บริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) แห่ขายหุ้นกู้-เพิ่มทุน มูลค่ารวมกว่าแสนล้านบาท นำเงินคืนหนี้-เตรียมสภาพคล่องรับมือผลกระทบโควิด-19 พบหุ้นกู้ไร้เรทติ้งเพียบ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 4.5% สูงสุด 7.25% แถมมี บจ.ประกาศเพิ่มทุนถึง 27 แห่ง สูงสุดรอบ 4 ปี ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดกลาง-เล็ก
*** 30 บจ.ลุยขายหุ้นกู้
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจข้อมูลจาก สมาคมตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) พบว่า ตั้งแต่ต้นปี-ปัจจุบันมี บจ.เสนอขายหุ้นกู้รวมทั้งสิ้น 30 บริษัท มูลค่ารวมกว่า 9.45 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่นำเงินไปคืนหุ้นกู้ชุดเดิมที่ครบกำหนดในปีนี้ ขณะที่บางส่วนนำเงินไปชำระหนี้สถาบันการเงิน และใช้ลงทุนหรือเป็นทุนหมุนเวียนในธุรกิจ ประกอบด้วย
30 บจ.เสนอขายหุ้นกู้ต้นปี
|
ชื่อย่อหุ้น
|
มูลค่า (ลบ.)
|
%ดบ.
|
อายุ (ปี)
|
เรทติ้งหุ้นกู้
|
วัตุประสงค์
|
SCC
|
25,000
|
2.8
|
4
|
A+
|
คืนหุ้นกู้
|
BJC
|
12,000
|
1.4-2.43
|
3-10
|
A+
|
คืนหุ้นกู้
|
BANPU*
|
6,000
|
5
|
Perpetual Bond
|
A-
|
คืนหนี้-ทุนหมุนเวียน
|
FPT
|
5,000
|
2-3.2
|
3-10
|
A-
|
คืนหุ้นกู้-ทุนหมุนเวียน
|
ANAN
|
4000
|
4-4.5
|
2.6-3.6
|
BBB
|
คืนหุ้นกู้
|
SIRI
|
4,000
|
3.75
|
3.8
|
-
|
ทุนหมุนเวียน
|
SGP
|
4,000
|
3.85
|
4
|
BBB+
|
คืนหุ้นกู้-ลงทุน
|
MTC
|
3,000
|
2.3-3.25
|
2.3-4
|
-
|
ชำระหนี้-หมุนเวียน
|
WHAUP
|
3,000
|
2.28-3.25
|
2.1-10
|
A-
|
ชำระหนี้-ทุนหมุนเวียน
|
UNIQ
|
3,000
|
3.7
|
3
|
BBB
|
ทุนหมุนเวียน
|
SAWAD
|
3,000
|
2.8-3.4
|
2-3
|
-
|
คืนหุ้นกู้ 1,166 ลบ.-ทุนหมุนเวียน
|
MAJOR
|
2,500
|
6.8
|
2.9
|
-
|
คืนหุ้นกู้ 1,699 ลบ.-ซื้อที่ดิน
|
AP
|
2,500
|
2.35
|
4
|
A-
|
ชำระหนี้-ซื้อที่ดิน
|
CGD
|
2,000
|
7
|
1
|
-
|
คืนหุ้นกู้
|
JMT
|
2,000
|
4
|
3
|
-
|
ทุนหมุนเวียน
|
A
|
2,000
|
6.8
|
2
|
-
|
คืนหุ้นกู้เดิม
|
TFG
|
2,000
|
2.48
|
5
|
AAA
|
คืนหุ้นกู้-ทุนหมุนเวียน
|
PF
|
1,800
|
6.25
|
3
|
-
|
คืนหุ้นกู้-ทุนหมุนเวียน
|
SENA
|
1,700
|
3.95-4.5
|
2.8-4
|
-
|
คืนหุ้นกู้-ทุนหมุนเวียน
|
JCK
|
1,390
|
7-7.25
|
2-2.6
|
-
|
คืนหุ้นกู้ 1,000 ลบ.-ชำระหนี้
|
SUPER
|
1,000
|
5.2
|
2
|
-
|
คืนหุ้นกู้ 340 ลบ.-ชำระหนี้
|
EPG
|
800
|
2.2
|
3
|
A-
|
คืนหุ้นกู้-ทุนหมุนเวียน
|
ALL
|
700
|
6.9
|
2
|
-
|
คืนหุ้นกู้ 467 ลบ.-ทุนหมุนเวียน
|
JWD
|
600
|
4
|
3
|
-
|
ชำระหนี้ 500 ลบ.-ทุนหมุนเวียน
|
PRIN
|
600
|
5.2
|
3
|
-
|
คืนหุ้นกู้ 493 ลบ.-ทุนหมุนเวียน
|
TWZ
|
420
|
7
|
2
|
-
|
ชำระหนี้-ลงทุน
|
GCAP
|
400
|
7
|
2
|
-
|
ชำระหนี้ 200 ลบ.-ทุนหมุนเวียน
|
TNITY
|
100
|
3.5
|
1.5
|
-
|
ชำระหนี้-ทุนหมุนเวียน
|
NOBLE
|
N/A
|
4.5
|
3
|
-
|
คืนหุ้นกู้
|
GUNKUL
|
N/A
|
3.7-4.2
|
3-5
|
-
|
คืนหุ้นกู้ 1,000 ลบ.-ทุนหมุนเวียน
|
* Perpetual Bond ของ BANPU กำหนดอัตราดอกเบี้ย 5 ปีแรกที่ 5% หลังจากนั้นปรับตามเงื่อนไข
|
