ภาพรวมหุ้นไอพีโอ 9 เดือนที่ผ่านมา มีบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ(mai)จำนวน 4 และ 9 บริษัท ตามลำดับ รวมทั้งสิ้น 13 บริษัท มูลค่าการระดมทุนรวม 10, 342.14 ล้านบาท และ มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคาไอพีโอ รวม 42,970.37 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีบริษัทเข้าจดทะเบียนรวมเพียง 8 บริษัท มูลค่าการระดมทุนรวม 3,583.4 ล้านบาท และ มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคาไอพีโอ รวม 13,765.80 ล้านบาท
*** ไอพีโอจ่อเข้าเทรด Q4/62 เพียบ มาร์เก็ตแคปทะลุ 2 แสนลบ.
"แมนพงศ์ เสนาณรงค์" รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ช่วงไตรมาส 4/62 มีบริษัทเตรียมเข้าซื้อขายจำนวนมาก ซึ่งหลายบริษัทได้รับการอนุมัติแบบแสดงรายการข้อมูล(ไฟลิ่ง)แล้ว และอยู่ระหว่างการเตรียมตัว
"คาดมาร์เก็ตแคปรวมหุ้นไอพีโอไตรมาส 4 นี้จะมากกว่า 2 แสนล้านบาท เพราะมีหุ้นบิ๊กแคปหลายบริษัท ซึ่งประเมินว่ามาร์เก็ตแคปไอพีโอรวมปีนี้จะมากกว่าปีก่อนอย่างก้าวกระโดด โดยปี 61 มีมาร์เก็ตแคปหุ้นไอพีโอรวม 1.27 แสนล้านบาท (ไม่รวมกองทุนโครงสร้างพื้นฐานและกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์)" แมนพงศ์ กล่าว
*** 8 บริษัทไฟลิ่งอนุมัติแล้ว
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจข้อมูลบริษัทที่ยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบว่ามี 8 บริษัทได้รับการอนุมัติแล้ว แบ่งเป็น SET จำนวน 4 บริษัท และ mai จำนวน 4 บริษัท ดังนี้
ไอพีโอ SET ที่ได้รับอนุมัติไฟลิ่งแล้ว
|
ชื่อบริษัท
|
หมวดธุรกิจ
|
จำนวนหุ้น (ล.หุ้น)
|
พาร์ (บ.)
|
“แอสเสท เวิรด์ คอร์ป” (AWC)
|
พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
|
8,000
|
1
|
“แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้” (ACE)
|
พลังงานและสาธารณูปโภค
|
1,818
|
0.5
|
“ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์” (SCM)
|
พาณิชย์
|
150
|
0.5
|
“บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์” (BAC)
|
บริการเฉพาะกิจ
|
90
|
1
|
ไอพีโอ mai ที่ได้รับอนุมัติไฟลิ่งแล้ว
|
ชื่อบริษัท
|
หมวดธุรกิจ
|
จำนวนหุ้น (ล.หุ้น)
|
พาร์ (บ.)
|
“บูทิค คอร์ปอเรชั่น” (BC)
|
อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
|
167
|
1
|
“อินฟราเซท” (INSET)
|
เทคโนโลยี
|
146
|
0.5
|
“วิลล่า คุณาลัย” (KUN)
|
อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
|
75
|
1
|
“อินเตอร์ ฟาร์มา” (IP)
|
สินค้าอุปโภคบริโภค
|
46
|
0.5
|
ทั้งนี้ บมจ.แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (AWC) กำหนดราคาเสนอขายหุ้นไอพีโอแล้วที่ 6 บาท/หุ้น โดยจะเข้าซื้อขายกระดาน SET วันที่ 10 ต.ค.นี้ เช่นเดียวกับ บมจ.อินฟราเซท (INSET) กำหนดราคาที่ 2.69 บาท/หุ้น เข้าซื้อขายใน mai วันที่ 8 ต.ค.62 ขณะที่บริษัทอื่นๆ อยู่ระหว่างการนำเสนอข้อมูล (โรดโชว์) ต่อนักลงทุน
*** 14 บริษัทอยู่ระหว่างยื่นไฟลิ่ง
ขณะเดียวกันมีอีก 14 บริษัทที่อยู่ระหว่างยื่นไฟลิ่งแบ่งเป็น SET จำนวน 9 บริษัท และ mai จำนวน 5 บริษัท ดังนี้
ไอพีโอ SET ที่อยู่ระหว่างไฟลิ่ง
|
ชื่อบริษัท
|
หมวดธุรกิจ
|
จำนวนหุ้น (ล.หุ้น)
|
พาร์ (บ.)
