“สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ตรวจสอบงบการเงินบริษัทจดทะเบียน(บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) พบ 60 บริษัท สุขภาพทางการเงินยังย่ำแย่ โดยพบว่ามี 18 บริษัทที่รายได้ลดลงต่อเนื่อง 5 ปีติดต่อกัน , 25 บริษัทขาดทุนยาว 5 ปีติด แบกขาดทุนสะสมรวมกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท กดราคาหุ้นดิ่งระนาว สูงสุด 72% ขณะที่ 26 บริษัทติดเครื่องหมาย "C" สะเทือนผู้ถือหุ้นกว่าแสนราย และ 18 บริษัทหนี้ท่วม-สภาพคล่องพัง แถมมี บจ. 6 แห่งที่เข้าขั้นอาการโคม่า
*** 18 บจ.รายได้หด 5 ปีติด
ตัวเลขรายได้ในงบการเงิน สะท้อนถึงความสามารถในการนำสินค้าและบริการออกไปจำหน่าย โดยปกติควรจะมีการเติบโตทุกปี แม้บางปีอาจจะมีปรับตัวลดลงบางหากอยู่ในช่วงภาวะอุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจไม่ดี ซึ่งควรจะฟื้นตัวกลับมาได้ภายใน 1-2 ปี แต่หากยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องโดยเฉพาะ 3-5 ปีขึ้นไป ย่อมสะท้อนว่าธุรกิจน่าจะมีปัญหาอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้จากสำรวจพบว่ามี 18 บจ.ที่รายได้ลดลงอย่างน้อย 5 ปีติดต่อกัน (2557-2561) แบ่งเป็น SET จำนวน 12 บริษัท และ mai จำนวน 6 บริษัท ประกอบด้วย
บจ.รายได้ลด 5 ปีติด
|
ชื่อย่อหุ้น
|
% รายได้เฉลี่ย 5 ปีหลัง
|
ผลกระทบต่อกำไร
|
FOCUS
|
-34
|
ขาดทุน 2 ปีติด
|
UMS
|
-31
|
ขาดทุน 5 ปีติด
|
NINE
|
-22
|
ขาดทุน 3 ใน 5 ปีหลัง
|
TFI
|
-17
|
ขาดทุน 3 ปีติด
|
AS
|
-17
|
ขาดทุน 3 ใน 5 ปีหลัง
|
MPG
|
-17
|
ขาดทุน 4 ปีติด
|
MCOT
|
-15
|
ขาดทุน 3 ปีติด
|
TMC
|
-15
|
ขาดทุน 5 ปีติด
|
TCCC
|
-13
|
กำไรลดเฉลี่ย 5% ต่อปี
|
POST
|
-12
|
ขาดทุน 5 ปีติด
|
MBKET
|
-11
|
กำไรลดเฉลี่ย 22% ต่อปี
|
SE-ED
|
-9
|
ขาดทุนปี 60
|
BEC
|
-9
|
ปี 61 พลิกขาดทุน
|
JCKH
|
-8
|
ขาดทุน 5 ปีติด
|
UP
|
-6
|
ปี 61 พลิกขาดทุน
|
LEE
|
-6
|
กำไรลดเฉลี่ย 11% ต่อปี
|
DTAC
|
-4
|
ปี 61 พลิกขาดทุน
|
TNL
|
-4
|
กำไรเพิ่มเฉลี่ย 1.4% ต่อปี
|
บมจ.โฟคัส ดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น (FOCUS) เป็นบริษัทที่รายได้ลดลงมากที่สุดในรอบ 5 ปี โดยปี 57 ลดลง 50% ปี 58 ลดลง 9% ปี 59 ลดลง 34% ปี 60 ลดลง 55% และปี 61 ลดลง 24% เฉลี่ย 5 ปีลดลง 34% ต่อปี ส่งผลให้กำไรสุทธิลดลงต่อเนื่องในปี 57-59 จนพลิกขาดทุนในปี 60 และขาดทุนต่อเนื่องในปี 61
ขณะที่ บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS), บมจ.ที.เอ็ม.ซี. อุตสาหกรรม (TMC) และ บมจ.เจซีเค ฮอสพิทอลลิตี้ (JCKH) เป็น 3 บริษัทในกลุ่มนี้ที่ขาดทุนสุทธิอย่างน้อย 5 ปีติดต่อกัน
ทั้งนี้มี 4 บริษัทที่ยังมีกำไรสุทธิต่อเนื่อง แต่กำไรสุทธิก็ปรับตัวลดลงตามรายได้ โดย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ MBKET กำไรสุทธิลดลงเฉลี่ยสูงสุดถึง 22% ต่อปี จากกำไรระดับ 1,264 ล้านบาทเมื่อปี 57 เหลือเพียง 391 ล้านบาทในปี 61 โดยรายได้ 5 ปีหลังลดลงเฉลี่ย 11% ต่อปี
