"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรมกองทุนรวม Q1/63 พบเกินครึ่งผลตอบแทนติดลบ กองทุนน้ำมัน-หุ้นไทยดิ่งหนักสุด ส่วนทองคำ-ตราสารหนี้ ชนะเลิศ แถมกองทุน SFFX ยอดขายฝืด เหตุนักลงทุนลดเสี่ยง เน้นถือเงินสด แต่พบ 2 กองทุน "ทริกเกอร์ฟันด์" เข้าเป้า หลังหุ้นไทยรีบาวด์
*** ผลตอบแทน Q1/63 ติดลบเกือบยกแผง
"ชญานี จึงมานนท์" นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ผลตอบแทนกองทุนรวมประจำไตรมาส 1/63 ติดลบถึง 25 ประเภทกองทุน จากทั้งหมด 34 ประเภทกองทุน โดย กลุ่มกองทุนน้ำมัน (Commodities Energy) ให้ผลตอบแทนติดลบสูงสุดถึง 52.1% เป็นไปตามราคาน้ำมันดิบที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 17 ปี รองลงมาคือกลุ่มกองทุนหุ้นไทยขนาดกลาง/เล็ก (Equity Small/Mid-Cap) ติดลบ 27.89% และ กลุ่มกองทุนหุ้นไทยขนาดใหญ่ (Equity Large-Cap) ติดลบ 27.33% ตามภาพรวมตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงไปทดสอบจุดต่ำสุดในรอบ 9 ปี ขณะที่กองทุนรวมประเภทอื่นๆ ที่ผลตอบแทนติดลบมีดังนี้
25 กลุ่มกองทุนรวมผลตอบแทน Q1/63 ติดลบ
|
ประเภทกองทุน
|
% ผลตอบแทน
|
Q1/63
|
ปี 62
|
3 ปี
|
5 ปี
|
Comodities Emergy
|
-52.07
|
24.95
|
-20.37
|
-16.54
|
Equity Small/Mid-Cap
|
-27.86
|
3.62
|
-11.24
|
-6.01
|
Equity Large-Cap
|
-27.33
|
2.45
|
-8.06
|
-3.36
|
India Equity
|
-26.77
|
1.06
|
-8.74
|
-3.38
|
ASEAN Equity
|
-25.59
|
-0.29
|
-11.71
|
-8.68
|
Equity Fix Term
|
-24.95
|
-1.31
|
-10.35
|
-6.22
|
Emerging Market Equity
|
-24.4
|
14.62
|
-6.5
|
-2.64
|
Europe Equity
|
-21.93
|
26.27
|
-2.71
|
-0.7
|
Property - Indirect Global
|
-20.93
|
19.45
|
-0.3
|
2.2
|
Japan Equity
|
-20.38
|
18.2
|
-1.85
|
-0.24
|
Property Indirect
|
-20.25
|
20.67
|
2.95
|
6.26
|
Asia Pacific ex-Japan Equity
|
-18.96
|
10.04
|
-4.98
|
-2.12
|
Aggressive Allocation
|
-18.21
|
3.4
|
-5.88
|
-2.98
|
US Equity
|
-17.95
|
23.47
|
1.9
|
4.3
|
Foreign Investment Equity Fix Term
|
-17.67
|
11.84
|
-6.63
|
-10.64
|
Global Infrastructure
|
-17.66
|
20.98
|
-0.94
|
N/A
|
Moderate Allocation
|
-13.24
|
4.66
|
-2.83
|
-1.28
|
Global Allocation
|
-12.24
|
12.7
|
-1.3
|
0.22
|
Global Health Care
|
-10.39
|
19.8
|
2.65
|
0.56
|
China Equity
|
-10.19
|
21.94
|
1.42
|
-0.47
|
Global Technology
|
-10.14
|
26.77
|
6.91
|
N/A
|
Global High Yield Bond
|
-9.86
|
7.37
|
-1.57
|
0.34
|
Emerging Market Bond
|
-9.24
|
9.9
|
-1.24
|
-0.18
|
Conservative Allocation
|
-5.76
|
3.45
|
0.32
|
0.81
|
Capital Proteced
|
-2.1
|
2.62
|
0.49
|
0.7
|
*** กองทุนทองคำ-ตราสารหนี้ ชนะเลิศ
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกในไตรมาส 1/63 คือกลุ่มที่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เช่น ทองคำ และ ตราสารหนี้ สะท้อนความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจหดตัวทั่วโลก และการระบาดอย่างรุนแรงของโควิด-19 โดยกลุ่มกองทุนทองคำ (Commodities Precious Metals) ให้ผลตอบแทนสูงสุด 9.2% ตามราคาทองคำที่ปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่ปลายปี 62 ขณะที่กลุ่มกองทุนตราสารหนี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศก็ให้ผลตอบแทนเป็นบวกเกือบทุกกลุ่ม แม้อัตราผลตอบแทนจะไม่สูงมากนัก แต่ก็ไม่ติดลบเหมือนสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ ข้างต้น
