ปัญหาหนี้สิน บจ.พุ่งพรวด สูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี โดนพิษโควิด-19 สูบสภาพคล่อง พบ 71 บจ.หนี้มีภาระดอกเบี้ยเกิน 2 เท่า สูงสุด 26.35 เท่า บจ.ใหญ่ติดโผเพียบ แถมพบ 15 บจ.สภาพคล่องเริ่มตึงตัว ตลท.จับตาใกล้ชิด นักวิเคราะห์เตือนระวังลงทุน
*** หนี้ บจ.พุ่งสูงสุดรอบเกือบ 6 ปี
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจข้อมูลอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (D/E) ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) หลังรายงานงบการเงินสิ้นสุดไตรมาส 3/63 พบว่า หนี้สินต่อทุนรวมของ บจ.อยู่ที่เฉลี่ย 3.12 เท่า สูงสุดรอบเกือบ 6 ปี (สิ้นปี 2557 เฉลี่ย 3.19 เท่า )
ทั้งนี้ หากไม่รวมอุตสาหกรรมการเงิน หนี้สินต่อทุนจะอยู่ที่ 1.63 เท่า เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ระดับเพียง 1.35 เท่า ขณะที่ช่วง 6 ปีหลังอยู่ระดับเพียง 1.2-1.4 เท่า
ณ สิ้นไตรมาส 3/63 หมวดธุรกิจไอซีทีมีอัตราหนี้สินต่อทุนรวมสูงสุดถึง 4.22 เท่า รองลงมาคือกลุ่มรับเหมาก่อนสร้างที่ 2.65 เท่า และ ขนส่ง/โลจิสติกส์ที่ 2.63 เท่า
*** พบ 71 บริษัทหนี้มีภาระดอกเบี้ยเกิน 2 เท่า
ขณะเดียวกันเมื่อสำรวจข้อมูลรายบริษัท พบว่ามีถึง 71 บจ.มีอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนผู้ถือหุ้น (IBD/E) เกิน 2 เท่า จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 57 บริษัท และ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จำนวน 13 บริษัท โดยกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ติดโผสูงสุด 10 บริษัท รองลงมาคือธุรกิจพลังงานและไอซีที ที่ 9 บริษัทเท่ากัน โดย 30 บริษัทแรกที่มี IBD/E สูงสุดได้แก่
30 บจ.ที่มีอัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนผู้ถือหุ้นสูงสุด
|
ชื่อย่อหุ้น
|
IBD/E เท่า
|
ส่วนผู้ถือหุ้น (ลบ.)
|
UMS
|
26.35
|
20.77
|
JUTHA
|
25.37
|
48.78
|
JCKH
|
21.83
|
31.11
|
JAS
|
13.5
|
6,551.27
|
CHOW
|
10.84
|
862.71
|
ACAP
|
6.65
|
461.96
|
TRC
|
6.31
|
419.28
|
SDC
|
5.65
|
611.94
|
JMART
|
5.45
|
3,420.78
|
ITD
|
5.12
|
12,328.09
|
M-CHAI
|
5.02
|
1,359.59
|
CI
|
4.89
|
1,573.26
|
DTAC
|
4.66
|
24,048.95
|
PPPM
|
4.38
|
344.15
|
IRCP
|
4.1
|
166.89
|
KKC
|
4.06
|
1,146.48
|
STARK
|
3.96
|
3,341.84
|
PTG
|
3.89
|
7,564.85
|
SAMART
|
3.84
|
3,324.43
|
FORTH
|
3.75
|
1,111.74
|
ERW
|
3.69
|
4,430.61
|
DTC
|
3.67
|
3,649.44
|
TTCL
|
3.62
|
2,664.21
|
MINT
|
3.33
|
73,000.89
|
TRUE
|
3.26
|
85,320.43
|
AAV
|
3.26
|
15,084.14
|
BC
|
3.22
|
836.54
|
BRR
|
3.21
|
1,905.26
|
MALEE
|
3.19
|
834.03
|
SQ
|
3.15
|
2,337.17
|
ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อมูลงบสิ้นสุด ไตรมาส 3/63
IBD/E : คำนวณจาก (รวมหนี้สินหมุนเวียน - เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น + หนี้สินสุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี) / ส่วนผู้ถือหุ้น
|
ทั้ง 30 บริษัทมี IBD/E เกิน 3 เท่าทั้งสิ้น โดยมีถึง 5 บริษัทที่เกิน 10 เท่า ซึ่ง บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนผู้ถือหุ้นสูงสุดถึง 26.35 เท่า เช่นเดียวกับ บมจ.จุฑานาวี (JUTHA) และ บมจ.เจซีเค ฮอสพิทอลลิตี้ (JCKH) ที่มี IBD/E ระดับ 25.37 และ 21.83 เท่า ตามลำกับ ซึ่งทั้ง 3 บริษัทส่วนผู้ถือหุ้นลดลงตามผลการดำเนินงานที่ขาดทุนต่อเนื่อง และถูกตลาดหลักทรัพย์ฯ ขึ้นเครื่องหมาย "C" ทั้งหมด
ขณะที่เมื่อคำนวณจาก IBD/E กับส่วนผู้ถือหุ้นจะพบว่า 3 บริษัทข้างต้นมีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยที่ 547.29 ล้านบาท, 1,237.55 ล้านบาท และ 679.13 ล้านบาท ตามลำดับ
ส่วน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และ บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) มีมูลค่าหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสูงสุดถึง 2.78 แสนล้านบาท และ 2.43 แสนล้านบาท ตามลำดับ
หนี้ที่มีภาระดอกเบี้ย = คำนวณจาก (รวมหนี้สินหมุนเวียน - เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น + หนี้สินสุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี) / ส่วนผู้ถือหุ้น
*** 15 บจ.สภาพคล่องฝืด
นอกจากนี้พบว่ามี 15 จาก 71 บจ.ในกลุ่มที่มี IBD/E เกิน 2 เท่า เริ่มมีสภาพคล่องตึงตัว โดยพิจาณาจาก อัตราส่วนความสามารถชำระดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) ที่ต่ำกว่า 1 เท่า และ เงินสดจากการดำเนินงาน ณ สิ้นไตรมาส 3/63 ติดลบ ประกอบด้วย
15 บจ.สภาพคล่องต่ำ
|
ชื่อย่อหุ้น
|
IBD/E (เท่า)
|
Interest Coverage Ratio (เท่า)
|
เงินสดจากการดำเนินงาน (ลบ.)