*** ผงะ 25 บจ.ขาดทุนเกิน 5 ปีติด แบกขาดทุนสะสมกว่า 2.5 หมื่นลบ.
ขณะเดียวกันพบว่า มีถึง 25 บจ.ที่ขาดทุนสุทธิติดต่อกันมากกว่า 5 ปี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีเพียง 21 บริษัท ประกอบด้วย
บจ.ขาดทุนเกิน 5 ปีติด
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ขาดทุนติดต่อ (ปี)
|
ขาดทุนสะสม (ลบ.)
|
%chg ราคาหุ้น
1 ปีหลังสุด
|
ผถห.รายย่อย
(ราย)
|
NEWS
|
10
|
-4,398
|
-
|
8,915
|
GREEN
|
9
|
-710
|
-
|
3,252
|
JUTHA
|
8
|
-231
|
-70
|
2,078
|
UPA
|
8
|
-981
|
-24
|
8,436
|
DIGI
|
7
|
-726
|
-49
|
5,367
|
EVER
|
7
|
-542
|
38
|
7,806
|
FC
|
7
|
-2,142
|
-28
|
3,938
|
MPIC
|
7
|
-1,254
|
5
|
941
|
UMS
|
7
|
-763
|
-51
|
1,389
|
B
|
6
|
-96
|
-21
|
5,346
|
HYDRO
|
6
|
-714
|
-72
|
2,008
|
NEP
|
6
|
-1,007
|
-26
|
3,677
|
NPPG
|
6
|
-550
|
-20
|
3,556
|
7UP
|
5
|
-1,273
|
-48
|
6,998
|
F&D
|
5
|
-86
|
-2
|
362
|
JCKH
|
5
|
-492
|
-63
|
2,253
|
NOK
|
5
|
-7,185
|
-29
|
9,246
|
POST
|
5
|
-887
|
-15
|
506
|
PRECHA
|
5
|
9
|
-11
|
1,295
|
SAWANG
|
5
|
105
|
-21
|
276
|
SIMAT
|
5
|
-693
|
-40
|
1,938
|
SMM
|
5
|
-262
|
115
|
1,520
|
SPORT
|
5
|
-687
|
-49
|
1,635
|
TMC
|
5
|
-68
|
-30
|
2,381
|
U
|
5
|
273
|
-25
|
28,211
|
จากตารางประกอบด้วย บจ.จาก SET จำนวน 17 บริษัท และ mai จำนวน 8 บริษัท โดยมียอดขาดทุนสะสมรวมกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ส่วนใหญ่ราคาหุ้น 1 ปีย้อนหลัง (คำนวณถึง 10 พ.ค.62 ) ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่ง 19 จาก 25 บริษัท ราคาลดลงมากกว่า 10% และมีนักลงทุนรายย่อยถือหุ้นในกลุ่มนี้รวมถึง 1.1 แสนราย
โดย บมจ.นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น (NEWS) ยังครองตำแหน่งบริษัทที่ผลประกอบการย่ำแย่ไว้เหนียวแน่น ขาดทุน 10 ปีติดต่อกันตั้งแต่ปี 2552-2561 ขาดทุนสะสมรวม 4,398 ล้านบาท ราคาหุ้นล่าสุดซื้อขายที่ 0.01 บาท ไม่เปลี่ยนแปลงในรอบ 1 ปีหลังสุด เนื่องจากสภาพคล่องการซื้อขายค่อนข้างต่ำ ผู้ถือหุ้นรายย่อยติดอยู่ถึง 8,915 ราย
ด้าน บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK) เป็นบริษัทที่มีผลขาดทุนสะสมสุงสุดถึง 7,185 ล้านบาท ขาดทุนติดต่อกัน 5 ปี ราคาหุ้น 1 ปีหลังปรับตัวลดลง 29% มีผู้ถือหุ้นรายย่อยติดอยู่ทั้งสิ้น 9,246 ราย
