เปิดโผ 41 หุ้นใหญ่ใน SET100 กำไรสะสมสูงเกินหมื่นล้านบาท พบเกินครึ่งเป็นหุ้นใน SETHD กูรูชี้เป็นอีกทางเลือกลงทุนช่วงเศรษฐกิจขาลง อุ่นใจเรื่องจ่ายเงินปันผล หลังมองปีนี้กำไรบจ.ทรุดหนัก หลายบริษัทอาจพลิกขาดทุน
*** เปิดโผ 41 บจ.กำไรสะสมทะลุหมื่นล้านบาท
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจงบการเงิน บจ.ประจำปี 62 พบว่าปัจจุบันมี 41 บริษัทที่มีกำไรสะสมมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท ได้แก่
41 หุ้นกำไรสะสมเกินหมื่นล้านบาท
|
ชื่อย่อหุ้น
|
กำไรสะสม (ล้านบาท)
|
PTT
|
544,005.24
|
SCB
|
329,692.33
|
KBANK
|
299,216.93
|
PTTEP
|
200,224.79
|
KTB
|
188,089.52
|
BBL
|
172,144.82
|
PTTGC
|
163,299.73
|
AOT
|
124,776.75
|
SCC
|
84,784.28
|
TOP
|
73,513.43
|
TCAP
|
58,389.45
|
CPN
|
56,666.06
|
CPF
|
53,294.34
|
EGCO
|
50,362.96
|
CPALL
|
48,682.03
|
TMB
|
46,987.42
|
ADVANC
|
43,725.58
|
RATCH
|
37,887.72
|
SPALI
|
31,297.90
|
IRPC
|
30,969.52
|
DELTA
|
30,067.47
|
BCP
|
26,069.03
|
GPSC
|
24,611.00
|
KKP
|
23,644.48
|
LH
|
21,646.88
|
AP
|
20,334.87
|
TU
|
20,229.00
|
BH
|
18,488.81
|
BDMS
|
18,214.81
|
INTUCH
|
17,666.42
|
IVL
|
16,632.99
|
BANPU
|
15,927.34
|
KTC
|
14,980.05
|
QH
|
14,785.00
|
EA
|
14,601.91
|
TRUE
|
13,544.85
|
JAS
|
12,996.16
|
MBK
|
12,541.10
|
BTS
|
12,296.31
|
AEONTS
|
11,855.28
|
MTC
|
11,230.14
|
จากตารางทั้งหมดเป็นหุ้นใน SET100 โดยมี 8 บริษัทที่มีกำไรสะสมมากกว่า 1 แสนล้านบาท บมจ.ปตท.(PTT) มีกำไรสะสมสูงสุดถึง 5.4 แสนล้านบาท รองลงมาคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) มีกำไรสะสม 3.3 แสนล้านบาท และ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มีกำไรสะสมเกือบ 3 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวเป็นกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรของงบการเงินเฉพาะกิจการของแต่ละบริษัท ซึ่งสามารถนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลได้
*** 21 บจ.เป็นหุ้นในดัชนี SETHD
ขณะที่ 21 จาก 41 บจ.ข้างต้น เป็นหุ้นในดัชนี SETHD (SET High Dividend) หรือหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) จัดกลุ่ม 30 บริษัทที่มีอัตราจ่ายผลปันผลย้อนหลัง 3 ปีอยู่ในเกณฑ์ดีและสม่ำเสมอ ประกอบด้วย
21 หุ้น SETHD ที่มีกำไรสะสมเกินหมื่นล้านบาท
|
ชื่อย่อหุ้น
|
คาดการ % Div.Yield ปี 63
|
KKP
|
10.6
|
TCAP
|
8.5
|
LH
|
7.8
|
SCB
|
7.6
|
QH
|
7.3
|
AP
|
7.1
|
KTB
|
6.4
|
INTUCH
|
6
|
BBL
|
5.9
|
PTT
|
5
|
PTTEP
|
4.3
|
RATCH
|
4.2
|
BCP
|
4.2
|
SCC
|
4.1
|
IRPC
|
4.1
|
ADVANC
|
3.9
|
DELTA
|
3.9
|
BANPU
|
3.9
|
IVL
|
3.4
|
TOP
|
3.4
|
PTTGC
|
3.2
|
ทั้งนี้เมื่อสำรวจข้อมูลจาก IAA Consensus ณ วันที่ 16 เม.ย.63 พบว่ามีถึง 15 บริษัทในกลุ่มนี้ที่มีแนวโน้มอัตราการจ่ายเงินปันผลตอบแทนเฉลี่ยประจำปี 63 มากกว่า 4% โดย ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) ถูกคาดการณ์ Dividend Yield เฉลี่ยถึง 10.6% สูงสุด 14.3% ต่ำสุด 7.4%
