จับตาปัญหา "หนี้สิน" บจ. หลังเศรษฐกิจชะลอตัวทั้งใน-ต่างประเทศ ล่าสุดพบ 12 บจ.โดนหั่นอันดับเครดิตเรทติ้ง เหตุหนี้พุ่ง โดนผลกระทบภาวะเศรษฐกิจ แถมจ่อโดนปรับลดเครดิตอีกกว่า 10 บริษัท ซ้ำพบ 24 บจ.หนี้ท่วม-สภาพคล่องฝืด ล่าสุด ACAP ประเดิมเบี้ยวหนี้รายแรกของปีนี้ มูลค่า 395.30 ล้านบาท
*** 12 บจ.โดนหั่นเครดิตเรทติ้ง
"ศักดิ์ดา พงศ์เจริญยง" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปี 62 ถึงปัจจุบัน มีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ถูกปรับลดอันดับเครดิตเรตติ้งรวม 12 บริษัท โดยส่วนใหญ่เกิดจากหนี้สินที่เพิ่มขึ้นหรืออยู่ในระดับสูง หลายบริษัทได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะศักยภาพในการทำกำไร ซึ่งอ่อนแอกว่าที่ทริสฯ คาด ทำให้เกิดความกังวลด้านฐานะทางการเงินและสภาพคล่องในอนาคต ขณะที่บางบริษัทมีการลงทุนขนาดใหญ่ และอาจจะต้องมีการระดมทุนสูง ซึ่งจะส่งผลให้อัตราหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ บจ.ที่ถูกปรับลดอันดับเครดิต 12 บริษัท ประกอบด้วย
12 บจ.ถูกลดเครดิตเรทติ้ง
|
ชื่อย่อหุ้น
|
อันดับเครดิตเดิม
|
อันดับเครดิตล่าสุด
|
ACAP
|
C
|
D
|
BEC
|
A
|
A-
|
CFRESH
|
BBB
|
BBB-
|
DTAC
|
AA+
|
AA-
|
DTC
|
BBB+
|
BBB
|
FPT
|
A
|
A-
|
GRAND
|
BB+
|
BB
|
KSL
|
A
|
A-
|
QTC
|
BBB-
|
BB+
|
TRT
|
BBB-
|
BB+
|
TTCL
|
BBB-
|
BB+
|
UV
|
BBB+
|
BBB
|
*** ACAP เบี้ยวหนี้รายแรกปีนี้
ขณะที่ บมจ.เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป (ACAP) เป็นบริษัทที่ผิดชำระหนี้รายแรกในปี 63 โดยผิดชำระหนี้หุ้นกู้ (ACAP202A) มูลค่า 395.30 ล้านบาท ซึ่งครบกำหนดชำระ 7 ก.พ.63 โดย "ทริสเรทติ้ง" ได้ปรับลดอันดับเครดิตเป็น "D" จากเดิม "C"
ทั้งนี้ ACAP ถูกปรับลดอันดับเครดิตหลายครั้งตั้งแต่กลางปีก่อน จากต้นปีที่ BB/Stable เป็น BB-/Negative เมื่อเดือน พ.ค.62 หลังพบว่าผลประกอบการอ่อนแอต่อเนื่อง และคุณภาพสินทรัพย์เสื่อมถอยลง ต่อมาเดือน ก.ย.62 ถูกปรับลดอันดับเครดิตอีกครั้งเป็น B/Negative สะท้อนความเชื่อมั่นการชำระนี้เริ่มถดถอย สถานะเงินสดเริ่มมีปัญหา และเมื่อ 5 ก.พ.63 ถูกปรับเป็น C/Negative ซึ่งมีความเสี่ยงจะไม่สามารไถถอนหุ้นกู้ (ACAP202A) มูลค่า 395.30 ได้ตามกำหนด กระทั่งผิดชำระหนี้เมื่อ 7 ก.พ.63 จึงถูกปรับอันดับอีกครั้งเป็น "D"
*** รอโดนหั่นอีกไม่ต่ำกว่า 10 บจ. อสังหาฯนำโด่ง
"ศักดิ์ดา พงศ์เจริญยง" เปิดเผยต่อไปว่า เศรษฐกิจไทยจะยังชะลอตัวต่อเนื่อง โดยจะยังได้รับผลกระทบจากการค้าโลกที่ชะลอตัว ซึ่งไทยอิงการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่การลงทุนภาครัฐยังมีความไม่แน่นอน ขณะเดียวกันภาคการท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคระบาดซ้ำเติมเข้าไปอีก โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมิน บจ.ที่จะได้รับผลกระทบ โดยมีกลุ่มที่น่าเป็นห่วงกว่า 10 บริษัท ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์
