"เงินปันผล" ถือเป็นหัวใจสำคัญด้านผลตอบแทนของการลงทุนเช่นเดียวกับราคาหุ้น โดยเมื่อธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน(บจ.) มีกำไรต้องจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่ง บจ.ส่วนใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ(mai) มีการจ่ายเงินปันผลตามนโยบายที่ประกาศไว้อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า มีถึง 57 บจ.ที่ไม่ได้จ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นมากกว่า 4 ปีติดต่อกัน แบ่งเป็น บจ.จาก SET จำนวน 35 บริษัท จาก mai จำนวน 22 บริษัท โดยพบว่ามี บจ.ไม่จ่ายปันผลนานสูงสุดถึง 30 ปี และมี 5 บริษัท ที่ไม่เคยจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นเลยตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
*** 5 บจ.ไม่เคยปันผลตั้งแต่เข้าตลาดฯ
บริษัทที่ไม่เคยจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบด้วย 1.บมจ.เอเพ็กซ์ ดีเวลลอปเม้นท์ (APEX) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่ปี 2533 ในชื่อ บมจ.ซันเทค กรุ๊ป (SUNTEC) ประกอบธุรกิจเหล็ก โดยประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องจนต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการและถูกพักการซื้อขายตั้งแต่ปี 2542 ก่อนถูกซื้อกิจการโดย"พงษ์พันธ์ สัมภวคุปต์" ในปี 2550 ปรับโครงสร้างธุรกิจเป็นอสังหาริมทรัพย์ และเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.เอเพ็กซ์ ดีเวลลอปเม้นท์ (APEX) แม้จะพัฒนาธุรกิจจนสามารถกลับเข้ามาซื้อขายได้ในปี 2560 แต่ก็ยังไม่สามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ โดยผลประกอบการล่าสุดขาดทุน 3 ปีติดต่อกัน (2560-2562) รวม 30 ปีที่เป็นบริษัทจดทะเบียน ไม่เคยจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นเลย ปัจจุบันมีผู้ถือหุ้นรายย่อย 4,230 ราย
2.บมจ.คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์ (CGD) ไม่เคยจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นเลยตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มา 23 ปี เดิมชื่อ บมจ.ไดอาน่าดีพาร์ทเม้นท์สสโตร์ (DIANA) เข้าตลาดฯ เมื่อปี 2540 โดยเข้าตลาดฯ ปีแรกก็ขาดทุนเลย จนปี 2549 เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.ดราก้อน วัน (D1) แต่หลังจากนั้นในปี 2553 ถูกกลุ่ม "เตชะอุบล" เข้าซื้อกิจการเพื่อเข้าตลาดฯ ทางอ้อม (Backdoor Listing) พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์ (CGD) และเปลี่ยนธุรกิจเป็นอสังหาริมทรัพย์ โดย 23 ปีที่บริษัทนี้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีกำไรสุทธิเพียง 3 ปี เท่านั้น คือปี 2541, 2549 และปี 2557 นอกนั้นขาดทุน โดยล่าสุดขาดทุนต่อเนื่องมา 5 ปี
3.บมจ.ยูไนเต็ด เพาเวอร์ ออฟ เอเชีย (UPA) หรือเดิมชื่อ บมจ.ไซเบอร์แพลนเน็ต อินเตอร์แอคทีฟ (CYBER) ด้วยธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์เกม เข้าตลาดฯ ปี 2553 จากนั้นปี 2556 เริ่มขยายไปธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และปี 2558 เปลี่ยนเป็นธุรกิจพลังงาน และเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.ยูไนเต็ด เพาเวอร์ ออฟ เอเชีย (UPA) โดยผ่านการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหารหลายครั้ง แต่ผลประกอบการขาดทุน 9 ปีติดต่อกัน (2554-2562) มีกำไรปีเดียวคือปีแรกที่เข้าตลาดฯ