*** SPRC-THCOM-IRPC โชว์จ่ายปันผลจากกำไรสะสม
นอกจากนี้่พบว่างวดงบการเงินปี 62 มี 3 บริษัทที่ผลประกอบการขาดทุนแต่ใช้นโยบายนำกำไรสะสมมาจ่ายเป็นเงินปันผล ได้แก่ 1.บมจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (SPRC) ซึ่งขาดทุน 2,809 ล้านบาท แต่ประกาศจ่ายปันผลจากกำไรสะสม 0.1827 บาท/หุ้น คิดเป็นเงิน 792 ล้านบาท 2.บมจ.ไทยคม (THCOM) ขาดทุน 2,250 ล้านบาท แต่ใช้กำไรสะสม 219 ล้านบาท จ่ายเงินปันผล 0.20 บาท/หุ้น และ 3.บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) ขาดทุน 1,174 ล้านบาท แต่ใช้กำไรสะสม 2,043 ล้านบาท จ่ายปันผล 0.10 บาท/หุ้น โดยทั้ง 3 บริษัทมีกำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร ณ สิ้นปี 62 อยู่ที่ 6,167 ล้านบาท, 873.56 ล้านบาท และ 30,970 ล้านบาท
*** วงการคาด หลาย บจ.อาจพลิกขาดทุน
"เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส ระบุว่า นักวิเคราะห์ได้มีการปรับลดประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ปี 63 ลงต่อเนื่อง จากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้างทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะเดียวกันยังมีผลกระทบอื่น ๆ เพิ่มเข้ามาอีก เช่น ภัยแล้ง และราคาน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลต่อกำไร บจ.อย่างมีนัยสำคัญ ยิ่งกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง อาจจะส่งผลให้เกิดการขาดทุนได้
ทั้งนี้ บล.เอเซีย พลัส ได้ปรับลดกำไร บจ.รวมปีนี้เหลือ 7.8 แสนล้านบาท จากก่อนหน้านี้ที่ประเมินไว้ 8.97 แสนล้านบาท และจากช่วงปลายปี 62 ที่ประเมินไว้ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งจะทำให้กำไร บจ.ลดลงเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน
ด้าน "มงคล พ่วงเภตรา" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนหลักทรัพย์ บล.เคทีบี (ประเทศไทย) ระบุว่า ปรับลดกำไร บจ.ปีนี้เหลือ 7.81 ล้านบาท จากเดิม 9.8 แสนล้านบาท เพราะธุรกิจหลายกลุ่มหยุดชะงักจากโควิด-19 ซึ่งมีโอกาสเห็น บจ.บางแห่งพลิกขาดทุนได้ในปีนี้ สะท้อนจากงบไตรมาส 1/63 ที่ทยอยออกมาพบว่าหุ้นขนาดใหญ่หลายบริษัทกำไรลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ และเริ่มเห็นบางบริษัทพลิกขาดทุนแล้ว
*** หุ้นกำไรสะสมสูง อุ่นใจปันผล
นักวิเคราะห์ กล่าวต่อไปว่า การลงทุนระยะยาวในหุ้นปันผลยังเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับลงทุนในช่วงที่ดัชนีหุ้นไทยมีความผันผวนสูง ซึ่งราคาที่ปรับตัวลดลงจะทำให้อัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) เพิ่มสูงขึ้นด้วย โดยในภาวะแบบนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องนำมาเป็นปัจจัยในการเลือกหุ้นปันผลคือ "กำไรสะสม" ซึ่้ง บจ.ที่มีกำไรสะสมสูงจะมีความเสี่ยงการงดจ่ายเงินปันผลต่ำ เพราะแม้ธุรกิจจะพลิกขาดทุน ก็ยังสามารถจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสมได้ ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในบริษัทขนาดใหญ่ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมเป็นครั้งคราว
เช่นเดียวกับ "คณฆัส จิรเสวีนุประพันธ์" ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน เผยว่า การประกาศงบการเงินปี 62 ที่ผ่านมา มีหลาย บจ.ที่ใช้วิธีการจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสม เพราะกำไรสุทธิประจำงวดมีผลขาดทุน โดยบริษัทที่มีกำไรสะสมสูงจะมีความได้เปรียบในประเด็นนี้ ซึ่งการที่ใช้นโยบายดังกล่าวถือเป็นการปลอบขวัญและกำลังใจให้ผู้ถือหุ้น ชดเชยกับราคาหุ้นถือครองที่ถดถอยลงจากการขาดทุน
ขณะที่ "เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" เสริมว่า หุ้นที่มีกำไรสะสมต่ำ อาจจะไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ หากผลประกอบการปีนี้เกิดพลิกขาดทุน เพราะจะส่งผลไปหากำไรสะสม ซึ่งหากติดลบ ตามกฎหมายไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้