ถือเป็นการเขย่าวงการธนาคารไทยเลยทีเดียว หลังธนาคารยักษ์ใหญ่ของไทยประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมผ่านช่องทาง Internet และ Mobile Banking ซึ่งผู้ที่มีฐานลูกค้ามากสุด คือ ธนาคารกสิกรไทย(KBANK) ที่มีฐานลูกค้าทั้งหมด 14.5 ล้านราย โดยลูกค้าที่ใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่น และ อินเทอร์เน็ต มากที่สุดถึง 8.1 ล้านคน และ มีธุรกรรม 6.3 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งคาดว่าโปรแกรมนี้จะทำให้ปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 6 พันล้านรายการภายในกลางปีนี้
ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) ออกมาระบุว่า SCB Easy มียอดผู้ใช้งาน 6.5 ล้านราย ซึ่ง active 75% และ มีลูกค้าใหม่เฉลี่ย 3 แสนรายต่อเดือน โดยมีจำนวนธุรกรรมผ่าน SCB Easy จำนวน 150 ล้านธุรกรรมต่อเดือน และ มีการใช้ธุรกรรมเพิ่มขึ้นกว่า 110%
แต่ต้องไม่ลืมว่าธนาคารทหารไทย(TMB) เป็นธนาคารแรกที่ฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภทผ่านผลิตภัณฑ์ และ บริการ เช่น บัญชีเงินฝาก TMB No Fee ที่เปิดตัวในปี 56 มาจนล่าสุดยกเลิกค่าธรรมเนียมเต็มรูปแบบด้วยบัญชี TMB All Free ที่เปิดตัวไปในปี 59 บัญชีเดียวที่ตอบโจทย์ทุกการทำธุรกรรมทางการเงินให้ลูกค้า กด โอน จ่าย ฟรี ไม่มีค่าธรรมเนียม ที่สำคัญ คือ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
ค่าธรรมเนียมบริการผ่านตู้ ATM และMobile Banking
|
ธนาคาร
|
กดเงิน
|
กดเงินข้ามเขต
|
โอนต่างธนาคาร
ผ่านแอพฯ
|
โอนต่างธนาคาร
@ATM
|
จ่ายบิลผ่านแอพฯ
|
จ่ายบิล@ATM
|
เติมเงินผ่านแอพฯ
|
เติมเงินผ่าน@ATM
|
BBL
|
ฟรี
|
ฟรี*
|
ฟรี
|
ฟรี
|
ฟรี
|
ฟรี
|
ฟรี
|
ฟรี
|
KTB
|
ฟรี
|
ฟรี
|
ฟรี
|
-
|
ฟรี
|
-
|
ฟรี
|
-
|
SCB
|
ฟรี
|
ฟรี
|
ฟรี
|
-
|
ฟรี
|
-
|
ฟรี
|
-
|
KBANK
|
ฟรี
|
15 บ./รายการ
|
ฟรี
|
-
|
ฟรี
|
-
|
ฟรี
|
-
|
TMB
|
ฟรี
|
ฟรี
|
ฟรี
|
ฟรี
|
ฟรี
|
ฟรี
|
ฟรี
|
ฟรี
|
BAY
|
ฟรี
|
ฟรี
|
ฟรี
|
-
|
ฟรี
|
-
|
ฟรี
|
-
|
TBANK
|
ฟรี
|
ฟรี
|
ฟรี
|
-
|
ฟรี
|
-
|
ฟรี
|
-
|
KKP
|
ฟรี
|
ฟรี**
|
ฟรี
|
-
|
ฟรี
|
-
|
ฟรี
|
-
|
LHBANK
|
ฟรี
|
ฟรี***
|
ฟรี
|
-
|
ฟรี
|
-
|
ฟรี
|
-
|
หมายเหตุ : TMBเฉพาะบัญชี All free, BAY เฉพาะบัญชีออมทรัพย์จัดให้, TBANK เฉพาะบัญชีฟรีเว่อไลท์, * เฉพาะ 1-30 เม.ย.นี้, ** 10 รายการ/เดือน และ *** 6 รายการต่อเดือน
*** ชำแหละรายได้ค่าฟี 4 แบงก์ใหญ่
หลังการประกาศฟรีค่าธรรมเนียม สิ่งที่จะตามมา คือ รายได้ค่าธรรมเนียมจะหายไปทันที ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารจะเคยชินแต่การระดมเงินฝาก ปล่อยสินเชื่อ หารายได้จากการขายกองทุน ประกัน โดยรายได้ที่เติบโตมากสุด คือ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ซึ่งธนาคารไหนมีสัดส่วนตรงนี้มากสุดก็จะกระทบต่อกำไรทันที โดยในปี 60 ที่ผ่านมา 4 ธนาคารใหญ่มีรายได้ค่าธรรมเนียม ดังนี้
KBANK มีรายได้ค่าธรรมเนียมปี 60 อยู่ที่ 51,757.10 ล้านบาท คิดเป็น 33% ของรายได้รวม
SCB มีรายได้ค่าธรรมเนียมปี 60 อยู่ที่ 36,854.86 ล้านบาท คิดเป็น 22.75% ของรายได้รวม
BBL มีรายได้ค่าธรรมเนียมปี 60 อยู่ที่ 36,459.91 ล้านบาท คิดเป็น 25.68% ของรายได้รวม
และ KTB มีรายได้ค่าธรรมเนียมปี 60 อยู่ที่ 28,638.26 ล้านบาท คิดเป็น 18.95% ของรายได้รวม
*** นายแบงก์ต้องยอมเฉือนเนื้อ
"ปรีดี ดาวฉาย" กรรมการผู้จัดการ KBANK ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยกับ “สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย” ว่า การยกเลิกค่าธรรมเนียมกระทบต่อรายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคารทันทีที่ประกาศใช้ แต่อาจส่งผลมากสุดตั้งแต่ไตรมาส 2/61 เป็นต้นไป โดยค่าธรรมเนียมที่ยกเลิกไปเป็นรายได้ค่าธรรมเนียมที่มีสัดส่วนมากที่สุด ซึ่งต้องยอมรับว่าการประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมไม่ได้อยู่ในแผนธุรกิจของธนาคารแต่อย่างใด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของการแข่งขัน การรักษาฐานลูกค้าที่มีอยู่เอาไว้ โดยธนาคารก็ต้องลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย แต่ก็ยอมรับว่าไม่สามารถที่จะชดเชยผลกระทบจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่หายไปได้