|
“บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์” (BAM)
|
เงินทุนฯ
|
1,765
|
5
|
“เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท” (SHR)
|
การท่องเที่ยวฯ
|
1,437.46
|
5
|
“อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย์” (RBF)
|
อาหารและเครื่องดื่ม
|
520
|
1
|
“ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง” (SNNP)
|
อาหารและเครื่องดื่ม
|
260
|
0.5
|
“สตาร์เฟล็กซ์” (SFLEX)
|
บรรจุภัณฑ์
|
220
|
0.5
|
“สยามเทคนิคคอนกรีต” (STECH)
|
วัสดุก่อสร้าง
|
203.5
|
1
|
“คอปเปอร์ ไวร์ด” (CPW)
|
พาณิชย์
|
160
|
0.5
|
“ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์” (TFM)
|
ธุรกิจการเกษตร
|
109.3
|
2
|
“สยามราชธานี” (SO)
|
บริการเฉพาะกิจ
|
85
|
1
|
ไอพีโอ mai ที่อยู่ระหว่างไฟลิ่ง
|
ชื่อบริษัท
|
หมวดธุรกิจ
|
จำนวนหุ้น (ล.หุ้น)
|
พาร์ (บ.)
|
“เอสทีซี คอนกรีตโปรดัคท์” (STC)
|
อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
|
148
|
0.5
|
“ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี” (SICT)
|
เทคโนโลยี
|
100
|
0.5
|
“แอพพลิแคด” (APP)
|
เทคโนโลยี
|
80
|
0.5
|
“เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น” (TPS)
|
เทคโนโลยี
|
80
|
0.5
|
“อิ๊กดราซิล กรุ๊ป” (YGG)
|
บริการ
|
45
|
0.5
|
*** "แอสเสท เวิรด์ คอร์ป" นำทัพ 4 หุ้นบิ๊กแคปเข้าเทรด
ขณะที่พบว่ามี 4 บริษัทขนาดใหญ่ เตรียมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีสินทรัพย์รวมมากกว่าหมื่นล้านบาท ประกอบด้วย
1.บมจ.แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (AWC) หุ้นอสังหาริมทรัพย์ของตระกูล "สิริวัฒนภักดี" โดย ณ มิ.ย.62 มีสินทรัพย์รวม 9.24 หมื่นล้านบาท เตรียมขายไอพีโอ 8,000 ล้านหุ้น ซึ่ง ณ ราคา 6 บาท จะทำให้ AWC มีมาร์เก็ตแคปถึง 1.9 แสนล้านบาท ทำให้หลังเข้าซื้อขายจะผ่านเกณฑ์พิเศษของ ตลท.เข้าคำนวณใน SET50 ทันที เพราะมีมาร์เก็ตแคปใหญ่ติด 1 ใน 20 ของหุ้นทั้งตลาด หรือมีสัดส่วนมาร์เก็ตแคปเกิน 1% ของหุ้นทั้งตลาด นอกจากนี้มูลค่าระดมทุนที่ 4.8 หมื่นล้านบาท เป็นมูลค่าการระดมทุนที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ของตลาดหลักทรัพย์
2.บมจ.บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ (BAM) มีสินทรัพย์ ณ มี.ค.62 ที่ 1.08 แสนล้านบาท โดยเตรียมขายไอพีโอ 1,765 ล้านหุ้น พาร์ 5 บาท ซึ่งยื่นไฟลิ่งไปเมื่อ 16 ส.ค.62 และอยู่ระหว่างการพิจารณาจาก ก.ล.ต.