"อุตสาหกรรมที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดปีนี้คือ อสังหาริมทรัพย์ฯ เพราะคาดว่าจะเป็นกลุ่มที่มีผลการดำเนินงานลดลงมากที่สุด จากที่เริ่มเห็นสัญญาณชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี 62 ที่ยอดขายต่ำเป้าหมายมากและชะลอเปิดโครงการ ส่วนอีกอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีการชะลอตัวคือธุรกิจสายการบินจากแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นและการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว"
ทั้งนี้ บริษัทที่ถูกลดอันดับเครดิตจะมีผลโดยตรงต่อต้นทุนการระดมทุนสูงขึ้น จะต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้และเงินกู้จากธนาคารสูงขึ้นสำหรับการออกหุ้นกู้ใหม่หรือกู้เงินก้อนใหม่จากธนาคาร และจะส่งผลเชิงลบต่อเนื่องถึงผลการดำเนินงานของบริษัท
*** 14 บจ.แนวโน้มอันดับเครดิตเป็น "ลบ"
ขณะที่ปัจจุบันพบว่า มี 14 บจ.ที่แนวโน้มอันดับเครดิตเป็น "Negative" หรือ "ลบ" ซึ่งอาจจะมีโอกาสถูกปรับลดอันดับเครดิตได้ โดยทริสฯ มองว่าส่วนใหญ่บริษัทที่ภาวะหนี้สูงหรือมีแนวโน้มก่อหนี้สูง และธุรกิจอาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ
14 บจ.แนวโน้มอันดับเครดิตเป็น “ลบ”
|
ชื่อย่อหุ้น
|
อันดับเครดิต
|
สาเหตุ
|
A
|
BB
|
หนี้สูง-ธุรกิจขาดทุน
|
BJC
|
A+
|
หนี้สูง
|
MK
|
BBB
|
ลงทุนสูง-แนวโน้มหนี้เพิ่ม
|
NOBLE
|
BBB-
|
หนี้สูง
|
PF
|
BB+
|
หนี้สูง
|
PL
|
A-
|
กำไรต่ำคาด
|
STA
|
BBB+
|
แนวโน้มธุรกิจชะลอตัว
|
THAI
|
A
|
ธุรกิจขาดทุนต่อเนื่อง
|
TSE
|
BBB
|
ลงทุนสูง-แนวโน้มหนี้เพิ่ม
|
WHA
|
A-
|
หนี้สูง
|
WHAUP
|
A-
|
ปรับตาม WHA
|
PDI
|
BBB-
|
ลงทุนสูง-แนวโน้มหนี้เพิ่ม
|
LPN
|
A-
|
กำไรต่ำคาด
|
SINGER
|
BBB-
|
คุณภาพสินทรัพย์อ่อนแอ
|
*** พบ 24 บจ.หนี้ท่วม-สภาพคล่องฝืด
นอกจากนี้เมื่อตรวจสอบข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ (ตลท.) พบว่ามี 24 บริษัทที่หนี้สินสูงเกินปกติ โดยมีอัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (Interest Bearing Debt) สูง แต่มีสภาพคล่องและอัตราความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage)* ต่ำ ประกอบด้วย
24 บจ.หนี้ท่วม-สภาพคล่องฝืด
|
ชื่อย่อหุ้น
|
หนี้ที่มีภาระดอกเบี้ย
(เท่า)
|
ความสามารถในการชำระหนี้ (เท่า)
|
เงินสดจากการดำเนินงาน (บาท)
|
POST
|
64.53
|
-0.15
|
-115,432
|
PACE
|
64.53
|
-0.07
|
-969,150
|
JCKH
|
35.57
|
-0.3
|
-147,040
|
JUTHA
|
12.72
|
0.1
|
-37,181
|
APEX
|
9.67
|
-0.04
|
-950,847
|
MPG
|
5.37
|
-2.21
|
-8,516
|
HYDRO
|
5.36
|
-3.2
|
-17,503
|
OHTL
|
5.04
|
0.17
|
-142,884