ขณะที่ บมจ.ยู ซิตี้ (U) เป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นรายย่อยมากสุดถึง 28,211 ราย ขาดทุนต่อเนื่อง 5 ปีติด แต่ปีที่ผ่านมาได้ทำการล้างขาดทุนสะสมด้วยการลดทุน, รวมพาร์ และลดพาร์ ทำให้ ณ สิ้นปี 61 มีกำไรสะสม 273 ล้านบาท อย่างไรก็ตามราคาหุ้น 1 ปีย้อนหลังปรับตัวลดลงถึง 25%
อย่างไรก็ตามหุ้นในกลุ่มนี้มี 3 บริษัทที่ราคา 1 ปีย้อนหลังปรับตัวเพิ่มขึ้น โดย บมจ.สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย (SMM) ราคาพุ่งสูงถึง 115% แม้จะขาดทุนต่อเนื่องมา 5 ปีติดต่อกัน และมีขาดทุนสะสม 262 ล้านบาท
*** 26 บจ.ยังติดแหงกเครื่องหมาย "C"
ด้านกลุ่มบริษัทที่ถูกตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย (C) ซึ่งทั้งหมดเป็นบริษัทที่มีส่วนผู้ถือหุ้นต่ำกว่า 50% ของทุนจดทะเบียน ล่าสุดอยู่ที่ 26 บริษัท ประกอบด้วย
บจ.ที่ติดเครื่องหมาย “C”
|
ประกาศหลังงบ Q2/61
|
NEP
|
NOK
|
NEWS
|
PE
|
TSI
|
APEX
|
AQ
|
AS
|
DIGI
|
EIC
|
FC
|
GJS
|
HYDRO
|
MPG
|
NBC
|
SPORT
|
T
|
TFI
|
TSF
|
UMS
|
EFORL
|
PACE
|
ประกาศหลังงบ Q3/61
|
JUTHA
|
NMG
|
ประกาศหลังงบปี 61
|
7UP
|
SMM
|
ทั้งนี้ จำนวนบริษัทที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย "C" ครั้งแรกหลังประกาศงบไตรมาส 2/61 มีทั้งสิ้น 24 บริษัท แต่สามารถแก้ไขเหตุได้แล้ว 2 บริษัท ได้แก่ บมจ.อีเอ็มซี (EMC) และ บมจ.เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (MPIC) เหลือ 22 บริษัท แต่มีเพิ่มขึ้นอีก 4 บริษัทหลังประกาศงบไตรมาส 3/61 และ งบปี 61
ขณะเดียวกันมี 1 บริษัทที่สามารถแก้ไขเหตุได้แล้วและกลับมาติดอีกครั้งคือ บมจ.ไฮโดรเท็ค (HYDRO) โดยพ้นเครื่องหมาย "C" เมื่อ 13 พ.ย.61 หลังทำการเพิ่มทุนจดทะเบียน แต่กลับมาติดอีกครั้งเมื่อ 28 ก.พ.62 เนื่องจากผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่องทำให้ส่วนผู้ถือหุ้นกลับไปต่ำกว่า 50% ของทุนจดทะเบียนอีกครั้ง
*** รายย่อยหุ้น "C" 1.37 แสนรายสะเทือน ราคาร่วง-โดน SP
ทั้งนี้ 26 บริษัทที่ติดเครื่องหมาย "C" มีผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมกันถึง 1.37 แสนราย ขณะที่ราคาหุ้นในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะปรับตัวลดลงนับจากวันที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย เทียบกับราคาล่าสุด ณ 10 พ.ค.62 ดังนี้
ราคาหุ้นที่ถูกขึ้น “C”
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ราคาวันขึ้น “C” (บ.)
|
ราคาล่าสุด
(บ.)
