำนวนประมาณ 723.70 บาท ไปใช้ดังนี้
-ใช้เงินจำนวน 400 - 450 ล้านบาท ภายในปี 62 - 64 ขยายธุรกิจกลุ่มบริษัทฯซึ่งรวมถึงการขยายธุรกิจโรงแรม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงโครงการวีดันดา เรสซิเดนซ์ หัวหิน, โครงการโรงแรมเวอโซ หัวหิน และโครการอื่นๆ
-ใช้เงินจำนวน 200 - 250 ล้านบาท ภายในปี 62 - 63 ชำระคืนเงินกู้แก่สถาบันการเงิน
-ใช้เงินจำนวน 23.70 - 123.70 ล้านบาท ภายในปี 62 - 64 เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน
5.ผู้ถือหุ้นเดิมเซ็นสัญญาห้ามขายหุ้น 1 ปี
ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัททุกราย ที่ถือหุ้นเกิน 100,000 หุ้นขึ้นไป จะเข้าทำหนังสือข้อตกลงกับผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย เพื่อจำกัดสิทธิของตน ว่าจะไม่จำนำ จำนอง ก่อภาระติดพันขาย หรือจำหน่ายจ่ายโอนให้แก่บุคคลอื่นในช่วง 1 ปี นับจากวันเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ซึ่งในระยะเวลา 6 เดือนหลังเข้าซื้อขายแล้วผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทจะสามารถขายหุ้นที่ถูกห้ามขายได้ 25% ของตำนวนหุ้นทั้งหมดที่ถูกห้ามขาย และจะขายส่วนที่เหลือได้เมื่อครบ 1 ปี
และมีสัดส่วนหุ้นของ "ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร" ที่ไม่ติด Silent Period จำนวน 49,846,770 หุ้น คิดเป็น 15.59% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้
6.มีผู้ถือหุ้นเดิมจะขาย Big Lot ในวันแรกในราคา IPO
ในวันแรกที่เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ นางพรนภัส องค์วาสิฏฐ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมที่มีจำนวนถือหุ้น หุ้น จะเสนอขายหุ้นสามัญเดิมให้แก่ผู้ลงทุนเฉพาะเจาะจงไม่เกิน 50 ราย ในจำนวนไม่เกิน 1,000,000 หุ้น หรือ 0.31% ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท บนกระดานรายใหญ่(Big-lot Board) ในราคาที่เท่ากับราคาเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปในครั้งนี้
สัดส่วนการเสนอขายหุ้น IPO ดังนี้
ประเภทผู้ลงทุน |
จำนวนหุ้นที่เสนอขาย(ล้านหุ้น) |
สัดส่วนที่เสนอขาย(%) |
บุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่าย |
23.6 |
31.47 |
ผู้ลงทุนสถาบัน |
48 |
64 |
ผู้มีอุปการคุณของบริษัทฯ และบริษัทย่อย |
1.53 |
2.04 |
กรรการหรือผู้บริหารของบริษัท |
1.41 |
1.88 |
พนักงานของบริษัท |
0.46 |
0.61 |
7.ผู้ถือหุ้นใหญ่ปัจจุบันเป็นผู้บริหารของ MAJOR
VRANDA มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นหลังการขาย IPO เป็นดังนี้
1)กลุ่มนายวีรวัฒน์ องค์วาสิฏฐ์ 62.65%
2)กลุ่มนายกิตติศักดิ์ สพโชคชัย 6.72%
3)กลุ่มนายสาคร สุขศรีวงศ์ 4.12%
4)กลุ่มนายวิชัย กุลสมภพ 0.60%
5)กลุ่มนายสุรศักดิ์ ว่องเกียรติถาวร 0.20%
6)ประชาชนทั่วไป 23.77%
ทั้งนี้ นายวีรวัฒน์ องค์วาสิฏฐ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่และรองประธานกรรมการ VRANDA ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการ ใน บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAJOR
8.นโยบายปันผลไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิ
VRANDA มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิจากงบเฉพาะกิจการภายหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และเงินสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ อย่างไรก็ตามการจ่ายเงินอาจเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับความจำเป็น และความเหมาะสมอื่นๆ ตามที่ขณะกรรมการเห็นสมควร
9.มี D/E ณ สิ้นปี 61 ที่ 2.57 เท่า
VRANDA มีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น(D/E) ณ สื้นปี 61 อยู่ที่ 2.57 เท่า ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากปี 60 ที่ 3.71 เท่า ตามจำนวนหนี้สินที่ลดลง และส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น
งบแสดงฐานะการเงิน VRANDA ณ สิ้นปี 61 เป็นดังนี้
สินทรัพย์รวม 4,781.37 ลบ.
หนี้สินรวม 3,440.77 ลบ.
ส่วนของผู้ถือหุ้น 1,340.60 ลบ.
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (D/E) 2.57 เท่า
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) 4.61%
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) 18.89%