บริษัท เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TPS ธุรกิจระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกำลังจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในวันที่ 15พ.ย. นี้
ทีมข่าว "อีไฟแนนซ์ไทย" เจาะลึก 9 เรื่องน่ารู้ของหุ้น TPS จากข้อมูลในแบบไฟลิ่ง มาเพื่อให้นักลงทุนที่มีความสนใจ ศึกษาข้อมูลเตรียมความพร้อมก่อนเข้าลงทุน
1.ทำธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
TPS ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 20 พ.ค. 2547 ปัจจุบันดำเนินธุรกิจเป็นผู้ให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Solutions Provider: ITP) และบริการหลังการขาย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักดังนี้
1.ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์และวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.ธุรกิจให้บริการดูแลและบำรุงรักษาระบบภายหลังการขาย
3.ธุรกิจให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ
มีกลุ่มลูกค้าตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ ทั้งบริษัทเอกชน หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ
2.มีแบรนด์ชื่อดังในมือหลายแบรนด์
ปัจจุบันจำหน่ายผลิตภัณฑ์มีชื่อเสียงโดยเฉพาะการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระดับ Gold Certified Partner กับ Cisco Systems และพันธมิตรรายอื่นๆได้แก่ NetApp, Palo Alto Networks, Symantec, Vmware, Fortinet
3.มีกลุ่มกิจเกษตรสถาพร และ วิธวาศิริ ถือหุ้นใหญ่
ณ วันที่ 30 มิ.ย. 62 มีกลุ่มครอบครัว กิจเกษตรสถาพร ถือหุ้นอยู่ที่ 71.75% และกลุ่มครอบครัว วิธวาศิริ ถือหุ้นอยู่ที่ 22% และมีสัดส่วนถือหุ้นหลังขายไอพีโอที่ 51.26% และ 16.72% ตามลำดับ ดังนี้

4.ราคาไอพีโอ 2.50 บาท คิดเป็น P/E 11.57 เท่า
การกำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯในครั้งนี้ พิจารณาจากอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (Price to Earnings Ratio: P/E) และสภาวะการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งราคาหุ้นสามัญที่เสนอขาย2.50 บาท/หุ้น คิดเป็น P/E ที่ 11.57 เท่า เมื่อคำนวณจากกำไรสุทธิตามงบการเงินของบริษัท ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2561 ถึงไตรมาส 2 ปี 2562 เท่ากับ 60.48 ล้านบาท และหารด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ 280 ล้านหุ้น (Fully Diluted) ได้กำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ 0.22 บาท
ทั้งนี้มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจคล้ายกันในตลาดหลักทรัพย์ คือ บมจ.แอ็ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี (AIT) ปัจจุบันมี P/E เฉลี่ย 15.60 เท่า
ขณะที่หมวดธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) มี P/E อยู่ที่ 20.68 เท่า
TPS ขายหุ้นไอพีโอทั้งหมด 80 ล้านหุ้น
มีจำนวนหุ้นหลังเสนอขายไอพีโอที่อยู่ที่ 280 ล้านหุ้น
มูลค่าที่ตราไว้(พาร์) 0.50 บาท/หุ้น
มูลค่าทางบัญชีที่ 0.81 บาท/หุ้น (คำนวณ ณ วันที่ 30 มิ.ย.62)
เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ(mai) ในวันที่ 15 ต.ค. 62
ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
อันเดอร์ไรท์ บล.เคทีบี , บล.ทรีนีตี้ , บล.ฟิลลิป , บล.ฟินันเซีย ไซรัส , บล.เอเซีย พลัส
สัดส่วนการเสนอขายหุ้น :
ประเภทผู้ลงทุน
|
จำนวนหุ้นที่เสนอขาย
|
สัดส่วนที่เสนอขาย
|
บุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์
|
ราว 60,000,000 หุ้น
|
ราว 75%
|
ผู้มีอุปการคุณของบริษัท
|
ไม่เกิน 12,000,000 หุ้น
|
ไม่เกิน 15%
|
กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท
|
ไม่เกิน 8,000,000 หุ้น
|
ไม่เกิน 10%
|
5.รายได้และอัตรากำไรสุทธิผันผวน
|
ปี59
|
ปี60
|
ปี61
|
2H/62
|
รายได้รวม(ลบ.)