"อริยา ติรณะประกิจ" รองกรรมการ ผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ระบุว่า บจ.ทยอยเสนอขายหุ้นกู้มากขึ้น เนื่องดอกเบี้ยอยู่ในภาวะขาลง ทำให้มีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ เพื่อเตรียมทุนหมุนเวียนเพิ่มสภาพคล่องรองรับธุรกิจที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ขณะเดียวกันปีนี้มีหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดจำนวนมาก ทั้งระบบประมาณ 6.6 แสนล้านบาท หลายบริษัทจึงมีการออกหุ้นกู้ชุดเพื่อรีไฟแนนซ์หุ้นกู้ชุดเดิม
*** พบหุ้นกู้อสังหาฯ ไร้เรทติ้งเพียบ
ทั้งนี้พบว่า มีถึง 19 จาก 30 บริษัท เสนอขายหุ้นกู้แบบไม่มีเรทติ้ง ส่งผลให้ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยระดับสูงเฉลี่ย 5% สูงสุดถึง 7.25% และต่ำสุด 2.8% โดยส่วนใหญ่เป็น บจ.ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ต่างจากกลุ่มหุ้นกู้ที่มีเรทติ้ง ดอกเบี้ยเฉลี่ยราว 3% ต่ำสุด 1.4% และสูงสุดเพียง 5% ซึ่งเป็นหุ้นกู้แบบ Perpetual Bond หรือไม่มีกำหนดอายุ ส่วนหุ้นกู้ระยะยาว 10 ปี มีอัตราดอกเบี้ย 2.43-3.25 เท่านั้น
"อริยา ติรณะประกิจ" รองกรรมการ ผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เสริมว่า หุ้นกู้กลุ่มนี้แม้จะมีผลตอบแทนสูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน นักลงทุนสามารถลงทุนได้ เพียงแต่ต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบ เพราะหากมีปัจจัยลบเข้ามากระทบธุรกิจ หุ้นกู้กลุ่มนี้อาจมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการผิดนัดไถ่ถอนได้
***จับตาหุ้นกู้เรทติ้งต่ำกว่า BBB- เริ่มขอยืดเวลาชำระหนี้
ขณะที่ปัจจุบัน สมาคมฯ เฝ้าติดตามหุ้นกู้กลุ่มที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับที่สามารถลงทุนได้ Investment Grade หรือที่มีเรทติ้งตั้งแต่ BBB- ลงไป ซึ่งจะครบกำหนดในปีนี้ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท เพราะธุรกิจอาจจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้บางรายแล้ว โดยบางบริษัทใช้วิธีเรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อขออนุมัติยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป แม้ว่าจะใกล้ครบกำหนดชำระคืนแล้วก็ตาม
เช่นเดียวกับ "ศักดิ์ดา พงศ์เจริญยง" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 และราคาน้ำมันดิบผันผวนสูง ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่คาดคิด โดยจะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดว่าปัจจัยดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อผู้ออกตราสารหนี้อย่างไรบ้าง ซึ่งจะพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรม และรายบริษัท เพราะบางอุตสาหกรรมกระทบมาก บางอุตสาหกรรมกระทบน้อย
*** 27 บจ.ลุยเพิ่มทุน
ขณะเดียวกันพบว่าตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันมี บจ.ประกาศเพิ่มทุนแล้วถึง 27 บริษัท สูงสุดในรอบ 4 ปี เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ประกอบด้วยบริษัทที่เพิ่มทุนแบบกำหนดวัตถุประสงค์จำนวน 10 บริษัท ได้แก่
บจ.เพิ่มทุนแบบกำหนดวัตถุประสงค์
|
ชื่อย่อหุ้น
|
เพิ่มทุน (ล.หุ้น)
|
เพิ่มทุนแบบ
|
มูลค่า (ลบ.)