9 ประเภทกองทุนผลตอบแทน Q1/63 เป็นบวก
|
ประเภทกองทุน
|
%ผลตอบแทน
|
Q1/63
|
ปี 62
|
3 ปี
|
5 ปี
|
Commodities Precious Metals
|
9.16
|
11.61
|
5.56
|
4.26
|
Global Bond
|
6.24
|
6.24
|
0.1
|
-0.25
|
Global High Yield Bond Fix Term
|
1.4
|
5.98
|
5.32
|
N/A
|
Bond Fix Term
|
0.72
|
3.25
|
2.72
|
3.14
|
Short Term Bond
|
0.38
|
2.48
|
1.75
|
1.77
|
Roll Over Bond
|
0.35
|
1.5
|
1.23
|
1.38
|
Money Market
|
0.22
|
1.3
|
1.07
|
1.12
|
Mid/Long Term Bond
|
0.19
|
3.52
|
2.16
|
2.08
|
Foreign Investment Bond Fix Term
|
0.19
|
1.91
|
N/A
|
N/A
|
*** TOP5 กองทุนทองคำ ผลตอบแทนสูงสุด
ทั้งนี้กลุ่มกองทุนทองคำในไตรมาส 1/63 เป็นบวกทุกกอง โดยผลตอบแทนต่ำสุดอยู่ที่ 4.81% ส่วนกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
TOP5 กองทุนทองคำผลตอบแทนสูงสุด
|
ชื่อกองทุน
|
%ผลตอบแทน
|
ธนชาตทองคำแท่ง
|
16.41
|
ไทยพาณิชย์โกลด์ (E-channel)
|
16.00
|
ธนชาตทองคำแท่งเพื่อการเลี้ยงชีพ-H
|
15.90
|
บัวหลวงโกลด์ฟันด์
|
15.89
|
ฟิลลิปทองคำ
|
15.74
|
*** TOP5 กองทุนน้ำมัน ผลตอบแทนติดลบหนัก
ด้านกองทุนน้ำมันให้ผลตอบแทนในไตรมาส 1/63 ติดลบทุกกอง โดยกองทุนที่ติดลบต่ำสุดอยู่ระดับ 37.04% ส่วนกองทุนที่ติบลบมากสุดที่ระดับ 67% ส่วนกองทุนที่ผลตอบแทนติดลบสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
TOP5 กองทุนน้ำมันผลตอบแทนต่ำสุด
|
ชื่อกองทุน
|
%ผลตอบแทน
|
ทิสโก้ ยูเอส ออยล์
|
-67.46%
|
เอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ออยล์ ฟันด์
|
-63.71%
|
เค ออยล์
|
-43.31%
|
ไทยพาณิชย์ออยล์
|
-43.16%
|
ทิสโก้ ออยล์ ฟันด์
|
-43.15%
|
*** TOP5 กองทุนหุ้นขนาดเล็ก/กลาง
สำหรับกองทุนหุ้นไทยขนาดเล็ก/กลาง ผลตอบแทนติดลบทุกกองเช่นกัน โดย 5 อันอันกองทุนที่ติดลบสูงสุด ประกอบด้วย
TOP5 กองทุนหุ้นขนาดเล็ก/กลางที่ผลตอบแทนติดลบสูงสุด
|
ชื่อกองทุน
|
%ผลตอบแทน
|
วรรณ ตราสารการเงินคุณค่า เพื่อการเลี้ยงชีพ
|
-38.01
|
ยูไนเต็ด ไทย สมอล์ แอนด์ มิด แคป อิควี้ตี้ ฟันด์
|
-35.99
|
ทาลิส MID-SMALL CAP หุ้นทุน
|
-35.39
|
กรุงศรีไทยสมอล-มิดแคปอิควิตี้
|
-34.30
|
ยูไนเต็ด ไทย สมอล์ แอนด์ มิด แคป หุ้นระยะยาว
|
-34.25
|
*** TOP5 กองทุนหุ้นขนาดใหญ่
เช่นเดียวกับกองทุนหุ้นขนาดใหญ่ ผลตอบแทนติดลบทุกกองเช่นกัน โดย 5 อันดับกองทุนที่ติดลบสูงสุด ประกอบด้วย
TOP5 กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ที่ผลตอบแทนติดลบสูงสุด
|
ชื่อกองทุน
|
%ผลตอบแทน
|
ทาลิส หุ้นธรรมาภิบาลไทย
|
-34.15
|
ทาลิส หุ้นทุน
|
-33.45
|
ทิสโก้ ESG หุ้นไทยยั่งยืน
|
-33.17
|
ทาลิส หุ้นระยะยาว
|
-32.82
|
แอล เอช หุ้นปันผล
|
-32.75
|
*** หุ้นไทยรีบาวด์ พบ กอง "ทริกเกอร์ฟันด์" เข้าเป้า 2 กอง
อย่างไรก็ตาม หลังจากหุ้นไทยเริ่มรีบาวด์ตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่า มีกองทุนประเภท "ทริกเกอร์ฟันด์" 2 ใน 3 กองที่เปิดขายในปีนี้สามารถเลิกกองทุนตามเงื่อนไข เนื่องจากผลตอบแทนถึงเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่ 1.กองทุนเปิด ทิสโก้ ไทย อิควิตี้ ทริกเกอร์ 5M#5 (TEQT5M5) ถึงเป้าหมาย 5% ใช้ระยะเวลาบริหารเพียง 12 วัน จาก 20 มี.ค.63 โดยหุ้น 5 อันดับแรกในพอร์ตได้แก่ บมจ.ปตท. (PTT), ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB), ธนาคารกสิกรไทย (KBANK), ธนาคารกรุงเทพ (BBL) และ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF)