|
%chg
|
ผถห.รายย่อย (ราย)
|
HYDRO
|
1.26
|
0.39
|
-69
|
2,008
|
PACE
|
0.59
|
0.21
|
-64
|
5,100
|
PE
|
0.33
|
0.14
|
-58
|
2,814
|
JUTHA
|
1.24
|
0.63
|
-49
|
2,078
|
SPORT
|
0.32
|
0.18
|
-44
|
1,635
|
GJS
|
0.26
|
0.15
|
-42
|
12,839
|
EFORL
|
0.08
|
0.05
|
-38
|
15,423
|
AS
|
1.38
|
0.91
|
-34
|
2,262
|
SMM
|
2.94
|
1.96
|
-33
|
1,520
|
7UP
|
0.4
|
0.27
|
-33
|
6,998
|
TFI
|
0.38
|
0.27
|
-29
|
2,265
|
UMS
|
0.74
|
0.53
|
-28
|
1,389
|
NEP
|
0.4
|
0.31
|
-23
|
3,677
|
EIC
|
0.05
|
0.04
|
-20
|
3,406
|
DIGI
|
0.37
|
0.3
|
-19
|
5,367
|
NOK
|
2.26
|
2.12
|
-6
|
9,246
|
NEWS
|
0.01
|
0.01
|
0
|
8,915
|
AQ
|
0.03
|
0.03
|
0
|
17,961
|
T
|
0.05
|
0.05
|
0
|
6,197
|
APEX
|
0.19
|
0.2
|
5
|
2,797
|
FC
|
0.29
|
0.33
|
14
|
3,938
|
TSI
|
0.49
|
0.59
|
20
|
1,556
|
MPG
|
0.19
|
0.73
|
284
|
2,728
|
จากตารางจะพบว่า 16 บริษัทราคาหุ้นปรับตัวลดลง และ 14 จาก 16 ราคาลดลงมากกว่า 20% โดย HYDRO ราคาหุ้นดิ่งมากสุดถึง 69%
ขณะที่มี 3 บริษัทราคาไม่เปลี่ยนแปลง โดยเป็นหุ้นที่ไม่มีสภาพคล่องในการซื้อขาย และมีราคาต่ำระดับเศษสตางค์
อย่างไรก็ตามมี 4 บริษัทที่ราคาปรับตัวขึ้น โดย บมจ.เอ็มพีจี คอร์ปอเรชั่น (MPG) พุ่งสูงสุดถึง 284%
นอกจากนี้มี 3 บริษัทในกลุ่มที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย "C" ถูกขึ้นเครื่องหมาย "SP" ห้ามซื้อขาย เนื่องจากไม่ส่งงบการเงิน ประกอบด้วย
หุ้น “C” ที่ถูก “SP”
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ผถห.รายย่อย (ราย)
|
TSF
|
8,910
|
NMG
|
4,442
|
NBC
|
1,524
|
*** 18 บจ. หนี้ท่วม-สภาพคล่องพัง
ฝั่งกลุ่ม บจ.ที่มีปัญหาด้านหนี้สินยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง โดยจากการสำรวจสภาพคล่องด้วยเงื่อนไข 1.มีหนี้สินต่อทุน (D/E) เกิน 3 เท่า 2.อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) ต่ำกว่า 1 เท่า ซึ่งใช้วัดส่วนของสินทรัพย์ที่ได้หักค่าสินค้าคงเหลือที่เป็นสินทรัพย์ระยะสั้นและมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ต่ำสุดออก เพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องที่แท้จริงของกิจการ 3.อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) ต่ำกว่า 1 เท่า ค่านี้ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น และ 4.อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) ต่ำกว่า 1 เท่า คำนวณจาก (กำไรสุทธิ+ภาษีเงินได้-ดอกเบี้ยจ่าย)/ดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งใช้วัดความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ โดยหากต่ำกว่า 1 เท่า แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการจ่ายชำระดอกเบี้ยได้เพียงบางส่วนเท่านั้น และหากเท่ากับ 0 หรือติดลบ แสดงว่าธุรกิจไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยได้เลย ซึ่งอาจจะพัฒนากลายเป็นปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินในที่สุด