|
วัตถุประสงค์
|
TFI
|
44,021
|
RO
|
1,321
|
เพิ่มสภาพคล่อง-คืนหนี้
|
KWG
|
1,714
|
RO
|
>1,200
|
ลงทุน
|
NEX
|
348
|
RO
|
870
|
ลงทุน
|
VNG
|
224
|
RO
|
840
|
เพิ่มสภาพคล่อง-คืนหนี้
|
WAVE
|
568
|
RO-PP
|
573
|
เพิ่มสภาพคล่อง
|
TVD
|
115
|
PP
|
130
|
ลงทุน
|
IRCP
|
76
|
RO
|
44
|
เพิ่มสภาพคล่อง
|
UREKA
|
254
|
RO
|
N/A
|
ลงทุน-คืนหนี้
|
SKY
|
20
|
PP
|
N/A
|
ลงทุน
|
WIIK
|
140
|
PP
|
N/A
|
เพิ่มสภาพคล่อง
|
ขณะที่พบว่ามี บจ.ที่ประกาศเพิ่มทุนแบบ General Mandate ถึง 17 บริษัท ได้แก่
บจ.เพิ่มทุนแบบ General Mandate
|
ชื่อย่อหุ้น
|
เพิ่มทุน (ล.หุ้น)
|
เพิ่มทุนแบบ
|
วัตถุประสงค์
|
UWC
|
3,949
|
RO-PP
|
รองรับลงทุน
|
EIC
|
2817
|
RO
|
รองรับลงทุน
|
BDMS
|
794
|
PP
|
N/A
|
SEG
|
451
|
RO-PP-PO
|
รองรับลงทุน
|
PORT
|
364
|
RO-PP-PO
|
รองรับลงทุน
|
ARIN
|
360
|
RO-PP-PO
|
N/A
|
PRINC
|
346
|
PP
|
รองรับลงทุน
|
HYDRO
|
235
|
RO-PP
|
เพิ่มสภาพคล่อง
|
JCK
|
215
|
PP
|
รองรับสภาพคล่อง
|
JCKH
|
188
|
RO-PP
|
เพิ่มสภาพคล่อง
|
NER
|
154
|
PP
|
รองรับสภาพคล่อง
|
KOOL
|
96
|
RO-PP
|
รองรับสภาพคล่อง
|
ECF
|
95
|
PP
|
รองรับลงทุน
|
CNT
|
75
|
PP
|
N/A
|
MOONG
|
51
|
RO
|
รองรับลงทุน
|
NEX
|
46
|
PP
|
รองรับลงทุน
|
AS
|
40
|
PP
|
รองรับสภาพคล่อง
|
SELIC
|
28
|
PP
|
รองรับสภาพคล่อง
|
*** บจ.กลาง-เล็ก แห่ตุนสภาพคล่อง
"แมนพงศ์ เสนาณรงค์" รองผู้จัดการหัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประเมินว่า บจ.มีการเพิ่มทุนเพิ่มขึ้นช่วงต้นปี โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลาง-เล็ก เนื่องจากเตรียมความพร้อมด้านสภาพคล่องรองรับธุรกิจที่อาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและการระบาดของโควิด-19 ซึ่งช่วงนี้ใกล้เข้าสู่การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น จึงเป็นจังหวะที่เหมาะสมในการประกาศเพิ่มทุนจดทะเบียน สะท้อนจากการขอเพิ่มทุนแบบ General Mandate ค่อนข้างมาก โดยถือเป็นการเตรียมตัวที่ดี เพราะหากมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงินทุนสามารถทำได้ทันที ไม่ต้องขอผู้ถือหุ้นอีก
"ธุรกิจขนาดกลาง-เล็กได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปีก่อน ทั้งจากสงครามการค้า จนมาถึง COVID-19 บางบริษัทเริ่มมีปัญหาสภาพคล่องและบางบริษัทเตรียมการเผื่อไว้ ตลาดหลักทรัพย์เองก็จับตาดูอย่างใกล้ชิด และอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงตัว บจ.เองด้วย ว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือได้อย่างไรบ้างหากภาคธุรกิจได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ซึ่งตอนนี้อาจจะยังไม่เห็นภาพชัดเจน ต้องรอหลังปิดงบการเงินไตรมาส 1/63 ก่อน" แมนพงศ์ กล่าว