2.กองทุนเปิดกรุงไทย ทริกเกอร์ ฟันด์ 3 (KT-TRIG3) ที่เปิดขายไปเมื่อ 17-19 มี.ค.63 KTAM สามารถบริหารจัดการจนได้ทะลุเป้าถึง 5.3% สูงเกินกว่าที่มีการตั้งเป้าหมายผลตอบแทนที่ 5% ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยหุ้น 5 อันดับแรกในพอร์ตประกอบด้วย ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB), บมจ.ปตท. (PTT), บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC), บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) และ บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL)
ส่วนกองทุน "ทริกเกอร์ฟันด์" อีกหนึ่งกองคือ กองทุนเปิด วี อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต 8M จาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วี โดยเป็นกองทุนที่้มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศ เน้นตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก มีเงื่อนไขเลิกกองทุนเมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนมากกว่าหรือเท่ากับ 10.83 บาท ปัจจุบันกองทุนนี้มีมูลค่าหน่วยที่ 9.08 บาท ( ณ 17 เม.ย.63)
ทั้งนี้ ปัจจุบันกองทุน "ทริกเกอร์ฟันด์" มีจำนวน 39 กองทุน แบ่งเป็น Equity Fix Term จำนวน 22 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินรวม 2.8 พันล้านบาท และ Foreign Investment Equity Fix Term 17 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินรวม 1.2 พันล้านบาท ซึ่งปัจจุบันอยู่ในลักษณะกองทุนเปิด แต่คงเงื่อนไขการปิดกองทุนไว้
*** กองทุน SSFX จืด นลท.ซื้อไม่ถึงพันลบ.
"ชญานี จึงมานนท์" เปิดเผยเพิ่มเติมว่า กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (Super Saving Fund Extra) หรือ SFFX ซึ่งเปิดให้ลงทุนตั้งแต่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา จำนวน 18 กองทุน มีเม็ดเงินไหลเข้าไม่มากนัก ข้อมูลสินทรัพย์สุทธิ ณ วันแรกที่เปิดซื้อขาย อยู่ที่ 909.45 ล้านบาท โดย บลจ.บัวหลวง มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิสูงสุด 266.64 ล้านบาท รองลงมาคือ บลจ.กสิกรไทย 254.53 ล้านบาท และ บลจ.กรุงศรี 95.98 ล้านบาท
ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุด ณ 22 เม.ย.63 กองทุน SFFX มีสินทรัพย์สุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 1,251 ล้านบาท ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีหุ้นไทย
"สาเหตุที่เม็ดเงินยังไหลเข้ากองทุนไม่มากนัก เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทำให้ส่วนใหญ่ยังถือเงินสดเพื่อลดความเสี่ยง รวมถึงกองทุน SFFX ต้องถือครองนานถึง 10 ปี ต่างจากกองทุน LTF ที่ถือครองเพียง 7 ปี ส่งผลให้นักลงทุนลังเลที่จะเข้าซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้สูงและต้องการลงทุนเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม รวมถึงกลุ่มสายการบิน ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยตรง" นักวิเคราะห์ มอนิ่งสตาร์ เสริม