|
597.67
|
850.79
|
539.77
|
322.77
|
กำไรสุทธิ(ลบ.)
|
61.18
|
54.04
|
42.01
|
22.15
|
อัตรากำไรสุทธิ(%)
|
10.23
|
6.35
|
7.78
|
6.87
|
สาเหตุที่รายได้มีความผันผวน เนื่องจากมีลักษณะของงานเป็นโครงการ ที่ได้มาโดยการเสนอราคา หรือวิธีการประมูล ทำให้รับรู้รายได้ไม่สม่ำเสมอ
ส่วนสาเหตุที่กำไรสุทธิในปี 60 ลดลงแม้รายได้เติบโตเนื่องจากเป็นงานขนาดใหญ่ และมีต้นทุนโครงการสูง ทำให้มีส่วนต่างกำไรสูง ส่วนในปี 61 บริษัทมีรายได้ลดลงทำให้กำไรสุทธิลดลงตาม แม้อัตรากำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้นก็ตาม
6.D/E เพิ่มมาเป็น 1.74 เท่า ใน2H/62 จากเจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น
สรุปฐานะการเงินและผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปี และไตรมาสล่าสุด สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 - 2561 และไตรมาสที่ 2 ปี 2562 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2562
ฐานะการเงิน
|
งบการเงินรวม
|
ณ วันที่ 30 มิ.ย.62
|
ปี 2559
|
ปี 2560
|
ปี 2561
|
สินทรัพย์รวม
|
324.90
|
327.97
|
380.56
|
443.08
|
หนี้สินรวม
|
171.47
|
160.51
|
196.01
|
281.38
|
ส่วนของผู้ถือหุ้น
|
153.43
|
167.46
|
184.55
|
161.70
|
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (D/E) (เท่า)
|
1.12
|
0.96
|
1.06
|
1.74
|
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) (ร้อยละ) *
|
18.98
|
16.56
|
11.86
|
14.69**
|
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) (ร้อยละ) *
|
47.21
|
33.68
|
23.87
|
34.94**
|
หมายเหตุ : ** สำหรับการคำนวณอัตราส่วนทางการเงินสำหรับงวด 6 เดือนแรก ปี 2562 ใช้ตัวเลขปรับให้เป็นจำนวนเต็มปี (Annualized) เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ
7.นำเงินระดมทุนชำระเงินกู้ยืมสถาบันการเงิน
บริษัทเตรียมนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นไอพีโอในครั้งนี้ หลังจากหักค่าธรรมเนียมการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้แล้ว จำนวน ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ดังนี้
-ใช้เงิน 27 ล้านบาท ในปี 63 เพื่อชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินจากการลงทุนก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่
-ใช้เงิน 6 ล้านบาท ในปี 63 เพื่อจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operation Center: NOC)
-ใช้เงิน 10 ล้านบาท ในปี 63 เพื่อการจัดตั้งศูนย์แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบรักษาความปลอดภัยและระบบสื่อสารครบวงจร(DEMO Data Center, Security & Collaboration)
-ที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ในปี 64
8.ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร มีสัดส่วนหุ้นที่ไม่ติด Silent Period จำนวน 20 ล้านหุ้น คิดเป็น 7.14% ของหุ้นทั้งหมด
สัดส่วนหุ้นของ "ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร" ที่ไม่ติด Silent Period มีจำนวน 20,000,000 หุ้น คิดเป็น 7.14% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้
9.มีนโยบายปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ
บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิจากงบเฉพาะกิจการภายหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และเงินสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