4.บมจ.แอลดีซี เด็นทัล (LDC) เข้าตลาดฯ ปี 2557 โดยปีแรกมีกำไร 7 ล้านบาท แต่ไม่ได้จ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้น เพราะสำรองเงินสดไว้ลงทุน แต่หลังจากนั้นก็ขาดทุนต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 ถึง ปัจจุบัน โดยยังไม่เคยจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นเลย
5.บมจ.เอไอ เอนเนอร์จี (AIE) เข้าตลาดฯ 6 ม.ค.57 ซื้อขายได้ปีเศษก็โดนตลาดฯ สั่งพักการซื้อขายและขึ้นเครื่องหมาย "SP" เมื่อ 3 มี.ค.58 เนื่องจากไม่ส่งงบการเงิน โดยมีปัญหาด้านการตรวจสอบบัญชี ใช้เวลาถึง 10 มิ.ย.63 ถึงจะกลับมาซื้อขายได้ ส่วนผลประกอบการ 6 ปี ตั้งแต่เข้าตลาดฯ มีกำไรสุทธิเพียง 2 ปี คือ 2557 และ 2559 โดยไม่เคยจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นเลย
5 บจ.ไม่จ่ายปันผลตั้งแต่เข้าตลาดฯ
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ปีที่เข้าซื้อขาย
|
ไม่จ่ายปันผล (ปี)
|
ผถห.รายย่อย (ราย)
|
APEX
|
2533
|
30
|
4,230
|
CGD
|
2540
|
23
|
3,254
|
UPA
|
2553
|
10
|
7,534
|
LDC
|
2557
|
6
|
4,437
|
AIE
|
2557
|
6
|
2,457
|
*** 19 บจ.ไม่จ่ายปันผลเกิน 10 ปี
ขณะที่พบว่ามีถึง 19 บริษัทที่ไม่จ่ายปันผลเกิน 10 ปี ประกอบด้วย
19 บจ.ไม่จ่ายปันผลเกิน 10 ปี
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ปีล่าสุดที่จ่ายปันผล
|
ไม่จ่ายปันผล (ปี)
|
ผู้ถือหุ้นรายย่อย (ราย)
|
NEP
|
2533
|
30
|
3,206
|
DCORP
|
2536
|
27
|
2334
|
NUSA
|
2536
|
27
|
5123
|
EE
|
2537
|
26
|
3418
|
AFC
|
2538
|
25
|
918
|
EVER
|
2538
|
25
|
6,899
|
U
|
2539
|
24
|
21,392
|
B
|
2547
|
16
|
4,645
|
B52
|
2548
|
15
|
4,128
|
MPG
|
2548
|
15
|
1,936
|
CPH
|
2549
|
14
|
390
|
T
|
2550
|
13
|
5,006
|
WAVE
|
2550
|
13
|
1,257
|
AEC
|
2551
|
12
|
2,377
|
CIG
|
2552
|
11
|
2,168
|
JUTHA
|
2553
|
10
|
1,909
|
DIMET
|
2553
|
10
|
2,289
|
TSI
|
2553
|
10
|
1,179
|
MJD
|
2553
|
10
|
864
|
7 จาก 19 บริษัทข้างต้นไม่จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นมากกว่า 20 ปี โดย บมจ.เอ็นอีพี อสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรม (NEP) ไม่จ่ายปันผลนานสุดถึง 30 ปี ซึ่งเข้าตลาดฯ เมื่อปี 2530 และจ่ายปันผลถึงแค่ปี 2533 หลังจากนั้นประสบภาวะขาดทุนบ่อยครั้ง จนไม่สามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ เช่นเดียวกับบริษัทที่เปลี่ยนชื่อ, โครงสร้างผู้ถือหุ้น และโครงสร้างธุรกิจ อย่าง บมจ.ดีมีเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (DCORP), บมจ.ณุศาศิริ (NUSA), บมจ.เอเวอร์แลนด์ (EVER) หรือ บมจ.ยู ซิตี้ (U) ซึ่งมีปัญหาด้านผลประกอบการและไม่จ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นมากกว่า 20 ปี
*** 15 บจ.แบกขาดทุนสะสมเกินพันล้านบาท
ทั้งนี้ พบว่า 57 บริษัทที่ไม่จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นเกิน 4 ปี มีผลขาดทุนสะสมรวมกันถึง 4.4 หมื่นล้านบาท โดยมี 15 บริษัทที่ขาดทุนสะสมเกิน 1,000 ล้านบาท ประกอบด้วย
15 บจ.แบกขาดทุนสะสม ณ งบฯ Q1/63 เกินพันล้านบาท
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ไม่จ่ายปันผล (ปี)
|
ขาดทุนสะสม (ลบ.)