"แมทธิว กิจโอธาน" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (WAVE) ระบุในวัตถุประสงค์การเพิ่มทุนว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 และ สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลต่อรายได้และสภาพคล่องของบริษัทฯ จึงเตรียมเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องและกระแสเงินสดให้เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจและการชำระหนี้
เช่นเดียวกับ "วรรรธนะ เจริญนวรัตน์" ประธานกรรมการบริหาร บมจ.วนชัย กรุ๊ป (VNG) ระบุว่า วัตถุประสงค์การเพิ่มทุนครั้งนี้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัททั้งด้านการดำเนินงานและการชำระเงินกู้ระยะสั้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้าช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จนถึงการระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน
ขณะที่ "หยู่เผิง หวง" รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.คิง ไว กรุ๊ป (KWG) ระบุในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นว่า การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจและการเพิ่มทุนของบริษัท โดยกระทบต่อราคาหุ้นที่มีผลในการคำนวณราคาเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน จึงขอเปลี่ยนอัตราส่วนการเสนอขาย และ ราคาเสนอขายใหม่ เป็น 0.7683 : 1 หุ้นเดิมต่อหุ้นใหม่ ราคาขายไม่ต่ำกว่า 0.70 บาท จากเดิมที่ 1.4316 : 1 หุ้นเดิมต่อหุ้นใหม่ ราคาขายไม่ต่ำกว่า 1.3043 บาท ตามลำดับ
"มงคล พ่วงเภตรา" ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ กลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคทีบี (ประเทศไทย) ประเมินว่า บจ.ขนาดกลาง-เล็ก จะได้ผลกระทบจากโควิด-19 มากกว่า บจ.ขนาดใหญ่ ซึ่งจะสะท้อนที่ผลประกอบการไตรมาส 1/63 และอาจจะเห็นการเพิ่มทุนมากขึ้นใน บจ.ที่สภาพคล่องเริ่มมีปัญหา นักลงทุนควรระมัดระวัง เน้นลงทุนหุ้นพื้นฐานขนาดใหญ่ที่ธุรกิจยังแข็งแรงและมีอัตราการจ่ายเงินปันผลสูง จะมีความเสี่ยงต่ำกว่า
นอกจากนี้ "เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส มองว่า การเพิ่มทุนของ บจ.จำนวนมากในช่วงนี้ สะท้อนการเตรียมความพร้อมกับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะการเพิ่มทุนแบบ General Mandate ซึ่งหากบริษัทต้องการเงินทุนสามารถเพิ่มทุนได้ทันที ไม่ต้องรอขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น เพราะอาจไม่ทันเวลาที่จำเป็นต้องใช้
อย่างไรก็ตามหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงและผันผวน จะทำให้การเพิ่มทุนลำบากขึ้น เพราะต้องเสนอขายหุ้นในราคาที่ต่ำ ทำให้เม็ดเงินที่ได้อาจต่ำกว่าเป้าหมาย บางบริษัทอาจจะยกเลิกไปหรือใช้วิธีการระดมทุนแบบอื่น แต่หากบริษัทมีข้อจำกัด ก็จำเป็นต้องเพิ่มทุนแม้จะได้เม็ดเงินต่ำกว่าเป้า