“ต้องยอมรับว่ากระทบกำไรแน่นอน งานนี้เรียกว่าเฉือนเนื้อเลยก็ว่าได้ แต่ถ้าคิดกลับไป เงินที่หายไปก็กลับไปสู่กระเป๋าลูกค้าที่เคยจ่ายรายการละ 25 บาท 30 บาท เพราะเราจะคำนึงถึงลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งเรามองถึงผลระยะยาวมากกว่า”นายปรีดี กล่าว
"ปิติ ตัณฑเกษม" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TMB ระบุว่า ธนาคารไม่ได้กังวลการประกาศยกเลิกค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด เพราะ TMB ทำมาก่อนใคร ซึ่งลูกค้า และ เงินฝาก ก็ไหลเข้ามาในธนาคารเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น ยังมีผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่างที่สร้างความประทับใจ ประกอบกับ ธนาคารก็ไม่ได้มีรายได้จากการให้บริการดังกล่าวแต่อย่างใดจึงไม่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงาน
“เราไม่ได้มีดีแค่ TMB All free เรามีผลิตภัณฑ์ที่เน้นออม และ ลงทุน ซึ่งเราเป็นธนาคารเดียวที่ลูกค้าสามารถเลือก และ ซื้อกองทุนได้ 10 บลจ. ผ่านแอพฯ TMB ทัช ในขณะที่แบงก์อื่นๆ จะมีเฉพาะ บลจ. ที่ธนาคารถือหุ้นเท่านั้น”นายปิติ กล่าว
*** ธุรกิจเปลี่ยน-การแข่งขันเปลี่ยน
แหล่งข่าวจากสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง กล่าวว่า การทำธุรกิจธนาคารต่อจากนี้ไม่ใช่แค่การสร้างกำไรอีกแล้ว เพราะตอนนี้การแข่งขันได้เปลี่ยนไป เน้นการให้บริการ ตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้มากที่สุด ซึ่งธนาคารก็ต้องลดต้นทุนทางการเงิน หรือ ด้านอื่นๆลง ตลอดจนหารายได้ หรือ ผลิตภัณฑ์อื่นๆเข้ามาเสริม โดยที่ผ่านมาการขายกองทุน และ ประกัน ยังสร้างรายได้ให้กับธนาคารเป็นอย่างดี
“ต้นทุนทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญ หากไปดู 4 แบงก์ใหญ่ จะเห็นว่าดอกเบี้ยที่คิดจากรายย่อย SCB จะสูงที่สุด ซึ่งที่ผ่านมามีการขยายสินเชื่อรายย่อยจึงทำให้ SCB ต้องระดมเงินฝากเข้ามาส่งผลให้ต้นทุนสูงกว่าคู่แข่งทำให้การลดดอกเบี้ยที่ผ่านมากระทบต่อ NIM และ ตอนนี้ยกเลิกค่าฟีอีกจึงทำให้ SCB ลำบากในการที่จะหารายได้อื่นๆมาเสริม โดยต่อจากนี้ต้องติดตามว่า SCB จะแก้ทาง KBANK อย่างไร เพราะถือว่านี่ คือ การเริ่มต้น”แหล่งข่าว กล่าว
*** โบรกฯมอง KBANK-SCB ได้รับผลกระทบมากสุด
บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เคทีบี (ประเทศไทย) ระบุว่า 4 ธนาคารขนาดใหญ่ที่ยกเว้นค่าธรรมเนียมผ่านแอพพลิเคชั่น และอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีมุมมองเชิงลบต่อธนาคารขนาดใหญ่ แต่แค่ในระยะสั้น โดยพบว่า KBANK จะมีผลกระทบต่อกำไรสุทธิมากที่สุด 6% รองลงมาเป็น SCB ที่ 4.8% และ BBL ที่ 4.0% ส่วน KTB กระทบน้อยที่สุดในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ที่ 3.6%
อย่างไรก็ตาม กลุ่มธนาคารพาณิชย์ยังคงให้น้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” โดยมองว่า การยกเว้นค่าธรรมเนียมจะกดดันรายได้ค่าธรรมเนียมทันที และ มีแนวโน้มปรับประมาณการลง 4-6% โดยยังชอบ KBANK ราคาเป้าหมายที่ 246 บาท เพราะเชื่อว่า KBANK จะสามารถนำข้อมูลของลูกค้าออนไลน์ที่มีจำนวนมากมาต่อยอดกับผลิตภัณฑ์อื่นๆของธนาคารได้
ไม่ว่าธนาคารจะรายได้หายไปแค่ไหน แต่สิ่งที่รับรู้ได้ในตอนนี้ คือ ผู้บริโภค อย่างประชาชน และ ลูกค้า ที่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง หลังที่ผ่านมาต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารมากมาย และ ตอนนี้ลูกค้ามีทางเลือกที่มากขึ้นแล้ว