3.บมจ.เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท (SHR) บริษัทลูกของ บมจ.สิงห์ เอสเตท (S) มีขนาดสินทรัพย์ ณ มิ.ย.62 ที่ 2.56 หมื่นล้านบาท เตรียมขายหุ้นไอพีโอ 1,437.45 ล้านหุ้น พาร์ 5 บาท โดย "นริศ เชยกลิ่น" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร S คาดว่า จะสามารถเปิดจองและเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ภายในเดือน พ.ย.นี้
4.บมจ.แอ๊บโซลูท คลีนเอ็นเนอร์จี้ (ACE) อีกหนึ่งหุ้นโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน มีสินทรัพย์รวม ณ มิ.ย.62 ที่ 1.39 หมื่นล้านบาท เตรียมขายไอพีโอ 1,818 ล้านหุ้น พาร์ 0.50 บาท โดย "ชนะชัย บัณฑิตวรภูมิ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ACE คาดว่าจะเข้าซื้อขายได้ภายในไตรมาส 4 นี้ ซึ่งเงินระดมทุนจะนำไปใช้พัฒนาโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 200 เมกะวัตต์ คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนรวม 1 หมื่นล้านบาทช่วง 3 ปีข้างหน้า รวมถึงจะนำเงินระดมทุนบางส่วนไปชำระคืนเงินกู้ และไถ่ถอนหุ้นกู้ เพื่อลดต้นทุนการเงิน
*** เกินครึ่งระดมทุนใช้หนี้
ทั้งนี้ เมื่อสำรวจวัตถุประสงค์การระดมทุนพบว่ามี 12 บริษัท เตรียมนำเงินส่วนหนึ่งไปชำระคืนหนี้ ประกอบด้วย
ไอพีโอที่ระดมทุนชำระคืนหนี้
|
ชื่อย่อหุ้น
|
หนี้สินรวม (ลบ.)
|
D/E (เท่า)
|
AWC
|
67,009
|
2.64
|
BAM
|
59,497
|
1.39
|
SHR
|
14,424
|
1.3
|
ACE
|
7,982
|
1.35
|
SNNP
|
3,533
|
13.2
|
BC
|
2,960
|
3.2
|
RBF
|
1,489
|
0.75
|
STECH
|
1,145
|
1.81
|
SO
|
738
|
1.91
|
CPW
|
398
|
1.35
|
TPS
|
276
|
1.39
|
IP
|
84
|
0.65
|
บมจ.แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (AWC) เป็นบริษัทที่มีหนี้สินสูงสุด โดยมีหนี้สินรวม 6.7 หมื่นล้านบาท มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ที่ 2.64 เท่า โดยระบุในไฟลิ่งว่า เตรียมนำเงิน 5,200 ล้านบาท ชำระคืนเงินกู้ยืม/ตั๋วเงิน แก่ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) และ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ช่วงไตรมาส 4/62 - ไตรมาส 1/63 นอกจากนี้ระบุเป็นหมายเหตุว่า ระหว่างที่ยังไม่ได้มีการใช้เงินระดมทุน ในโครงการลงทุนต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในไฟลิ่ง อาจจะนำเงินบางส่วนทำธุรกรรมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารการเงิน ประกอบด้วย 1.ชำระคืนตั๋วเงิน ธนาคารกรุงไทย (KTB) และ "United Overseas Bank" จากสิงคโปร์ โดยมียอดคงค้าง 1.89 หมื่นล้านบาท 2.ชำระคืนเงินกู้ยืม/ตั๋วเงิน ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) โดยมียอดคงค้าง 1.52 หมื่นล้านบาท 3.ชำระคืนเงินกู้ยืม ธนาคารกรุงไทย (KTB) โดยมียอดคงค้าง 2.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งทั้ง 3 รายการมีกรอบระยะเวลาการใช้เงิน ช่วงไตรมาส 4/62 - ไตรมาส 1/63
ส่วน บมจ.บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ (BAM) ซึ่งมีหนี้สินระดับ 5.95 หมื่นล้านบาท แม้จะยังไม่ระบุว่าจะชำระหนี้เท่าไหร่ แต่ได้อธิบายในหัวข้อฐานะการเงินว่า หนี้สินส่วนใหญ่เป็นตราสารหนี้, เงินกู้ยืม และ ตั๋วเงิน เพื่อนำมาใช้บริหารสภาพคล่องและหมุนเวียนในการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและสินทรัพย์รอการขาย และเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้จะนำไปชำระหนี้บางส่วน เพื่อลดต้นทุนทางการเงิน
