ปีนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) โชว์ผลงานปราบปรามผู้กระทำผิดในตลาดหุ้นได้เป็นจำนวนมาก ลุยจับปั่นหุ้น-ใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้น(อินไซเดอร์ เทรดดิ้ง) รวบไปแล้ว 7 คดี ผู้เกี่ยวข้อง 31 ราย ยอดปรับจ่อทุบสถิติ ทะลุ 800 ล้านบาท พร้อมปลดผู้บริหารที่เกี่ยวข้องพ้นตำแหน่งและขึ้นแบล็คลิสต์ 12 ราย
*** ปีนี้จับแล้ว 7 คดี ผู้กระทำผิด 31 ราย
ก.ล.ต.ดำเนินมาตรการลงโทษทางแพ่ง (Civil Sanctions) ต่อผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการสร้างราคาหุ้น (ปั่นหุ้น) และใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้น รวมทั้งสิ้น 7 คดี มีผู้เกี่ยวข้อง 31 ราย โดยมีบางรายเกี่ยวข้องมากกว่า 1 คดี ยอดค่าปรับเรียกชำระและเงินชดเชยเท่าผลประโยชน์ที่ได้รับ รวมถึงเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบรวม 805.22 ล้านบาท
จับปั่นหุ้น-อินไซด์ปี 62
|
คดี
|
ผู้เกี่ยวข้อง (ราย)
|
ค่าปรับ* (ลบ.)
|
ปั่นหุ้น BA
|
3
|
500
|
อินไซด์หุ้น PTL
|
8
|
59.69
|
ผู้สอบบัญชีอินไซด์ 12 หุ้น
|
3
|
13.84
|
ปั่นหุ้น TSR
|
8
|
7
|
อินไซด์ JTS
|
2
|
59.1
|
ปั่นหุ้น MONO-JAS
|
6
|
160
|
ปั่นหุ้น AIRA
|
5
|
5.59
|
รวม
|
35**
|
805.22
|
* ค่าปรับรวมเงินชดเชยเท่าผลประโยชน์ที่ได้รับและค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ
** บางรายเกี่ยวข้องมากกว่า 1 คดี
|
ทั้งนี้ "พิชญ์ โพธารามิก" มีความผิด 3 กระทง ได้แก่ ใช้ข้อมูลอินไซด์ซื้อขายหุ้น บมจ.จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์ (JTS) รวมถึงปั่นหุ้น บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) และ บมจ.โมโน เทคโนโลยี (MONO) ขณะที่ "เกริกไกร ไตรบัญญัติกุล" เกี่ยวข้อง 2 กระทง คือ อินไซด์ JTS และ ปั่นหุ้น JAS ส่วน "เสาวนิตย์ ถนอมสุวรรณ์" และ "พิรศักดิ์ เพิ่มบุญญรักษ์" เกี่ยวข้องคนละ 2 กระทง คือ ปั่นหุ้น JAS และ MONO
*** ยอดปรับทุบสถิติจ่อทะลุ 800 ล้านบาท
ข้อมูลจาก ก.ล.ต. ณ 30 ก.ย.62 คดีปั่นหุ้นและใช้ข้อมูลอินไซด์มีผู้ยินยอมตามบทลงโทษทางแพ่งและชำระค่าปรับฯ มาแล้วรวม 628 ล้านบาท เป็นสถิติสูงสุดตั้งแต่มาตรการลงโทษทางแพ่งเริ่มบังคับใช้เมื่อ 12 ธ.ค.59 ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับที่ 5 โดยปี 61 มียอดปรับรวม 334 ล้านบาท และ ปี 60 มียอดปรับรวม 51 ล้านบาท ซึ่งหากผู้กระทำผิดที่เหลือยินยอมรับบทลงโทษทางแพ่งและชำระค่าปรับตามกำหนดจะทำให้ยอดปรับพุ่งทะลุ 800 ล้านบาท
*** ปลดผู้บริหาร-แบล็คลิสต์ 12 ราย
ด้านผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่เกี่ยวข้องกับการปั่นหุ้นและใช้ข้อมูลอินไซด์ถูกสั่งพ้นสภาพจากจากการเป็นบุคคลในตลาดทุนไปแล้ว 12 ราย ประกอบด้วย
ผู้บริหารพ้นสภาพบุคคลในตลาดทุน
|
ปลด 3 ผู้บริหารปั่นหุ้น BA
|
ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ
|
ประธานคณะผู้บริหาร/กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BDMS/BA
|
ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ
|
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/กรรมการ BDMS
|
นฤมล ใจหนักแน่น
|
เลขานุการสำนักประธานผู้บริหาร BDMS
|
ปลด 5 ผู้บริหารอินไซด์หุ้น PTL
|
ปราเนย์ โกธารี
|
ผู้แทน “โพลีเพล็กซ์ คอร์เปอเรชั่น” (PCL) ซึ่งถือหุ้น PTL 17.19%
|
มานิตย์ กุปต้า
|
ผู้บริหารสูงสุดด้านการเงิน PCL
|
อมิต ปรากาซ
|
กรรมการผู้จัดการ PTL
|
สุปรีตา ไปรกาสทูรี
|
ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการเงินและบัญชีของ PTL
|
อนุรักษ์ บาเฮติ
|
ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการเงินและบัญชีของ PTL
|
ปลดผู้บริหารอินไซด์ JTS+ปั่นหุ้น JAS-MONO
|
พิชญ์ โพธารามิก
|
ประธานเจ้าหน้าบริหาร JAS
|
แบล็คลิส 10 ปี 3 อดีตผู้ช่วยผู้สอบบัญชี อินไซด์ 12 หุ้น
|
วโรตม์ หน่อแก้ว
|
อดีตผู้ช่วยผู้สอบบัญชี "สำนักงาน อีวาย"
|
จีรนันท์ บูรณรักษ์
|
จีราภรณ์ บูรณรักษ์
|
ส่วนผู้ร่วมกระทำผิดที่เหลือเข้าข่ายเป็นผู้มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจในการเป็นกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะพิจารณาเมื่อบุคคลดังกล่าวเข้าไปเป็นกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน
*** พบกลุ่มดื้อแพ่งไม่ยอมจ่ายค่าปรับ ก.ล.ต.ส่งฟ้องศาลปรับสูงสุด
นอกจากนี้พบว่าช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีกลุ่มผู้ถูกกล่าวโทษในคดีปั่นหุ้นและอินไซด์ไม่ยอมรับโทษตามมาตรการทางแพ่ง ดังนั้น ก.ล.ต.จึงส่งหนังสือขอให้พนักงานอัยการดำเนินการฟ้องเป็นคดีต่อศาลแพ่ง เพื่อขอให้ชำระค่าปรับทางแพ่งตามอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
1.กลุ่มปั่นหุ้น บมจ.คราวน์ เทค แอดวานซ์ (AJD) 40 ราย นำโดย "อมร มีมะโน" อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ "พิภัทร์ ปฏิเวทภิญโญ" อดีตกรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ จากเดิมถูกเรียกปรับรวม 1,727 ล้านบาท เป็นฟ้องปรับสูงสุด 2,303 ล้านบาท
2.กลุ่ม 25 รายปั่นหุ้น NEWS, MILL, POLAR, NBC, NINE และ NINE-W1 ซึ่งไม่ยินยอมตั้งแต่ถูกกล่าวโทษ ถูกส่งฟ้องศาลแพ่งปรับสูงสุด 890 ล้านบาท
3."สุรินทร์ บรรยงพงศ์เลิศ" ปั่นหุ้น บมจ.ปิโก (PICO) ส่งฟ้องปรับสูงสุด 24.54 ล้านบาท
4."ศุภนันท์ ฤทธิไพโรจน์" และ "ฐนวัฒน์ จันทร์สุวรรณ" ใช้ข้อมูลอินไซด์ซื้อขายหุ้น บมจ.อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น (IFEC) ส่งฟ้องปรับสูงสุด 31.93 ล้านบาท และ 4.16 ล้านบาทตามลำดับ
*** ก.ล.ต.-ตลท. จับตาใกล้ชิด หวังถอนราก ยกระดับตลาดทุนไทย
"ศักรินทร์ ร่วมรังษี" ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต. ระบุว่า ขณะนี้มีคดีที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบหลายรายการ แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ซึ่งจะเร่งดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้เร็วที่สุด โดยตั้งแต่มีมาตรการลงโทษทางแพ่ง ทำให้จัดการคดีปั่นหุ้นและใช้ข้อมูลอินไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต่างจากเดิมที่ใช้มาตรการลงโทษทางอาญาอย่างเดียวต้องพิสูจน์ความผิดตามหลักการจนปราศจากข้อสงสัย ซึ่งมีขั้นตอนค่อนข้างยาก ใช้เวลาในการดำเนินคดีนาน ไม่เหมาะกับคดีทางเศรษฐกิจ
ด้าน "นายภากร ปีตธวัชชัย" กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เผยว่า ตลาดหลักทรัพย์มีฝ่ายตรวจสอบดูแลความเคลื่อนไหวการซื้อขายหุ้นตลอดเวลา ซึ่งหากพบความผิดปกติจะส่งเรื่องให้ ก.ล.ต.ทันที เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด โดยปัจจุบัน ตลท. และ ก.ล.ต. รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างพยายามชักจูงให้ประชาชนเข้ามา ลงทุนในตลาดหุ้นและเข้าถึงตลาดทุนมากขึ้น ดังนั้นภารกิจสำคัญคือต้องสร้างระบบนิเวศตลาดทุนที่ดีมีคุณภาพ รวมถึงยกระดับการคุ้มครองผู้ลงทุนที่จะถูกเอาเปรียบจากกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ให้มากขึ้น