หุ้นโบรกเกอร์คึกคัก ราคา 3 เดือนหลังวิ่งเฉลี่ย 23% สูงสุด 110% กูรูคาดแห่งเก็งงบ Q4/63 โตแจ่มทั้ง QoQ และ YoY หลังวอลุ่มตลาดพุ่งทำนิวไฮ โดยเฉพาะ 1 เดือนหลังเฉลี่ยเฉียดแสนล้านบาทต่อวัน แต่อุตสาหกรรมยังแข่งดุ กดอัตราค่าคอมมิสชั่นเฉลี่ยเหลือแค่ 0.9%
*** ราคาหุ้นโบรกเกอร์ 3 เดือนหลังพุ่งเฉลี่ย 23% สูงสุด 110%
ราคาหุ้นบริษัทจดทะเบียน (บจ.) กลุ่มธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ช่วง 3 เดือนย้อนหลัง (สิ้นสุด 9 ธ.ค.63) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 23% สูงกว่าดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 20% โดยหุ้นกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% สูงสุดถึง 110% และมีเพียงบริษัทเดียวที่ราคาปรับตัวลดลง ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นโบรกเกอร์ 3 เดือนหลัง
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ราคาปิด 9 ธ.ค. (บ.)
|
%chg 3M
|
AEC
|
0.21
|
110.00
|
FSS
|
1.85
|
36.03
|
ASP
|
2.24
|
31.76
|
MBKET
|
8.95
|
20.13
|
UOBKH
|
3.7
|
20.13
|
KGI
|
3.96
|
20.00
|
ZMICO
|
0.71
|
14.52
|
CGH
|
0.69
|
4.55
|
TNITY
|
3.74
|
2.75
|
GBX
|
0.43
|
2.38
|
AIRA
|
0.9
|
-7.22
|
ที่มา : SET ข้อมูลสิ้นสุด 9 ธ.ค.63
|
*** กูรูชี้แห่เก็งงบ Q4/63 แจ่ม หลังวอลุ่มเฉลี่ยพุ่งเฉียดแสนลบ.
"เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส ระบุว่า สาเหตุที่หุ้นกลุ่มธุรกิจ บล.ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง เกิดจากแรงเก็งกำไรงบไตรมาส 4/63 ที่คาดว่าจะเติบโตโดดเด่นเมื่อเทียบกับไตรมาสต่อไตรมาส (QoQ) หรือเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หลังมูลค่าการซื้อขายของตลาดหุ้นไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้มูลค่าการซื้อขายตลาดหุ้นไทย 1 เดือนหลังสุดอยู่ที่เฉลี่ย 9.7 หมื่นล้านบาท โดยมีถึง 8 วันทำการที่มูลค่าการซื้อขายทะลุ 1 แสนล้านบาท สูงสุด 1.67 แสนล้านบาท โดยตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ
ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปี (YTD) อยู่ที่ 6.5 หมื่นล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเคยมีจุดสูงสุดอยู่ที่ปี 2561 เฉลี่ย 5.6 หมื่นล้านบาท
เช่นเดียวกับ "กรภัทร วรเชษฐ์" ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน-กลยุทธ์การลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน มองว่า วอลุ่มเทรดที่เพิ่มขึ้น จากเดือนช่วงเดือน ต.ค.ที่เฉลี่ย 5 หมื่นล้านบาทต่อวัน เป็นเฉลี่ยเกือบ 1 แสนล้านบาทต่อวัน ตั้งแต่เดือน พ.ย.เป็นต้นมา จะส่งผลดีต่อธุรกิจโบรกเกอร์อย่างมีนัยสำคัญ โดยจะสะท้อนที่งบไตรมาส 4/63 และมองว่าจะดีต่อเนื่องไปถึงไตรมาส 1/64
"ผลประกอบการกลุ่มธุรกิจโบรกเกอร์จะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และจะกระจายไปทุกโบรกฯ เพราะเมื่อมีวอลุ่มเข้ามามาก โบรกฯต่างๆก็ไม่จำเป็นต้องหั่นค่าคอมมิชชั่นลง เพื่อดึงดูดลูกค้า ขณะที่กำไรจากพอร์ตการลงทุนของโบรกฯ ก็ดีขึ้นจากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผลประกอบการคาดว่าจะออกมาดีทุกโบรกเกอร์ จึงมีแรงเก็งกำไรเข้ามาให้หุ้นกลุ่มนี้" กรภัทร กล่าว
*** เกินครึ่ง งบ 9 เดือนปีนี้ฟื้น
ขณะที่สำรวจงบการเงินงวด 9 เดือนปี 63 ของทั้ง 11 บริษัทข้างต้นพบว่า เกินครึ่งกำไรสุทธิเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ
กำไรหุ้นโบรกเกอร์
|
ชื่อย่อหุ้น
|
กำไร 9M/63 (ลบ.)
|
กำไร 9M/62 (ลบ.)