|
SAMART
|
4.47
|
0.16
|
-436,499
|
CGD
|
4.34
|
-0.01
|
-1,514,339
|
CSP
|
3.55
|
-0.03
|
-301,011
|
EFORL
|
3.53
|
-0.25
|
-11,776
|
BRR
|
3.25
|
0.2
|
-316,979
|
CI
|
3.2
|
-0.01
|
-1,190,578
|
PERM
|
2.81
|
-0.03
|
-312,125
|
SIRI
|
2.48
|
0.14
|
-9,332,808
|
ITEL
|
2.38
|
0.2
|
-428,372
|
CHEWA
|
2.33
|
0.02
|
-1,791,484
|
GRAND
|
2.29
|
0.21
|
-224,968
|
JCK
|
2.24
|
0.17
|
-601,318
|
ILINK
|
2.14
|
0.14
|
-297,975
|
INET
|
2.12
|
0.26
|
-96,142
|
A5
|
2.03
|
-0.74
|
-71,749
|
SIMAT
|
2.01
|
-0.54
|
-58,440
|
ทั้ง 24 บริษัท มีอัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย มากกว่า 2 เท่า, อัตราความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยต่ำกว่า 1 เท่า และเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน ณ สิ้นไตรมาส 3/62 ติดลบ โดยเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) จำนวน 17 บริษัท และ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จำนวน 8 บริษัท ซึ่งอุตสาหกรรมที่ติดโผมากสุดคือ อสังหาริมทรัพย์ จำนวน 7 บริษัท
"แมนพงศ์ เสนาณรงค์" รองผู้จัดการหัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ระบุว่า อยู่ระหว่างการจับตาอย่างใกล้ชิด โดยมีคณะทำงานคอยดูแลและให้คำปรึกษาเพื่อช่วยหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทในการนำไปปรับใช้ได้มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน นักลงทุนเองก็ต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ
"ปัญหาหนี้สินในกลุ่ม บจ.ข้างต้นต้องดูรายละเอียดแต่ละบริษัทว่าเกิดจากการบริหารผิดพลาดหรือเกิดจากอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับ บจ.ทั้งตลาดฯ ส่วนใหญ่ยังมีสภาพคล่องที่ดี หลายบริษัทยังมีเงินสดเหลือ หลายบริษัทมีการขยายธุรกิจใหม่ และหลายบริษัทก็ยังมีการเติบโตต่อเนื่อง" แมนพงศ์ กล่าว
หมายเหตุ : *อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) ต่ำกว่า 1 เท่า คำนวณจาก (กำไรสุทธิ+ภาษีเงินได้-ดอกเบี้ยจ่าย)/ดอกเบี้ยจ่าย ใช้วัดความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งหากต่ำกว่า 1 เท่า แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการจ่ายชำระดอกเบี้ยได้เพียงบางส่วนเท่านั้น และถ้าหากผลลัพธ์ที่ได้ออกมามีค่าเท่ากับ 0 หรือติดลบ เท่ากับว่าธุรกิจของผู้ประกอบการไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยได้เลย ซึ่งจะพัฒนากลายเป็นปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินในที่สุด
** บทความชิ้นนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน เพื่อนำเสนอให้นักลงทุนไว้ใช้ประกอบการตัดสินใจ มิได้มีเจตนาชี้นำว่าบริษัทที่อยู่ในเงื่อนไขข้างต้นจะผิดนัดชำระหนี้แต่อย่างใด