|
UMS
|
26.35
|
-1.21
|
-1.72
|
JAS
|
13.5
|
0.34
|
-487.18
|
M-CHAI
|
5.02
|
-0.44
|
-259.09
|
CI
|
4.89
|
-0.79
|
-607.81
|
IRCP
|
4.1
|
0.48
|
-102.72
|
ERW
|
3.69
|
-2.34
|
-574.76
|
DTC
|
3.67
|
-2
|
-354.35
|
MINT
|
3.33
|
-2.1
|
-1,745.24
|
AAV
|
3.26
|
-4.63
|
-335.59
|
BC
|
3.22
|
-2.12
|
-172.89
|
JCK
|
3.08
|
0.07
|
-75.31
|
ESSO
|
2.81
|
-38.32
|
-1,168.69
|
GRAND
|
2.78
|
-1.31
|
-726.91
|
PLE
|
2.72
|
-0.48
|
-271.55
|
CHEWA
|
2.44
|
-1.57
|
-282.23
|
ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อมูลงบสิ้นสุด ไตรมาส 3/63
Interest Coverage Ratio : คำนวณจาก กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ / ต้นทุนทางการเงิน
|
13 จาก 15 บริษัทข้างต้นผลประกอบการ 9 เดือนปี 63 ขาดทุน มีเพียง บมจ.โรงพยาบาลมหาชัย (M-CHAI) และ บมจ.ชีวาทัย (CHEWA) ที่ยังมีกำไร
ขณะที่มีถึง 12 บริษัทที่ อัตราส่วนความสามารถชำระดอกเบี้ยติดลบ โดย บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) (ESSO) ติดลบสูงสุดถึง 38.32 เท่า
ด้าน บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) เงินสดจากการดำเนินงานติดลบสูงสุดระดับ 1,745.24 ล้านบาท
Interest Coverage Ratio : คำนวณจาก กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ / ต้นทุนทางการเงิน ใช้วัดความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ หากมากกว่า 1 เท่าแสดงว่ามีความสามารถชำระดอกเบี้ยได้ทั้งหมด แต่หากต่ำกว่า 1 เท่า แสดงว่าจะชำระดอกเบี้ยได้เพียงบางส่วนเท่านั้น และหากติดลบ เท่ากับไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้เลย ซึ่งมีความเสี่ยงเป็นปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินในที่สุด
*** ตลท.จับตา 3 ธุรกิจเสี่ยง
"แมนพงศ์ เสนาณรงค์" รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประเมินว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่อง บจ.อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้หนี้สินเพิ่มขึ้นในรอบหลายปี ทั้งนี้ ตลท.ติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบตรง อาทิ ธุรกิจด้านการเงิน ซึ่งมีภาระการตั้งสำรองสำหรับหนี้เสียเพิ่มขึ้น และธุรกิจที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เช่น ขนส่งและหมวดท่องเที่ยว/สันทนาการ
ด้าน "กิจพล ไพรไพศาลกิจ" ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์และนักกลยุทธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) ระบุว่า หุ้นกลุ่มดังกล่าวมีความเสี่ยงสูง แนะนำหลีกเลี่ยง
"หุ้นกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีปัญหา เป็นช่วงขาลงของธุรกิจ ในแง่พื้นฐานไม่น่าลงทุนอยู่แล้ว ไม่ควรเข้าไปเก็งกำไร แม้บางช่วงราคาจะดีดตัวตามข่าว เพราะความเสี่ยงสูงมาก หลายบริษัทเป็นหุ้นที่ถูกตลาดหลักทรัพย์ฯขึ้นเครื่องหมาย C นักลงทุนควรหลีกเลี่ยง เพราะพื้นฐานมีปัญหา โดยเฉพาะเรื่องหนี้สิ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีตัวอย่างให้ดูเป็นบทเรียนมาแล้ว ที่หลายบริษัทถูกพักการซื้อขายไป หรือไม่ก็ต้องถูกบังคับเพิ่มทุน" กิจพล ระบุ
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อนำเสนอให้นักลงทุนไว้ใช้ประกอบการตัดสินใจ มิได้มีเจตนาชี้นำว่าบริษัทที่อยู่ในเงื่อนไขข้างต้นจะผิดนัดชำระหนี้หรือจะต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนแต่อย่างใด