|
%chg YoY
|
UOBKH
|
186.14
|
17.90
|
939.70
|
FSS
|
49.69
|
-81.00
|
161.34
|
MBKET
|
310.42
|
149.04
|
108.28
|
AIRA
|
-39.65
|
-116.97
|
66.10
|
CGH
|
107.60
|
75.09
|
43.29
|
ASP
|
285.75
|
275.74
|
3.63
|
AEC
|
-255.27
|
-263.20
|
3.01
|
GBX
|
16.94
|
17.67
|
-4.15
|
ZMICO
|
8.26
|
11.05
|
-25.23
|
KGI
|
160.64
|
737.71
|
-78.22
|
TNITY
|
-7.10
|
23.86
|
-129.76
|
ที่มา : SET
|
ทั้งนี้ มีถึง 3 บล.ที่กำไรเติบโตมากกว่า 100% ซึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ UOBKH กำไรเติบโตสูงสุดถึง 940%
ส่วน บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) หรือ FSS พลิกจากขาดทุน 81 ล้านบาท เป็นกำไรเกือบ 50 ล้านบาท หรือเติบโต 161%
ด้าน บริษัท ไอร่า แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ AIRA แม้จะยังขาดทุน 31 ล้านบาท แต่ขาดทุนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุนระดับ 117 ล้านบาท เช่นเดียวกับ บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) หรือ AEC ที่ขาดทุนลดลงเช่นกัน
อย่างไรก็ตามมี 3 บล.ที่กำไรลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน และมี 1 บริษัทที่พลิกขาดทุน
*** อุตสาหกรรมยังแข่งดุ กดอัตราค่าคอมเหลือแค่ 0.9%
เช่นเดียวกับภาพรวมอุตสาหกรรมทั้งหมด โดยสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย เปิดเผยว่า กำไรสุทธิของธุรกิจ บล.ทั้งระบบ 48 บริษัท ณ งวด 9 เดือนปี 63 อยู่ที่ 5,307 ล้านบาท ลดลง 5.5% แม้รายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิสชั่น) เพิ่มขึ้นถึง 21.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
แต่อัตราค่าคอมมิชชั่นเฉลี่ยลดลง เหลือเพียง 0.9% เท่านั้น รวมถึงต้นทุนบุลคลากรเพิ่มขึ้นถึง 8.5% ซึ่งมีสัดส่วนถึง 54% ของรายจ่ายทั้งหมด จึงส่งผลต่ออัตราการทำกำไร
*** "เกียตินาคินภัทร" รั้งเบอร์ 1 มาร์เก็ตแชร์
สำหรับอันดับมาร์เก็ตแชร์ของโบรกเกอร์ปีนี้ใกล้เคียงกับปีก่อน โดย 10 อันดับแรกประกอบด้วย
10 อันดับโบรกเกอร์ที่มีมาร์เก็ตแชร์สูงสุด
|
ปี 2563
|
ปี 2562
|
บริษัทหลักทรัพย์
|
%มาร์เกตแชร์
|
บริษัทหลักทรัพย์
|
%มาร์เกตแชร์
|
เกียตินาคินภัทร
|
11.16
|
เกียตินาคินภัทร
|
9.74
|
ฟินันเซีย ไซรัส
|
6.16
|
ฟินันเซีย ไซรัส
|
6.15
|
เมย์แบงก์กิมเอ็ง
|
6.14
|
เมย์แบงก์กิมเอ็ง
|
6.06
|
คิงส์ฟอร์ด
|
5.93
|
เครดิต สวิส
|
5.91
|
ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี
|
5.93
|
คิงส์ฟอร์ด
|
5.67
|
เครดิต สวิส
|
4.9
|
ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี
|
5.5
|
บัวหลวง
|
4.8
|
ดีบีเอส วิคเคอร์ส
|
4.88
|
หยวนต้า
|
3.89
|
บัวหลวง
|
4.19
|
เจพีมอร์แกน
|
3.82
|
ยูบีเอส
|
3.84
|
กสิกรไทย
|
3.75
|
เจพีมอร์แกน
|
3.8
|
ที่มา : SET
|
บล.เกียตินาคินภัทร ยังรักษามาร์เก็ตแชร์อยู่ที่อันดับ 1 สัดส่วน 11.16% ตามด้วย บล.ฟินันเซีย ไซรัส และ บล.เมย์บงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ที่รั้งอันดับ 2 และ 3 ด้วยสัดส่วนมาร์เก็ตแชร์ที่ 6.16% และ 6.14% ตามลำดับ
ส่วน บล.หยวนต้า กระโดดเข้ามาอยู่ในกลุ่ม 10 อันดับแรกที่มีมาร์เก็ตแชร์สูงสุด ด้วยสัดส่วน 3.89% จากปีก่อนที่อยู่อันดับ 12 สัดส่วน 3.4%
ด้าน บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) อดีตแชมป์มาร์เก็ตแชร์ปี 61 ล่าสุดหลุดจาก 10 อันดับแรก โดยตกไปอยู่อันดับ 14 เหลือมาร์เก็ตแชร์ 2.89% จากปี 62 อยู่อันดับที่ 7 สัดส่วน 4.88% และปี 61 อันดับที่ 1 สัดส่วน 6.81%