ขณะที่ บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง (SNNP) ซึ่งมีหนี้สินต่อทุนสูงถึง 13.2 เท่า ระบุในวัตถุประสงค์การระดมทุนข้อแรกว่าจะนำเงินไปชำระเงินกู้สถาบันการเงิน ซึ่งหนี้สินระดับสูงมาจากเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เพราะบริษัทมีการปรับโครงสร้างทางธุรกิจใหม่
ทั้งนี้ พบว่ามี 4 บริษัท เจ้าหนี้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการเข้าระดมทุน ได้แก่ 1.AWC มีที่ปรึกษาการเงินคือ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย, บล.บัวหลวง และ บล.ภัทร ซึ่งทั้ง 3 บล.เป็นบริษัทย่อยของธนาคารเจ้าหนี้ 2.BAM มีที่ปรึกษาการเงินคือ บล.กสิกรไทย 3.SHR มีที่ปรึกษาการเงินคือ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย และ ธนาคารกรุงไทย 4.SNNP มีที่ปรึกษาการเงินคือ ธนาคารไทยพาณิชย์
*** พบ 2 บริษัทเข้าด้วยเกณฑ์มาร์เก็ตแคป
นอกจากนี้พบว่ามี 2 บริษัท เตรียมเข้าซื้อขายด้วยเกณฑ์มาร์เก็ตแคป ได้แก่ 1.บมจ.เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท (SHR) เนื่องจากงบการเงินงวด 6 เดือน สิ้นสุด 30 มิ.ย.62 ขาดทุน 201.9 ล้านบาท 2.บมจ.บูทิค คอร์ปอเรชั่น (BC) ซึ่งเตรียมเข้าซื้อขายใน mai ด้วยเกณฑ์มาร์เก็ตแคปเช่นกัน เนื่องจากงบการเงินปี 61 ขาดทุน 66.7 ล้านบาท
*** เซียนแนะเลือกลงทุนรายตัว
"โจ ลูกอีสาน" หรือ "อนุรักษ์ บุญแสวง" นักลงทุนหุ้นเน้นคุณค่า (VI) ระบุว่า มีจะมีบริษัทขนาดใหญ่หลายรายเตรียมเข้าซื้อขายช่วงที่เหลือของปีนี้ แต่ต้องศึกษารายละเอียดให้รอบคอบ ทั้งพื้นฐาน ราคาเสนอขาย
"ผมยกตัวอย่างหุ้นขนาดใหญ่ที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นช่วงนี้ แม้จะมีกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีชื่อเสียงด้านการทำธุรกิจ แต่การตั้งราคาขายไม่ถูกอย่างแน่นอน เพราะมี P/E สูงมาก โดยอ้างอิงโปรเจ็กที่จะสร้างการเติบโตในอนาคต จึงบวกค่าพรีเมี่ยมค่อนข้างมาก จึงต้องคิดให้รอบคอบก่อนลงทุน
ระยะหลังหากได้รับการติดต่อจัดสรรหุ้นไอพีโอมาให้ในจำนวนไม่มากก็อาจซื้อไว้ลงทุนบ้าง แต่หากได้รับการจัดสรรหุ้นจำนวนมาก ก็อาจต้องขอเวลาศึกษารายละเอียดก่อนถึงจะให้คำตอบว่าจะลงทุนหรือไม่
การเล่นหุ้นไอพีโอต้องระวัง เพราะจากประสบการณ์ตรงที่ซื้อหุ้นไอพีโอมา 10 บริษัทหลัง เฉลี่ยมีแค่ 2 บริษัทเท่านั้นที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนที่เหลือต่ำจองหมด" โจ ลูกอีสาน กล่าว
ด้าน "เสี่ยป๋อง" หรือ "วัชระ แก้วสว่าง" นักลงทุนรายใหญ่สายเทคนิครายใหญ่ แนะนำว่า ควรเลือกตัวที่ระดับพี/อีปัจจุบันไม่แพงเกินไปหรือไม่สูงกว่าอุตสาหกรรม และเป็นบริษัทที่ต้อง มีแนวโน้มกำไรเติบโตต่อเนื่อง รวมถึง ที่สำคัญต้องเข้าเทรดช่วงที่ภาวะตลาดหุ้นเอื้ออำนวยด้วย
ฟาก "เสี่ยยักษ์" หรือ "วิชัย วชิระพงศ์" ระบุว่า จะเลือกจองซื้อหุ้นไอพีโอที่พื้นฐานดีและไม่แพงเกินไปเท่านั้น เพราะไอพีโอเริ่มมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ไม่ได้เปิดขายวันแรกแล้วราคาปรับขึ้นเหมือนช่วงรุ่งเรือง ต้องเป็นหุ้นพื้นฐานดีจริงและตั้งราคาสมเหตุสมผล ถึงจะเลือกลงทุน