|
THAI
|
7
|
-11,875.51*
|
NOK
|
6
|
-8,713.95*
|
EFORL
|
4
|
-2,441.24
|
MCOT
|
4
|
-2,271.09
|
TFI
|
6
|
-2,133.57
|
DCORP
|
27
|
-1,962.76
|
NUSA
|
27
|
-1,646.35
|
UWC
|
4
|
-1,530.74
|
APEX
|
30
|
-1,527.21
|
CGD
|
23
|
-1,526.20
|
T
|
13
|
-1,474.88
|
MPG
|
15
|
-1,432.46
|
POST
|
6
|
-1,289.92
|
NBC
|
4
|
-1,204.66
|
NEP
|
30
|
-1,071.29
|
* ณ งบการเงินสิ้นปี 62
|
บมจ.การบินไทย (THAI) มีผลขาดทุนสะสม สูงสุดถึง 1.2 หมื่นล้านบาท รองลงมาคือ บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK) ที่ 8,713.95 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามพบว่ามี 4 บริษัทที่มีกำไรสะสม แต่ยังไม่จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น ได้แก่ 1.บมจ.ยู ซิตี้ (U) พลิกมีกำไรสะสมตั้งแต่งบฯ สิ้นปี 2561 แต่ยังไม่มีการจ่ายเงินปันผล เนื่องจากต้องสำรองเงินสดสำหรับหมุนเวียนดำเนินธุรกิจ
2.บมจ.พรีเชียส ชิพปิ้ง (PSL) และ บมจ.สว่างเอ็กซ์ปอร์ต (SAWANG) มีกำไรสะสมต่อเนื่องตั้งแต่เข้าจดทะเบียน แต่ผลประกอบการ 5 ใน 6 ปีหลัง (2558-2562) ประสบภาวะขาดทุน
3.บมจ.เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ (MJD) มีกำไรสะสมทุกปีตั้งแต่เข้าตลาดฯ และผลประกอบการส่วนใหญ่มีกำไร แต่จ่ายเงินปันผลครั้งสุดท้ายคือปี 2553 โดยงดจ่ายปันผลด้วยเหตุผลต้องสำรองสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ
หมายเหตุ : ตัวเลขขาดทุนสะสมมาจากงบการเงินเฉพาะกิจการ ซึ่งใช้พิจารณาจ่ายเงินปันผล โดยทุกบริษัทเป็นงบฯ ไตรมาส 1/63 ยกเว้น THAI และ NOK เป็นงบสิ้นปี 62 เนื่องจากผู้สอบบัญชีไม่ให้ข้อสรุปต่องบการเงินไตรมาส 1/63 และถูกตลาดหลักทรัพย์ฯ ขึ้นเครื่องหมาย SP เมื่อ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา
*** รายย่อย 3.17 แสนราย รอปันผลแบบไร้กำหนด
57 บจ.ที่ไม่จ่ายเงินปันผลเกิน 4 ปี มีผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมกันถึง 3.17 แสนราย โดยบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นรายย่อยสูงสุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย
10 บจ.ไม่จ่ายปันผลที่มี ผถห.รายย่อยสูงสุด
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ไม่จ่ายปันผล (ปี)
|
ผถห.รายย่อย (ราย)
|
THAI
|
7
|
106,958
|
U
|
24
|
21,392
|
EFORL
|
4
|
13,964
|
MCOT
|
4
|
12,215
|
GEL
|
5
|
8,595
|
AJA
|
6
|
8,129
|
NOK
|
6
|
7,654
|
UPA
|
10
|
7,534
|
PSL
|
6
|
7,459
|
EVER
|
25
|
6,899
|
ทั้งนี้ มี 4 บริษัทที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยมากกว่า 1 หมื่นราย โดย บมจ.การบินไทย (THAI) มีผู้ถือหุ้นรายย่อยมากสุดถึง 1 แสนราย
*** 15 บจ.ถูกขึ้นเครื่องหมาย "C"
นอกจากนี้พบว่ามี 15 บจ.ที่ถูกตลาดหลักทรัพย์ฯ ขึ้นเครื่องหมาย "C" เนื่องจากส่วนผู้ถือหุ้นต่ำกว่า 50% ของทุนจดทะเบียน เพราะผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่อง ประกอบด้วย
15 บจ.ไร้ปันผลเกิน 4 ปีและติดเครื่องหมาย “C”
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ไม่จ่ายปันผล (ปี)
|
ผถห.รายย่อย (ราย)
|
APEX
|
30
|
4,230
|
NEP
|
30
|
3,206
|
B52
|
15
|
4,128
|
MPG
|
15
|
1,936
|
T
|
13
|
5,006
|
JUTHA
|
10
|
1,909
|
UMS
|
9
|
1,301
|
THAI
|
7
|
106,958
|
HYDRO
|
7
|
2,008
|
NOK
|
6
|
7,654
|
TFI
|
6
|
2,179
|
JCKH
|
6
|
1,803
|
POST
|
6
|
506
|
EFORL
|
4
|
13,964
|
UWC
|
4
|
6,734
|