ผลการสำรวจพบว่ามี 18 บริษัทที่เข้าข่าย ประกอบด้วย
หุ้นหนี้สูง-สภาพคล่องต่ำ
|
ชื่อย่อหุ้น
|
D/E (เท่า)
|
Quick Ratio (เท่า)
|
Current Ratio (เท่า)
|
Interest Coverage Ratio (เท่า)
|
SPORT
|
408.52
|
0.26
|
0.39
|
-1.85
|
PACE
|
16.08
|
0.12
|
0.67
|
-5.43
|
FC
|
14.22
|
0.07
|
0.17
|
-8.18
|
THAI
|
12.21
|
0.27
|
0.56
|
-1.57
|
CHOW
|
8.87
|
0.28
|
0.61
|
0.79
|
UMS
|
7.1
|
0.32
|
0.34
|
-1.06
|
JUTHA
|
6.99
|
0.05
|
0.13
|
-0.25
|
EFORL
|
6.65
|
0.31
|
0.69
|
-1.65
|
NEWS
|
5.54
|
0.19
|
0.47
|
-2.51
|
POST
|
5.37
|
0.3
|
0.45
|
-1.27
|
SDC
|
5.3
|
0.45
|
0.63
|
-5.18
|
TFI
|
4.99
|
0.15
|
0.34
|
-2.21
|
SQ
|
4.53
|
0.29
|
0.55
|
-0.46
|
KKC
|
3.55
|
0.31
|
0.88
|
-2.89
|
MILL
|
3.4
|
0.21
|
0.64
|
0.48
|
MPG
|
3.23
|
0.06
|
0.76
|
-143.68
|
PPPM
|
3.11
|
0.15
|
0.8
|
0.18
|
JCKH
|
3.03
|
0.08
|
0.29
|
-7.21
|
บมจ.สยามสปอร์ต ซินดิเคท (SPORT) เป็นบริษัทที่มี D/E สูงสุดถึง 408.52 เท่า ขณะที่มี 3 บจ.ที่ D/E เกิน 10 เท่า ขณะเดียวกันมีถึง 15 จาก 18 บริษัทที่ อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยติดลบ โดย MPG ติดลบสูงสุดถึง 143.68 เท่า
ทั้งนี้ ข้อมูลข้างต้นเป็นการนำเสนอข้อมูลจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน เพื่อนำเสนอให้นักลงทุนไว้ใช้ประกอบการตัดสินใจ มิได้มีเจตนาชี้นำว่าบริษัทที่อยู่ในเงื่อนไขดังกล่าวจะผิดนัดชำระหนี้แต่อย่างใด
*** 6 บจ.โคม่า งบแย่เกิน 3 รายการ
ขณะที่เมื่อสำรวจ บจ.ทั้งหมดข้างต้นพบว่า มีถึง 6 บริษัทที่ติดอยู่ในเงื่อนไขต่าง ๆ เกิน 3 รายการ ประกอบด้วย
6 บจ.งบแย่เกิน 3 รายการ
|
ชื่อย่อหุ้น
|
รายได้ลดเกิน 5 ปี
|
ขาดทุนเกิน 5 ปี
|
ติดเครื่องหมาย C
|
หนี้สูง-สภาพคล่องต่ำ
|
UMS
|
*
|
*
|
*
|
*
|
JCKH
|
*
|
*
|
-
|
*
|
MPG
|
*
|
-
|
*
|
*
|
POST
|
*
|
*
|
-
|
*
|
NEWS
|
-
|
*
|
*
|
*
|
SPORT
|
-
|
*
|
*
|
*
|
UMS เป็นบริษัทเดียวที่ติดโผครบทั้ง 4 รายการข้างต้น ทั้งรายได้ลดลงต่อเนื่อง 5 ปี เฉลี่ยถึง 30% ต่อปี, ขาดทุนติดต่อกัน 7 ปี, ติดเครื่องหมาย "C" และ มีหนี้สูง-สภาพคล่องต่ำ โดยมี D/E ถึง 7.1 เท่า ขณะที่อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยติดลบ 1.06 เท่า
ขณะเดียวกันทั้ง 6 บริษัทในกลุ่มนี้เป็น บจ.ที่มีหนี้สูงและสภาพคล่องต่ำทั้งหมด โดยมี 4 บริษัทที่รายได้ลดลงติดต่อกัน 5 ปีขึ้นไป, 5 บริษัทขาดทุนติดต่อกัน 5 ปีขึ้นไป และมี 4 บริษัทที่ติดเครื่องหมาย "C"